น้ำมันดิบจ่อแตะ 100 ดอลล์ปีนี้ โอเปกพลัสหั่นการผลิตกะทันหัน เบรนท์พุ่งทันที 8%

น้ำมันดิบจ่อแตะ 100 ดอลล์ปีนี้ โอเปกพลัสหั่นการผลิตกะทันหัน เบรนท์พุ่งทันที 8%

ซาอุดีอาระเบียและประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่นๆ ในกลุ่มโอเปกพลัส ประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 1.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (2 เม.ย.) สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดเป็นอย่างมาก ด้านนักวิเคราะห์ระบุว่า การหั่นกำลังการผลิตครั้งนี้จะทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ขณะที่สหรัฐฯ คัดค้านการกระทำดังกล่าวโดยกล่าวว่า เป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ จากการคำนวณของรอยเตอร์ ข้อตกลงดังกล่าวนำไปสู่การลดปริมาณการผลิตน้ำมันลง รวมทั้งสิ้น 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจะเท่ากับ 3.7% ของปริมาณความต้องการใช้น้ำมันดิบของทั้งโลก โดยกลุ่มโอเปกพลัส ซึ่งประกอบด้วยประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ (OPEC) รวมถึงรัสเซียและประเทศพันธมิตรอื่นๆ ทั้งนี้ ราคาน้ำมันร่วงลงสู่ระดับ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือนจากความกังวลวิกฤตการณ์ภาคธนาคารทั่วโลกจะฉุดความต้องการใช้น้ำมัน ขณะที่ การดำเนินการต่อไปของกลุ่มโอเปกพลัสที่จะช่วยสนับสนุนตลาดอยู่เหนือการคาดหมาย หลังจากที่หลายฝ่ายมีมุมมองต่อขาลงของราคาน้ำมัน และทำให้ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับ 80 ดอลลาร์สหรัฐ ซาอุดีอาระเบีย ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของกลุ่มโอเปก กล่าวว่า จะลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 500,000 บาร์เรลต่อวัน โดยรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดีอาระเบีย ระบุว่า การปรับลดกำลังการผลิตโดยสมัครใจจะเป็นมาตรการที่ป้องกันไว้ก่อน โดยมุ่งเป้าหมายที่จะสนับสนุนเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน ด้านรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี […]

ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้น เบรนท์ทะลุ 101 ดอลล์ เหตุตลาดกังวลกำลังการผลิตโลกตึงตัว

ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้น เบรนท์ทะลุ 101 ดอลล์ เหตุตลาดกังวลกำลังการผลิตโลกตึงตัว

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 ว่า ราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นในวันพฤหัสบดี เป็นผลจากความกังวลเรื่องกำลังการผลิตตึงตัว ท่ามกลางการหยุดชะงักของการส่งออกของรัสเซีย ศักยภาพของผู้ผลิตรายใหญ่ในการลดการผลิต และการปิดโรงกลั่นของสหรัฐบางส่วน ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เพิ่มขึ้น 59 เซนต์ หรือ 0.6% เป็น 101.81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (04.00 GMT) ขณะที่สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าสหรัฐ (West Texas Intermediate) เพิ่มขึ้น 42 เซนต์ หรือ 0.4% เป็น 95.31 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐมนตรีพลังงานซาอุดีอาระเบียระบุถึงความเป็นไปได้ที่องค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและพันธมิตร (OPEC+) จะลดการผลิตลง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยข้อตกลงเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่ยังคงหยุดชะงัก ทำให้เกิดคำถามว่าการส่งออกของอิหร่านจะกลับมาอีกครั้งหรือไม่  นักวิเคราะห์ของ Citi ระบุว่า “ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ดีดตัวขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากเจ้าหน้าที่ซาอุดิอาระเบียแสดงความเต็มใจที่จะปกป้องราคาผ่านการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม […]

วิกฤติรัสเซีย-ยูเครนที่รุนแรงขึ้นกดดันราคาน้ำมันพุ่ง

วิกฤติรัสเซีย-ยูเครนที่รุนแรงขึ้นกดดันราคาน้ำมันพุ่ง

ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นท่ามกลางสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเมื่อวันจันทร์ช่วงเย็น ประธานาธิบดี Vladimir Putin สั่งการให้กองกำลังเข้าไปใน 2 พื้นที่ที่มีความแตกแยกทางภาคตะวันออกของยูเครน และเขากล่าวว่า จะยอมรับความเป็นอิสระของพื้นที่โดเนตสค์ และลูแฮงสค์ หลังจากมีข่าวนี้ ช่วงเช้าวันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ 2022 ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับขึ้นมา 3.22% เป็น 94 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเบรนท์ เพิ่มขึ้น 1.5% ต่อบาร์เรล เป็น 96.82 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นส่งผลให้ตลาดเกิดความกระวนกระวายใจ ผลักดันให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2022 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden ออกมาบอกว่า สหรัฐฯ เชื่อว่า Putin ตัดสินใจที่จะโจมตียูเครนในอีกไม่กี่วันข้างหน้า รัสเซียมีการวางกองกำลังทหารกว่า 150,000 คน บริเวณพรมแดนติดกับยูเครน และทีมบริหารของ Biden […]

คาดราคาน้ำมัน WTI ครึ่งปีหลัง 2018 อยู่ในกรอบ 65-77 ดอลลาร์/บาร์เรล

คาดราคาน้ำมัน WTI ครึ่งปีหลัง 2018 อยู่ในกรอบ 65-77 ดอลลาร์/บาร์เรล

Upside Risk ระยะสั้นของราคาน้ำมันจากปัญหา Geopolitics นับจากนี้ไปจนถึงปลายปี ราคาน้ำมันมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากปัจจัยกดดันด้านปัญหา Geopolitics ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ส่งผลให้ Supply น้ำมันปรับตัวลดลง และไปกดดันราคาน้ำมันให้เพิ่มขึ้นในระยะสั้น ยกตัวอย่างเช่น การถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก หรือราว 4.0% ของ Supply น้ำมันโลกทั้งหมด และปัญหาในเวเนซุเอลาที่ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของเวเนซุเอลายังคงปรับลดลงต่อเนื่อง มาแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 30 ปี ที่ราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นต้น นอกจากนี้ ความกังวลว่า ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก มีแนวโน้มปรับเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้ หากตลาดน้ำมันเริ่มเข้าสู่สภาวะสมดุลมากขึ้น ก็นับเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับในครึ่งปีหลังของ 2018 นี้เรามองว่าราคาน้ำมัน WTI จะอยู่ในกรอบ 65-77 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล โดยมีปัจจัยที่ต้องจับตามอง ได้แก่ 1) การผ่อนคลายข้อตกลงลดการผลิตของ ผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก, […]

โอเปกผลิตน้ำมัน มี.ค. ลดลง ต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี

โอเปกผลิตน้ำมัน มี.ค. ลดลง ต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันของสมาคมประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ โอเปกในเดือนมีนาคมลดลง 170,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 32.04 ล้านบาร์เรล/วัน ต่ำสุดนับแต่เดือนเมษายนปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ 31.9 ล้านบาร์เรล/วัน โดยในเดือนดังกล่าว ปริมาณการผลิตน้ำมันของเวเนซูเอล่าลดลง 100,000 บาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 1.51 ล้านบาร์เรล/วัน ขณะที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ไออีเอเตือนว่า เวเนซูเอล่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากังวลที่สุดที่จะทำให้อุปทานน้ำมันขาดแคลน หลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนการผลิตน้ำมันในอัลจีเรียลดลง 40,000 บาร์เรล/วัน มาอยู่ที่ 1 ล้านบาร์เรล/วัน หลังปิดซ่อมบำรุง ในหลายแห่งผลิตในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่การผลิตน้ำมันในลิเบียอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วัน หลังปิดแหล่งผลิตบางแห่ง

ความต้องการใช้น้ำมันยังแข็งแกร่งถึง 2020 จนกว่า EV จะตีตื้น

ความต้องการใช้น้ำมันยังแข็งแกร่งถึง 2020 จนกว่า EV จะตีตื้น

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า แบงก์ออฟอเมริกาคาดว่า ความต้องการใช้น้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งจนถึงปี 2020 Francisco Blanch ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ จาก Bank of America กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์กว่า ความต้องการใช้น้ำมันของโลกจะยังคงขยายตัวได้ดีจนถึงปี 2020 โดยเขามองว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้ายังคงใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะกลายมาเป็นรถยนต์กระแสหลักและมีผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน เขากล่าวว่า การพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง และสามารถกำหนดราคาจำหน่ายที่ผู้บริโภคทั่วไปสามารถซื้อได้ยังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 ปี โดยจีนจะเป็นประเทศที่กำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด และหากการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้ามีความแพร่หลายมากขึ้นจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์เร่งพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง

แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ3ป

แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ3ป

เบเกอร์ ฮิวจ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐ เปิดเผยว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐที่มีการใช้งาน มีจำนวนเพิ่มขึ้น 1 แท่น สู่ระดับ 799 แท่นในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2558 และพบว่าจำนวนแท่นเพิ่มขึ้นมาก เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนมีแท่นขุดเจาะน้ำมันเพียง 602 แท่น แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 โดยเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 5 สัปดาห์นับตั้งแต่เดือน มิ.ย.ปีที่แล้ว

OPEC ยันรัสเซียไม่หักหลังเพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน แม้ราคาตลาดฟื้นตัว

OPEC ยันรัสเซียไม่หักหลังเพิ่มกำลังผลิตน้ำมัน แม้ราคาตลาดฟื้นตัว

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า Mohammed Barkindo เลขาธิการสมาคมประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ โอเปก (OPEC) เปิดเผยว่า รัสเซียให้คำมั่นว่า จะไม่ฝ่าฝืนข้อตกลงลดการผลิตน้ำมันที่ลงนามไว้กับโอเปก แม้ราคาน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยนายเบอร์คินโดกล่าวว่า Vladimir Putin ประธานาธิบดี และ Alexander Novak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานรัสเซียได้ให้คำมั่นดังกล่าวไว้ การเปิดเผยดังกล่าวของเลขาธิการโอเปกมีขึ้น หลังนักลงทุนกังวลว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้รัสเซียเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน เช่นเดียวกับสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้ทำข้อตกลงดังกล่าวด้วย ได้เพิ่มการผลิตน้ำมันอย่างต่อเนื่องนับแต่ราคาน้ำมันในตลาดฟื้นตัว ทั้งนี้ ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกินที่อาจกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 60 ดอลลาร์/บาร์เรล

จีนเตรียมเปิดซื้อขายน้ำมันดิบฟิวเจอร์ หวังเพิ่มอำนาจกำหนดราคา-กระตุ้นใช้เงินหยวน

จีนเตรียมเปิดซื้อขายน้ำมันดิบฟิวเจอร์ หวังเพิ่มอำนาจกำหนดราคา-กระตุ้นใช้เงินหยวน

Chang Depeng โฆษกคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของจีน (CSRC) กล่าวในงานแถลงข่าวว่า การเตรียมการซื้อขายสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าว่าใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว จีนเตรียมเปิดการซื้อขายสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2019 ที่ตลาดพลังงานระหว่างประเทศเซี่ยงไฮ้ (Shanghai International Energy Exchange: INE) เพื่อเพิ่มอำนาจของจีนในการกำหนดราคาน้ำมัน สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า จีนได้จัดตั้งตลาดซื้อขายน้ำมันขึ้นมาในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 แต่ไม่นานหลังจากนั้นการซื้อขายได้ถูกระงับไป ด้วยเหตุผลด้านการปฏิรูปและปัจจัยตลาด ทั้งนี้ การมีสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าจะช่วยให้จีนพัฒนาดัชนีอ้างอิงของตนเองในการกำหนดราคาน้ำมัน จีนเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันมากที่สุดอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐ และมีแนวโน้มที่อุปสงค์น้ำมันจะสูงขึ้นในอนาคต เนื่องจากจีนต้องการพลังงานอย่างมากเพื่อขับเคลื่อนภาวะเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจ ขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใช้น้ำมันในปริมาณมากกว่าอเมริกาและยุโรป แต่เอเชียแปซิฟิกกลับยังไม่มีดัชนีอ้างอิงราคาน้ำมันที่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก Dong Dandan นักวิชาการอาวุโสของธนาคารแบงก์ ออฟ คอมมิวนิเคชัน กล่าวว่า สัญญาน้ำมันดิบ WTI และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ฟิวเจอร์ไม่สะท้อนราคาน้ำมันในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบจีนจะช่วยให้บริษัทมีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ซึ่งสะท้อนสภาวะตลาดในเอเชียได้แม่นยำกว่า นอกจากนี้ การเปิดซื้อขายสัญญาน้ำมันดิบฟิวเจอร์ยังเป็นการกระตุ้นการใช้เงินหยวนในระดับสากลมากขึ้น เนื่องจากสัญญาน้ำมันดิบซื้อขายด้วยสกุลเงินหยวน

ยอดผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯมีสิทธิพุ่งทะลุ 11 ล้านบาร์เรล/วัน ภายใน พ.ย.ปีนี้

ยอดผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯมีสิทธิพุ่งทะลุ 11 ล้านบาร์เรล/วัน ภายใน พ.ย.ปีนี้

ยอดผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯมีสิทธิพุ่งทะลุ 11 ล้านบาร์เรล/วัน ภายใน พ.ย.ปีนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า กรมข้อมูลพลังงานแห่งสหรัฐฯคาดว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงกว่า 11 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมว่าจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปี 2018 ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯอยู่ที่ระดับสูงกว่า 10 ล้านบาร์เรล/วันตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2017 หลังราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวเป็นปัจจัยหนุนให้ผู้ผลิตน้ำมันในประเทศเพิ่มการผลิต นอกจากนี้ยังคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยปีนี้จะอยู่ที่ 10.59 ล้านบาร์เรล ก่อนเพิ่มขึ้นเป็น 11.18 ล้านบาร์เรลในปี 2018 ซึ่งนับเป็นการปรับเพิ่มประมาณการจากครั้งก่อนที่คาดไว้ที่ 10.27 ล้านบาร์เรลในปีนี้ และ 10.85 ล้านบาร์เรลในปีถัดไป ทั้งนี้ กรมฯคาดว่า ราคาน้ำมันดิบไลท์ในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 58.28 ดอลลาร์/บาร์เรล และในปีหน้าจะอยู่ที่ 57.51 ดอลลาร์/บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะเฉลี่ยอยู่ที่ 62.39 ดอลลาร์/บาร์เรลในปีนี้ ก่อนจะลดลงมาอยู่ที่ 61.51 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 2019