เมื่อถึงเวลาต้องจากกัน (ตอนจบ)
By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center การเปลี่ยนผ่านของชีวิตบนความสูญเสีย การสูญเสียใดๆ ย่อมทำให้เป็นทุกข์ แต่ชีวิตยังต้องดำเนินต่อไปนะครับ เมื่อเราไม่สามารถถอยหลังกลับไปได้ เราต้องก้าวเดินต่อไป ไม่ว่าชีวิตการงาน หรือชีวิตส่วนตัว ความเจ็บปวดที่ต้องสูญเสียงานที่ชอบ สมบัติพัสถานที่รัก คนที่ผูกพัน สามารถแปรเปลี่ยนเป็นพลังแห่งชีวิตได้ทั้งนั้นละครับ ถ้าเราก้าวผ่านความทุกข์จากความสูญเสียไปได้ เราจะเข้มแข็งและเติบโตขึ้น ทั้งยังพร้อมที่จะเผชิญกับความสูญเสียใดๆ ในอนาคตได้อย่างมีสติปัญญารู้เท่าทัน ผมไม่เคยมีประสบการณ์ความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต เคยแต่เสียญาติผู้ใหญ่ที่จากไปตามวัย หรืออกหักรักคุดตอนหนุ่มๆ ซึ่งเป็นความทุกข์เล็กๆ ที่ผ่านไปแบบไม่ยากเย็นอะไร ที่ดูหนักหนาหน่อยพอเอามาแชร์ได้บ้างก็ตอนตกงานเมื่ออายุ 30 จากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 40 โดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ทำงานอยู่ถูกปิดไปพร้อมกับ 56 ไฟแนนซ์ ทำให้หางานใหม่ในวงการเดิมไม่ได้ เงินเก็บก็ไม่มีเพราะใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย กิน เที่ยว เล่นหุ้น จนมีแต่หนี้บัตรเครดิต แต่ยังดีที่ไม่มีครอบครัว และยังอาศัยกับคุณพ่อที่ยังทำงานอยู่ ขอเงินพ่อใช้ได้บ้าง พยายามหางานในแวดวงอื่นก็ไม่ได้ผล สมัครสอบหน่วยราชการที่เกี่ยวกับการเงินก็ติดอันดับ 4 แต่ผ่านมาจนบัดนี้ไม่เห็นเรียกตัวไปสัมภาษณ์เลยครับ ก็เป็นทุกข์อยู่พอสมควร แต่ปลอบใจตัวเองว่ายังมีอะไรทำอยู่ คือเรียนปริญญาโทภาคค่ำคณะเศรษฐศาสตร์แถวท่าพระจันทร์ หลังจากตกงานได้ […]
เมื่อถึงเวลาต้องจากกัน (ตอนที่ 3)
By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center สิ้นสุดชีวิตสมรส การหย่าร้างเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวด ถึงแม้บางคู่จะพยายามปลอบใจบอกว่าเป็นจากกันโดยดีและยังมีความเข้าใจ ยังคงความเป็นเพื่อนกันได้ แต่เมื่อเลิกรากันแล้วก็มักจะยังคงมีบาดแผลในใจที่เจ็บปวดอยู่เสมอ และต่างฝ่ายมักชี้นิ้วโทษอีกฝ่ายว่าเป็นต้นเหตุของการหย่าร้าง สิ่งที่ถูกคือแต่ละคนควรกลับไปทบทวนว่าจุดไหนเป็นที่มาที่ทำให้ชีวิตคู่เริ่มเบี่ยงเบนออกจากกัน เพื่อเป็นการตระหนักรู้ถึงข้อผิดพลาดของแต่ละฝ่าย และเก็บเป็นประสบการณ์ชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นในภายภาคหน้า ความตายที่พรากชีวิตคู่ เมื่อชายหญิงสัญญาว่าจะใช้ชีวิตร่วมกันตราบจนสิ้นลมหายใจ นั่นหมายความว่าหากใครคนหนึ่งพรากจากไป คนที่เหลืออยู่จะประสบความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ถ้าได้ครองคู่อยู่กันหลายสิบปี คนที่ยังอยู่จะพบกับความยากลำบากในการมีชีวิตเพียงลำพัง ความเจ็บปวดของความสูญเสียสามารถแปรเปลี่ยนเป็นการซาบซึ้งถึงคุณค่าของชีวิตที่ยังเหลืออยู่ เปรียบเหมือนกันการเปลี่ยนความหงุดหงิดที่รถติดเป็นการใช้เวลาที่รถติดฟังเพลงเพราะๆ หรือฟังรายการวิทยุที่ไม่มีเวลาฟังยามปกติ การพลัดพรากจากคู่ชีวิตส่งผลรุนแรงต่อชีวิต แต่เมื่อความทุกข์บรรเทาลง จงหาโอกาสสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิตเถิดครับ เช่น คบเพื่อนใหม่ หากิจกรรมใหม่ๆ ทำเพื่อสร้างชีวิตใหม่ และชีวิตใหม่ๆ ที่ดีขึ้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ ถ้าเราไม่เริ่มต้นก้าวไปหามัน ออกจากงาน การออกจากงานอาจเป็นการออกไปเพื่อไปเริ่มงานที่ใหม่ เริ่มอาชีพใหม่ หรือเป็นการออกจากงานโดยไม่สมัครใจ เช่นไล่ออก ปลดออก กราบไหว้ขอร้องให้ออก หรือออกเพราะเกษียณอายุ ผลกระทบต่อจิตใจอาจมีทั้งดีและไม่ดี เช่น คนที่ต้องออกเพราะถูกบังคับก็ต้องอยู่ในภาวะที่สับสนและเครียด กับความไม่แน่นอนของชีวิต ส่วนคนที่ได้งานใหม่หรืออาชีพใหม่ก็จะรู้สึกตื่นเต้น มีชีวิตชีวา แต่ก็ต้องสูญเสียสภาพแวดล้อมที่คุ้นชิน […]
เมื่อถึงเวลาต้องจากกัน (ตอนที่ 2)
By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center เป็นธรรมดาครับ ที่พละกำลังที่เคยมีตอนวัยหนุ่มสาวจะเริ่มถดถอยเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน ความรู้สึกใจหายหรือเศร้าใจในเรื่องสังขารร่วงโรยจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอ เราอาจกังวลใจว่าแล้วชีวิตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่ผมว่าในช่วงเวลานี้น่าจะเหมาะที่จะได้ทบทวนชีวิตที่ผ่านมากับค้นหาสิ่งที่เราอยากเป็นในอนาคต มันเป็นเวลาที่เราต้องบอกลาชีวิตหนุ่มสาวแล้วก้าวเข้าสู่ช่วงชีวิตใหม่ที่มีค่าขึ้น ซึ่งกระบวนการนั้นเราต้องสลัดทิ้งภาพลักษณ์และตัวตนแบบเดิมและสร้างตัวตนใหม่ขึ้นมา สนุกสนานกับการเดินทางของชีวิต อายุที่มากขึ้นไม่ควรเป็นเหตุให้จิตใจเราเหี่ยวเฉาลง การเสื่อมถอยทางกายภาพสามารถเป็นแรงกระตุ้นที่จะพัฒนาตัวเองได้ สิ่งที่ท้าทายก็คือการไม่ยอมแพ้และอย่าไปหลงคิดว่าชีวิตเราสิ้นสุดไปแล้วตามร่างกายที่เสื่อมลง อย่าปล่อยตัวให้เสื่อมโทรมเกินความเป็นจริง ทำตัวให้มีชีวิตชีวาแต่ไม่จำเป็นต้องถึงกับใส่วิกผมเจ็ดสีก็ได้นะครับ รักษาสุขภาพให้ดี ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย พบหมอและตรวจสุขภาพเป็นระยะ ที่สำคัญก็คือ จงจำไว้ว่าตัวตนที่แท้จริงข้างในของเรายังเหมือนเดิมถึงแม้รูปกายเราเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เราคือใคร ตลอดชีวิต เราถูกนิยามความเป็นเราจากสิ่งที่เราทำ เช่นอาชีพ เป็น หมอ ตำรวจ นักการเมือง นายธนาคาร นักกิจกรรม นักอนุรักษ์สัตว์ป่า อาสาสมัครกู้ภัย หรือหากแยกตามความผูกพันก็เช่นเป็น พ่อ ลูก หลาน ปู่ ย่า ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงสถานะใดๆ อาจสร้างความลำบากใจหรือความสับสนในชีวิต เช่น ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการหรือหัวหน้าที่อาจทำให้ต้องห่างเหินเพื่อนร่วมงาน หรือทำตัวไม่ถูกเมื่อกลายเป็นพ่อแม่คน คนที่มีตัวตน อำนาจ บารมี […]
เมื่อถึงเวลาต้องจากกัน (ตอนที่ 1)
By… ศรศักดิ สร้อยแสงจันทร์ BF Knowledge Center “เมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น เรามักจะพบเจอกับอุปสรรคของชีวิตอยู่เสมอๆ บางครั้งก็จัดการได้ง่าย บางครั้งก็ยากลำบาก แต่อุปสรรคเหล่านั้นก็สร้างความเปลี่ยนแปลงในตัวเราทุกครั้งที่ได้ผ่านพ้นมันมาได้” สังขารที่เสื่อมไปตามวัย คนอายุ 50 ปี ขึ้นไป ก็ถือเป็นจุดสิ้นสุดของวัยหนุ่มสาวแล้ว ร่างกายก็จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ หญิงและชายต่างก็พบกับความเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันไป เราจะรู้สึกห่อเหี่ยวใจเมื่อพบว่าร่างกายของเราเริ่มทำงานได้ไม่เหมือนเดิม หรือดูไม่สดใสเยาว์วัยเหมือนแต่ก่อน แต่ในสังคมที่คลั่งไคล้ความเป็นหนุ่มสาวอย่างทุกวันนี้ มีธุรกิจมากมายที่ช่วยให้เราชลอความแก่หรือยืดอายุความหนุ่มสาว ไม่ว่าจะเป็น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ฟิตเนสคอร์ส สูตรโบท็อก ฯลฯ การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนวัยนี้น่าจะเป็นการออกกำลังเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงตามวัย มากกว่าการออกกำลังเพื่อสร้างซิกแพค การเสริมความงามสมัยใหม่ช่วยให้เราฟื้นฟูความหนุ่มสาวหรือชะลอริ้วรอยของความชราได้ดี สิ่งที่คนวัยนี้ทำอยู่เสมอไม่ว่าชายหรือหญิงคือการย้อมสีผมเพื่อปกปิดเส้นผมที่เริ่มหงอกขาว ยังไม่นับการนวดหน้า สปาผิว สปาเล็บ สปาเท้าจรดหัว ในอดีตคนที่อยู่ในวัยเกษียณควรต้องทำตัวให้ดูสมวัย แต่สมัยนี้มันต่างไปมาก เพราะคนวัยนี้ถูกกระแสความเชื่อครอบงำให้ต้องทำตัวให้ดูอ่อนวัยซึ่งต่างจากคนรุ่นก่อน ภาพลักษณ์ที่ร่วงโรย เรารู้สึกสะท้อนใจและห่อเหี่ยวทุกครั้งที่ส่องกระจกแล้วพบคนที่ดูโรยรา หุ่นไม่ฟิตแอนเฟิร์มเหมือนนายแบบนางแบบบนหน้าปกนิตยสาร แล้วเราก็จะลดละอาหารพวกแป้งและน้ำตาล ด้วยความหวังว่าจะกลับไปมีหุ่นดีเหมือนเดิมในเวลาไม่นาน แต่ลึกๆ แล้วเราก็รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ ถึงความจริงจะเป็นเช่นนั้น เราก็ต้องอยู่กับความเป็นจริง เมื่อเข้าใกล้วัยเกษียณ เราจะรู้สึกกังวลใจเมื่อร่างกายที่อยู่กับเรามานานปีเริ่มทำงานไม่ได้อย่างที่เราต้องการ […]
จัดเงินในกระเป๋าง่ายๆ โดยใช้หลัก “เงิน 3 ก้อน” (ตอนจบ)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ภายหลังการจัดระเบียบเงินใช้จ่ายประจำวันก้อนที่ 1 และเตรียมเงินสำรองยามฉุกเฉินก้อนที่ 2 เรียบร้อยแล้ว ก็เป็นคราวของ เงินก้อนที่ 3 เงินลงทุนตามเป้าหมาย การจัดการเงินก้อนนี้แบบง่ายๆ ก็คือให้จัดแบ่งตามระยะเวลาตามเป้าหมายการใช้เงินเป็น ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะสั้น คือการลงทุนที่มีเป้าหมายต้องใช้เงินนั้นภายในไม่เกิน 3ปี เป้าหมายระยะกลาง คือแผนจะใช้เงินภายใน 3-7 ปี เช่นเป้าหมายการเงินเตรียมเรียนต่อ ท่องเที่ยว ดาวน์รถ ดาวน์บ้าน แต่งงาน เตรียมปรับปรุงซ่อมแซมบ้าน เป็นต้น การลงทุนสำหรับเป้าหมายระยะสั้น โดยเฉพาะเงินที่ต้องใช้ภายใน 1ปี ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก ไม่ควรลงทุนในหุ้น หรือกองทุนหุ้น เพราะมูลค่าจะมีความผันผวน การเก็บเงินหรือลงทุนควรใช้กองทุนตราสารหนี้หรือการฝากบัญชีธนาคาร เนื่องจากผันผวนต่ำ การลงทุนสำหรับเป้าหมายระยะกลาง ควรเป็นการลงทุนผสมผสานทั้งตราสารหนี้และหุ้นในระดับที่พอเหมาะ แม้จะมีระยะเวลาที่ยาวขึ้น เช่น นาน 5 […]
พลิกแนวคิดใช้จ่ายกับชีวิตปัจจุบัน (ตอนที่ 1)
By…อรพรรณ บัวประชุม CFP® BF Knowledge Center “SALE” ตัวอักษร 4 ตัวนี้ ที่บรรดาสาวเล็กสาวใหญ่ เมื่อเห็นแล้วเป็นต้องตะลึงแล้วเดินเข้าหาโดยไม่ยั้งคิด แต่ในปัจจุบันนี้ อักษร 4 ตัวนี้ เริ่มเป็นตัวอักษรธรรมดา เพราะทุกครั้งที่เราไปห้างสรรพสินค้า ก็มักจะเห็นเป็นประจำ ไม่เหมือนเมื่อก่อน ที่จะต้องรอนาน 3 เดือน 6 เดือน หรือต้องรอเป็นปี ถึงจะมีโอกาสได้เห็น “SALE” ล้างสต็อกครั้งยิ่งใหญ่สักที นั่นเป็นเพราะว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้หลายคนไม่อยากดึงเงินในกระเป๋าออกมาใช้ จึงต้องมีการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย หรือแม้แต่กาแฟแก้วแพงก็ยังมีโปรโมชั่นออกมาเรื่อยๆ เพื่อให้เรายอมควักเงินในกระเป๋าออกมาใช้จ่ายกัน จะทำอย่างไรหากจำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ซื้อของชิ้นใหญ่ ก่อนอื่นต้องคิดก่อนว่าของชิ้นใหญ่ที่จะซื้อสำคัญมากไหม ถ้าสำคัญมากก็ไปต่อกัน แต่ถ้าไม่ได้สำคัญ เป็นแค่ความอยาก แนะนำให้อยู่เฉยๆ ก่อน เอาเงินที่มีไปลงทุนโดยกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจน สำหรับของสำคัญที่จำเป็นต้องซื้อ เงินก็ต้องใช้เยอะ จะทำยังไงดี -ต้องสำรวจเงินในกระเป๋าที่มีก่อน (เงินเก่า) ว่ามีอยู่เท่าไหร่ แล้วอยู่ตรงไหนบ้าง ให้ […]
จัดเงินในกระเป๋าง่ายๆ โดยใช้หลัก “เงิน 3 ก้อน” (ตอนที่2)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center หลักการจัดเงินพื้นฐานโดยแบ่งเงินเป็น 3 ก้อน โดยก้อนแรก เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายประจำวันหรือรายเดือน ส่วนก้อนที่2 มักเป็นส่วนที่ถูกละเลยทั้งที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ก้อนที่ 2 เงินสำรองยามฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ละเลย ไม่ให้ความสำคัญ ทั้งที่มีความจำเป็นอย่างมากในสถานการณ์ฉุกเฉิน หลักคิดของเงินก้อนนี้คือ วันใดที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ทำงานไม่ได้หรือรายได้ไม่เข้ามา ก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในรูปแบบเดิมๆ หรือใกล้เคียงเดิมได้ไปอีกอย่างน้อย 4-6 เดือน ดังนั้นเงินก้อนนี้ควรมีไว้อย่างน้อยเท่ากับ 4-6เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือนทั้งรายจ่ายประจำ และการผ่อนชำระต่างๆ เงินส่วนนี้ควรแยกออกจากเงินใช้กรณีเจ็บป่วยให้ชัดเจน เพราะเป้าหมายคือสำรองเพื่อการดำรงชีพในสภาวะที่ขาดรายได้ ไม่ใช่กรณีเจ็บป่วย ซึ่งในวันที่เกิดเหตุไม่คาดคิดจะได้ไม่เดือดร้อน ไม่ลนลาน เพราะยังสามารถอยู่ได้ ไม่ต้องถูกสถานการณ์บีบคั้นให้เร่งหารายได้ จนทำให้ตัดสินใจในสิ่งที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับอนาคต แล้วเงินเงินสำรองยามฉุกเฉิน ก้อนนี้ ควรมีเท่าไร 3 หรือ 4 หรือ 6 เท่าของค่าใช้จ่ายและภาระรายเดือน เรื่องนี้ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่หากนำเรื่องการคุ้มครองความเสี่ยงมาประยุกต์ใช้ ก็จะมี […]
กองทุนรวมแบบไหน เหมาะสำหรับลงทุนเพื่อวัยเกษียณ
กองทุนรวมแบบไหน (ไม่รวม LTF และ RMF) เหมาะสำหรับลงทุนเพื่อวัยเกษียณ โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® By…BF Knowledge Center ถ้าพูดถึงการลงทุนของวัยผมสีดอกเลา คงหนีไม่พ้นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund : RMF ) หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund : LTF) เพราะเป็นกองทุนที่บังคับตัวเอง ให้ต้องลงทุนยาว ที่สำคัญกองทุนเหล่านี้ยังติดเงื่อนไขทางด้านภาษี ทำให้เราไม่อยากรีบขายถอนตัวออกมา แต่ถ้าเป้าหมายของเราไม่ใช่เพื่อสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ก็สามารถลงทุนในกองทุนเปิดทั่วไปได้ แต่จะลงทุนอย่างไรนั้น ลองมาดูกันว่ามีตัวเลือกอะไรบ้าง เป้าหมายเพื่อให้เราถือไม้เท้าอย่างมีคุณภาพ (เกษียณ) อันนี้สำคัญมาก พลาดไม่ได้ ! ก่อนลงทุนเพื่อเป้าหมายเกษียณ […]
จัดเงินในกระเป๋าง่ายๆ โดยใช้หลัก “เงิน 3 ก้อน”(ตอนที่1)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center เพราะส่วนใหญ่รู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ เรื่องจำเป็น แต่ก็หยุดอยู่แค่นั้น ยังไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไรจึงจะถูกต้อง ในเรื่องของ How to? การใช้ที่ปรึกษาการเงิน หรือให้ผู้รู้ช่วยจัดให้เป็นทางเลือกที่คนส่วนใหญ่นึกถึง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงนึกวางแผนการเงินได้ ทำให้ผู้คนจำนวนมากยังไม่ได้เริ่มต้น หลักการ “เงิน 3 ก้อน” เป็นการจัดการเงินขั้นพื้นฐาน เป็นคำแนะนำง่ายๆ ที่สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถตั้งหลักได้ แยกเงินเป็น ช่วยให้เริ่มต้นเก็บออมและลงทุนได้อย่างถูกต้อง และไม่สับสนเมื่อถึงเวลาใช้จ่าย ตามเป้าหมายที่วางไว้ “เงิน 3 ก้อน” เริ่มต้นด้วยการจัดการเงินกำหนดเป้าหมายใหญ่ของเงินในกระเป๋า รวมถึง เงินรายได้ที่จะได้รับ โดยให้จัดเงินเป็น 3 ก้อน ได้แก่ เงินใช้จ่ายประจำ เงินสำรองยามฉุกเฉิน และ เงินลงทุนตามเป้าหมาย ก้อนที่ 1 เงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รายเดือน รวมถึงเงินผ่อนจ่ายต่างๆ และเงินที่จะต้องจ่ายออกใน 3 […]
อย่าปล่อยให้ของฟรีผ่านเลยไป
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center โลกทุกวันนี้เป็นของผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพราะสินค้าและบริการต่างๆ ลด แลก แจก แถม แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าที่มีอยู่ให้นานที่สุด ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการอยู่รอดและอนาคตของกิจการ การแข่งขันแบบนี้ ถือเป็นโอกาสของเราๆ ท่านๆ สำหรับการบริหารรายจ่ายจากกิจกรรมโปรโมชั่นต่างๆ และอย่าได้คิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เสียเวลา ยุ่งยาก เพราะเมื่อเรารู้จักบริหารจัดการ โปรโมชั่นลดแลกแจกแถม แบบนี้ช่วยให้ประหยัดเงินได้โขอยู่ สิ่งสำคัญของการวางแผนลดรายจ่ายด้วยโปรโมชั่นเหล่านี้ อยู่บนแนวคิดที่ว่า “ต้องเป็นการลดรายจ่ายที่พึงจ่ายอยู่แล้ว” ไม่ใช่ประหยัดจากรายการที่ต้องจ่ายเพิ่มเพียงเพราะอยากได้ชื่อว่าซื้อของได้ถูก ทางเลือกก็มีมากมาย อาทิ โปรโมชั่นจากค่ายโทรศัพท์มือถือ หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ยุค Internet of Thing (IoT) ค่ายมือถือแข่งขันกันสูงมาก มีโปรโมชั่นส่วนลดโดยเฉพาะของกินของใช้สันทนาการในชีวิตประจำวัน หากเรารู้จักเลือก รู้จักใช้ เดือนๆ หนึ่งก็ประหยัดได้หลายร้อยหรือบางเดือนก็ถึงหลักพัน เช่น ค่าเดินทางรถสาธารณะเช่นรถใต้ดิน ดูหนังฟรีเดือนละครั้งหรือส่วนลด50% ค่าอาหารเครื่องดื่มตามสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะเวลาเดินทาง […]