Personal Finance Retirement age
อาชีพของคนไทยหลังเกษียณ (ตอนจบ)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center แบบที่ 2 เป็นเรื่องความชำนาญเฉพาะด้าน ที่สามารถนำมาหารายได้ให้กับตัวเองในวัยเกษียณได้ โดยเพิ่มเติมเรื่องมุมมองธุรกิจประกอบ จะทำให้กิจกรรมหารายได้หลังเกษียณเราสนุก และเป็นจริงมากขึ้น เช่น … สังคมปัจจุบันครอบครัวมีขนาดเล็กลงไม่ค่อยทำอาหารเอง ใช้วิธีซื้อ แต่คนรุ่นก่อน กลุ่ม Gen X ทำกับข้าวเก่ง กินข้าวบ้านมากกว่าไปกินข้างนอก คนรุ่นใหม่เค้าก็อยากกินข้าวบ้านอร่อยๆ แต่ทำไม่เป็น ก็เป็นช่องทางให้วัยเกษียณปัจจุบันสามารถทำอาหารขายในหมู่บ้านได้ ถ้าในบริเวณที่พักของเรา มีคนทำงานบริษัทที่ไม่ค่อยอยู่บ้านช่วงกลางวัน ก็ทำขายเสาร์อาทิตย์ในวันที่เขาอยู่บ้าน หรือทำเป็นข้าวกล่อง ผูกปิ่นโต ส่งทุกเย็น มีรายการอาหารกำหนดไว้เลย วันละ 3-4 อย่าง ให้เลือก แล้วก็ส่งในหมู่บ้าน คิดราคาไม่แพง ถ้าเรามีฝีมือ ทำอร่อย สะอาด ก็จะหาลูกค้าได้ไม่ยาก คนไทยชอบของอร่อย ลองดูอาหารที่คนยุคนี้เค้านิยมซะหน่อย เน้นสุขภาพ กินหวานน้อยลง กินมันน้อยลง อาหารที่ถูกจริต จะทำให้ขายง่ายขึ้น […]
อาชีพของคนไทยหลังเกษียณ (ตอนที่1)
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center อายุของการเกษียณในสังคมไทย โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุ 60ปี ซึ่งด้วยวิทยาการทางการแพทย์ คนวัย 60 ยังคงแข็งแรง สมองยังคงสดใส ความจำยังดี และเป็นผู้มีไฟ อยากทำงาน แม้จะด้วยข้อจำกัดของระบบที่มีการกำหนดตัวเลขเกษียณชัดเจน เช่น 60ปี บางเดี๋ยวนี้องค์กรจำนวนมากก็มีการต่ออายุผู้เกษียณออกไป เนื่องจากยังคงเสียดายประสบการณ์และความรู้ของบุคคลเหล่านั้น แต่ก็จะเป็นลักษณะ case by case และก็มีองค์กรอีกมากที่มีผู้มีความรู้ความสามารถ แต่จำเป็นต้องให้เกษียณเพื่อเปิดโอกาศให้คนรุ่นถัดไปได้ขยับขึ้นตามความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เกษียณที่ยังมีไฟ ก็ยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่สามารถทำได้ มีประโยชน์กับประเทศ กับสังคม รวมถึงยังมีความสามารถในการหารายได้ ประกอบอาชีพ โดยอาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมา ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับอาชีพที่ทำมาตลอดหรือไม่ก็ตาม อาชีพที่แนะนำไว้หารายได้สำหรับคนวัยเกษียณ อาจแบ่งได้เป็น 3 แบบ แบบที่ 1 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับความสามารถด้านวิชาชีพ งานที่เคยทำ ชัดเจน ง่ายๆ เราทำงานมาทั้งชีวิต ย่อมมีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ ในวัยที่ยังพอมีแรง […]
Personal Finance Retirement age
คุณค่าของคนวัยเกษียณ
By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ที่มีผู้ใหญ่อายุเกิน 60 เกินกว่า 20% ของประเทศ สังคมไทยจึงเริ่มปรับตัวเพื่อผู้สูงอายุ มีสินค้าเพื่อผู้สูงอายุ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ พื้นบ้านที่สอดรับกับสรีระผู้สูงวัย รถยนต์ที่มีรถยกรถเข็น มีบริการดูแลผู้สูงวัยระหว่างวันที่ลูกๆ ไปทำงานไม่อยู่บ้าน มีที่อยู่สำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ นั่นคือมุมมองว่าผู้สูงอายุต้องการคนดูแล ต้องการสินค้าและผลิตภัณฑ์เฉพาะ แต่ในอีกมุมหนึ่ง ผู้เกษียณอายุเกิน 60 ปี จำนวนมากยังคงทำงาน มีบทบาทในสังคม โดยไม่ได้กลายเป็นภาระหรือต้องการคนดูแลตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้เกษียณในช่วงเริ่มต้น สำหรับคนวัยเกษียณ มุมมองที่มีต่อตนเอง ยังคงแตกต่างจากมุมมองจากคนวัยอื่น คำว่าเกษียณ หรือตัวเลข 60 มันไม่ได้ชี้เป็นชี้ตายชีวิต หลังจากนอนหลับในคืนวันที่ 31 ธันวาคมในปีที่กษียณ ตื่นขึ้นมา 1 มกราคม ร่างกายยังคงเหมือนเดิม กำลังวังชา สมอง ยังเหมือนเดิม ดังนั้น การจะบอกว่าคนที่เกษียณแล้วต้องอยู่กับบ้าน อย่าทำงานหนัก […]
6 ขั้นตอนแก้หนี้ ทำไม่ยากหากตั้งใจจริง (ตอนจบ)
BF Knowledge Center ขั้นสุดท้าย ขั้นตอนที่หกของการแก้ไขหนี้ หากทำพยายามทำทุกวิถีทางแล้วพบว่า เงินต้นและดอกเบี้ยยังพอกพูน ไม่ลดลงอย่างที่ควรจะเป็น ด้วยจำนวนหนี้ที่มากกว่ารายได้และทรัพย์สินอย่างมาก ขั้นตอนที่หก ขอผลัดผ่อน เลื่อนชำระ ประนอมหนี้ ถ้าทำทุกวิถีทางแล้วแต่หนี้ยังไม่หมด ยังหาเงินมาโปะมาลดต้นลดดอกไม่พอ ก็ต้องไปคุยกับฝั่งเจ้าหนี้ ขอผลัดผ่อน เลื่อนชำระหนี้ หรือประนอมหนี้ ถ้าเราทำเต็มที่ด้วยความพยายาม ด้วยความสัตย์จริง อย่างเต็มที่ เจ้าหนี้ก็คงไม่ใจร้าย ข่าวดีก็คือ เดี๋ยวนี้หน่วยงานกลางอย่าง ธปท. เขาเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มาก และได้ร่วมหารือกับสมาคมธนาคารไทย เพื่อช่วยเหลือผู้มีหนี้มากขึ้น โดยมุ่งหวังให้เป็นรูปธรรม ไม่ใช่แค่ให้ความรู้อย่างเดียว … เขาจัดตั้งคลินิคแก้หนี้ขึ้นเมื่อปีที่แล้ว คลีนิคแก้หนี้ เป็นโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันที่ จัดตั้งขึ้นโดย ธปท. และสมาคมธนาคารไทย สมาคมธนาคารต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ของไทยและต่างประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนี้สินส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน โดยเฉพาะหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย โดยลูกหนี้สามารถได้ข้อยุติกับธนาคารเจ้าหนี้หลายๆ แห่งในคราวเดียว ผ่านหน่วยงานกลางที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาแทนเจ้าหนี้ทุกรายอย่างครบวงจร ภายใต้กรอบกฎหมายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน นี่เป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่ ธปท […]
6 ขั้นตอนแก้หนี้ ทำไม่ยากหากตั้งใจจริง (ตอนที่3)
BF Knowledge Center ข้อที่สี่ กำหนดลำดับของหนี้ที่ควรกำจัด ถ้าด้วยหลักของตัวเลข เราก็ต้องคืนหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน … ลดดอกเบี้ยที่ไหนได้มากกว่า ก็ไปจัดการที่นั่นก่อน … ดูเงื่อนไขประกอบหน่อยว่ายังไง แต่ถ้ามีหนี้สินรุงรังหลายๆ ที่ แล้วมีอัตราดอกเบี้ยสูงๆ อยากแนะนำให้โปะหนี้สินที่มีจำนวนน้อยก่อน จะดีมากในเชิงจิตวิทยาที่เราสามารถลดจำนวนรายเจ้าหนี้ลงได้ เป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้ตัวเอง และตัดความวุ่นวายออกด้วย เพราะยิ่งมีหลายที่ ก็จะยิ่งวุ่นวาย ข้อที่ห้า หากระแสเงินสดมาโปะหนี้ รายได้ไม่พอไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง แต่การไม่รู้วิธีบริหารจัดการต่างหากที่เป็นปัญหา วิธี มันมีร้อยแปด แต่ขอยกตัวอย่างมา 5 ข้อ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น การที่รายได้ไม่พอก็เพราะดันไปมีรายจ่ายไร้สาระมากเกินไป เช่นสังสรรค์กับเพื่อนสัปดาห์นึงก็หลายครั้ง กินอาหารร้านหรูแทบทุกวัน ช้ปปิ้งแหลกราญ แต่บ่นเงินไม่พอ เรื่องแบบนี้ขอแนะนำว่าถ้าเป็นปัญหาหนี้ในระดับปกติ ก็ให้ค่อยๆ ลด ถ้าเป็นปัญหาหนี้ระดับวิกฤติ ก็ต้องหักดิบกันละ การหักดิบจะเหมือนการ shock ตัวเองด้วย ในอนาคตจะได้รู้ว่าถ้าปล่อยให้เกิดหนี้อีกจะเจออะไร ลำบากยังไง หาทางเพิ่มรายได้ คนที่ทำงานประกอบอาชีพฟรีแลนซ์ มีกิจการตัวเอง ก็ให้ลองดูว่าทุกวันนี้เราทุ่มเทกับการหารายได้เต็มที่หรือยัง จริงอยู่การบริหารชีวิตระหว่างงานกับครอบครัวและเวลาส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ […]
6 ขั้นตอนแก้หนี้ ทำไม่ยากหากตั้งใจจริง (ตอนที่2)
BF Knowledge Center สามข้อแรกของการจัดการหนี้สิน เป็นขั้นตอนสำคัญที่มักถูกมองข้าม ข้อแรก จัดระเบียบหนี้สิน บางคนเป็นหนี้โดยไม่เคยรู้เลยว่ามีหนี้อยู่เท่าไรที่ไหนบ้าง ดอกเบี้ยเท่าไรคิดยังไง บางคนไม่เคยรู้เลยวิธีคิดดอกเบี้ยของหนี้แต่ละอย่างไม่เท่ากัน อย่างเช่นอัตราดอกเบี้ยบ้านคิดแบบลดต้นลดดอก แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ซื้อรถยนต์หรือผ่อนชำระสินค้าที่คิดแบบ flat rate มันไม่ลดต้นลดดอก อัตราดอกเบี้ยแท้จริงที่จ่ายจึงมากกว่าอัตรคาดอกเบี้ยลดต้นลดดอกประมาณเท่านึง ต้องเขียนหรือพิมพ์ใส่คอมพ์ออกเลย อย่าแค่จำมันจะลืม เงินกู้ตอนเริ่มต้นเท่าไร กู้จากไหน มีหนี้กับธนาคารไหน บริษัทไหน หรือยืมเพื่อนพ้องพี่น้องคนไหนมาบ้าง อัตราดอกเบี้ยเท่าไร จ่ายเงินต้น ดอกเบี้ยยังไง เดือนละเท่าไร เงื่อนไขเป็นอย่างไร เขียนออกมาให้หมดเลย ใครทำ excel เป็น แนะให้ทำไว้เลยจะเปรียบเทียบง่าย พอรู้สถานะหนี้ทั้งหมดที่มี ทีนี้ก็จะง่ายในการวางแผนจัดการ ข้อสอง ประเมินสถานะการเป็นหนี้ พอเรารู้หนี้สินที่มีแล้ว ให้เอาไปเทียบกับรายได้เพื่อประเมินสถานะความเป็นหนี้ของเราว่าอยู่ในระดับใด คือ 1.) มีหนี้แต่ยังสบายๆ 2.) มีหนี้ตึงมือ หรือ 3.) มีหนี้ขั้นวิกฤต ถ้ารายได้แต่ละเดือน เพียงพอจ่ายดอกเบี้ย และเงินต้นได้ตามสัญญา […]
6 ขั้นตอนแก้หนี้ ทำไม่ยากหากตั้งใจจริง (ตอนที่1)
BF Knowledge Center หนี้สินรุงรังยังเป็นเรื่องปัญหาโลกแตกของคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แต่เชื่อไหม ปัญหาของคนเป็นหนี้ท่วมหัวจำนวนมาก ไม่ใช่มาจากรายได้น้อย แต่มาจากการขาดวินัยทางการเงิน ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนสาเหตุหลักๆ ก็เรื่องนี้ทั้งสิ้น การมีหนี้สินไม่ใช่สิ่งผิด หนี้ที่จำเป็นก็สามารถก่อได้ เช่นหนี้เพื่อการดำรงชีพ หนี้สินบ้าน รถที่จำเป็นต้องใช้ ให้พอเหมาะพอดีตามอัตภาพ แต่หลายคนมารู้เมื่อสายหนี้สินรุงรังพันตัวไปแล้ว สถานการณ์เช่นนี้จะหาทางออกได้อย่างไร หนี้ที่มี จะเป็นปัญหาหรือไม่ อยู่ที่คำว่าวินัย ถ้าเป็นหนี้แล้วรู้ตัวตลอดเวลา มีการบริหารจัดสรรการจ่ายคืนหนี้ และไม่ก่อหนี้ใหม่เกินตัว รู้จักประเมินตัวเอง รู้จักพอเพียง การมีหนี้ก็ไม่ใช่ปัญหา หนี้สินมีหลายแบบ คนเราเกิดมาไม่เท่ากัน บางคนไม่อยากเป็นหนี้แต่มีความจำเป็น แต่บางคนก็หาเรื่องใส่ตัวจริงๆ เพราะโลภ อยากได้ อยากมี และคิดว่าหนี้ไม่ใช่ปัญหา โดยไม่ประเมินกำลังความสามารถในการหาเงินหารายได้หรือชำระหนี้ของตัวเอง นี่คือขาดการวางแผนการเป็นหนี้ แต่จะหนี้แบบไหน ถ้ามีขึ้นมาแล้วเป็นทุกข์ทั้งนั้น จึงต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจ ลดละเลิกความอยากได้อยากมีให้ได้ เพราะหนี้มันเกิดง่ายตามความอยาก ที่ซ้ำร้ายคือสิ่งเย้ายวนมีมากขึ้น เดี๋ยวนี้ใครมีอะไรก็โชว์บนเฟส พอเข้าไปเห็นก็อยากได้ อยากไปเที่ยวบ้าง อยากกินบ้าง เวลาอยากได้ของก็ไม่ต้องไปร้าน แค่กดซื้อออนไลน์ […]
แนวคิดการปรับลดหุ้นในพอร์ตเมื่อเวลาลงทุนสั้นลง
By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center การปรับลดหุ้นในพอร์ตเมื่อระยะเวลาการลงทุนลดลงเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ผู้ลงทุนควรทำ เพื่อความผันผวนโดยรวมของพอร์ตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่เป็นข้อจำกัดตายตัว แต่ก็มักจะมีคำถามว่าจะต้องทำเมื่อไร กี่ปีทำที ลดลงกี่เปอร์เซ็นต์ ฯลฯ ไม่มีคำตอบตายตัว ว่าต้องเท่านั้นเท่านี้ แต่หลักการลดสัดส่วนยังเป็นความจำเป็นหลักที่ต้องทำและสามารถกำหนดเองได้ ลดลงเท่าไรถึงจะดีที่สุดไม่มีคำตอบ แต่คำตอบที่บอกได้คือการเตรียมพร้อมวางแผนและตั้งเป้าหมายของแต่ละคนกับแต่ละวัตถุประสงค์แบบคร่าวๆ จะทำให้การวางแผนลงทุนนั้นดีที่สุดกับเราได้ แม้จะไม่มีแบบแผนที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน แต่มีแผนที่เหมาะที่สุดสำหรับเราได้ โดยอาจจะไม่ใช่แผนที่ทำให้มีผลกำไรมากที่สุด แต่เป็นแผนที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงได้ มีระดับของโอกาสรอรับผลตอบแทนที่สอดคล้องกับเป้าหมาย และที่สำคัญไม่ยุ่งยากจนเกินไปในการจัดการ สามารถนำไปปฏิบัติได้ ตัวอย่างเช่น ต้องการวางแผนเพื่อเตรียมตัวเกษียณในอีก 20ปีข้างหน้า โดยจะลงทุนเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 4,000 บาท เป็นผู้รับความเสี่ยงได้สูง จะลงทุนอย่างไรให้เหมาะสม กรณีนี้มีเวลาลงทุนยาวๆ 20ปี สามารถจัดหุ้นเข้าพอร์ตได้สบายๆ ในช่วงแรกสามารถลงทุนในหุ้นทั้งหมดก็ทำได้ จากนั้นค่อยๆ ลดสัดส่วนลงจนถึงวันเกษียณ โดยการปรับพอร์ตจะทำ 2 แบบทั้งพอร์ตเงินลงทุนที่มีอยู่และเงินลงทุนใหม่รายเดือน เช่น ปีที่ 1-5 […]
ความสัมพันธ์ของเวลา และความเสี่ยง (ตอนจบ)
By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center ส่วนการลงทุนระยะกลางและระยะยาว ถือว่านานพอที่จะแบ่งมาลงทุนในหุ้นได้ แต่สิ่งสำคัญคือเมื่อเวลาผ่านไป เวลาลงทุนเหลือน้อยลงต้องมีการปรับปรุงพอร์ตใหม่ ลดสัดส่วนหุ้นเมื่อเวลาลงทุนลดน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเฝ้าละเอียดยิบปรับลดสัดส่วนทุกปี โดยเฉพาะการลงทุนระยะกลางที่มักจะนิยมผสมผสานหุ้นในสัดส่วนที่สูง หรือผู้ลงทุนบางคนที่รับความเสี่ยงได้สูงก็อาจจะเลือกลงทุนหุ้นทั้งหมดโดยลืมไปว่า เวลาไม่เคยเหนื่อย เดินไปได้เรื่อยๆ ไม่เคยหยุดรอใคร พอร์ตลงทุนระยะกลางจะกลายเป็นพอร์ตการลงทุนระยะสั้นได้ภายในไม่กี่ปี แต่พอร์ตการลงทุนระยะกลางและระยะยาว ถือว่ามีความยืดหยุ่นกว่าพอร์ตระยะสั้นเพราะเวลาที่นานขึ้น มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนระยะสั้นๆ โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นที่ราคาผันผวนมากอย่างทองคำ ราคาหุ้นในตลาดแต่ละวัน แต่ละเดือน จะถูกกระทบด้วยปัจจัยต่างๆ มากมาย ทั้งความต้องการซื้อ ความต้องการขาย ข่าวลือ ข่าวจริง อารมณ์ ความกลัว ความโลภ การคาดเดาราคาในระยะสั้นจึงทำได้ยากยิ่ง การวิเคราะห์ด้วยปัจจัยทางเทคนิคเป็นเพียงเครื่องมือช่วยที่อาจจะถูก หรือไม่ถูกก็ได้ แต่หากมีระยะเวลาลงทุนนานๆ ราคาจะสะท้อนกลับมาสู่ความเหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐาน ผลประกอบการที่ประกาศ เงินปันผลที่จ่าย จะทำให้ราคาหุ้นนั้นๆ กลับมาสู่ความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้คือสาเหตุที่ว่า ทำไมพอร์ตการลงทุนในหุ้นจึงเหมาะกับการลงทุนระยะยาวมากกว่าระยะสั้น แต่ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนและผู้วางแผนการเงินต้องไม่ลืม ก็คือ เวลาไม่ใช่สิ่งตายตัว การลงทุนระยะยาวสักวันหนึ่งก็จะกลายเป็นการลงทุนระยะกลาง และการลงทุนระยะสั้น […]
ความสัมพันธ์ของเวลา และความเสี่ยง (ตอน1)
By… เสกสรร โตวิวัฒน์, CFP BF Knowledge Center เวลาเลือกว่าจะลงทุนอะไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย สิ่งที่นักวางแผนการเงินจะให้ความสำคัญมากกว่าความเสี่ยงที่ผู้รับคำปรึกษาจะยอมรับได้ก็คือ “ระยะเวลาที่สามารถลงทุนได้” เพราะเป็นเงื่อนไขที่ผูกพันกับความเสี่ยงที่ผู้รับคำปรึกษาไม่อาจกำหนดเองได้ รับความเสี่ยงได้สูง อายุยังน้อย ชอบเล่นหุ้น เก็บเงินไว้ดาวน์บ้านอีก 6 เดือนข้างหน้า จะเก่งแค่ไหน ก็ไม่ควรลงทุนหุ้น เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้นมา ไม่เหลือเวลาให้แก้ตัว รับความเสี่ยงได้น้อย แต่เก็บยาวไว้รอเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า จะกลัวแค่ไหน แบบนี้นักวางแผนการเงินก็ยังแนะนำให้มีหุ้นไว้บ้าง เพราะจะเสียโอกาสในการลงทุน ไม่มีสูตรตายตัวว่าระยะเวลาลงทุนนานแค่ไหนถึงควรจะมีหุ้นไว้ในพอร์ต โดยทั่วไปเวลาลงทุนที่ยาวขึ้นก็สามารถลงทุนในหุ้นได้มากขึ้น แต่จะลงทุนแค่ไหน ก็ค่อยดูเรื่องอื่นๆ ประกอบ เช่น การยอมรับความเสี่ยงเฉพาะตัว ระดับความสำคัญของเป้าหมายที่จะเก็บออม ความรู้ความเข้าใจเรื่องหุ้นของผู้รับคำปรึกษา ฯลฯ ระยะเวลาการลงทุน โดยทั่วไปอาจแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ ระยะสั้น (0-3ปี) ระยะกลาง (3-7ปี) และระยะยาว (7ปีขึ้นไป) การลงทุนระยะสั้นต้องระมัดระวังเรื่องการลงทุนในหุ้นให้มาก […]