กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นญี่ปุ่น (B-NIPPON)
Highlight ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ยังฟื้นตัวช้ากว่าตลาดหุ้นหลักของโลก เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ที่ยังคงไม่ลดลงมากนัก แม้ว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก และการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น กองทุนหลักเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีความยั่งยืน (Sustainable ROE) มีแนวโน้มเติบโตสูง และมีความสามารถในการทำกำไรสูง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาบางบริษัทราคาปรับตัวลงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ ครึ่งปีหลัง กองทุนหลักมีมุมมองว่าสถานการณ์โควิดจะดีขึ้น มีอัตราการฉีดวัคซีนจะทำให้เข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในปลายปี ทำให้ภาคการบริโภคจะแข็งแกร่งขึ้น และเริ่มเห็นสัญญานการฟื้นตัวของภาคบริการ จึงคาดหวังว่าการบริการจะค่อยๆ ฟื้นตัวตามการบริโภคและภาคการผลิต ภาพรวมตลาด ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ยังฟื้นตัวช้ากว่าตลาดหุ้นหลักของโลก เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่ที่ยังคงไม่ลดลงมากนัก แม้ว่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก และการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้ามากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น GDP ในไตรมาสที่ 2/2564 ขยายตัว 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัว 0.7% และดีกว่าในไตรมาสที่ 1/2564 ที่หดตัว 3.7% การขยายตัวมาจากภาคบริโภคซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และแม้ว่าภาคการส่งออกจะขยายตัวจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการผลิต แต่การนำเข้าก็เพิ่มขึ้นมาก จนทำให้การส่งออกสุทธิเป็นลบ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นจากความคาดหวังการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ […]
B-GTO B-GTORMF B-GTOSSF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้ (B-GTO) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GTORMF) กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลธีมเมติกออพพอร์ทูนิตี้เพื่อการออม (B-GTOSSF)
Highlight ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา กลยุทธ์ปัจจุบัน กองทุนเน้นถือหุ้นด้านการดูแลสุขภาพ หุ้นเทคโนโลยีสารสนเทศ และหุ้นบริการการสื่อสาร การลงทุนในกลุ่มนวัตกรรมโลกผ่านมุมมองระยะยาว (long term) และเน้นการทำกำไรเป็นระยะๆ (low turnover) จะทำให้นักลงทุนได้ประโยชน์จากการปรับพอร์ตการลงทุน ภาพรวมตลาด หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ที่ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยหลังวิกฤต ภาวะที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขาดแคลน และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางบางแห่ง จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือปรับใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุน […]
B-GLOBAL B-GLOBALRMF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอล (B-GLOBAL) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นโกลบอลเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-GLOBALRMF)
Highlight หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น ไตรมาส 2/2021 ผู้จัดการกองทุนขายกำไรในหุ้นกลุ่มอุตสาหรรม เพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นมามากจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ โดยได้ลงทุนต่อในหลายอุตสาหกรรมและเลือกหุ้นที่ราคายังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมุ่งรักษาความสมดุลย์ของพอร์ตการลงทุนระหว่างหุ้นวัฎจักรและหุ้นเติบโต (Cyclical and Growth) การคัดเลือกหุ้นรายตัวเป็นสิ่งที่สำคัญ ในจังหวะที่นโยบายเชิงมหภาคของแต่ละประเทศมีความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างมาก ทำให้เห็นโอกาสการลงทุนในช่วงที่ตลาดอาจเกิดความผันผวนจากนโยบายดังกล่าว ภาพรวมตลาด หุ้นโลกปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 โดยมีปัจจัยหนุนมาจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น มีมาตรการกระตุ้นทางเศรษฐกิจ บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการที่แข็งแกร่ง และประชากรทั่วโลกมีอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น สถานการณ์ที่ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยหลังวิกฤต ภาวะที่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกขาดแคลน และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากแรงหนุนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางบางแห่ง จึงพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือปรับใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มวัฎจักร (Cyclical) มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่ากลุ่มเติบโต (Growth) นำโดยกลุ่ม กลุ่มสื่อสาร กลุ่มพลังงาน และกลุ่มการเงิน แต่ราคาหุ้นกลุ่มเติบโตก็เริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงกลางไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พอร์ตการลงทุน ไตรมาส 2/2021 ผู้จัดการกองทุนขายกำไรในหุ้นกลุ่มอุตสาหรรม เพราะราคาปรับเพิ่มขึ้นมามากจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวและการเพิ่มขึ้นของดีมานด์ […]
กองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์ (BCARE) และกองทุนเปิดบัวหลวงโกลบอลเฮลธ์แคร์เพื่อการเลี้ยงชีพ (BCARERMF)
Highlight ในไตรมาส2/2021 ดัชนี MSCI World Health Care NET ปิดบวกที่ 9.1% เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 4 ใน 5 กลุ่มของดัชนีอ้างอิงมีผลดำเนินการที่ดีขึ้น เมื่อวัดผลงานตามหมวดอุตสาหกรรมย่อยพบว่าหุ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical technology) และหุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดใหญ่ (biopharma large cap) ทำผลงานได้ดีที่สุด ในขณะที่หุ้นชีวเภสัชภัณฑ์ขนาดเล็ก (biopharma small cap) และหุ้นบริการด้านสุขภาพทำผลงานได้น้อยที่สุดในไตรมาสที่ผ่านมา กองทุนเน้นลงทุนในบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมการแพทย์ที่ยังมีอุปทานไม่เพียงพอ โดยในระยะยาวเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น สังคมสูงวัย และความต้องการด้านการแพทย์แผนตะวันตกที่ทันสมัยจะเป็นปัจจัยหนุนทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์เติบโต ภาพรวมตลาด ในไตรมาส 2/2021 ดัชนี MSCI World Health Care NET ปิดบวกที่ 9.1% จากกลุ่มอุตสาหกรรมย่อย 4 ใน 5 กลุ่มของดัชนีอ้างอิงมีผลดำเนินการที่ดีขึ้น เมื่อวัดผลงานตามหมวดอุตสาหกรรมย่อยพบว่าหุ้นเทคโนโลยีทางการแพทย์ (medical […]
กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ เอ็กซ์ตร้า (B-SENIOR-X)
Highlight แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว Global REITs ปรับตัวดีขึ้นจากการเร่งฉีดวัคซีนในหลายประเทศและการเปิดเมืองในขณะที่ REITs ไทยยังคงฟื้นตัวได้ช้า ซึ่งคาดว่าน่าจะฟื้นตัวได้เมื่อมีความคืบหน้าเรื่องวัคซีนโควิดชัดเจนขึ้น และ REITs เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ตราสารหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจัดการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดยกรรมการฯ ส่วนใหญ่เห็นว่ามาตรการการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ยังปรับลดคาดการณ์ GDP ลงเหลือ +0.7% ในปีนี้ และ +3.7% ในปีหน้า […]
B-SENIOR Product Update Uncategorized
กองทุนผสมบีซีเนียร์สำหรับวัยเกษียณ (B-SENIOR)
Highlight แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว Global REITs ปรับตัวดีขึ้นจากการเร่งฉีดวัคซีนในหลายประเทศและการเปิดเมืองในขณะที่ REITs ไทยยังคงฟื้นตัวได้ช้า ซึ่งคาดว่าน่าจะฟื้นตัวได้เมื่อมีความคืบหน้าเรื่องวัคซีนโควิดชัดเจนขึ้น และ REITs เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ตราสารหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจัดการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดยกรรมการฯ ส่วนใหญ่เห็นว่ามาตรการการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ยังปรับลดคาดการณ์ GDP ลงเหลือ +0.7% ในปีนี้ และ +3.7% ในปีหน้า […]
B-INCOME B-INCOMESSF Product Update
กองทุนเปิดบัวหลวงอินคัม (B-INCOME) และกองทุนเปิดบัวหลวงอินคัมเพื่อการออม (B-INCOMESSF)
Highlight กองทุน B-INCOME มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2564 อัตรา 0. 069342 บาทต่อหน่วย แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว Global REITs ปรับตัวดีขึ้นจากการเร่งฉีดวัคซีนในหลายประเทศและการเปิดเมืองในขณะที่ REITs ไทยยังคงฟื้นตัวได้ช้า ซึ่งคาดว่าน่าจะฟื้นตัวได้เมื่อมีความคืบหน้าเรื่องวัคซีนโควิดชัดเจนขึ้น และ REITs เป็นเครื่องมือกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ตราสารหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจัดการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ […]
B-ACTIVE B-FLEX B25RMF BFLRMF Product Update
กองทุนเปิดบีเฟล็กซ์ (B-FLEX), กองทุนเปิดบีแอ็คทีฟ (B-ACTIVE), กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้น 25% เพื่อการเลี้ยงชีพ (B25RMF) และ กองทุนเปิดบัวหลวงเฟล็กซิเบิ้ลเพื่อการเลี้ยงชีพ (BFLRMF)
Highlight แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กลยุทธ์การลงทุนยังคง Selective เน้นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีการปรับตัวทางธุรกิจที่ดี รวมถึงหุ้นที่ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัว ตราสารหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจัดการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 2 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% โดยกรรมการฯ ส่วนใหญ่เห็นว่ามาตรการการเงินจะมีประสิทธิผลมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ยังปรับลดคาดการณ์ GDP ลงเหลือ +0.7% ในปีนี้ และ +3.7% ในปีหน้า โดยปรับลดลงตามการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบมากในปีนี้และแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับลดลงมากในปีหน้า แนวโน้มตลาดตราสารหนี้ไทยในระยะต่อไป กองทุนบัวหลวงคาดว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 2 ปี จะทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวยังมีความเสี่ยงที่จะปรับเพิ่มขึ้นได้ตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ […]
กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (BFRMF)
ภาพรวมตลาด ภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปี ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่เกิน +2 bps. ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับลดลงในช่วง -1 ถึง -29bps. โดยเป็นการปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ เป็นหลัก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta รวมถึงการลดลงของราคาน้ำมันดิบซึ่งทำให้ความกังวลด้านเงินเฟ้อผ่อนคลายลง สำหรับปัจจัยในประเทศ นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า จากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปริมาณวัคซีนและอัตราเร่งในการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนในการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ Delta และมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น ทำให้นักลงทุนคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจำเป็นต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับต่ำนานกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ด้านสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประกาศแผนการก่อหนี้เพิ่มเติมสำหรับปีงบประมาณนี้ จำนวน 1.50 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้จะเป็นการก่อหนี้โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล (Loan bond) จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ทำให้มูลค่าการออกพันธบัตรในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 1.81 แสนล้านบาท เป็น […]
กองทุนเปิดบัวหลวงมันนี่มาร์เก็ตเพื่อการเลี้ยงชีพ (MM-RMF)
ภาพรวมตลาด ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมในวันที่ 27 – 28 ก.ค. โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0 – 0.25% และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มศักยภาพและเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควรเป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ ยังคงวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน พร้อมทั้งระบุว่าจะเข้าซื้อไปจนกว่าจะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนว่าการจ้างงานจะกลับเข้าสู่ระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นการจ้างงานเต็มศักยภาพและเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับที่นายเจอโรม พาวเวล ประธาน Fed กล่าวในแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในวันที่ 15 ก.ค. ว่า Fed จะยังคงเดินหน้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ที่ระดับ 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน และจะยังไม่เร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยมองว่าอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวจากการเปิดเศรษฐกิจและจะปรับตัวลดลงเมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ อีกทั้งตลาดแรงงานยังคงปรับตัวต่ำกว่าระดับก่อนเกิด COVID-19 ดังนั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงยังคงห่างไกลจากเป้าหมายของ Fed […]