ชีวิตที่เลือกเองหลังเกษียณ

ชีวิตที่เลือกเองหลังเกษียณ

ชีวิตการทำงานก็เหมือนละครที่แต่ละคนจะ มีหัวโขนใส่ให้เล่นไปตามบทบาทที่ถูกเขียนเอาไว้ บางคนโชคดีได้เป็นเจ้านาย (หรือโชคร้ายก็ไม่รู้) ก็เหมือนเป็นดาราดังที่พอจะเลือกบทได้บ้าง บางคนเป็นลูกน้องก็ต้องเล่นตามบทที่ให้มาอย่างเดียว ไม่มีสิทธิเลือกเท่าไหร่ แต่หลังจากที่เกษียณอายุแล้ว หัวโขนทั้งหมดจะถูกถอดออกทันที ทุกคนจะกลายเป็นนายของตัวเองอย่างแท้จริง บทบาทชีวิตต่อไปจะเป็นยังไงก็ขึ้นกับตัวเองล้วนๆ ไม่ได้มีใครมากำหนดอีกแล้ว จะเกษียณอย่างสุขสำราญ เกษียณอย่างมั่นคง เกษียณอย่างลุ่มๆ ดอนๆ เกษียณด้วยใจระทึกยิ่งกว่าตอนกู้เต็มที่ไปซื้อหุ้นปั่นแล้วหุ้นตกพรวดๆ หรือเกษียณอย่างเหี่ยวเฉา ก็ขึ้นกับการวางแผนชีวิตมาตั้งแต่แรก ซึ่งแน่ละครับ ใครที่อุตส่าห์ทำงานมาตั้งหลายสิบปี ก็ต้องอยากจะมีชีวิตบั้นปลายที่มีความสุข มีคุณภาพ ให้สมกับที่เหน็ดเหนื่อยมาตลอด ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องมีบ้านหลังใหญ่ๆ มีคนรับใช้คอยปรนนิบัติทุกอย่าง มีรถหรูๆ ขับ ซึ่งถ้ามีมันก็ดีอยู่ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปหรอกครับ เพราะคุณภาพชีวิตที่ดีหมายถึงการมีสังคมแวดล้อมที่ดี ทำให้มีความชื่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน มีสุขภาพที่แข็งแรง ได้ไปท่องเที่ยวในที่ๆ อยากไป หรือได้ทำในสิ่งที่อยากทำซึ่งต้องไม่ผิดศีลธรรมจนมีใครมาคอยชี้หน้าด่าว่าเป็นคนไม่ดีในยามแก่ตัวนะครับ   ผมว่าได้แค่นี้ก็น่าจะเปี่ยมสุขแล้ว และสิ่งเหล่านี้บางอย่างเงินก็ซื้อไม่ได้ แต่ก็มีบางอย่างที่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้วย สิ่งสำคัญที่ผมจะบอกก็คือ “การวางแผนการเงินนั้นต้องเผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดคิดเอาไว้ด้วย เพื่อจะได้มีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพดี ให้สมกับที่ได้เป็นนายตัวเองอย่างแท้จริง” จริงอยู่ ความสุขที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจและทัศนคติของตัวเอง ซึ่งลำพังการวางแผนทางการเงินเพียงอย่างเดียวคงช่วยอะไรไม่ได้เท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่การวางแผนทางการเงินจะช่วยได้มากสำหรับชีวิตหลังเกษียณก็คือ ความเป็นอยู่ […]

ลงทุนเพื่อการเกษียณใน New India กับ B-INDIAMRMF

ลงทุนเพื่อการเกษียณใน New India กับ B-INDIAMRMF

เตรียมพร้อม 4 ด้านการลงทุน RMF

เตรียมพร้อม 4 ด้านการลงทุน RMF

RMF กับ LTF ซื้ออันไหนดี?

RMF กับ LTF ซื้ออันไหนดี?

Senior Citizen อสังหาฯสบช่องสร้างที่อยู่รับสังคม“สูงวัย”

Senior Citizen อสังหาฯสบช่องสร้างที่อยู่รับสังคม“สูงวัย”

นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทยของ ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่าแนวโน้มการเติบโตของที่อยู่อาศัยสำหรับ “ผู้สูงอายุ” จากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยในผลสำรวจช่วงครึ่งปีหลังของปี 2016 และช่วงครึ่งปีแรกของปี 2017 พบว่าผู้บริโภคเริ่มให้ความสำคัญต่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุหรือเพื่อรองรับวัยเกษียณของตนเองในอนาคตเพิ่มมากขึ้นถึง 5% โดยคาดว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีก สิ่งที่เกิดขึ้นในไทยสอดคล้องกับกระแสโลก ที่เริ่มมีผู้ให้ความสนใจกับที่อยู่อาศัยที่พัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่จะพัฒนาโดยเอกชน จากข้อมูลของธนาคารโลก ณ ปี 2016 ระบุว่า 11% ของประชากรในประเทศไทยมีอายุ 65 ปีขึ้นไปจากที่เมื่อปี 1995 หรือ 21 ปีก่อนมีอยู่เพียง 5% เท่านั้น และจากการคาดการณ์ของธนาคารโลกในปี 2040 ประชากรไทยกว่า 17 ล้านคนหรือมากกว่าหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดจะมีอายุมากกว่า 65 ปี ความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สนับสนุนเทรนด์ดังกล่าว จากแต่เดิมที่คนไทยมักจะอยู่อาศัยกันเป็นครอบครัวใหญ่ ที่มีทั้งพ่อ-แม่และปู่-ย่า-ตา-ยาย และลูกหลานจะต้องดูแลผู้ใหญ่ในบ้านยามแก่เฒ่า แต่ในปัจจุบันรูปแบบสังคมมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งคนไทยและคนในภูมิภาคอาเซียนเริ่มมีมุมมองที่เปิดกว้างในเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้น นอกจากนี้จำนวนชาวต่างชาติวัยเกษียณ อาทิ ชาวญี่ปุ่น ชาวจีน และ […]