แนวคิดการจัดการปัญหาเงินออมไม่เพียงพอหลังเกษียณ

แนวคิดการจัดการปัญหาเงินออมไม่เพียงพอหลังเกษียณ

By… เสกสรร โตวิวัฒน์ สำหรับผู้ที่เกษียณแล้วพบว่า ยังมีปัญหาด้านเงินเก็บเงินออมอยู่ ก็จำเป็นต้องรีบจัดการเสียแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยไว้ให้รกรุงรังจิตใจในวัยนี้ ปัญหาสถานเบา คือ เงินพอใช้แต่พอดีๆ ไม่ค่อยเหลือเผื่อ ขอให้ลองพิจารณาหาวิธีลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีขึ้น ในความเสี่ยงที่ยอมรับได้อยู่ เช่นขยับจากฝากธนาคารไปกองทุนตราสารหนี้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือกองทุนผสมที่เน้นตราสารหนี้ คนที่เกษียณแล้วมักมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ดังนั้นการบริหารภาษีส่วนนี้ก็จะช่วยให้มีเงินกลับคืนเยอะขึ้น เช่นขอคืน เงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุนรวม ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากประจำ พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ เป็นต้น ปัญหาสถานหนัก คือ เงินออมไม่พอเหลือใช้จ่ายสำหรับช่วยชีวิตที่เหลืออยู่ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จำเป็นต้องหาทางลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พักอาศัย ค่าใช้จ่ายครอบครัว ลดโดยไปอยู่ร่วมกันกับญาติ ลูกหลาน สำรวจทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นและแปลงเป็นเงิน เช่น ของสะสมของสาวๆ เช่นกระเป๋า เสื้อผ้า หารายได้เสริม ผู้เกษียณจำนวนมากยังใช้ความสามารถสร้างรายได้ ได้อยู่เช่น ทำขนม อาหาร เป็นที่ปรึกษาบริษัท ฯลฯ และต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ต้องพึงระมัดระวัง เพราะมีไม่น้อยที่วางแผนเก็บออมเงินอย่างดี แต่ชีวิตต้องมาพังเพราะเรื่องไม่คาดคิด […]

เตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมพร้อมวัยเกษียณ 

เตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมพร้อมวัยเกษียณ 

By… เสกสรร โตวิวัฒน์ ในบรรดา 3 ช่วงชีวิตหลัก ระหว่าง วัยเด็ก วัยทำงาน กับ วัยพักผ่อน นั้น ในการวางแผนต่างๆ มักจะพูดถึงวิธีการวางแผนในช่วงวัยทำงานที่เป็นช่วงเวลาสะสมความมั่งคั่งมากกว่าวัยอื่นๆ  ส่วนเรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณก็ยังไปเน้นหนักในช่วงวัยทำงานว่าช่วงอายุไหนจะเก็บเงินอย่างไรให้มีเงินใช้หลังเกษียณให้เพียงพอตามสูตรคำนวณ โดยมักละเลยการเตรียมพร้อมด้านการเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณว่าจะทำอย่างไรให้มีความสุขได้อย่างแท้จริง ทั้งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเมื่ออายุ 60 กับ 80 เราคงจะไม่ได้ใช้ชีวิตเหมือนกันทั้งสองวัยแน่ๆ การประเมินความพร้อมของตัวเองล่วงหน้าว่าภายหลังเกษียณจะเป็นอย่างไร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับการสร้างความสุขให้ชีวิต เพราะถ้าไม่รู้จักตัวเอง ก็ไม่รู้ว่าจะสร้างความสุขให้ชีวิตหลังเกษียณอย่างแท้จริงได้อย่างไร การวางแผนใช้ชีวิตหลังเกษียณนอกจากสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้ว การประเมินสุขภาพตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เราพอรู้ล่วงหน้าได้ว่า ช่วงไหนวัยใดเราสามารถทำอะไรได้บ้าง แต่ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของบุคคลวัยทองคือ การไม่ยอมรับว่าตนเองแก่แล้ว รับไม่ได้กับการถูกลดทอนคุณค่า น้อยใจกับการถูกลูกหลานขอให้อยู่เฉยๆเหมือนให้นั่งเฉยๆ รอวันตาย แม้ว่าหลายครั้งจะเป็นความปรารถนาดีก็ตาม วิธีการเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับเรื่องนี้ ขอแนะนำให้ลองเฝ้าดูผู้สูงวัยในบ้านในวันที่เรายังคงเป็นวัยทำงานมีเรี่ยวแรง แล้วจดจำไว้ว่าในวันนี้เรามองดูผู้สูงวัยเหล่านี้อย่างไร เพราะในอนาคตเมื่อถึงวันนั้น เราก็จะเผชิญกับมุมมองของลูกหลานในแบบเดียวกัน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่ปัญหาสุขภาพเริ่มแสดงออกชัดเจน แต่ยังคงมีแรง สติยังคงแจ่มใส มักไม่ยอมรับปัญหาความชราที่ลูกหลานกำหนดให้ ต้องการแสดงออกถึงความสามารถโดยการทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้ในอดีตโดยละเลยปัญหาสุขภาพ ซึ่งกรณีนี้มักจะเป็นช่วงผ่านการเกษียณมาแล้วระยะหนึ่ง เช่นช่วงอายุตั้งแต่ 65-70 ปี ดังนั้น ความเข้าใจภาวะทางอารมณ์และสุขภาพของผู้เกษียณในแต่ละช่วงวัยจึงสำคัญยิ่ง

ออมเท่าไหร่ จึงพอใช้หลังเกษียณ

ออมเท่าไหร่ จึงพอใช้หลังเกษียณ

แนวคิดการคำนวณหาเงินออมสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณจากรายได้ปัจจุบัน การหายอดเงินขั้นต่ำที่ควรมีไว้ใช้จ่ายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการเริ่มต้นวางแผนการเงินสำหรับวัยเกษียณ วิธีพื้นฐานคือ ประมาณการค่าใช้จ่ายอนาคตรายปี แล้วคูณด้วยจำนวนปีที่คิดว่าจะดำรงชีพอยู่หลังเกษียณ แต่สำหรับคนที่ไม่สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายเป้าหมายได้ การคิดคำนวณจากรายได้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กัน มีข้อดีข้อเสียแต่ก็ถือว่าพอใช้ได้ การคำนวณจากรายได้อยู่บนแนวคิดที่ว่า ในปัจจุบันเราใช้จ่ายเป็นเงินสักกี่ % ของรายได้ในแต่ละเดือน แล้วเทียบเคียงว่าพอเกษียณแล้ว เราจะใช้จ่ายเป็น % ของรายได้เท่าใด โดยยอดใช้จ่ายนั้นจะรวมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ค่าสันทนาการ ค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว ค่าผ่อนบ้านผ่อนรถ หรือค่าใช้จ่ายโอกาสพิเศษไว้แล้ว เพราะการใช้วิธีนี้ดูว่าเดือนๆ หนึ่งจ่ายไปทั้งหมดเท่าไร คิดเป็นกี่ % ของรายได้ต่อเดือน / ต่อปี วิธีนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเป็นรายการต่างๆ ได้ การคิดยอดเงินรวมที่ควรมีไว้จากค่าใช้จ่ายที่หาจาก % ของยอดรายได้จึงเป็นวิธีที่สะดวกกว่า เช่น กำหนดเป้าหมายเงินใช้จ่ายหลังเกษียณประมาณ 70% ของรายได้แต่ละเดือน / แต่ละปี ในช่วงท้ายก่อนเกษียณ โดยอาจจะประเมินดูว่าก่อนและหลังเกษียณจะมีค่าใช้จ่ายบางส่วนลดลงหรือไม่ ถ้ามี %ที่ใช้คำนวณสำหรับหลังเกษียณอาจจะลดลงจากก่อนเกษียณได้ แต่ระดับรายได้ของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน การคิดคำนวณ % จึงควรอยู่บนพื้นฐานของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงแต่ละคนด้วย เช่น ผู้มีรายได้น้อย ค่าใช้จ่ายจำเป็นอาจเป็นสัดส่วนที่สูง […]

การหาค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพหลังเกษียณ

การหาค่าใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีพหลังเกษียณ

ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพหลังเกษียณคือตัวเลขสำคัญที่ควรหาออกมาให้ได้สำหรับการวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณ เนื่องจากเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่า ในที่สุดแล้วการมีชีวิตอยู่หลังเกษียณของเราจะเป็นอย่างไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร รวมถึงเป็นตัวเลขเป้าหมายใหญ่ว่าเราจะต้องเก็บเงินให้ได้อย่างน้อยเท่าไรในวันที่จะเกษียณอายุเพื่อใช้ในการดำรงชีพ   เริ่มต้นง่ายๆ สมมุตินาย ก มีเป้าหมายเกษียณที่อายุ 60 ปี และมีอายุขัยเฉลี่ยของญาติผู้ใหญ่ในครอบครัวที่เสียชีวิตในวัยชรา คือ 80ปี ดังนั้นเป้าหมายระยะเวลาการดำรงชีวิตหลังเกษียณของนาย ก เมื่อพิจารณาแบบเผื่อพัฒนาการทางการแพทย์ที่ทำให้คนอายุยืนยาวขึ้นอีก 5 ปี  ก็คือนาย ก จะวางแผนโดยจะต้องเตรียมเงินไว้ใช้หลังเกษียณอีก 25 ปี ดังนั้น ยอดเงินเพื่อการดำรงชีพหลังเกษียณของนาย ก ที่ควรต้องมีไว้ ณ วันเกษียณก็คือ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน x 12 เดือน x 25 ปี ไม่นับค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องเตรียม เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้อยู่ใต้อุปการะ หรือภาระหนี้สินที่ยังคงเหลืออยู่ เป็นต้น   ขั้นตอนต่อไปคือ แล้วจะหาค่าใช้จ่ายต่อเดือนได้อย่างไร   ค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณเป็นการคำนวณสำหรับอนาคต จึงไม่มีหนทางที่จะได้ตัวเลขที่แน่นอน […]

ทำไมที่ผ่านมาคนไทยถึงละเลยการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณ

ทำไมที่ผ่านมาคนไทยถึงละเลยการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณ

คนไทยที่หันมาสนใจเรื่องอนาคตวัยเกษียณ ก็เพราะเริ่มมองเห็นปัญหาของความไม่พร้อมด้านการเงินในวัยเกษียณได้ชัดขึ้น โดยอาจจะมองเห็นจากเคสในครอบครัว ญาติพี่น้อง คนรอบตัว หรือตามกระแสสังคมที่พูดถึงการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า    โดยเฉพาะคนกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่เป็นวัยเริ่มต้นสนใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่เรื่องนี้ก็ยังมีคำถามคาใจหลายต่อหลายคน  การเตรียมพร้อมด้านการเงินเพื่อวัยเกษียณมันสำคัญขนาดนั้นจริงหรือ   ที่ผ่านๆ มา ทำไมคนรุ่นก่อนๆ ไม่เห็นมีปัญหาด้านเงินทองในวัยเกษียณ ไม่เห็นต้องดิ้นรนแสวงหาที่ลงทุน เก็บออมให้เงินงอกเงย ข้าราชการไทยที่เงินเดือนไม่ได้เยอะแยะมากมายที่เกษียณกันออกมาก็อยู่ได้ ไม่เดือดร้อน ไม่นับกลุ่มที่มีหนี้สินรุงรังจนถึงวัย 60   เป็นเรื่องจริง ผู้สูงวัยอายุที่รู้จักเก็บเงินตั้งแต่วัยทำงาน สามารถมีชีวิตที่ไม่ลำบากไปจนถึงสุขสบายตามอัตตภาพ ด้วยหลายสาเหตุ แต่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป   1) ช่วงชีวิตวัยทำงานของพวกเขายังคาบเกี่ยวกับอดีตในยุคสมัยที่การฝากประจำกับธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยในระดับมากกว่า 10%ต่อปี โดยไม่ต้องเสี่ยงไปลงทุนในหุ้นหรือทรัพย์สินใดๆ เพื่อแสวงหากำไร ทำให้มีเงินออมงอกเงยเพียงพอต่อการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แต่อดีตที่สวยงาม อัตราดอกเบี้ยเหล่านั้นได้หมดไปอย่างถาวรแล้ว   2) แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่วิถีชีวิตและการดำรงชีพในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปเท่าไรนัก ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการใช้จ่ายหลังเกษียณจริงไม่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น จนมาถึงสักประมาณ 5-10ปีนี้ ที่วิถีชีวิตของคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทุกระดับ ทุกเพศ […]

ปัญหา 3 ข้อ ที่ทำให้คนไทยเริ่มกังวลกับอนาคตวัยเกษียณ

ปัญหา 3 ข้อ ที่ทำให้คนไทยเริ่มกังวลกับอนาคตวัยเกษียณ

แม้ว่าปัจจุบันดูเหมือนคนไทยเริ่มหันมาสนใจเรื่องราวของการเตรียมตัวในวัยเกษียณกันมากขึ้น มีข้อมูลเนื้อหาต่างๆ มากมายให้อ่านให้ศึกษา แต่ก็ยังถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรไทย ประมาณ 66 ล้านคน โดยกลุ่มที่เริ่มสนใจเรื่องนี้มักจะจำกัดอยู่ในกลุ่มที่อยู่ในวัยทำงาน ที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง เริ่มเข้าสู่ผู้ใหญ่วัยกลางคน เริ่มมีปัญหาสุขภาพ และมีภาระดูแลผู้สูงวัยโดยตรง ทำไมคนกลุ่มนี้ถึงเริ่มสนใจเรื่องปัญหาวัยเกษียณ เพราะคนกลุ่มนี้คือผู้ที่ได้สัมผัสกับปัญหาด้านค่าใช้จ่ายของผู้สูงวัยโดยตรง และเริ่มกังวลกับอนาคตของตนเองว่าจะเป็นอย่างไร ในวันที่ตนเองเป็นผู้สูงวัยจะทำอย่างไร 1) ในวันที่ตนเองมีหน้าที่ดูแลพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แม้จะวุ่นวายมีหน้าที่การงาน แต่ก็ยังมีพี่น้อง สลับสับเปลี่ยน ช่วยเหลือกัน แต่ตนเองมีลูกเพียง 1-2 คน หรือบางคนก็ไม่มีลูกหลาน รวมถึงไม่ได้แต่งงาน แล้วเมื่อแก่ตัวไปใครจะมาดูแล ทางออกก็หนี้ไม่พ้นการว่าจ้างผู้ดูแล ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่าย 2) วิทยาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นในการดูแลรักษาผู้สูงวัย แม้จะทำให้ผู้สูงวัยมีอายุยืนยาว แต่ก็มาพร้อมค่าใช้จ่าย ไม่เก็บเงินไว้เองจะเอาเงินที่ไหนมารักษาตัวเอง 3) ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพที่แพงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่าง ๆรวมถึงไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นปัจจุบันที่แสวงหาสุขนิยมเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันสูงขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประการสำคัญคนกลุ่มนี้เริ่มมีฐานะมั่นคงขึ้นตามอัตภาพการดำรงชีวิต มีหน้าที่การงานมั่นคง มีเงินเหลือเพียงพอที่จะเก็บออมและเริ่ม “กลัว” ชีวิตในอนาคตของตนเองทั้งที่จริงๆ เรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณนี้เป็นสิ่งจำเป็นของคนทุกคนไม่เฉพาะกลุ่มที่พร้อมสำหรับการเก็บออมเท่านั้น และปัญหาใหญ่ทั้ง 3 […]

เงินเท่าไรถึงจะพอใช้ไปชั่วชีวิต

เงินเท่าไรถึงจะพอใช้ไปชั่วชีวิต

คนทุกคนย่อมมีช่วงเวลาที่ย้อนกลับไปคราวใดก็อดไม่ได้ที่จะเกิดรอยยิ้มมุมปากทุกครั้ง และเช่นเดียวกันก็ยังมีตะกอนของความคิดที่ว่าเราเองยังมีบางสิ่งที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำในวัยหนุ่มสาว เพราะเราเพียรแต่จะสร้างฐานะความมั่นคงให้กับชีวิต โดยยอมเก็บสิ่งที่ตนเองอยากทำไว้ในลิ้นชักก่อน แต่ยิ่งเราหาเงินได้มากเท่าไร ทำไมกลับไม่รู้สึกพอเสียที  เรากลัวว่าจะมีเงินไม่พอใช้ไปได้ตลอด กลัวว่าลูกหลานจะลำบาก จนลืมเปิดลิ้นชักที่ปิดไว้ ถึงตอนนี้ถ้าเรามีความมั่นใจว่าจะมีเงินพอใช้ไปชั่วชีวิต เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บสิ่งที่อยากทำไว้ในลิ้นชักต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นบางทีเราอาจจะได้เปิดลิ้นชักตรวจดูสิ่งที่หล่นหายไปในระหว่างทางของชีวิต แล้วหยิบขึ้นมาทำ รอยยิ้มที่เกิดขึ้น  จะไม่เป็นรอยยิ้มที่คิดถึงแต่ในอดีตอย่างเดียว จะเป็นรอยยิ้มที่เราใช้ชีวิตในปัจจุบันด้วย  เอาละ เรามาเริ่มคิดพร้อมกันว่าจะทำอย่างไรให้มั่นใจว่าจะมีเงินพอใช้เช่นว่านั้น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่า ณ จุดใดจุดหนึ่งของชีวิตที่เราสามารถมีรายได้จำนวนหนึ่งซึ่งมากพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เก็บเผื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินบ้าง และยังมีเหลือพอที่จะใช้ชีวิตตามความฝันอันพอสมควรของเรา เราก็จะสามารถใช้ชีวิตตามความคิดตามใจที่อยากเป็นได้ หากเราอยากจะเล่นดนตรี เรียนศิลปะ ทำอาหาร ไปเที่ยวต่างประเทศ ก็สามารถทำได้  ชีวิตก็จะไม่ยึดติดกับการถูกบังคับด้วยกรอบของรายได้ เพราะรายได้ที่กำหนดจำนวนไว้นั้นจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายและฝันของแต่ท่านว่าจะมากและใหญ่ขนาดไหน  เมื่อเรารู้ว่าจะต้องมีรายได้จำนวนเท่าไรแล้ว เราก็ต้องวางแผนเพื่อให้มีรายได้ดังกล่าว ณ ปัจจุบัน เรามีรายได้ มีค่าใช้จ่าย ที่เหลือคือเงินเก็บ หากเรามีเงินเก็บแล้วเงินเก็บนี้สามารถนำไปหาผลประโยชน์สร้างผลตอบแทนได้เท่าจำนวนที่เราต้องการ ทุกอย่างก็จะเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ แต่ปัญหาก็คือ ทุกวันนี้ในสถานการณ์จริง มันมีเงินเก็บบ้าง ไม่มีเงินเก็บบ้าง บางทีไม่พอใช้ด้วย แล้วจะทำอย่างไร อย่าเพิ่งท้อ เพราะลูกท้อเขามีไว้ให้ลิงถือเท่านั้น ผมอยากให้สำรวจแบบนี้ครับ […]

RMF vs. LTF : กองไหนเหมาะกับคุณ?

RMF vs. LTF : กองไหนเหมาะกับคุณ?

ยิ่งออมมากในวัยทำงาน ยิ่งจะสร้างความมั่งคั่งได้มากในวัยเกษียณ

ยิ่งออมมากในวัยทำงาน ยิ่งจะสร้างความมั่งคั่งได้มากในวัยเกษียณ

คนที่ออมเงินเพื่อการลงทุนระยะยาว หรือเพื่อใช้ในวัยเกษียณส่วนมากแล้วมักจะพิจารณาว่า จะลงทุนอย่างไรให้ออกดอกออกผลมากที่สุด ทำอย่างไรให้ค่าธรรมเนียมการจัดการหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆในการลงทุนต้องต่ำที่สุด เรื่องนี้เข้าใจได้ แต่ความเป็นจริงแล้ว เคล็ดลับของการสร้างความมั่งคั่งในวัยเกษียณจะมาจากการออม มากกว่าผลตอบแทนของการลงทุน ยิ่งออมมากเท่าใด ยิ่งจะมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นในวัยเกษียณ นายชาลี บิเบลโล (Charlie Bibello) ผู้อำนวยการวิจัยของ Pension Partners LLC ชี้ว่า จำนวนเงินที่นักลงทุนออมเพื่อการลงทุนระยะยาว มีความสำคัญมากกว่าผลตอบแทนของการลงทุน เพราะว่าในประการแรก นักลงทุนสามารถควบคุมจำนวนเงินที่จะออมได้ แต่ในขณะเดียวกันไม่สามารถควบคุมผลตอบแทนจากการลงทุนที่ผันผวนได้ เป็นที่แน่นอนว่าคนที่ออมเงิน $20,000ต่อปี ย่อมที่จะมีความมั่งคั่งมากกว่าคนที่ออม $10,000ต่อปี ผลตอบแทนของคนที่ออม $10,000ต่อปี ไม่มีทางที่จะชนะคนที่ออม $20,000ต่อปี เมื่อสิ้นสุดระยะการออม หรือวัยทำงาน นายบิเบลโลได้แสดงตัวเลขให้เราเห็นถึงความสำคัญของการออมของนักลงทุนว่า ยิ่งมีวินัยในการออมมากเท่าใด ยิ่งจะมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งมากขึ้นในภายหลัง นายบิเบลโลยกการเปรียบเทียบระหว่างการเพิ่มวงเงินออม 1% กับการได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1% จากพอร์ตการลงทุน โดยใช้สมมุติฐานว่า ครอบครัวอเมริกันมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ $58,000ต่อปี หลังจากหักภาษีแล้ว จะมีเงินเหลือที่จะใช้จ่าย $49,300 ถ้าหากว่าครอบครัวนี้มีการออมเงินเพียง1%ของรายได้ทุกๆ ปีเป็นเวลา […]

พร้อมเกษียณแล้วหรือยัง

พร้อมเกษียณแล้วหรือยัง

ในแต่ละช่วงอายุของคน ช่วงวัยที่เราควรมีความพร้อมทางการเงินที่สุดคือระหว่าง 50-60 ปี เนื่องจากช่วงดังกล่าว คนส่วนใหญ่ควรจะอยู่ในจุดที่มีรายได้หรือเงินเดือนสูงสุด ปลอดจากภาระหนี้สินต่างๆ ไม่ว่า สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อรถยนต์ เป็นช่วงเวลาที่เราควรพร้อมรับมือกับยามเกษียณที่กำลังใกล้ถึง แต่กลับมีคนจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาการดำรงชีวิตในวัยเกษียณ แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้การวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณไม่ประสบความสำเร็จ เตรียมตัวช้า หลายคนมักจะมองข้ามประเด็นนี้ไป เมื่อเริ่มต้นวางแผนการเงินช้า ประกอบกับอายุโดยเฉลี่ยของคนเราในปัจจุบันที่ยืนยาวขึ้น ทำให้ในท้ายสุดก็เตรียมเงินไว้ไม่เพียงพอสำหรับใช้จ่าย เลี่ยงลงทุนในหุ้น เพราะเชื่อว่ามีโอกาสขาดทุนสูง หลายคนมักย้ำว่า การลงทุนในหุ้นไม่เหมาะสำหรับแผนการลงทุนเพื่อเกษียณ ทั้งที่จริงแล้ว แม้โอกาสขาดทุนค่อนข้างสูง แต่หากเราได้ศึกษาข้อมูลที่ดีพอก่อนจะลงทุนในหุ้นโดยตรง หรืออาจเลือกลงทุนผ่านกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสม แล้วจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แผนการลงทุนประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเช่นปัจจุบัน เพราะการลงทุนในเงินฝากแม้โอกาสจะสูญเงินต้นนั้นมีน้อย แต่ก็มีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เราได้ วางแผนประกันสุขภาพ สิ่งที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ก็คือ อุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยในอนาคต ไม่ว่าจะโรคร้ายอย่างมะเร็งหรือโรคหัวใจ ที่ปัจจุบันมีสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การรักษาพยาบาลโรคจำพวกนี้ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลก็ดีดตัวสูงขึ้นทุกปี  ยิ่งเรามีอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็มีแนวโน้มสูงตามขึ้นเช่นกัน หากไม่วางแผนเกี่ยวกับประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุไว้บ้าง เงินลงทุนที่ตระเตรียมไว้เพื่อยามเกษียณ ก็อาจจะหมดไปกับเหตุที่ไม่คาดคิด การทำประกันสุขภาพถือว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง สำหรับผู้เตรียมตัวเกษียณ ข้อดีของการวางแผนประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังไม่มากก็คือ ค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพมักไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับเริ่มทำในวัยใกล้เกษียณหรือหลังเริ่มป่วยไข้แล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อตอบโจทย์คนวัยเกษียณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สถาบันการเงินต่างๆ […]