ADB เดินหน้านโยบายใหม่ด้านพลังงาน เน้นสนับสนุนเงินทุนเพื่อมุ่งสู่คาร์บอนต่ำ

ADB เดินหน้านโยบายใหม่ด้านพลังงาน เน้นสนับสนุนเงินทุนเพื่อมุ่งสู่คาร์บอนต่ำ

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) อนุมัตินโยบายใหม่ด้านพลังงานเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงบริการพลังงานที่่เชื่อถือได้และมีราคาจับต้องได้ในระดับสากล  ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมเอเชียและแปซิฟิกเปลี่ยนผ่านไปสู่คาร์บอนต่ำ “พลังงานคือศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแบบองค์รวม แต่การขยายระบบพลังงานมาพร้อมกับผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของเรา ดังนั้นนโยบายใหม่ของ ADB ก็จะสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิกในงานสำคัญและเร่งด่วนเกี่ยวกับการเข้าถึงพลังงานสะอาดที่น่าเชื่อถือ ราคาไม่แพง และสะอาด” Masatsugu Asakawa ประธาน ADB กล่าว สำหรับนโยบายใหม่จะสะท้อนความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่งของเรา โดย ADB จะไม่สนับสนุนเงินทุนใหม่ๆ ให้กับการผลิตพลังงานจากถ่านหิน และเราก็มีการจัดสรรเงิน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ รองรับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงปี 2019-2030 ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ADB จะมีส่วนร่วมกับพลังงานที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต ทั้งนี้ กระบวนการเข้าถึงพลังงานในประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียและแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีคนกว่า 350 ล้านคนในภูมิภาคนี้ที่ยังเข้าถึงพลังงานไม่เพียงพอ และมีประมาณ 150 ล้านคน ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ จากเศรษฐกิจที่เติบโตต่อเนื่อง ความเป็นเมืองที่มากขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องพัฒนาพลังงานที่ราคาไม่แพงและระบบมีความเชื่อถือได้ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งก็จะตอบโจทย์ที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) แนะนำว่า ภูมิภาคนี้ควรเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า 7% ต่อปี จาก 3,386 […]

ต้นทุนลดลงหนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และลมโตเร็ว ปี 2020 มีสัดส่วนใช้ถึง 8.7%

ต้นทุนลดลงหนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และลมโตเร็ว ปี 2020 มีสัดส่วนใช้ถึง 8.7%

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก หรือ weforum.org รายงานว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพลังงานหมุนเวียนเติบโตอย่างรวดเร็ว ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในการหลีกเลี่ยงผลเชิงลบด้านสภาพภูมิอากาศ โดยปีที่ผ่านมาพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมรวมกันผลิตไฟฟ้า 8.7% ของการจ่ายไฟฟ้าทั่วโลก เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2010 ซึ่งมีสัดส่วนแค่ 1.7% และสูงกว่าที่กลุ่มพลังงานกระแสหลักเคยทำแบบจำลองประมาณการไว้ สำหรับเหตุผลที่ทำให้พลังงานหมุนเวียนเติบโตรวดเร็ว ได้แก่ ต้นทุนที่ลดลง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด นับตั้งแต่ปี 2010 ต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ลดลง 85% ส่วนต้นทุนของพลังงานลมทั้งบนชายฝั่งและนอกชายฝั่งก็ลดลงไปประมาณครึ่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พลังงานหมุนเวียนจากแหล่งเหล่านี้มีต้นทุนที่แข่งขันได้กับไฟฟ้าที่มาจากพลังงานฟอสซิล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนลดลงก็คือ มีการปรับใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เมื่อมีขนาดทางเศรษฐกิจที่ใหญ่พอก็ทำให้ต้นทุนลดลง นอกจากนี้เมื่อพลังงานหมุนเวียนได้รับความนิยมขึ้น จึงขยายอิทธิพลไปสู่ภาคการเมืองและดึงดูดการเงินได้มากขึ้น ทั้งยังเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นที่จะมีการออกนโยบายสนับสนุนและการสนับสนุนเงินทุน เมื่อปรากฎการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ทำให้การขยายพลังงานหมุนเวียนเป็นเหมือนโรคติดต่อในสังคม เมื่อบ้านหลังหนึ่งติดแผงโซลาร์บนหลังคา เพื่อนบ้านที่เห็นและได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็สนใจติดตามกันมา ขณะที่การสนับสนุนด้านนโยบายก็เป็นความจำเป็นอีกด้านต่อการเติบโตของพลังงานหมุนเวียน โดยพบว่า กการให้เครดิตหรืออุดหนุนทางภาษีกับพลังงานหมุนเวียน ภาษีนำเข้า และการประมูลที่แข่งขันได้ ทั้งหมดนี้ล้วนช่วยลดต้นทุนและกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย ขณะที่การลงทุนของรัฐบาลในด้านการวิจัยและพัฒนาก็มีความสำคัญช่วยส่งเสริมนวัตกรรมในพลังงานหมุนเวียน โดยพบว่า จีน ยุโรป และสหรัฐฯ เป็นผู้นำด้านพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมผ่านนโยบายสนับสนุน ขณะที่ทั่วโลกมี 165 ประเทศ มีเป้าหมายเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน […]

เปิด 3 วิธีที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์และยังทำกำไรได้

เปิด 3 วิธีที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์และยังทำกำไรได้

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก (weforum.org) รายงานว่า เมื่อบริษัทมองหาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนบ่อยครั้งจะเน้นการลดแบบง่ายๆ หรือใช้ทางเลือกระยะสั้น แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดคาร์บอน บริษัทจำเป็นต้องมีแนวทางที่กว้างขวางจะทะเยอทะยานมากขึ้น โดยบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์และยังคงทำกำไรได้ เพียงแต่ต้องจัดการกับต้นเหตุของการปล่อยมลพิษตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ สภาเศรษฐกิจโลก นำเสน 3 แนวทางที่น่าสนใจที่จะช่วยให้ธุรกิจลดปล่อยก๊าซคาร์บอนพร้อมกับทำกำไรได้ ได้แก่ 1.การลดมลภาวะตลอดห่วงโซ๋คุณค่า โดยพบว่า ธุรกิจหลายๆ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่ได้มาจากตัวธุรกิจโดยตรง แต่มาจากห่วงโซ่คุณค่าที่ควบคุมไม่ได้ หากต้องการลดปล่อยมลพิษให้สำเร็จจริง จึงต้องไปดำเนินการกับธุรกิจในห่วงโซ่ เช่น ผู้แปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไปลงทุนกับฟาร์มโคนมปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์หลายพันแห่ง บริษัทเหมืองแร่ที่จัดหาผู้ผลิตเหล็กด้วยแร่ผสมซึ่งต้องการพลังงานน้อยลงในเตาหลอม หรือผู้ผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ไปลงทุนขยายขอบเขตธุรกิจตั้งแต่การผลิตสายเคเบิ้ลจนถึงห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมดของกระแสไฟฟ้า 2.การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยพบว่าสถานที่ที่ปล่อยมลภาวะขนาดใหญ่ บ่อยครั้งไม่ใช่สถานที่ที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เราพบว่า บริษัทต่างๆ กำลังติดตามการปล่อยมลพิษเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงทั้งที่เป็นในธุรกิจตัวเองและห่วงโซ่คุณค่า เช่น บริษัทจัดส่งพัสดุ ลดมลภาวะในการจัดส่งพัสดุผ่านการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าและการปรับเส้นทางให้เหมาะสม และพวกเขายังหาข้อมูลและการควบคุมที่ดีขึ้นกับฝั่งคนที่รับพัสดุจึงช่วยลดจำนวนครั้งในการจัดส่งได้ หรือบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่มีมาตกรารใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝึกปัญญาประดิษฐ์ (AI) และใช้คลาวด์ ทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิป เพื่อให้เกิดการบริโภคพลังงานน้อยที่สุดในการใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา และ 3.อย่าให้เงินทุนโดยอัตโนมัติกับธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนสูง โดยนักลงทุนควรเพิ่มพอร์ตลงทุนในกิจกรรมปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำแทน

กลุ่มนักลงทุนที่มีสินทรัพย์ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จี้บริษัทเอเชียเดินตามเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ

กลุ่มนักลงทุนที่มีสินทรัพย์ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จี้บริษัทเอเชียเดินตามเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า กลุ่มนักลงทุน 6 ราย ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมกัน 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึง Fidelity International ระบุว่า มีเป้าหมายจะเพิ่มการมีส่วนร่วมในบริษัทใหญ่ๆ ของเอเชีย เช่น ธนาคาร และผู้ผลิตพลังงาน โดยต้องการแน่ใจว่าพวกเขามีแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ Asia Research & Engagement (ARE) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาในสิงคโปร์ของกลุ่มนักลงทุน กล่าวว่า การเข้าไปมีส่วนร่วมในช่วงแรกจะมุ่งเน้นไปที่ความเสี่ยงด้านคาร์บอน และถ่านหิน ในกลุ่มธนาคารและบริษัทพลังงานถ่านหิน ความเคลื่อนไหวนี้มาในช่วงที่นักลงทุนมีบทบาทมากขึ้นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยการช่วยทำให้บริษัทกำหนดคำมั่นสัญญาว่าจะบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งขั้นตอนเกี่ยวกับ ESG ที่พวกเขาดำเนินการ ได้แก่ การสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น การลงคะแนนเสียงในคณะกรรมการและค่าตอบแทน กลุ่มนักลงทุน 6 ราย ประกอบด้วย 1.BMO Global Asset Management EMEA 2.Fidelity […]

กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม

กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม

ภารกิจลดโลกร้อน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เหลือศูนย์ กลายเป็นวาระที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ และเป็นส่วนหนึ่งของความยั่งยืน    กองทุนบัวหลวงเองก็เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ล่าสุด กองทุนบัวหลวง มอบเงิน 1.2 แสนบาท สนับสนุนโครงการ Care the Wild “ปลูกป้อง Plant & Protect” โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ร่วมปลูกต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านหนองทิศสอน จ.มหาสารคาม ทั้งมุ่งหวังเพิ่มรายได้ให้ชุมชนเพื่อให้พึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น อันเป็น Collaboration Platform ของภาคธุรกิจ ภาครัฐและภาคสังคม ด้วยการระดมทุนเพื่อสร้างพื้นที่ป่า สร้างสมดุลระบบนิเวศ ทำงานร่วมกับ “ธรรมชาติ” เพื่อให้การพัฒนาของมนุษย์ อยู่บนเส้นทางเดียวกับความสมดุลย์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนปฏิบัติงานของโครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากทั้งองค์กรภาครัฐ ธุรกิจเพื่อสังคม และองค์กรเพื่อสังคมในการกำหนดพื้นที่ปลูกต้นไม้ ล่าสุด คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ อันประกอบด้วย คณะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพัฒนาสังคมและด้านวิชาการ ผู้แทนด้านความยั่งยืนและวิจัยพัฒนาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ส่วนกลางและภูมิภาค พร้อมด้วยผู้นำชุมชน ร่วมดำเนินการ เพื่อเตรียมการปลูกต้นไม้ในช่วงฤดูปลูก (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2564)  รวม […]

รัฐบาลต้องร่วมมือภาคอสังหาฯ และนักลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

รัฐบาลต้องร่วมมือภาคอสังหาฯ และนักลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก หรือ weforum.org รายงานว่า สิ่งปลูกสร้าง มีสัดส่วน 40% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอน ดังนั้นนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ นักพัฒนา และผู้ครอบครองอสังหาฯ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะมีส่วนในการไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้ หากจะต้องจัดการกับอาคารเก่า เครื่องจักรและวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วคงจะเป็นเกมที่มีราคาแพง รวมถึงการจูงใจให้ซัพพลายเออร์หลายพันรายในการใช้ทางเลือกที่มีราคาประหยัดลงมีผลกระทบต่ำ ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพียงกลุ่มเดียวในภาครัฐหรือภาคเอกชนที่มีความสามารถด้านทรัพยากรหรือความสามารถจัดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนดำเนินการได้สำเร็จโดยลำพัง ในการจัดการความท้าทายของการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนนั้น ระบบนิเวศของพันธมิตรจะต้องได้รับความร่วมมือระหว่างเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ นักลงทุน และองค์กรผู้ครอบครอง รวมถึงรัฐบาลระดับชาติ ระดับเมือง สถาบันการศึกษา กลุ่มพนักงาน และองค์กรชุมชนด้วย เพื่อทำงานร่วมกันไปสู่เป้าหมายความยั่งยืนร่วมกัน ทั้งนี้ ล่าสุด JLL เพิ่งทำผลสำรวจผู้ครองครองอสังหาริมทรัพย์และนักลงทุนกว่า 1,000 รายทั่วโลกเพื่อวัดระดับความมุ่งมั่นในระดับอุตสาหกรรมและเพื่อสำรวจอุปสรรคที่พวกเขาเผชิญในการเดินทางไปสู่การลดปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่ผลสำรวจพบว่า มีการสนับสนุนในวงกว้างขึ้นสำหรับการทำงานร่วมกัน โดยองค์กรจำนวนมากตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเอาไว้ แต่กลับพบว่า 80% ของผู้ตอบ เห็นด้วยว่า การมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งระหว่างรัฐบาลเมือง ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ และนักลงทุน เป็นเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนวาระการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ สำหรับ 5 แนวทางที่รัฐบาลของเมืองและผู้นำจะร่วมมือเพื่อการลดคาร์บอนเป็นศูนย์ ได้แก่ 1.มองว่าผู้ที่่อยู่ในภาคอสังหาฯ เป็นพันธมิตรในการเปลี่ยนเมืองระยะยาวไปสู่การลดปล่อยก๊าซคาร์บอน 2.สร้างสมดุลระหว่างการควบคุมและการสนับสนุน […]

52% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจาก 25 เมืองใหญ่

52% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจาก 25 เมืองใหญ่

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก (weforum.org) รายงานว่า งานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่โดย Frontiers ได้รวบรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 167 เมืองทั่วโลก พบว่า 25 เมืองใหญ่ ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 52% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด โดยเมืองในเอเชียปล่อยมลภาวะก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ขณะที่เมืองส่วนใหญ่ในประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา ปี 2015 มี 170 ประเทศทั่วโลกร่วมทำข้กตกลงปารีส มีเป้าหมายจำกัดค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งตามข้อตกลงนี้ หลายประเทศและหลายเมืองเสนอเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่จากรายงานเกี่ยวกับช่องว่างการสร้างมลภาวะของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เมื่อปี 2020 พบว่า หากไม่ดำเนินการเข้มงวดเพื่อบรรเทาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิโลกจะยังร้อนขึ้นได้มากกว่า 3 องศาเซลเซียสภายในสิ้นศตวรรษที่ 21 ขณะที่ ผลศึกษาของ Frontiers ชี้ว่า เมืองในยุโรป ออสเตรเลีย และสหรัฐฯ มีสัดส่วนการสร้างมลภาวะต่อหัวมากกว่าเมืองในพื้นที่กำลังพัฒนา โดยกลุ่มพลังงานและการขนส่งเป็น 2 แหล่งหลักที่ปล่อยมลพิษ ทั้งนี้ มี 113 […]

ทั่วโลกมุ่งแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ แต่เม็ดเงินฟื้นฟูอย่างยั่งยืนด้านพลังงานของโลกมีแค่ 2%

ทั่วโลกมุ่งแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ แต่เม็ดเงินฟื้นฟูอย่างยั่งยืนด้านพลังงานของโลกมีแค่ 2%

รายงานข่าวจาก CNBC ระบุว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าของโลกจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้และปีหน้า แม้ทั่วโลกจะมีความพยายามเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณเงินกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ใช้ไปกับพลังงานสะอาดก็เป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆ เท่านั้น Fatih Birol ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า ณ ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ รัฐบาลทั่วโลกได้จัดสรรเงินรวมประมาณ 3.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับมาตรการฟื้นฟูอย่างยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ซึ่งคิดเป็นประมาณ 2% ของการใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟู ในแถลงการณ์ของ IEA ได้ให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องทำอีกมาก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ โดยมองว่าเงินจำนวนที่ระดมกำลังจากทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกสำหรับแผนฟื้นฟู ยังไม่เพียงพอกับความจำเป็นในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศ เม็ดเงินจำนวนนี้ยังน้อย เห็นเด่นชัดว่าในกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ยังขาดเม็ดเงินในส่วนนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากหลายประเทศเผชิญกับความท้าทายทางการเงิน เขา ยังกล่าวว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 ขึ้น รัฐบาลหลายแห่งต่างพูดถึงความสำคัญของการฟื้นฟูให้ดีขึ้นเพื่ออนาคตที่สะอาดขึ้น แต่หลายประเทศก็ยังไม่ได้เอาจริงเอาจังอย่างที่ปากของพวกเขาพูด

ยุโรปมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หนุนธุรกิจเทรดส่วนต่างผ่านตลาดคาร์บอนเครดิต

ยุโรปมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หนุนธุรกิจเทรดส่วนต่างผ่านตลาดคาร์บอนเครดิต

รายงานพิเศษของ CNBC ระบุว่า สหภาพยุโรปวางแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยแผนดังกล่าวอาจปฏิวัติหลายภาคส่วน ตั้งแต่การเดินทางทางอากาศไปจนถึงการขนส่ง กลุ่มสมาชิก 27 ประเทศได้ให้คำมั่นที่จะผลักดันให้ประเทศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี 2050 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030 จากระดับการปล่อยก๊าซปี 1990 Ursula von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวในแถลงการณ์เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้มาถึงขีดจำกัดแล้ว เราต้องส่งต่อโลกที่ดีมีคุณภาพให้คนรุ่นต่อไป เช่นเดียวกับการสร้างงานที่ดีและการเติบโตที่ไม่ทำร้ายธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงนโยบายหลักคือการสนับสนุนการซื้อขายผ่านตลาดคาร์บอนเครดิตในสหภาพยุโรป ภายใต้แผนดังกล่าว ภาคธุรกิจสามารกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซ (Allowances) ซึ่งภาคธุรกิจสามารถซื้อขายส่วนต่างได้ เช่น หากปล่อยเกินเพดานที่กำหนดก็ต้องจ่ายค่าปล่อยก๊าซส่วนเกิน แต่หากกิจการนั้นๆ มีความพยายามลดปริมาณการปล่อยก๊าซฯ ให้ต่ำกว่าโควตาที่ตนได้รับ ก็สามารถนำส่วนเหลือตรงนั้นไปขายได้  ซึ่งผู้ประกอบการเครื่องบินอยู่ภายในขีดจำกัดที่กำหนดนี้เช่นกัน นอกจากนี้ฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรปยังต้องการระบบการซื้อขายการปล่อยมลพิษใหม่สำหรับภาคการขนส่งทางถนนและอาคาร ภาคยานยนต์เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากกฎใหม่ โดยคณะกรรมการเสนอให้ห้ามใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลและเบนซินตามแผนในทางปฏิบัติตั้งภายในปี 2035 ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีบริการจุดชาร์จประจำบนทางหลวงสายหลักทุกๆ 60 กิโลเมตร สำหรับการชาร์จไฟฟ้า และทุกๆ 150 […]

ก้าวเริ่มต้นบนเส้นทางสู่ Net Zero Carbon Emission

ก้าวเริ่มต้นบนเส้นทางสู่ Net Zero Carbon Emission

โดย…เศรณี นาคธน กองทุนบัวหลวง โลกในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบไปยังทุกภาคส่วน ด้วยปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ โดย The Global Risk Report 2021 ที่จัดทำโดย World Economic Forum ระบุว่า ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจาก สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากการทำลายของน้ำมือมนุษย์และการจัดการด้านสภาพอากาศที่ล้มเหลว นับเป็นความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นมากที่สุดภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ ส่งผลให้ประชาคมโลกต้องตระหนักถึงการรักษาสภาพแวดล้อม พยายามหาแหล่งพลังงานแบบใหม่เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อทดแทนแหล่งพลังงานฟอสซิล ความพยายามและความร่วมมือของประชาคมโลกที่ดูเป็นรูปธรรมที่สุด ได้แก่ ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมมากกว่า 55 ประเทศจะร่วมมือกันยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส หรือ 1.5 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นไปได้ โดยครอบคลุมการดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ การให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านการเงิน และลงทุนทางด้านดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่า เส้นทางของการเข้าสู่ Net […]