ทรัมป์ต้องระวังการอวดอ้างเอาเครดิตจากตลาดหุ้น
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2016ที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิดที่ระดับ 18,332.74 หลังจากนั้น ดาวโจนส์และตลาดหุ้น S&P 500 และตลาดหุ้นแนสแด็คแรลลี่ทำนิวไฮมาตลอด ทรัมป์มักอวดอ้างเอาเครดิตว่า ตลาดหุ้นขึ้นเพราะนักลงทุนเชื่อมั่นในนโยบายของเขา โดยเฉพาะแผนลดภาษี และการตัดลดกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อเศรษฐกิจ ตลาดดาวโจนส์ไปพีคที่ระดับ 26,616.71ในวันที่ 26 มกราคม หลังจากนั้นมีการปรับตัวลงมา 2,300 จุด หรือ 8.5% ในวันจันทร์ที่5กุมภาพันธ์ ทรัมป์ยังคงมีช่องว่างให้หายใจอยู่ เพราะว่าตลาดหุ้นต้องตก 6,000 จุด กว่าจะกลับไปยังจุดที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง ทำเนียบขาวออกข่าวในวันจันทร์ว่า ทรัมป์ไม่ได้โฟกัสเรื่องตลาดหุ้นระยะสั้น แต่โฟกัสไปยังปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจระยะยาว ซึ่งยังคงเข้มแข็ง
สหรัฐระงับเงินช่วยเหลือผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ บีบ UN ปฏิรูปหน่วยงาน
กระทรวงต่างประเทศสหรัฐเผยว่าได้แจ้งต่อหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ (UN) ว่าจะระงับเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์จำนวนเงิน 65 ล้านดอลลาร์ หลังกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปหน่วยงานของ UN นางฮีทเธอร์ เนาเอิร์ท โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวว่า สหรัฐไม่ได้ยกเลิกเงินช่วยเหลือ เพียงแต่ระงับไว้ก่อนเพื่อรอการตัดสินใจต่อไป โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐกล่าวว่า “สิ่งที่สหรัฐต้องการก็คือ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในการดำเนินงานของ UNRWA และสิ่งที่รัฐบาลของเราจะทำคือ การพูดถึงการปฏิรูป UN ซึ่งมันไม่ใช่การยกเลิกทั้งหมด แต่เราอยากให้มีการแก้ไขอะไรบางอย่าง”
ตลาดหุ้นสหรัฐยังอยู่ในภาวะกระทิงในปี 2018
ผู้จัดการกองทุน นักบริหารเงิน รวมทั้งเฮดจ์ฟันด์ยังคงเชื่อมั่นว่าตลาดหุ้นยังคงเป็นภาวะกระทิงในปี 2018 นี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของ Bank of America Merrill Lynch Fund Manager Survey พบว่าผู้จัดการกองทุน นักบริหารเงิน และเฮดจ์ฟันด์จะยังคงลงทุนในตลาดหุ้น แม้ว่าในปีที่แล้วตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนที่งดงามถึง 20% การเซอร์เวย์พบว่า เหล่าบรรดานักบริหารเงินได้ลดการถือครองเงินสดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี และได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นมากที่สุดในรอบ 2 ปี ผู้จัดการเฮ็ดจ์ฟันด์บอกว่า พวกเขามีการลงทุนซื้อสุทธิในหุ้น49%ของพอร์ต ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดตั้งแต่ปี 2006
ทรัมป์เตรียมเล่นงานจีนทางการค้า
สื่อPoliticoรายงานว่า ทำเนียบขาวกำลังเตรียมมาตรการทางภาษีที่จะเล่นงานจีนที่ได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐค่อนข้างสูง สินค้านำเข้าเหล็กจากจีนอาจจะโดนกำแพงภาษีเล่นงานก่อน รวมทั้งมาตรการตอบโต้จีนที่ถูกกล่าวหาจากสหรัฐว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทอเมริกัน เส้นตายที่ทรัมป์จะใช้ใช้มาตรการตอบโต้จีนทางการค้าคือก่อนสิ้นเดือนมกราคมนี้ หลังจากที่ทรัมป์เสนอนโยบายต่อที่ประชุมสภาร่วม(State of the Union Address) ในเดือนพฤศจิกายน ทรัมป์บอกว่าการค้าระหว่างสหรัฐและจีนเป็นไปรูปแบบข้างเดียวที่จีนได้ประโยชน์ และไม่แฟร์ การค้าแบบนี้ไม่ยั่งยืน จีนเดินดุลการค้าสหรัฐปีหนึ่งมากกว่า$360,000ล้าน ทำให้ทรัมป์ใช้เป็นข้ออ้างในการใช้มาตรการทางภาษี หรือรูปแบบอื่นของลัทธิกีดกันการค้ามาตอบโต้
เปิดมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐปี 2018
มองเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2018 ยังแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานฟื้นหนุนบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ขณะที่การลงทุนเอกชนยังโตต่อเนื่อง ปี 2018 จะเป็นอีกปีที่ดีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เรามองว่า Growth Momentum ของสหรัฐฯยังแข็งแกร่งต่อเนื่องจากปี 2017และจะเป็นปีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถขยายตัวได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ยในอดีต โดยแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากปัจจัยพื้นฐานของสหรัฐฯเป็นหลัก ภาพตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวจะหนุนให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ที่ 2.5% เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่เติบโตต่อเนื่องโดยเราคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 4.3% ในปี 2018 จากการลงทุนเพิ่มของธุรกิจกลุ่มพลังงาน, การลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มเติมทดแทนแรงงานคนบางส่วน สำหรับการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์น่าจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวหลังพายุเฮอร์ริเคนสิ้นสุดลง เรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวได้ที่ 2.5% ในปี 2018 เกินเกณฑ์ค่าเฉลี่ยระยะยาวซึ่งอยู่ที่ 1.75% ตลาดแรงงานสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวสูง อาจเข้าสู่ภาวะตลาดแรงงานตึงตัวในรอบหลายปีและมีความเป็นไปได้ที่อัตราว่างงานจะดิ่งลงต่ำ 4% ในปี 2018 เรายังมองว่าแรงส่งผ่านระหว่างค่าจ้างแรงงานและอัตราเงินเฟ้อยังมีอยู่จำกัดทำให้อัตราเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐฯยังไม่แตะ 2% ในปี 2018 นี้
เปิดมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐปี 2018
มองเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2018 ยังแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานฟื้นหนุนบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ขณะที่การลงทุนเอกชนยังโตต่อเนื่อง ปี 2018 จะเป็นอีกปีที่ดีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เรามองว่า Growth Momentum ของสหรัฐฯยังแข็งแกร่งต่อเนื่องจากปี 2017และจะเป็นปีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถขยายตัวได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ยในอดีต โดยแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากปัจจัยพื้นฐานของสหรัฐฯเป็นหลัก ภาพตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวจะหนุนให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ที่ 2.5% เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่เติบโตต่อเนื่องโดยเราคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 4.3% ในปี 2018 จากการลงทุนเพิ่มของธุรกิจกลุ่มพลังงาน, การลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มเติมทดแทนแรงงานคนบางส่วน สำหรับการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์น่าจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวหลังพายุเฮอร์ริเคนสิ้นสุดลง เรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวได้ที่ 2.5% ในปี 2018 เกินเกณฑ์ค่าเฉลี่ยระยะยาวซึ่งอยู่ที่ 1.75% ตลาดแรงงานสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวสูง อาจเข้าสู่ภาวะตลาดแรงงานตึงตัวในรอบหลายปีและมีความเป็นไปได้ที่อัตราว่างงานจะดิ่งลงต่ำ 4% ในปี 2018 เรายังมองว่าแรงส่งผ่านระหว่างค่าจ้างแรงงานและอัตราเงินเฟ้อยังมีอยู่จำกัดทำให้อัตราเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐฯยังไม่แตะ 2% ในปี 2018 นี้
China Economy EU Japan Thailand US
มุมมองเศรษฐกิจใน 5 ประเทศหลัก
US : เศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2017-2018 จะสามารถขยายตัวเกินค่าเฉลี่ยระยะยาวได้ที่ 2.5% ทั้งสองปี ด้วยแรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนที่จะเริ่มผลิตเพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังให้พอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ส่วนการจ้างงานน่าจะยังเติบโตได้แข็งแกร่ง EU : ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาพลังงานช่วยสนับสนุนการบริโภค ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมา การใช้สินเชื่อเริ่มดีขึ้นเรามองว่า GDP จะขยายตัวที่ 2.3% JP : เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถขยายตัวได้อัตรา 1.4% เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีส่วนช่วยผลักดันได้แก่ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือ Supplementary Budget จากรัฐบาล มีส่วนหนุนการบริโภคภาคเอกชน CH : เศรษฐกิจจีนน่าจะขยายตัวได้ที่ 6.5% โดยเป็นการขยายตัวตามเป้าหมายของทางการที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจจีนค่อยๆขยับเข้าภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชน TH : การส่งออกและการใช้จ่ายลงทุนภาเอกชนจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.8% ในปี 2017-2018
Global North Korea Politics US
เอ็นเอสซีเพิ่มแรงกดดัน โดยจำกัดส่งน้ำมันเกาหลีเหนือ
รายงานข่าวจากบีบีซีระบุว่า เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐอเมริกา แสดงความยินดีหลังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอสซี ทั้งหมด 15 ชาติ มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองมาตรการคว่ำบาตรใหม่ที่รุนแรงยิ่งขึ้นต่อเกาหลีเหนือเพื่อตอบโต้การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธข้ามทวีป หรือไอซีบีเอ็ม ทั้งนี้มติดังกล่าวยังได้รับการรับรองจากรัสเซียและจีน ชาติพันธมิตรคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของเกาหลีเหนือด้วย ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรใหม่นี้จะส่งผลให้สินค้านำเข้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงของเกาหลีเหนือลดลงถึง 90% นางนิกกี ฮาลีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำยูเอ็น กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่แสดงให้เกาหลีเหนือประจักษ์อย่างพร้อมเพรียง ว่าการท้าทายต่อไปมีแต่จะนำไปสู่การโดนลงโทษและโดดเดี่ยว พร้อมยังเปรียบเทียบเกาหลีเหนือว่าเป็น “ตัวอย่างที่น่าเศร้าของชาติที่ชั่วร้ายในโลกยุคใหม่” สำหรับรายละเอียดของมาตรการคว่ำบาตรเกาหลีเหนือรอบใหม่นี้ได้รับการนำเสนอโดยสหรัฐฯ มีเป้าหมายจำกัดสินค้าที่เกาหลีเหนือนำเข้า โดยปริมาณผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเหลือ 5 แสนบาร์เรลต่อปี และน้ำมันดิบไม่เกิน 4 ล้านบาร์เรลต่อปี
สหรัฐ: เศรษฐกิจไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตราเร็วที่สุดในรอบสองปี
เศรษฐกิจสหรัฐฯไตรมาส 3/2017 (ประมาณการครั้งสุดท้าย) ขยายตัวในอัตราเร็วที่สุดในรอบสองปีที่ 3.2% QoQ saar ชะลอลงเล็กน้อยกว่าประมาณการครั้งก่อนหน้าที่ 3.3% QoQ saar แต่ดีกว่าไตรมาส 2/2017 ที่ 3.1% QoQ saar ถือเป็นการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงกว่า 3.0% ต่อเนื่องสองไตรมาสติดต่อกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2014 ในรายองค์ประกอบเศรษฐกิจสหรัฐฯได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาคธุรกิจเป็นหลักถึง 7.3% QoQ saar (ดังรูป) Source: Bloomberg ทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯปี 2018 มีความสดใสทั้งจากภาพของผลประกอบการธุรกิจที่ดี และจากทิศทางนโยบายภาครัฐที่ล่าสุดทั้งสองสภาสามารถบรรลุนโยบายปฏิรูปภาษีเท่ากับว่าจะมีแรงกระตุ้นสู่เศรษฐกิจผ่านช่องทางลดหย่อนภาษีอีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ฯในอีก 10 ปีข้างหน้า
สหรัฐ: กฏหมายปฏิรูปภาษีผ่านสภา โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ปี 2018
สภาผู้แทนฯ และวุฒิสภาผ่านกฏหมายปฏิรูปภาษีด้วยเสียง 224 ต่อ 201 และ 51 ต่อ 48 ตามลำดับ คาดว่าจะลงนามและบังคับใช้ในปี 2018 ขณะนี้ทางพรรค Republican ได้หันไปเร่งกระบวนการพิจารณากฏหมายงบประมาณชั่วคราว (Continuing Resolution) ที่ต้องผ่านภายในวันที่ 22 ธ.ค. เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบางส่วน (Government shutdown) รายละเอียดกฎหมายปฏิรูปภาษี Source: Tax Foundation, TISCO, ESU