‘ทรัมป์’ โดดร่วมวงถกการค้า-ภาษีกับญี่ปุ่นด้วยตนเอง โวเจรจาคืบหน้ามาก
ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เผยว่า การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้นำสหรัฐฯ สร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการเข้าร่วมเจรจาด้วยตนเอง ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากนโยบายขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งสร้างความปั่นป่วนไปทั่วโลก สื่อต่างประเทศ รายงานวานนี้ว่า คณะผู้แทนเจรจาการค้าของญี่ปุ่นเดินทางเยือนกรุงวอชิงตันในวันที่ 16-18 เม.ย. นี้ เพื่อเจรจาเกี่ยวกับข้อเรียกร้องด้านการค้าของสหรัฐฯ ขณะที่ ทั่วโลกจับตาดูความเคลื่อนไหวในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศกลุ่มแรกๆ ที่จะได้เข้าร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ ระดมขึ้นภาษีตอบโต้ประเทศคู่ค้าไปเมื่อต้นเดือนนี้ ทรัมป์โพสต์บน Truth Social หลังการเจรจาว่า “นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้พบปะกับคณะผู้แทนการค้าของญี่ปุ่น นี่คือความคืบหน้าครั้งยิ่งใหญ่!” โดยในการเจรจามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ และญี่ปุ่น เข้าร่วม อาทิ นายสก็อต เบสเซนต์ (Scott Bessent) รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง นายฮาวเวิร์ด ลุตนิก (Howard Lutnick) รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ และนายเรียวเซอิ อากาซาวะ (Ryosei Akazawa) รัฐมนตรีกระทรวงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยนายอากาซาวะ กล่าวว่า ทรัมป์ต้องการบรรลุข้อตกลง […]
‘ทรัมป์’ เบรกขึ้นภาษี 90 วันให้ 75 ประเทศ ยกเว้นจีนเก็บเพิ่มเป็น 125%
สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศระงับการขึ้นภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) เป็นเวลา 90 วัน ให้กับประเทศที่ติดต่อเข้ามาขอเจรจาและไม่ประกาศขึ้นภาษีตอบโต้ โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ สินค้านำเข้าจากประเทศต่างๆ จะถูกเก็บภาษีพื้นฐาน (Baseline tariff) ในอัตรา10% ในช่วงดังกล่าว แทนการเก็บภาษีตอบโต้ซึ่งประกาศไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยโฆษกทำเนียบขาว เผยกับ Nikkei Asia ว่า การระงับภาษีศุลกากรเป็นเวลา 90 วัน จะมีผลบังคับใช้กับทุกประเทศ ยกเว้นจีน ขณะเดียวกัน ทรัมป์ได้ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีน เป็น 125% จากก่อนหน้านี้ ที่ 104% เพื่อตอบโต้หลังจากที่จีนประกาศขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ เป็น 84% ทรัมป์ โพสต์บน Truth Social ในเชิงกล่าวโทษว่า จีนเป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดโลกปั่นป่วน โดยระบุว่า “การที่จีนขาดความเคารพต่อตลาดโลก […]
จีนประกาศกร้าวจะ “ต่อสู้จนถึงที่สุด” หลังถูกทรัมป์ขู่รีดภาษีเพิ่ม รวมเป็น 104%
รัฐบาลจีน ประกาศจะตอบโต้นโยบายภาษีรอบล่าสุดของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ พร้อมใช้มาตรการต่างๆ เพื่อพยุงตลาดการเงิน ซึ่งนับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่สงครามการค้าระหว่าง 2 ชาติเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกจะยืดเยื้อออกไป กระทรวงพาณิชย์จีน ระบุในแถลงการณ์ว่า “คำขู่ของสหรัฐฯ ที่จะเก็บภาษีกับจีนเพิ่มขึ้น ถือเป็นการทำผิดซ้ำซาก หากสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าในเส้นทางนี้ จีนจะสู้จนถึงที่สุด” คำตอบโต้ของจีนเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมง หลังจากทรัมป์ประกาศจะเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มเติมอีก 50% หากจีนไม่ยกเลิกมาตรการตอบโต้ภาษีที่ทรัมป์ประกาศก่อนหน้านี้ โดยท่าทีแข็งกร้าวดังกล่าว สะท้อนว่า รัฐบาลจีน จะไม่ยอมอ่อนข้อให้แผนกดดันของทรัมป์ ซึ่งถือเป็นการลดโอกาสที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะบรรลุข้อตกลงในเร็ววัน มิเชล แลม (Michelle Lam) นักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคจีน จาก Societe Generale กล่าวว่า “ท่าทีของจีนถือว่าแข็งกร้าวมาก หากทรัมป์ไม่ยอมถอย นักลงทุนอาจต้องเตรียมตัวรับความเป็นไปได้ที่ห่วงโซ่การค้า (Decoupling) ระหว่างทั้ง 2 ประเทศ จะแยกจากกัน” ขณะเดียวกัน ทางการจีนได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่า จะพยุงตลาด โดยธนาคารกลางจีนเริ่มผ่อนคลายการควบคุมค่าเงินหยวน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของการส่งออก ขณะเดียวกัน กองทุนรัฐบาลจีน […]
IMF เตือนภาษีสหรัฐฯ เสี่ยงฉุดเศรษฐกิจโลก วอนทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
นางคริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกแถลงการณ์เตือนว่า มาตรการภาษีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้ จะเพิ่มความเสี่ยงอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกในยามที่การเติบโตยังคงซบเซา “การดำเนินมาตรการใด ๆ ที่อาจสร้างความเสียหายเพิ่มเติมต่อเศรษฐกิจโลก เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องหลีกเลี่ยง” พร้อมเรียกร้องให้สหรัฐฯ และคู่ค้า ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อลดความตึงเครียดด้านการค้าและลดความไม่แน่นอน “เรายังอยู่ระหว่างประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากมาตรการภาษีดังกล่าว แต่เป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งนี้สร้างความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในยุคที่การเติบโตยังอ่อนแอ” นางจอร์เจียวากล่าว ทั้งนี้ IMF จะเผยแพร่บทวิเคราะห์ผลกระทบจากมาตรการภาษีดังกล่าวในรายงาน World Economic Outlook ฉบับปรับทวน ซึ่งจะมีการเผยแพร่ระหว่างการประชุมประจำปีของ IMF และธนาคารโลก ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21–26 เม.ย. ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นางจอร์เจียวาระบุว่า ความเคลื่อนไหวของทรัมป์ในการผลักดันมาตรการภาษีในวงกว้าง สร้างความไม่แน่นอนอย่างมาก และบั่นทอนความเชื่อมั่นของภาคเศรษฐกิจ โดยในตอนนั้น IMF คาดว่า เศรษฐกิจจะยังไม่เกิดภาวะถดถอยในระยะสั้น โดยเพิ่มเติมว่า IMF มีแนวโน้มจะปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกลงเล็กน้อย โดยเสริมว่า “เรายังไม่เห็นภาวะถดถอยชัดเจนมากนัก” ทั้งนี้ ภาษีที่สหรัฐฯ ประกาศใช้เมื่อวันพุธที่ผ่านมา สูงกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าคาดการณ์ไว้เป็นอย่างมาก […]
จับตาเกมภาษีทรัมป์ กับ 3 ประเด็นต้องลุ้น – อัตราภาษี-ประเทศเป้าหมาย และผลกระทบ
อุณหภูมิการค้าโลกชั่วโมงนี้ร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ทั่วโลกเริ่มนับถอยหลังรอ จับตามาตรการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ ซึ่งจะประกาศออกมาในวันที่ 2 เม.ย. เวลา 16.00 น. ตามเวลาสหรัฐฯ หรือประมาณ 3.00 น. ของเช้าวันที่ 3 เม.ย. ตามเวลาไทย ซึ่งประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เรียกว่าเป็น “วันปลดปล่อย” (Liberation Day) แต่สิ่งที่ยังเป็นคำถามคาใจอยู่ในตอนนี้ ยังเป็น 3 ประเด็นหลักที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนภาษีรอบใหม่ นั่นคือ อัตราภาษี ประเทศเป้าหมาย และผลกระทบ สหรัฐฯ จะขึ้นภาษีศุลกากรมากน้อยเพียงใด ทำเนียบขาวยังไม่ได้ระบุว่า จะเก็บภาษีศุลกากรในอัตราเท่าใด ขณะที่ นักวิเคราะห์ก็มีมุมมองและคาดการณ์ในหลายทิศทาง ย้อนไปช่วงหาเสียงเมื่อปีที่แล้ว ทรัมป์สนับสนุนให้เรียกเก็บภาษีศุลกากร 10% สำหรับสินค้าที่นำเข้ามายังสหรัฐฯ ทั้งหมด และเสนอให้เก็บภาษีจากจีน 20-60% แต่เมื่อรับตำแหน่งทรัมป์เสนอให้เก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal tariff) ในอัตราที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ พูดง่ายๆ ก็คือ […]
IMF คาดแผนภาษีทรัมป์ยังไม่ทำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ถดถอย แต่เตือนกระทบหนักแคนาดา-เม็กซิโก
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า จูลี โคแซ็ก (Julie Kozack) โฆษกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า องค์กรกำลังประเมินผลกระทบจากแผนภาษีของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงภาษีนำเข้ารถยนต์ 25% อย่างไรก็ดี IMF ไม่คาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเกิดภาวะถดถอยในคาดการณ์เศรษฐกิจพื้นฐาน โคแซ็ก ระบุว่า มาตรการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโก หากมีผลบังคับใช้ถาวร จะส่ง “ผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญ” ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งปัจจุบัน IMF กำลังประเมินผลกระทบจากมาตรการภาษีอื่นๆ ของทรัมป์ต่อภูมิภาคต่างๆ อย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งนี้ IMF จะรวบรวมการประเมินผลกระทบจากมาตรการภาษีในหลายประเด็นไว้ในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ซึ่งมีกำหนดเผยแพร่ในช่วงปลายเดือนเม.ย. โดยซึ่งโคแซ็ก ระบุว่า รายงานฉบับนี้จะชี้แจงรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า มาตรการใดบ้างที่จะนำมาคำนวณในการประเมินการเติบโตทางเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อ ขณะที่ บางมาตรการภาษีของทรัมป์ อาจล่าช้าออกไป เช่น ภาษีชิ้นส่วนรถยนต์ ที่อาจมีผลบังคับใช้ไม่เกินวันที่ 3 พ.ค.นี้ โฆษก IMF […]
รัสเซีย-ยูเครน ตกลงหยุดยิงทางทะเล-ระบบพลังงาน ด้านสหรัฐฯ ลั่นพร้อมเปิดทางผ่อนปรนคว่ำบาตรรัสเซีย
สหรัฐฯ สามารถบรรลุข้อตกลงอีกฉบับกับยูเครน-รัสเซีย เพื่อระงับการโจมตีทางทะเลและเป้าหมายด้านพลังงาน พร้อมให้คำมั่นผลักดันให้เกิดการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรบางส่วนต่อรัสเซีย ซึ่งข้อตกลงครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างประเทศคู่สงคราม นับตั้งแต่การเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อเดือนม.ค. ที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ สหรัฐฯ ยังให้คำมั่นที่จะช่วยผลักดันไปสู่การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรระหว่างประเทศต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและปุ๋ยของรัสเซีย ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องหลักของรัสเซียมาโดยตลอด ด้านรัสเซีย แถลงว่า ข้อตกลงเรื่องทะเลดำจะไม่มีผลบังคับใช้ เว้นแต่จะมีการเปิดทางให้ธนาคารรัสเซียบางแห่ง กลับมาเชื่อมโยงกับระบบการเงินระหว่างประเทศได้ ขณะที่ ประธานาธิบดี โวโลดีเมียร์ เซเลนสกีของยูเครน กล่าวว่า สิ่งที่ตนเองเข้าใจนั้น ข้อตกลงหยุดยิงไม่จำเป็นต้องมีการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรเพื่อให้มีผลบังคับใช้ และควรจะมีผลโดยทันที โดยเขาเรียกแถลงการณ์ของรัสเซียว่าเป็นความพยายามที่จะบิดเบือนข้อตกลง โดยกล่าวว่า “พวกเขาพยายามบิดเบือนข้อตกลงและหลอกลวง ทั้งคนกลางและทั่วโลก” ทั้งยูเครนและรัสเซีย ต่างระบุว่า จะพึ่งพาสหรัฐฯ ในการบังคับใช้ข้อตกลงนี้ แต่ก็แสดงความสงสัยว่า ฝ่ายตรงข้ามจะทำตามข้อตกลงหรือไม่ โดยนายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ รัสเซีย กล่าวว่า “เราต้องการการรับประกันที่ชัดเจน จากประสบการณ์อันเลวร้ายของการทำข้อตกลงกับยูเครนเพียงฝ่ายเดียว การรับประกันใดๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสหรัฐฯ สั่งเซเลนสกีและทีมของเขาให้ทำสิ่งหนึ่งและไม่ทำอีกสิ่งหนึ่งเท่านั้น” เซเลนสกี กล่าวว่า […]
ทองแดง 5 แสนตันทะลักเข้าสหรัฐฯ หลังเร่งนำเข้า หวั่นผลกระทบภาษีทรัมป์
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า เมอร์คิวเรีย (Mercuria) บริษัทชั้นนำด้านการค้าโภคภัณฑ์ ประเมินว่า มีทองแดงประมาณ 500,000 ตัน กำลังถูกขนส่งไปยังสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าปริมาณนำเข้าเฉลี่ยปกติที่ประมาณ 70,000 ตันต่อเดือน สาเหตุมาจากความกังวลต่อการขึ้นภาษีนำเข้าที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ รายงานดังกล่าว ยังอ้างอิงคำพูดของ Kostas Bintas อดีตรองประธานฝ่ายซื้อขายโลหะของทรานฟิกูร่า กรุ๊ป (Trafigura Group) ยักษ์ใหญ่ด้านการค้าโภคภัณฑ์ ที่ระบุว่า ปริมาณทองแดงมหาศาลที่ทะลักเข้าสู่สหรัฐฯ ในครั้งนี้ อาจผลักดันให้ราคาทองแดงทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และอาจทำให้จีน ผู้บริโภคทองแดงรายใหญ่ของโลก รวมถึงประเทศอื่น ๆ ต้องประสบปัญหาขาดแคลนทองแดงอย่างรุนแรง เมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งให้ตรวจสอบและศึกษาความเป็นไปได้ในการเก็บภาษีนำเข้าทองแดง เพื่อฟื้นฟูการผลิตในประเทศ ซึ่งทองแดงเป็นโลหะสำคัญในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า อาวุธยุทโธปกรณ์ เซมิคอนดักเตอร์ และสินค้าอุปโภคบริโภคหลากหลายประเภท ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนมี.ค. Goldman Sachs คาดการณ์ว่า การนำเข้าทองแดงสุทธิของสหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้น 50- 100% […]
BBLAM เปิดกองใหม่ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ขนาดเล็ก ‘กองทุน B-US2000P’ IPO 27 มี.ค. – 2 เม.ย.นี้
BBLAM เปิดกองใหม่ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ขนาดเล็ก หนุนนักลงทุนเก็บโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้ครบ ‘กองทุน B-US2000P’ IPO 27 มี.ค. – 2 เม.ย.นี้ รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ BBLAM ว่า เตรียมจะเสนอขาย กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นยูเอส 2000 พาสซีฟ (Bualuang US Equity 2000 Passive Fund) หรือ B-US2000P เปิดจองซื้อครั้งแรก (IPO) 27 มีนาคม – 2 เมษายน 2568 โดยไม่มีค่าธรรมเนียมการขาย ซึ่งกองทุนนี้มีนโยบายลงทุนแบบ Passive Fund โดยเน้นบริหารให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงดัชนี Russell 2000 ผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของ iShares Russell 2000 ETF ซึ่งบริหารโดย BlackRock Fund Advisors บริษัทจัดการสินทรัพย์ชั้นนำระดับโลก […]
‘คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์’ ค้านเฟดชะลอทำ QT ชี้ระบบธนาคารยังมีสภาพคล่องเพียงพอ
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะชะลอการทำ QT (Quantitative Tightening) โดยให้เหตุผลว่าปริมาณเงินสำรอง (reserves) ในระบบธนาคารยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก “การลดขนาดงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นส่วนสำคัญในการทำให้นโยบายการเงินกลับสู่ภาวะปกติ และช่วยลดเงินสำรองที่เกินความจำเป็นในระบบธนาคาร” นายวอลเลอร์ กล่าว วอลเลอร์ ระบุเพิ่มเติมว่า “การชะลอการทำ QT หรือการปล่อยให้พันธบัตรครบอายุโดยไม่มีการซื้อเพิ่มนั้น จะเป็นสิ่งที่เหมาะสม เมื่อปริมาณเงินสำรองใกล้แตะระดับที่พึงมี แต่ผมมองว่า เรายังห่างไกลจากจุดนั้น เพราะปัจจุบันยอดเงินสำรองของเราสูงกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่มากเกินพอ” พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า “ไม่มีหลักฐานใดๆ จากตัวชี้วัดในตลาดเงิน หรือจากสิ่งที่ผมได้สนทนากับผู้เกี่ยวข้องที่บ่งชี้ว่า เงินสำรองในระบบธนาคารใกล้ถึงระดับที่พึงมี” ความเห็นของวอลเลอร์เกิดขึ้น หลังจากที่เฟดประกาศชะลอการทำ QT (Quantitative Tightening) ซึ่งหมายถึง การถอนสภาพคล่องและลดปริมาณเงินที่ไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจลง โดยจะค่อยๆ ลดการถือครองพันธบัตรในงบดุลลง โดยเฟดจะปล่อยให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงินเพียง 5 […]