ความท้าทายของจีนในปี2018

ความท้าทายของจีนในปี2018

จีนจะยังคงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กลายเป็นมหาอำนาจเบอร์1ของโลกในอีก10ปีข้างหน้าได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับมาตรการการปฏิรูปโครงสร้างในปัจจุบันที่กำลังดำเนินไปอยู่ นี้คือเนื้อหาหลักของงานสัมนา dbAccess China Conference 2018จัดโดยดอยช์แบงก์ ที่กรุงปักกิ่งระหว่างวันที่8-10มกราคม2018 ซึ่งมีเนื้อหาหลัก4-5ประเด็นที่สำคัญคือ 1.) จีนจะสามารถปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจที่เคยเติบโตสูงมาเป็นเศรษฐกิจที่โตอย่างมีคุณภาพได้หรือไม่ โดยที่ตัวเลขจีดีพีจะไม่ได้เป็นเป้าหมายที่สำคัญเหมือนในอดีตที่จีนต้องการเงินลงทุนและการส่งออกที่มากๆเพื่อไล่ให้ทันโลกตะวันตก และเพื่อรองรับการจ้างงาน และรัฐบาลจีนเป็นผู้นำในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดันจีดีพี 2.) จีนจะสามารถบริหารความเสี่ยงได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงของภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการกู้หนี้ยืมสินที่เกินตัวของรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อที่จะลงทุนและดันดีจีดีพีของมณฑลของตัวเองให้มีเศรษฐกิจที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่สูง การลดหนี้และบริหารความเสี่ยงจากเครดิตที่สูงเกินไปจะเป็นงานหลักของการปฏิรูป 3.) จีนจะพึ่งพาการบริโภคภายในเพื่อดันจีดีพี พร้อมทั้งการนำเอาซับไพลไซด์มาเป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจใหม่ๆ การเพิ่มภาคบริการ นวัตกรรม รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี่มาใช้ 4.) ความเร็วในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจจะทันการหรือไม่ เพื่อที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีอัตราการเจริญเติบโตในระดับที่ยอมรับได้ โดยไม่จำเป็นต้องโตมากนัก 5.) นายWerner Steinmueller กรรมการผู้จัดการใหญ่เอเชียแปซิฟิค และกรรมการของบอร์ดของดอยช์แบงก์เชื่อมั่นว่าอีก5-10ปีข้างหน้าเศรษฐกิจจีนมีโอกาสที่จะแซงหน้าเศรษฐกิจสหรัฐได้ ทำให้เปิดโอกาสของการลงทุนในจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดหุ้นจีนมีขนาด$7.3ล้านล้านใหญ่อันดับ2ของโลกแล้ว ส่วนตลาดบอนด์ของจีนมีขนาด$9.4ล้านล้านหรือใหญ่อันดับ3ของโลก เขาเชื่อมั่นว่ามาตรการการเปิดเสรีเศรษฐกิจและภาคการเงินของรัฐบาลจีน และความต้องการมืออาชีพมาบริหารทางด้านการเงินเพิ่มมากขึ้นจะดึงดูดและเปิดโอกาสให้นักลงทุนให้มาลงทุนในจีนในระยะยาว

จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ เทรนด์การตลาดในยุคดิจิทัล (ตอนที่ 1)

จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ เทรนด์การตลาดในยุคดิจิทัล (ตอนที่ 1)

By… รุ่งนภา เสถียรนุกูล การเติบโตของธุรกิจ E-Retail ในโลกยุค 4.0 ธุรกิจค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ต มีการเติบโตอย่างมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสาร ซึ่งทำให้มีช่องทางการเข้าถึงสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนมากเริ่มเปลี่ยนการซื้อขายมาสู่ระบบการค้าออนไลน์ เนื่องจากมองเห็นข้อดีของการขายออนไลน์ เช่น ไม่ต้องลงทุนหน้าร้าน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างพนักงาน อีกทั้งยังสามารถเปิดขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้ธุรกิจค้าปลีกทางอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการขยายตัวของผู้ประกอบการจากต่างประเทศ ซึ่งเข้ามาทำตลาด E-commerce ในประเทศไทย จากตัวเลขที่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) พบว่า มูลค่าธุรกรรมที่ E-Retail (สัดส่วนมูลค่า E-Commerce ในธุรกิจ Retail) ของไทยในปี 2558 ยังมีมูลค่าแค่เพียง 340,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1% ของธุรกิจ Retail ในไทยทั้งหมด ขณะที่เมื่อเปรียบกับเจ้าตลาดอย่างจีน จะพบว่าธุรกิจ E-Retail […]

กรุงปักกิ่งตั้งเป้าซื้อ-ขาย e-commerce ทะลุ 2.5 ล้านล้านหยวนในปี 2018

กรุงปักกิ่งตั้งเป้าซื้อ-ขาย e-commerce ทะลุ 2.5 ล้านล้านหยวนในปี 2018

สำนักงานคณะกรรมการพาณิชย์กรุงปักกิ่ง (Beijing Municipal Commission of Commerce) คาดหวังว่าภายในปี 2018 การทำธุรกรรมผ่านช่องทาง e-commerce ในเมืองหลวงจะทะลุ 2.5 ล้านล้านหยวน หรือกว่า 3.85 แสนล้านดอลลาร์ โดยกรุงปักกิ่งพร้อมที่จะสนับสนุนการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ต และระบบขนส่ง (logistics)ในปีนี้ นอกจากนี้แนวโน้มจำนวนผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งผู้ค้าส่งต่างๆ (wholesalers) และผู้ค้าปลีก (retailers) จะหันมาสนใจธุรกิจ e-commerce เพิ่มขึ้น ซึ่งกรุงปักกิ่งกระตุ้นให้กลุ่มค้าปลีกและค้าส่งแบบดังเดิม (Traditional retailers and wholesalers) พัฒนาการขายสู่ระบบออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้กรุงปักกิ่งจะกำหนดนโยบายและจัดให้มีการอบรมผู้ขนส่งสินค้า รวมถึงวางมาตรฐานต่างๆสำหรับการขนส่งด้วยยานพาหนะเพื่อเป็นรากฐานให้กับระบบขนส่งในอนาคต

ก.ล.ต. เตือนนักลงทุนเทรดบิทคอยน์ฟิวเจอร์ ต้องคำนึงความเสี่ยง

ก.ล.ต. เตือนนักลงทุนเทรดบิทคอยน์ฟิวเจอร์ ต้องคำนึงความเสี่ยง

ก.ล.ต.เตือนผู้ลงทุนซื้อขายบิทคอยน์ฟิวเจอร์สในต่างประเทศ ต้องคำนึงถึงความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนเอง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มองกรณีมีบริษัทหลักทรัพย์ได้ชักชวนนักลงทุนไปซื้อขายบิทคอยน์ฟิวเจอร์ส ในต่างประเทศ ว่าสามารถทำได้ เพราะผลิตภัณฑ์สัญญาฟิวเจอร์สที่ซื้อขายในตลาด The Chicago Mercantile Exchange และ The CBOE Futures Exchange นั้น เป็นตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในสหรัฐอเมริกาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Commodity Futures Trading Commission ของสหรัฐอเมริกา (US CFTC) และเป็นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรกำกับดูแลที่ได้มาตรฐาน จึงหมดห่วงเรื่องฉ้อโกง อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนที่สนใจไปซื้อขายบิทคอยน์ฟิวเจอร์ส ในต่างประเทศ ต้องคำนึงถึงว่าตนสามารถรับมือกับความเสี่ยงได้มากน้องเพียงไร หากยังไม่พร้อมหรือมีความเข้าใจ้ด้านผลิตภัณฑ์ไม่มากพอก็ควรหลีกเลี่ยง

ดัชนีหุ้นไทยปิดตลาดลบ 2.64 จุด อยู่ที่ 1,792.81 จุด สวนทางภูมิภาค

ดัชนีหุ้นไทยปิดตลาดลบ 2.64 จุด อยู่ที่ 1,792.81 จุด สวนทางภูมิภาค

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (8 ม.ค. 61) ที่ 1,792.81 จุด ลดลง 2.64 จุด หรือ ลบ 0.15% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,813.17 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,792.81 จุด ณ เวลา 16:42 น. มีมูลค่าการซื้อขาย 78,320.68 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.AOT ปิดที่ 74.25 บาท เพิ่มขึ้น 2.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 9,588.82 ลบ. 2.PTT ปิดที่ 466.00 บาท ลดลง -2.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย […]

ทรัมป์เตรียมเล่นงานจีนทางการค้า

ทรัมป์เตรียมเล่นงานจีนทางการค้า

สื่อPoliticoรายงานว่า ทำเนียบขาวกำลังเตรียมมาตรการทางภาษีที่จะเล่นงานจีนที่ได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐค่อนข้างสูง สินค้านำเข้าเหล็กจากจีนอาจจะโดนกำแพงภาษีเล่นงานก่อน รวมทั้งมาตรการตอบโต้จีนที่ถูกกล่าวหาจากสหรัฐว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทอเมริกัน เส้นตายที่ทรัมป์จะใช้ใช้มาตรการตอบโต้จีนทางการค้าคือก่อนสิ้นเดือนมกราคมนี้ หลังจากที่ทรัมป์เสนอนโยบายต่อที่ประชุมสภาร่วม(State of the Union Address) ในเดือนพฤศจิกายน ทรัมป์บอกว่าการค้าระหว่างสหรัฐและจีนเป็นไปรูปแบบข้างเดียวที่จีนได้ประโยชน์ และไม่แฟร์ การค้าแบบนี้ไม่ยั่งยืน จีนเดินดุลการค้าสหรัฐปีหนึ่งมากกว่า$360,000ล้าน ทำให้ทรัมป์ใช้เป็นข้ออ้างในการใช้มาตรการทางภาษี หรือรูปแบบอื่นของลัทธิกีดกันการค้ามาตอบโต้

แบงก์ชาติจีนมองสภาพคล่องในระบบยังสูง ระงับอัดฉีดเงินติดต่อกันเป็นวันที่ 11

แบงก์ชาติจีนมองสภาพคล่องในระบบยังสูง ระงับอัดฉีดเงินติดต่อกันเป็นวันที่ 11

ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า ในวันนี้ธนาคารกลางจีนยังคงระงับการอัดฉีดเงิน ผ่านการดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations – OMO) ซึ่งนับเป็นการระงับอัดฉีดเงินติดต่อกันเป็นวันที่ 11 เหตุสภาพคล่องในระบบธนาคารยังอยู่ในระดับสูง ข้อตกลง reverse repo วงเงิน 4 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 6.17 พันล้านดอลลาร์) ได้ครบกำหนดไถ่ถอนในวันนี้ ซึ่งหมายความว่า สภาพคล่องในตลาดจะปรับตัวลดลง ขณะที่รายงานยังระบุว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนได้ระบายสภาพคล่องออกจากตลาดการเงินทั้งสิ้น 5.10 แสนล้านหยวน

ทำไมที่ผ่านมาคนไทยถึงละเลยการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณ

ทำไมที่ผ่านมาคนไทยถึงละเลยการเตรียมพร้อมเพื่อวัยเกษียณ

คนไทยที่หันมาสนใจเรื่องอนาคตวัยเกษียณ ก็เพราะเริ่มมองเห็นปัญหาของความไม่พร้อมด้านการเงินในวัยเกษียณได้ชัดขึ้น โดยอาจจะมองเห็นจากเคสในครอบครัว ญาติพี่น้อง คนรอบตัว หรือตามกระแสสังคมที่พูดถึงการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า    โดยเฉพาะคนกลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่เป็นวัยเริ่มต้นสนใจสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่เรื่องนี้ก็ยังมีคำถามคาใจหลายต่อหลายคน  การเตรียมพร้อมด้านการเงินเพื่อวัยเกษียณมันสำคัญขนาดนั้นจริงหรือ   ที่ผ่านๆ มา ทำไมคนรุ่นก่อนๆ ไม่เห็นมีปัญหาด้านเงินทองในวัยเกษียณ ไม่เห็นต้องดิ้นรนแสวงหาที่ลงทุน เก็บออมให้เงินงอกเงย ข้าราชการไทยที่เงินเดือนไม่ได้เยอะแยะมากมายที่เกษียณกันออกมาก็อยู่ได้ ไม่เดือดร้อน ไม่นับกลุ่มที่มีหนี้สินรุงรังจนถึงวัย 60   เป็นเรื่องจริง ผู้สูงวัยอายุที่รู้จักเก็บเงินตั้งแต่วัยทำงาน สามารถมีชีวิตที่ไม่ลำบากไปจนถึงสุขสบายตามอัตตภาพ ด้วยหลายสาเหตุ แต่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป   1) ช่วงชีวิตวัยทำงานของพวกเขายังคาบเกี่ยวกับอดีตในยุคสมัยที่การฝากประจำกับธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยในระดับมากกว่า 10%ต่อปี โดยไม่ต้องเสี่ยงไปลงทุนในหุ้นหรือทรัพย์สินใดๆ เพื่อแสวงหากำไร ทำให้มีเงินออมงอกเงยเพียงพอต่อการเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แต่อดีตที่สวยงาม อัตราดอกเบี้ยเหล่านั้นได้หมดไปอย่างถาวรแล้ว   2) แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่วิถีชีวิตและการดำรงชีพในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปเท่าไรนัก ค่าใช้จ่ายโดยรวมในการใช้จ่ายหลังเกษียณจริงไม่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น จนมาถึงสักประมาณ 5-10ปีนี้ ที่วิถีชีวิตของคนไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในทุกระดับ ทุกเพศ […]

เปิดมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐปี 2018

เปิดมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐปี 2018

มองเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2018 ยังแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานฟื้นหนุนบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ขณะที่การลงทุนเอกชนยังโตต่อเนื่อง    ปี 2018 จะเป็นอีกปีที่ดีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เรามองว่า Growth Momentum ของสหรัฐฯยังแข็งแกร่งต่อเนื่องจากปี 2017และจะเป็นปีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถขยายตัวได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ยในอดีต โดยแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากปัจจัยพื้นฐานของสหรัฐฯเป็นหลัก ภาพตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวจะหนุนให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ที่ 2.5%   เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่เติบโตต่อเนื่องโดยเราคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 4.3% ในปี 2018 จากการลงทุนเพิ่มของธุรกิจกลุ่มพลังงาน, การลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มเติมทดแทนแรงงานคนบางส่วน สำหรับการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์น่าจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวหลังพายุเฮอร์ริเคนสิ้นสุดลง เรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวได้ที่ 2.5% ในปี 2018 เกินเกณฑ์ค่าเฉลี่ยระยะยาวซึ่งอยู่ที่ 1.75%   ตลาดแรงงานสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวสูง อาจเข้าสู่ภาวะตลาดแรงงานตึงตัวในรอบหลายปีและมีความเป็นไปได้ที่อัตราว่างงานจะดิ่งลงต่ำ 4% ในปี 2018 เรายังมองว่าแรงส่งผ่านระหว่างค่าจ้างแรงงานและอัตราเงินเฟ้อยังมีอยู่จำกัดทำให้อัตราเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐฯยังไม่แตะ 2% ในปี 2018 นี้

เปิดมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐปี 2018

เปิดมุมมองเศรษฐกิจสหรัฐปี 2018

มองเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2018 ยังแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานฟื้นหนุนบริโภคภาคเอกชนขยายตัว ขณะที่การลงทุนเอกชนยังโตต่อเนื่อง    ปี 2018 จะเป็นอีกปีที่ดีของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เรามองว่า Growth Momentum ของสหรัฐฯยังแข็งแกร่งต่อเนื่องจากปี 2017และจะเป็นปีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯสามารถขยายตัวได้เหนือเส้นค่าเฉลี่ยในอดีต โดยแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากปัจจัยพื้นฐานของสหรัฐฯเป็นหลัก ภาพตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวจะหนุนให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ที่ 2.5%   เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่เติบโตต่อเนื่องโดยเราคาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 4.3% ในปี 2018 จากการลงทุนเพิ่มของธุรกิจกลุ่มพลังงาน, การลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มเติมทดแทนแรงงานคนบางส่วน สำหรับการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์น่าจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวหลังพายุเฮอร์ริเคนสิ้นสุดลง เรามองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะขยายตัวได้ที่ 2.5% ในปี 2018 เกินเกณฑ์ค่าเฉลี่ยระยะยาวซึ่งอยู่ที่ 1.75%   ตลาดแรงงานสหรัฐฯมีแนวโน้มขยายตัวสูง อาจเข้าสู่ภาวะตลาดแรงงานตึงตัวในรอบหลายปีและมีความเป็นไปได้ที่อัตราว่างงานจะดิ่งลงต่ำ 4% ในปี 2018 เรายังมองว่าแรงส่งผ่านระหว่างค่าจ้างแรงงานและอัตราเงินเฟ้อยังมีอยู่จำกัดทำให้อัตราเงินเฟ้อ Core PCE ของสหรัฐฯยังไม่แตะ 2% ในปี 2018 นี้