หุ้นไทยบวกเล็กน้อย ปิดตลาดที่ 1,754.17 จุด

หุ้นไทยบวกเล็กน้อย ปิดตลาดที่ 1,754.17 จุด

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET Index) ปิดวันนี้ (18 พ.ค. 61) อยู่ที่ระดับ 1,754.17 จุด เพิ่มขึ้น 2.97 จุด หรือ 0.17% มีมูลค่าการซื้อขาย 60,169.03 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.EA ปิดที่ 38.00 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท มูลค่าการซื้อขาย 4,205.05 ลบ. 2.CPALL ปิดที่ 81.50 บาท ลดลง -0.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,435.71 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 57.00 บาท ลดลง -0.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 3,297.55 […]

ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps สู่ระดับ 4.50%

ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps สู่ระดับ 4.50%

BF Economic Research Team ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืนระยะเวลา 7 วัน (7- Day Reverse Repo) ในการประชุมวานนี้ (17 พ.ค. 2018) โดยปรับเพิ่มขึ้น 25 bps สู่ระดับ 4.50% การขาดดุลการค้าในเดือนเม.ย. มากที่สุดในรอบ 4 ปี สอดคล้องกับที่ค่าเงินรูเปียห์ที่อ่อนลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ตลาดบางส่วนผิดหวังกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 25 bps เนื่องจากคิดว่าไม่มากพอที่จะช่วยบรรเทาการอ่อนค่าของเงินรูเปียห์ได้ โดยในระยะข้างหน้าตลาด เชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายในปีนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยข้อตกลงซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืนระยะเวลา 7 วัน (7- Day Reverse Repo) ในการประชุมวานนี้ (17 พ.ค. 2018) โดยปรับเพิ่มขึ้น 25 bps สู่ระดับ […]

หุ้นไทยเคลื่อนไหวแบบ Sideways ต่อเนื่องเป็นเดือนที่3

หุ้นไทยเคลื่อนไหวแบบ Sideways ต่อเนื่องเป็นเดือนที่3

Fund Comment, เมษายน 2561 ภาพรวมตลาดหุ้น เดือนเมษายน ตลาดหุ้นไทยยังคงเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม โดยหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มสื่อสารจำนวนไม่กี่ตัวที่ปรับตัวขึ้นนั้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ SET Index ยังคงระดับได้ ในขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ยังปรับตัวลงจากความกังวลต่อการแข่งขันลดค่าธรรมเนียม และผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 1/2561 นับว่ายังไม่โดดเด่น นอกจากนี้ ในหุ้นขนาดกลางถึงเล็กจำนวนหลายตัวได้มีแรงขายออกมามาก ทั้งนี้ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนั้นเป็นช่วงของการประกาศงบไตรมาสแรก ซึ่งปกติมักจะมีการเก็งกำไรเข้ามากขึ้นในหุ้นที่คาดว่าจะมีผลประกอบออกมาดี แต่ในปีนี้ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก่อนที่งบจะออกนั้นไม่ค่อยเกิดขึ้น สะท้อนว่า นักลงทุนไม่ค่อยมีมุมมองเชิงบวกมากนักต่องบการเงินที่กำลังจะประกาศ ซึ่งในช่วงของการประกาศงบ อาจจะเป็นโอกาสเข้าซื้อหุ้น โดยเฉพาะหุ้นที่ปรับตัวลงมามากแต่ผลประกอบการไม่ได้แย่อย่างที่กังวล ขณะที่ความกังวลประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯนั้นเริ่มบรรเทาลงไป โดยแม้จะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ แต่ก็มีความคาดหวังว่าทั้งสองประเทศน่าจะมีการเจรจากันได้มากขึ้นในอนาคต ค่าเงินบาทที่เริ่มพลิกมาอ่อนค่าอาจจะเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นได้บางส่วน แต่เชื่อว่าผลกระทบต่อตลาดน่าจะมีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความอ่อนไหวจากความเสี่ยงด้านค่าเงินมากกว่าไทย ด้วยปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในสองประเทศดังกล่าว ภาพรวมแล้ว เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะยังมีความผันผวนอยู่บ้าง โดยอาจจะเคลื่อนไหวในลักษณะ Sideways โอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นยังค่อนข้างจำกัด เนื่องด้วยความตึงตัวของ Valuation ของหุ้น Big cap ประกอบกับการขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ในภาพกว้าง การเลือกลงทุนหุ้นเป็นรายตัวจึงมีความสำคัญมาก […]

GDP ชี้เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 1/2018 โตชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง

GDP ชี้เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 1/2018 โตชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง

BF Economic Research Team เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 1/2018 โต 5.4% YoY ชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่สอง ถึงแม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ดีอยู่ แต่เม็ดเงินลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐอ่อนตัวลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ต่อไป การลงทุนอาจเผชิญกับอุปสรรคในระยะสั้นภายใต้นโยบายรัฐบาลชุดใหม่ ขณะที่การส่งออกมีความเสี่ยงอุปสงค์โลกอ่อนตัว ส่วนมุมมองการบริโภคเอกชนยังเป็นบวก จากผลของนโยบายรัฐบาลที่จะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายประชาชน เศรษฐกิจมาเลเซียเติบโตช้าลงเหลือ 5.4% YoY ในไตรมาส 1/2018 จากที่เคยขยายตัวได้ 5.9% YoY ในไตรมาส 4/2017 นับว่าชะลอตัวลงเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน สืบเนื่องมาจากการลงทุนที่ขยายตัวได้เพียง 0.1% YoY จากเม็ดเงินลงทุนเอกชนที่โต   0.5% YoY และภาครัฐที่หดตัวลง -1.0% YoY ยิ่งไปกว่านั้น การใช้จ่ายภาครัฐก็ขยายตัวน้อยลงเหลือ 0.4% YoY ทั้งนี้ ยอดลงทุนในภาครวมอาจถูกกดดันต่อไปอีกสักระยะ ภายหลังรัฐบาลชุดใหม่มีนโยบายทบทวนการลงทุนโครงการก่อสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หลายโครงการ ซึ่งอาจส่งผลให้นักลงทุนกลับมารอความชัดเจน หรือ “Wait and See” กันก่อน […]

การเงินครอบครัวไม่ใช่แค่ Super Save แต่เป็น Super Plan สำหรับ Super Mom

การเงินครอบครัวไม่ใช่แค่ Super Save แต่เป็น Super Plan สำหรับ Super Mom

By…อรพรรณ บัวประชุม CFP® BF Knowledge Center “สุดๆ ไปเลย” วลีเด็ดที่แม่หญิงการะเกดชอบใช้ในเรื่องบุพเพสันนิวาส คงจะใช้เป็นวลีที่เหมาะที่สุดกับวงการแพทย์ในยุคปัจจุบัน ที่ทำให้คุณแม่ของเราเป็น Super Mom สาวสองพันปีที่จะได้อยู่กับพวกเรานานสุดๆ ไปเลย แต่การจะใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุขแบบมีคุณภาพ มีเงินใช้จ่ายวันละ 1,000 บาท หรือ เดือนละ 30,000 บาท ก็พอจะเป็นไปได้ในโลกปัจจุบัน แต่ถ้าจะต้องพึ่งพา “อาจารย์หมอ” แล้วล่ะก็ พวกออเจ้าทั้งหลาย คงจะไม่อยากคิดถึงตัวเลขที่จะตามมาเลยทีเดียว นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ยังบอกไว้ว่า การศึกษาของลูก ก็เป็นสิ่งจำเป็นมากด้วยเช่นกัน เพราะต้องใช้เบี้ยมิใช่น้อย ฉะนั้น หากออเจ้าเป็นคนหนึ่งที่ต้องดูแลทั้งคุณแม่และคุณลูกแล้ว ออเจ้าจงอย่าลืมเก็บเงินสำหรับเกษียณให้กับตัวออเจ้าเองด้วย ทีนี้ลองมาดูกันซิว่า การทำ Super Plan สำหรับครอบครัวจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ออเจ้าลองมาคำนวณกัน   “ไม่ว่าออเจ้าจะคิดกระไร ออเจ้าก็หลีกหนีตัวเลขเหล่านี้ไม่พ้นหรอกหนา” สำหรับเงินใช้จ่ายของคุณแม่ หากคุณแม่มีเงินเก็บเป็นเงินก้อน สามารถนำไปลงทุนในกองทุนที่มีหุ้นผสมอยู่ไม่เกิน 30% เพื่อให้เงินมีโอกาสงอกเงยเติบโตได้ทันเงินเฟ้อ […]

 Invest In Yourself การลงทุนเพื่อตัวเอง

 Invest In Yourself การลงทุนเพื่อตัวเอง

By…วรสุดา วรเดช Fund Management  ชีวิตที่รีบเร่งในปัจจุบันอาจทำให้หลายคนคิดว่าทำไมวันๆนึงถึงได้ผ่านไปเร็วนัก เพียงแค่ไปทำงาน กลับมาบ้าน ทำงานบ้าน เล่นมือถือ นอนพักก็หมดวันแล้ว เราให้เวลากับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากมาย จนบางครั้งทำให้เราหลงลืมใครบางคนที่ใช้เวลากับเรามากที่สุดในแต่ละวัน ซึ่งก็คือตัวของเราเอง การลงทุนเพื่อตัวเองจึงเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญเป็นอันต้นๆ เพื่อการพัฒนาตัวเองและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข การลงทุนเพื่อตัวเองนั้นทำได้ในหลายรูปแบบทั้งการลงทุนโดยใช้เวลา และการลงทุนโดยใช้เงิน บทความนี้จึงขอนำเสนอวิธีง่ายๆเพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มลงทุนเพื่อตัวเองค่ะ จัดสรรเวลาเพื่อกิจกรรมที่มีประโยชน์   หากลองสังเกตการใช้เวลาในแต่ละวัน หลายคนอาจพบว่าตัวเองใช้เวลาไปค่อนข้างมากกับ โทรศัพท์มือถือและ Social Network ต่างๆ การจัดสรรเวลาที่ดีจะทำให้เรามีเวลาสำหรับกิจกรรมที่มีประโยชน์ เช่น การศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง เป็นต้น การเลือกคบคนดี ดังสุภาษิตที่ว่า “คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล” การคบคนที่ประสบความสำเร็จในด้านที่เราต้องการและการคบเพื่อนที่คิดบวกจะช่วยเป็นแรงผลักดันให้เรามีกำลังใจที่จะไปถึงเป้าหมาย ในทางกลับกันหากคบกับเพื่อนที่คิดลบมากๆ อาจทำให้เรารู้สึกหดหู่สิ้นหวัง กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายไปอีก การอ่าน การอ่านหนังสืออยู่เสมอนั้นช่วยกระตุ้นสมอง และกระตุ้นกระบวนการคิด  การอ่านเรื่องราวที่หลากหลายช่วยให้เราได้สัมผัสแนวคิดใหม่ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ยิ่งอ่านมาก ยิ่งมีความรู้มากขึ้น ส่งผลให้มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้นอีกด้วย การแต่งตัวดี เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า […]

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 1 หดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี

เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 1 หดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี

BF Economic Research Team เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัว -0.2% QoQ ในไตรมาส 1/2018 ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างปรับลดการใช้จ่ายลง จีดีพีญี่ปุ่นในไตรมาส 1/2018 หดตัว -0.2% QoQ (-0.6% QoQ Annualized) ซึ่งเป็นการเติบโตแบบติดลบครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี เนื่องจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจต่างปรับลดการใช้จ่ายลง โดยการบริโภคภาคเอกชนที่มีสัดส่วนถึง 60% ของจีดีพีทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง จากที่ขยายตัว 0.2% QoQ ในไตรมาส 4/2017 เนื่องจากการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าสมาร์ทโฟนและรถยนต์ลดลง ขณะที่ตัวเลขการส่งออกขยายตัวเพียง 0.6% QoQ ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ 2.2% QoQ

ปัญหาทางใจกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (ตอนจบ)

ปัญหาทางใจกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (ตอนจบ)

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center 3. ลงทุน DCA เสียโอกาสเสียจังหวะทำกำไรตอนหุ้นขาขึ้น หุ้นมีขึ้นมีลง เวลาหุ้นขึ้นไปมากๆ เห็นกำไรเป็นกอบเป็นกำ เป็นธรรมดาที่ผู้ลงทุนจะคันไม้คันมืออยากขายเอากำไรออกมาก่อน แล้วคิดว่าพอลงค่อยไปซื้อกลับ แต่วิธี DCA เหมือนบังคับผู้ลงทุนไม่ให้ขายออก ไม่ให้ทำกำไรแบบนี้ เรื่องนี้มองให้ชัด เป็นเรื่องของการกลับไปติดกับดักของการเก็งกำไรตาม market timing ให้ “ขายตอนขึ้น ซื้อตอนลง” ที่ผู้ลงทุนทุกคนรู้เทคนิค อยากทำ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จริงๆ ว่าเมื่อไรจะขึ้น เมื่อไรจะลง การที่ผู้ขายหน่วยลงทุน บริษัทกองทุน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ อย่างตลาดหลักทรัพย์ฯ สำนักงาน ก.ล.ต. แนะนำให้ลูกค้ากองทุนซื้อแบบถัวเฉลี่ย นอกจากเหมาะกับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เป็นรายเดือนแล้ว อีกเหตุผลคือ การแก้ปัญหาเรื่องความผิดพลาดของผู้ลงทุนส่วนใหญ่ที่เข้าไปเก็งกำไร ซื้อๆ ขายๆ หุ้นหรือกองทุน แล้วกะเก็งผิด ซื้อขายผิดจังหวะ สูญเสียไปเท่าไรกับวิธีง่ายๆ แบบนี้ ถามใจเธอดู ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่จะมีสักกี่คนทำได้ […]

ปัญหาทางใจกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (ตอนที่1)

ปัญหาทางใจกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (ตอนที่1)

By…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BF Knowledge Center ปัจจุบันการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยหรือ Dollar Cost Averaging (DCA) เป็นที่นิยมมากขึ้น หลังจากผู้ลงทุนเข้าใจและเคยชินกับรูปแบบวิธีการ ประกอบกับการโหมประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนาของเทคโนโลยีทำให้การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยสะดวกขึ้น เพราะวิถีชีวิตผู้ลงทุนทุกวันนี้เคยชินกับความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี อะไรที่ทำง่ายใช้เวลาน้อยจึงเป็นที่นิยม การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยก็เช่นกัน เพราะเสียเวลาตั้งเงื่อนไขและทำรายการเพียงครั้งเดียวอย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ ผิดหวังกับ DCA เพราะผลตอบแทนไม่ได้ดีต่อเนื่อง เพราะการขาดทุนระหว่างทาง ทำให้มองว่าการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยไม่ดี บางรายถึงกับหยุดการลงทุน หรือเปลี่ยนวิธีการไปเลยถ้าจะดูสาเหตุจริงๆ ที่ล้มเหลวจาก DCA ส่วนมากเกิดจากปัญหาทางใจแทบทั้งนั้นปัญหาอะไรบ้างที่ทำให้ผู้ลงทุนผิดหวังกับการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย 1. ลงทุนไปตั้งนานแล้วยังขาดทุน เงินต้นยังติดลบ จริงๆ แล้วการลงทุนมีความเสี่ยงทุกอย่างไม่ว่าจะใช้วิธีไหน จะลงทุนเพียงครั้งเดียวไปเลย หรือลงทุนแบบ DCA โดยเฉพาะการเลือกลงทุนในหุ้น ทั้งการลงทุนเองหรือผ่านกองทุน แต่สาเหตุที่ผลขาดทุนจากวิธี DCA มีผลต่อจิตใจผู้ลงทุนมากกว่าการลงทุนเพียงครั้งเดียว เป็นเพราะการลงทุนเพียงครั้งเดียวเมื่อขาดทุนไปแล้ว ผู้ลงทุนจะคิดว่ามันเกิดไปแล้ว เงินลงไปแล้ว ส่วนใหญ่จะรอเวลาให้ราคากลับขึ้นมาจนเท่าทุนหรือมีกำไร จะมีบ้างก็น้อยกับคนที่ซื้อเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยราคาต้นทุน ตรงนี้เป็นผลทางด้านจิตใจล้วนๆ เพราะการลงทุนเพียงครั้งเดียว แม้ว่าเงินจะลงทุนไปแล้วทำอะไรกับเงินก้อนนั้นไม่ได้ […]

ปี 2048 คาดความต้องการทองชนชั้นกลางของอินเดีย-จีน จะขยายตัวขึ้น

ปี 2048 คาดความต้องการทองชนชั้นกลางของอินเดีย-จีน จะขยายตัวขึ้น

สภาทองคำโลก (World Gold Council) เผยการขยายตัวของชนชั้นกลางในจีนและอินเดีย รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในวงกว้างมากขึ้น จะส่งผลต่อความต้องการทองคำอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่การใช้ทองคำในภาคพลังงาน เฮลท์แคร์ และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่สถานะของทองคำจะยังคงเป็นวัตถุทางเลือกต่อไป และจะค่อยๆเปลี่ยนแปลงในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า ทั้งนี้ สภาทองคำโลกได้เผยแพร่ชุดบทความที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งมีชื่อว่า “Gold 2048” โดยได้ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในอุตสาหกรรมจากทั่วโลกมาร่วมกันวิเคราะห์เกี่ยวกับทิศทางของตลาดทองคำว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยบทความระบุว่าแอพพลิเคชันมือถือสำหรับการลงทุนในทองคำ จะช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถซื้อขาย ลงทุน และมอบทองคำเป็นของขวัญจะได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในอินเดียและจีน ในขณะที่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการเมืองการปกครองจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการผลิตของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ส่วนอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำจะต้องรับมือกับความท้าทายในการผลิตทองคำให้ได้ในระดับใกล้เคียงกับระดับเดิมในอีก 30 ปีข้างหน้า เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณที่เคยส่งมอบในอดีต