เปิด 3 วิธีที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์และยังทำกำไรได้

เปิด 3 วิธีที่จะทำให้บริษัทบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์และยังทำกำไรได้

เว็บไซต์สภาเศรษฐกิจโลก (weforum.org) รายงานว่า เมื่อบริษัทมองหาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนบ่อยครั้งจะเน้นการลดแบบง่ายๆ หรือใช้ทางเลือกระยะสั้น แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายลดคาร์บอน บริษัทจำเป็นต้องมีแนวทางที่กว้างขวางจะทะเยอทะยานมากขึ้น โดยบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์และยังคงทำกำไรได้ เพียงแต่ต้องจัดการกับต้นเหตุของการปล่อยมลพิษตลอดห่วงโซ่คุณค่า ทั้งนี้ สภาเศรษฐกิจโลก นำเสน 3 แนวทางที่น่าสนใจที่จะช่วยให้ธุรกิจลดปล่อยก๊าซคาร์บอนพร้อมกับทำกำไรได้ ได้แก่ 1.การลดมลภาวะตลอดห่วงโซ๋คุณค่า โดยพบว่า ธุรกิจหลายๆ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ไม่ได้มาจากตัวธุรกิจโดยตรง แต่มาจากห่วงโซ่คุณค่าที่ควบคุมไม่ได้ หากต้องการลดปล่อยมลพิษให้สำเร็จจริง จึงต้องไปดำเนินการกับธุรกิจในห่วงโซ่ เช่น ผู้แปรรูปอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไปลงทุนกับฟาร์มโคนมปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์หลายพันแห่ง บริษัทเหมืองแร่ที่จัดหาผู้ผลิตเหล็กด้วยแร่ผสมซึ่งต้องการพลังงานน้อยลงในเตาหลอม หรือผู้ผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำแสงที่ไปลงทุนขยายขอบเขตธุรกิจตั้งแต่การผลิตสายเคเบิ้ลจนถึงห่วงโซ่มูลค่าทั้งหมดของกระแสไฟฟ้า 2.การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ โดยพบว่าสถานที่ที่ปล่อยมลภาวะขนาดใหญ่ บ่อยครั้งไม่ใช่สถานที่ที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เราพบว่า บริษัทต่างๆ กำลังติดตามการปล่อยมลพิษเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงทั้งที่เป็นในธุรกิจตัวเองและห่วงโซ่คุณค่า เช่น บริษัทจัดส่งพัสดุ ลดมลภาวะในการจัดส่งพัสดุผ่านการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าและการปรับเส้นทางให้เหมาะสม และพวกเขายังหาข้อมูลและการควบคุมที่ดีขึ้นกับฝั่งคนที่รับพัสดุจึงช่วยลดจำนวนครั้งในการจัดส่งได้ หรือบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่มีมาตกรารใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝึกปัญญาประดิษฐ์ (AI) และใช้คลาวด์ ทำงานร่วมกับผู้ผลิตชิป เพื่อให้เกิดการบริโภคพลังงานน้อยที่สุดในการใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา และ 3.อย่าให้เงินทุนโดยอัตโนมัติกับธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนสูง โดยนักลงทุนควรเพิ่มพอร์ตลงทุนในกิจกรรมปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำแทน

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.

สรุปเศรษฐกิจไทยเดือน ส.ค.

BF Economic Research สรุปภาวะเศรษฐกิจจากธปท. สะท้อนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจต่อเนื่องในเดือน ส.ค. ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศจะได้รับแรงหนุนในเดือน ต.ค. การบริโภคภาคเอกชนหดตัวลงแรงในเดือน ส.ค. (-9.2% YoY vs. -6.8% เดือนก่อน) โดยดัชนีการใช้จ่ายทุกหมวดปรับตัวลดลงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส อาทิ สินค้าคงทน (-22.3%) สินค้าไม่คงทน (-11.1%) และภาคบริการ (-7.7%) ด้านรายได้เกษตรกรชะลอลงเป็น 6.5% (vs. +9.3% เดือนก่อน) จากราคาที่ลดลง ขณะที่การขอรับสวัสดิการต่อเนื่องยังคงสูงกว่าระดับปกติ การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเป็น 9.6% (vs. +13.6% เดือนก่อน) โดยหลักเป็นผลของยอดจดทะเบียนรถยนต์สำหรับลงทุนใหม่ (-16%) และหมวดวัสดุก่อสร้าง (-10.4%) ที่ลดลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังอยู่ในระดับต่ำ (15.1k vs. 18.1k เดือนก่อน) อันเป็นผลจากการบังคับใช้มาตรการด้านการท่องเที่ยวที่เข้มงวดยังคงอยู่ แม้ว่าจะเริ่มมีการทยอยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในเฟสนำร่อง อาทิ […]