ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่จบ)
ในปีที่แล้ว ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนประกาศว่า ถึงเวลาแล้วที่จีนจะก้าวไปยังจุดศูนย์กลางของเวทีโลก มีหลายวิธีที่จีนจะเป็นมหาอำนาจของโลก ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนโลกาภิวัฒน์ การเพิ่มความช่วยเหลือให้ประเทศต่างๆ และการพัฒนาเทคโนโลยี่ชั้นสูง แต่ยังมีก้าวย่างที่สำคัญอีกอย่างสำหรับจีนที่จะไปอยู่จุดศูนย์กลางของโลกคือจีนต้องเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลก การที่จะไปถึงจุดนั้นได้จีนต้องผลักดันให้เงินหยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลก ตลาดระยะเวลากว่า 70 ปีที่ผ่านมา เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินสกุลหลักของโลก ประมาณ 2 ใน 3 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ $6.9 ล้านล้านของทั้งโลกอยู่ในรูปของเงินสกุลดอลลาร์ เงินหยวนเริ่มมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้นในปี 2016 หลังจากที่ทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศบรรจุเงินหยวนเข้าไปในตระกร้าเงินไอเอ็มเอฟ ซึ่งมีดอลลาร์ ยูโร ปอนด์ และเยนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 3 ของปี 2017 เงินหยวนมีสัดส่วนเพียง1%ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ประเทศต่างๆถือรวมกันทั้งหมด แต่ความเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น ทางธนาคารกลางของเยอรมันประกาศว่าจะเอาเงินหยวนเข้าไปในพอร์ตของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของตัวเอง ธนาคารกลางของฝรั่งเศสก็มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นเงินหยวน ส่วนธนาคารกลางของยุโรปได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่าได้ใช้เงิน $611 ล้านเพื่อเปลี่ยนดอลลาร์รีเสิร์ฟเป็นพันธบัตรหยวนของรัฐบาลจีน ในขณะที่นโยบาย America First ของประธานาธิบดีทรัมป์จะทำให้บทบาทของสหรัฐลดลงในเวทีโลก หลายคนเชื่อว่าบทบาทของจีนจะเพิ่มสูงขึ้น นาย Barry Eichengreen […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่11)
Angus Maddison นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของอังกฤษ มีชื่อเสียงขึ้นมา เพราะว่าเขาได้ศึกษาผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของโลก (gross domestic product) โดยย้อนการศึกษาของจีดีพีโลกกลับไปถึงศตวรรษที่1 การศึกษาของแมดดิสันทำให้เราเห็นภาพว่าทั้งจีนและอินเดียมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกมากที่สุดอย่างน้อยตั้งแต่ศตวรรษที่1 เรื่อยมาจนถึงปีคศ. 1600 ก่อนที่อิทธิพลทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศค่อยๆเสื่อมลง ซึ่งตรงกับยุคแรกเริ่มของการล่าอาณานิยมของโลกตะวันตกพอดี จีนและอินเดียตกขบวนรถไฟของการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีจุดเริ่มที่อังกฤษก่อนที่จะแพร่เข้าไปในยุโรป ทำให้ยุโรปก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกแทนจีนและอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 นี้ เราเริ่มเห็นจีนและอินเดียกำลังทวงความเป็นมหาอำนาจของโลกทางเศรษฐกิจแทนสหรัฐและยุโรป จากการคำนวนของแมดดิสันพบว่า ในปีคศ 1000 จีนและอินเดียมีจีดีพีรวมกันเท่ากับ 50.5% ของจีดีพีของโลก มาถึงปีคศ.1600 เศรษฐกิจของจีนและอินเดีย รวมกันมีสัดส่วนเท่ากับ 51.4% ของโลก โดยจีนมีสัดส่วนจีดีพี 29% และอินเดียมีสัดส่วนจีดีพี 22.4%ของโลก ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เศรษฐกิจของจีนเทียบเท่า 1 ใน 3 ของโลก ในขณะที่เศรษฐกิจของสหรัฐยังคงตั้งไข่อยู่ อีก 200 ปีต่อมา ในขณะที่จีนได้สร้างชาติใหม่ภายใต้ประธานเหมา […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่10)
ในเวทีที่ประชุมของ World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนยอมหลีกทางให้ทรัมป์ เพราะว่าสีขโมยซีนไปเรียบร้อยในการประชุม WEF ในปีที่แล้ว โดยสียอมลงทุนไปเมืองดาวอสเพื่อประกาศว่า จีนพร้อมที่จะเป็นผู้นำที่จะปกป้องการค้าเสรีโลก โดยที่ทุกๆประเทศควรที่จะได้รับส่วนแบ่งของผลประโยชน์ของการค้าเสรี และการเจริญเติบโตที่เหมือนกัน สีสื่อข้อความที่ตรงข้ามกับทรัมป์ที่ประกาศนโยบายAmerica First และดำเนินนโยบายการค้าในรูปแบบการกีดกัน (protectionism) เนื่องจากว่าสหรัฐกำลังเพลี้ยงพล้ำจีนอย่างหนักในเรื่องการค้า และเศรษฐกิจ สาเหตุเป็นเพราะว่าสหรัฐมุ่งเน้นการบริโภคที่เกินตัวมากเกินไป ในขณะที่จีนเน้นเศรษฐกิจพื้นฐานของการผลิตที่แท้จริง ในปีนี้ สีส่งนาย Liu He หรือมือขวาของเขาด้านเศรษฐกิจให้มาเป็นหัวหน้าคณะที่มาประชุมที่เมืองดาวอส เพื่อประชันกับทรัมป์แทน นายหลิวจบจากมหาวิยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ ปัจจุบันตำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของ Office of the Central Leading Group on Financial and Economic Affairs และเป็นรองผู้อำนวยการ National Development and Reform Commission เขามาร่วมประชุมที่เวทีดาวอสตั้งแต่ปี […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่9)
เปโตรหยวนกำลังก่อรูปร่างขึ้นมาแล้ว หลังจากมีการเตรียมการมานาน จีนมีความอดทนสูง ถ้าไม่พร้อมจะไม่ทำ แต่ตอนนี้จีนมีความพร้อมแล้วที่จะท้าทายเปโตรดอลลาร์ ด้วยแผนการการสร้างเปโตรหยวน เพื่อที่จะแข่งกับเบนช์มาร์คของราคาน้ำมันของตลาดเบรนท์ หรือเวสท์เท็กซัสที่โค๊ดราคาน้ำมันดิบเป็นเงินดอลลาร์ บลูมเบิร์กรายงานว่า ในวันที่ 26 มีนาคมนี้ จีนจะเปิดการเทรดน้ำมันฟิวเจอร์สเป็นครั้งแรกในรูปเงินหยวนในตลาดเซี่ยงไฮ้ เปโตรหยวนจะถือกำเนิดเป็นครั้งแรกในวันนั้นเอง ถ้าหากว่านักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมเทรดน้ำมันฟิวเจอร์ในรูปเงินหยวนมากขึ้น ถึงจุดหนึ่งราคาน้ำมันที่โค๊ดในตลาดตลาดเซี่ยงไฮ้ในรูปเงินหยวนจะกลายเป็นเบนช์มาร์ค หรือราคามาตรฐานน้ำมันที่ใช้ในการอ้างอิงสำหรับผู้ที่ซื้อขายน้ำมัน ความเคยชินจะเกิดขึ้น และเงินหยวนจะค่อยๆกลายเป็นเงินสกุลหลักของโลก โดยจีนจะต้องเปิดเสรีระบบการเงิน และเศรษฐกิจควบคู่กันไปด้วย จีนเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก แซงหน้าสหรัฐไปแล้ว โดยปีที่แล้วจีนนำเข้าน้ำมัน 8.43 ล้านบาเรลล์ จีนเป็นจ้าวแห่งการค้าโลกไปแล้ว โดยมูลค่าการค้าของจีนใหญ่กว่าของสหรัฐไปแล้วเหมือนกัน แม้่ว่าขนาดเศรษฐกิจของจีนจะยังคงเป็นเบอร์ 2 ตามหลังเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ แต่มีเหตุผลอะไรที่จีนจะต้องซื้อน้ำมันเป็นเงินดอลลาร์? มีเหตุผลอะไรที่จีนต้องทำการค้าระหว่างประเทศเป็นเงินดอลลาร์? มีเหตุผลอะไรที่จีนต้องซื้อทองหรือสินภ้าโภคภัณฑ์ต่างๆเป็นดอลลาร์ ถ้าจีนยังคงใช้ดอลลาร์ต่อไป เท่ากับว่าจีนจะถูกบีบให้อยู่ใต้วัฏจักรการขึ้นลงของดอลลาร์ (boom/bust cycle) ภายใต้การกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางของสหรัฐ การปลดแอกจากอิทธิพลของดอลลาร์จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ถ้าหากว่าจีนต้องการเป็นมหาอำนาจโลกด้านเศรษฐกิจ แม้แต่ Alastaire Crooke อดีตสายลับ MI-6 ของอังกฤษ นักการทูต นักคิด นักเขียนออกมายอมรับว่าเปโตรดอลลาร์ […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่8)
ที่ผ่านมา ค่าเงินหยวนผูกติดกับดอลลาร์เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับเงินหยวนที่ตลาดการเงินไม่ยอมรับ เพราะว่าจีนเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ไม่ได้มีการเปิดประเทศอย่างเต็มที่ เศรษฐกิจจีนไม่ได้เปิดเสรีเหมือนของเศรษฐกิจของโลกตะวันตก การผูกหยวนกับดอลลาร์ทำให้จีนมีความสามารถในการแข่งขันในการส่งออก เพราะว่าจีนสามารถปรับค่าให้อ่อนได้ตามที่ต้องการ โดยที่ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหวน้อยมากในแต่ละวัน เวลาส่งออกได้เงินดอลลาร์มา จีนเอาดอลลาร์ไปลงทุนในตลาดพันธบัตรสหรัฐ และเอาดอลลาร์สหรัฐกลับมาหนุนค่าเงินหยวนให้มีความเชื่อมั่นอีกต่อหนึ่ง จีนเดินตามเส้นทางนโยบายการเงินของประเทศเกิดใหม่ทุกประเทศที่ผูกค่าเงินกับดอลลาร์ เพื่อหนุนการส่งออก ได้ดอลลาร์มาก็ซื้อพันธบัตรสหรัฐเพื่อเก็บเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ สหรัฐยินดีเป็นอย่างยิ่งเพราะว่าสามารถที่จะรีไซเกิ้ลเงินดอลลาร์กลับมาไฟแนนซ์การบริโภคที่เกินตัวของรัฐบาล รวมทั้งทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐบูมจากการที่มีเงินดอลลาร์ไหลกลับเข้ามาในประเทศ โดยที่ไม่มีแรงกดดันเงินเฟ้อมากจนเกินไป เพราะว่าธนาคารกลางสหรัฐไม่จำเป็นต้องพิมพ์เงินมากเกินไปนั้นเอง จีนมองเห็นในอนาคตว่าเมื่อถึงเวลาจะปลดแอกอิทธิพลของดอลลาร์ มิเช่นนั้นจะถูกสหรัฐใช้ดอลลาร์เพื่อทำให้เสถียรภาพของเศรษฐกิจจีนอ่อนแอลง ด้วยเหตุนี้จีนจึงมีการซื้อทองเข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง นาย Alistair MacLeod นักวิเคราะห์จาก Goldmoney Wealth คาดการว่า ประชาชนจีนน่าจะถือทองคำอยู่รวมกันประมาณ 12,000-14,000 ตัน หลังจากที่จีนมีนโยบายสนับสนุนให้มีการสะสมทองตั้งแต่ปี 2002 ส่วนรัฐบาลจีนเองน่าจะมีทองคำสำรอง 20,000 ตัน เทียบกับ 8,113 ตันของสหรัฐ โดยที่จีนเริ่มตุนทองคำอย่างเงียบๆตั้งแต่ปี 1983 ทำให้ตัวเลขเฉลี่ยที่ทางการจีนมีการซื้อทองเข้ามาประมาณ 600 ตันต่อปี โดยซื้อในราคาที่ถูกกว่าระดับปัจจุบันมาก การซื้อทองคำของจีนเป็นไปเพื่อสร้างเสถียรภาพ และความมั่นใจให้เงินหยวนในอนาคต เมื่อจีนเลิกผูกค่าเงินหยวนกับดอลลาร์ แต่จะมาอิงกับทองคำแทน นาย […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่7)
จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลกในเวลานี้ โดยจีดีพีของจีนอยู่ที่ 12-13 ล้านล้านดอลลาร์ เทียบกับสหรัฐอยู่ที่ 19 ล้านล้านดอลลาร์ แต่ในแง่ของภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity) หรือ ประสิทธิผลของเงินที่คำนวณหาระดับการบริโภคสินค้าและบริการในจีน หรือในแต่ละประเทศ โดยใช้ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐอเมริกาเป็นฐานในการคำนวณ และแสดงผลในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซื้อแล้ว เศรษฐกิจจีนมีอำนาจซื้อมากที่สุดในโลก โดยภาวะเสมอภาคอำนาจซื้อเทียบเท่า 70 ล้านล้านดอลลาร์ และภาวะอำนาจซื้อของทั้งโลกอยู่ที่ 125 ล้านล้านดอลลาร์ จีนเป็นผู้ค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก จีนมีการนำเข้าวัตถุดิบมากที่สุดในโลก ก่อนที่จะแปรรูปวัตถุดิบเหล่านั้นเพื่อเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ปริมาณการส่งออกของจีนใหญ่กว่าทุกประเทศในโลก การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมาช่วยยกระดับการเติบโตของเศรษฐกิจที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคด้วยกัน ทำให้บริเวณนี้มีจีดีพีรวมกัน 50 ล้านล้านดอลลาร์ จีนส่งออกไปตลาดเอเชียมากกว่าตลาดสหรัฐ ถึงแม้ว่าจีนจะมีอิทธิพลสูงในการค้า แต่เงินที่ใช้ในการค้ากลับเป็นเงินดอลล่าร์สหรัฐ เรื่องนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงถ้าหากว่าจีนต้องการที่จะเลี่ยงความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกที่เกิดจากวัฏจักรดอลล่าร์ ด้วยเหตุนี้การสร้างบทบาทหยวนให้เป็นเงินสกุลหลักของโลกจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ จีนมีความคิดที่จะสร้างเศรษฐกิจจีนให้ใหญ่ที่สุดในโลกในศตวรรษที่ 21 ผ่านการลงทุนใจโครงการเส้นทางสายใหม่ ซึ่งจะทำให้จีนเป็นศูนย์กลางของโลก ผ่านการเชื่อมโยง3ภูมิภาคของโลก คือเอเชีย ยุโรปและแอฟริกาเข้าด้วยกัน ดังได้กล่าวมาแล้ว ถ้าจีนจะเป็นใหญ่ทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขที่สำคัญคือเงินหยวนต้องเป็นเงินสกุลหลักของโลก หรือเงินหยวนต้องปลดแอกจากการเป็นบริวารของเงินดอลล่าร์ให้ได้ ถ้าปลดแอกไม่ได้ เศรษฐกิจจีน หรือระบบการเงินจีนจะตกอยู่ใต้วงจรของนโยบายการเงินของสหรัฐ […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่6)
จีนเข้าใจยุทธศาสตร์ของสงครามการเงินของสหรัฐเป็นอย่างดี และรู้ดีว่ามันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่สักวันหนึ่งที่จีนจะต้องปลดแอกจากอิทธิพลของดอลล่าร์ มิเช่นนั้นแล้ว จีนจะต้องตกเป็นเบี้ยล่างตลอดไปเหมือนกับญี่ปุ่นที่ยอมเป็นเบี้ยล่างสหรัฐ ผู้ที่อธิบายยุทธศาสตร์ของสงครามการเงินของสหรัฐได้ดีที่สุดคือ พลตรี Qiao Liang นักยุทธศาสตร์ชั้นแนวหน้าของจีน เนื้อหาที่เขาเขียนมีดังนี้: ในปี 2015 ในระหว่างการประชุมของคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ เขาได้นำเสนอผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับการใช้ยุทธศาสตร์ของสงครามการเงินของสหรัฐในการทำลายประเทศต่างๆ โดยใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการที่ดอลล่าร์เป็นเงินสกุลหลักของโลก Qiaoอธิบายว่า สหรัฐอเมริกาใช้ดอลล่าร์เพื่อที่จะบริหารการค้าและการเงินภายนอกเพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง สหรัฐส่งออกดอลล่าร์และเครดิตในรูปดอลล่าร์ให้โลกใช้ ด้วยวิธีการนี้ สหรัฐสร้างความร่ำรวยให้กับรัฐบาลของตัวเองและแบงก์อเมริกันทั้งหลาย ดอลล่าร์มีบทบาทสำคัญมากสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ เนื่องจากดอลล่าร์ไม่ได้ผูกติดกับค่าของทองคำ สหรัฐสามารถที่จะสร้างวัฎจักรของเศรษฐกิจที่บูมและล่มสลายให้ประเทศต่างๆที่ใช้ดอลล่าร์ได้ เนื่องจากสหรัฐมีการพิมพ์ดอลล่าร์ออกมาเป็นจำนวนมาก เพราะว่าไม่มีระบบมาตรฐานทองคำมาเป็นข้อจำกัดให้มีวินัยทางการเงิน ทำให้มีโอกาสเกิดเงินเฟ้อ สหรัฐเลี่ยงการสร้างเงินเฟ้อด้วยการปล่อยให้ดอลล่าร์ไหลไปหมุนเวียนในตลาดต่างประเทศ ในขณะเดียวกันสหรัฐต้องพยายามไม่พิมพ์ดอลล่าร์มากเกินควร เพราะว่าจะทำให้ดอลล่าร์อ่อนค่า หมดความน่าเชื่อถือ แล้วสหรัฐจะแก้ปัญหาการขาดแคลนดอลล่าร์ได้อย่างไร เมื่อไม่มีดอลล่าร์เพียงพอที่จะหมุนเวียนในเศรษฐกิจ? สหรัฐแก้ปัญหาดอลล่าร์ขาดแคลนด้วยการออกพันธบัตรเพื่อสร้างหนี้ และดูดเงินดอลล่าร์กลับเข้าประเทศ ด้วยวิธีการนี้ สหรัฐเล่นเกมการเงินที่มือซ้ายพิมพ์ดอลล่าร์ ส่วนมือขวายืมเงินดอลล่าร์กลับคืนมา การพิมพ์เงินสร้างกำไร การยืมเงินได้กำไรเหมือนกัน เศรษฐกิจการเงินของการใช้เงินเพื่อสร้างเงินง่ายกว่าการที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจที่อิงการผลิตอุตสาหกรรม สหรัฐเลือกที่จะไม่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการผลิตในระบบอุตสาหกรรม แต่เลือกที่จะเล่นการเงินมากกว่า เพราะคิดว่าสามารถคอนโทรลทุกอย่างได้ เนื่องจากมีแสนยานุภาพทางทหารคอยค้ำจุนอีกที ตั้งแต่วันที่15 สิงหาคมปีคศ 1971 หลังจากการยกเลิกมาตรฐานทองคำ สหรัฐได้ค่อยๆหยุดพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริง และมุ่งหน้าเข้าสู่เศรษฐกิจเวอร์ซ่วล […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่5)
เราได้เห็นท่าทีที่ชัดเจนและต่างกันคนละขั้วระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ในขณะที่ทรัมป์ประกาศนโยบาย America First ซึ่งแปลว่าผลประโยชน์ของสหรัฐต้องมาก่อน การค้าเสรีไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไป เพราะว่าสหรัฐจำต้องปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ทรัมป์ไม่พูดเรื่องการค้าเสรี แต่จะเน้นการค้าที่แฟร์ ทั้งๆที่ผ่านมาสหรัฐได้ประโยชน์จากการค้าเสรีอย่างเหลือคณา ส่วนสีบอกว่าจีนจะสนับสนุนการค้าเสรีของโลกต่อไป ถึงแม้ว่าอาจจะไม่พร้อม แต่เมื่อไม่มีใครอื่นยอมทำหน้าที่นี้ จีนจำต้องแสดงความเป็นผู้นำโลกในการปกป้องการค้าเสรีที่เป็นพื้นฐานของความมั่งคั่งของประเทศที่มาจากการค้าขายระหว่างประเทศ มันเป็นเรื่องน่าประชดที่สหรัฐ ที่เป็นสัญลักษณ์ของเสรีนิยมประชาธิปไตยกลับหันหลังให้กับการค้าเสรี และใช้มาตรการกีดกันการค้าในยุคทรัมป์เพื่อจัดการกับประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐ โดยเฉพาะกับจีน ส่วนจีน ซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์กลับให้การสนับสนุนกับการค้าเสรีของโลกอย่างเต็มที่ โลกกำลังกลับตาลปัตร ประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทรัมป์กำลังดำเนินนโยบาย America First บนพื้นฐานของความอ่อนแอ ด้วยการล้มข้อตกลงกฎเกณฑ์ต่างๆ ส่วนจีนกลับดำเนินนโยบายการค้าที่เปิดกว้างขึ้น โดยกำลังเปิดเสรีในด้านต่างๆของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเงิน แบงกิ้ง ประกันภัย หลักทรัพย์ฯลฯ แสดงว่าจีนกำลังดำเนินนโยบายบนพื้นฐานของความเข้มแข็ง ในเวทีประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 ในเดือนตุลาคมปี 2017 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสีกล่าวว่า จีนได้ก้าวเข้ามาสู่ยุคใหม่แล้ว และมีความพร้อมที่จะไปยืนอยู่บนกลางเวทีโลก และมีบทบาทที่สำคัญต่อมวลมนุษยชาติ โมเดลของการเจริญเติบโตของจีนภายใต้การปกครองของคอมมิวนิสต์ได้เจริญงอกงาม และกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ คำพูดของสีเป็นการสื่อข้อความที่ชัดเจนที่สุดว่า จีนมีความพร้อมที่จะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกในอันดับต่อไป […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่4)
ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คือประเทศที่มีฐานการผลิต และการค้าที่มั่นคง แต่สหรัฐได้ทอดทิ้งสิ่งเหล่านี้ไป บริษัทอเมริกันเลือกที่จะย้ายฐานผลิตไปผลิตในประเทศที่มีค่าแรงงานต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเม็กซิโก หรือในจีน และคนอเมริกันเลือกที่จะบริโภคเกินตัวผ่านการนำเข้าสินค้าทำให้เกิดการขาดดุลการค้าที่มหาศาล การที่สหรัฐบริโภคเกินตัวได้ เพราะว่าสามารถใช้เครดิตดอลล่าร์ ซึ่งยังคงเป็นเงินสกุลหลักของโลกซื้อสินค้าโดยตรงได้ โดยไม่มีความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน โมเดลของจีนในช่วงที่ผ่านมา คือเปิดประเทศเพื่อรับการลงทุนเพื่อการส่งออกโดยรัฐบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด จีนรับจ้างผลิตของทุกอย่างตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ เรียนรู้ที่จะก็อปปี้ แล้วค่อยๆพัฒนาระบบการผลิตและเทคโนโลยี่ของตัวเอง เนื่องจากจีนเป็นตลาดใหญ่ บริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ทั้งหลายต้องเข้ามาลงทุนในจีนเพื่อส่งออก และเพื่อขายของในตลาดจีนที่มีประชากรกว่า1,300ล้านคน โมเดลการผลิตเพื่อการส่งออกนี้เองทำให้จีนได้เปรียบดุลการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสหรัฐ ทำให้สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนมีมากที่สุดในโลก เคยแตะ $4 ล้านล้าน ตอนนี้เหลือประมาณ $3.1 ล้านล้าน เพราะว่าจีนใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อซื้อทอง หรือเพื่อการลงทุนในประเทศในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สหรัฐรู้ตัวดีว่า ถ้าขืนบริโภคเกินควรอย่างนี้ตลอดไป วันนึ่งจะถูกจีนขึ้นมาทาบรัศมี เพราะว่าสหรัฐไม่มีฐานผลิตอะไรที่สำคัญ มีแต่การเงินผ่านระบบเครดิต การผลิตอาวุธ ซิลิคอน แวลเลย์ การเกษตรขนาดใหญ่ และการบริโภคภายในประเทศที่มีสัดส่วนสูงถึง 70% ต่อจีดีพี รายงานความมั่นคงของสหรัฐทุกฉบับเขียนเหมือนกันว่าจีนกำลังเป็นคู่แข่งที่สำคัญ และถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างมีนัยยะสำคัญ สหรัฐจะถูกจีนแซงหน้าในด้านขนาดของเศรษฐกิจภายในปี 2029 หรือ 2030 […]
ซีรี่ส์: จีนผู้ชนะ (ตอนที่3)
รายงานล่าสุดของหน่วยงานคลังสมองของอังกฤษประมาณการว่า จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะแซงหน้าสหรัฐในปี2030 ส่งที่นายสตีฟ แบนนอน อดีตนักยุทธศาสตร์ทำเนียบขาว และที่ปรึกษาของประธานาธิบดีทรัมป์กลัวว่าสหรัฐกำลังแพ้สงครามเศรษฐกิจต่อจีนกำลังจะกลายเป็นความจริงอีก10กว่าปีข้างหน้า มาเร็วกว่าที่คิด โดยจีนใช้เวลาเพียง 50 ปีเท่านั้นหลังจากเปิดประเทศใหม่ในปี 1980 สมัยประธานาธิบดี เติ้ง เสี่ยงผิง ที่จะแซงหน้าสหรัฐที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้ง2 หน่วยงานคลังสมองของอังกฤษที่ออกคำทำนายนี้ คือ Center for Economics and Business Research ทำให้เราได้เห็นว่า ศตวรรษที่ 21 นี้จะเป็นของจีนและอินเดีย โดยจีนจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกในครึ่งศตวรรษแรก ส่วนอินเดียจะแซงหน้าจีนในครึ่งศตวรรษหลัง ในปี 2018 นี้ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกยังคงเป็นสหรัฐ ตามมาด้วยจีน ญี่ปุ่น เยอรมัน อินเดีย ฝรั่งเศส อังกฤษ บราซิล อิตาลี แคนาดา เกาหลีใต้ และอินโดเนเซีย ที่น่าสนใจคืออินเดียอยู่อันดับ 7 ในปีที่แล้ว แต่จะแซงหน้าฝรั่งเศสและอังกฤษในปีนี้เพื่อขึ้นมาอยู่อันดับ5 ในปี […]