BBLAM Asean Corner: เวียดนามโรงงานของโลกยุคใหม่
โดย วันภาสิริ พัฒนกิจการุณ BBLAM สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้สร้างความผันผวนต่อเศรฐกิจโลกอย่างมาก รวมถึงมีปัญหาแทรกซ้อนเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาสงครามรัสเซีย ยูเครน ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ปัญหาทางด้านพลังงาน แม้ว่า หลายปัญหามีสถานการณ์ที่ดีขึ้นในปี 2023 แต่หนึ่งปัญหาที่ยังคงไม่คลี่คลายและต่อเนื่องมา คงหนีไม่พ้น ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาฯ กับจีน ซึ่งประเด็นดังกล่าวกำลังสร้างโอกาสให้ประเทศหนึ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เวียดนาม ที่กำลังถูกจับตามองว่า เวียดนามจะกลายเป็นโรงงานของโลกแห่งต่อไป ต่อจากประเทศจีน โดยในช่วงก่อนหน้านี้สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ยังมีต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งประเทศเจ้าเศรษฐกิจโลกยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ และจีนได้ออกนโยบายและท่าทีตอบโต้การกีดกันการค้ากันมาตลอด อย่างในช่วงเดือนต.ค.2022 ทางสหรัฐฯ ได้มีคำสั่งห้ามส่งออก เคลื่อนย้าย อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิปของจีน ส่งผลต่อการผลิตสินค้าเทคโนโลยีต่างๆ ในจีน รวมถึงบริษัทที่เข้าไปตั้งโรงงานในจีน จากปัจจัยที่กล่าวมานี้ ได้ทำให้หลายบริษัทตัดสินใจเริ่มย้ายฐานการผลิตออกจากจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบ จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน และสร้างความมั่นคงให้กับห่วงโซ่อุปทานของตนเอง โดยเวียดนามนับเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น Foxconn […]
BBLAM Asean Corner: กุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันการบริโภค
โดย ศิรารัตน์ อรุณจิตต์ BBLAM คงปฏิเสธไม่ได้ว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่จะกินสัดส่วนมากกว่าครึ่งของจีดีพี ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของปี 2022 ซึ่งรวบรวมโดยเว็บไซต์ The Global Economy พบว่า ในบรรดาจำนวน 96 ประเทศที่ได้รวบรวมข้อมูล มีประเทศที่มีสัดส่วนของการบริโภคภาคเอกชนมากกว่าร้อยละ 50 ถึง 73 ประเทศ โดยประเทศไทย มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 56 ใกล้เคียงกับประเทศนิวซีแลนด์ จากความสำคัญของภาคการบริโภคที่จะส่งต่อมายังการเติบโตของภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศ จึงนำมาซึ่งการศึกษาแนวโน้มการบริโภคในอนาคตข้างหน้าว่า กลุ่มผู้บริโภคที่สำคัญจะเป็นอย่างไร โดยจากบทวิเคราะห์ของ HSBC ได้ระบุปัจจัยหลักที่นำมาทำการศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะด้านประชากร อัตราการเติบโตของรายได้ และพฤติกรรมการใช้จ่าย โดยพบว่า ในปี 2030 จะมีกลุ่มประชากรที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง เพิ่มมากขึ้น 500 ล้านคนทั่วโลก และจะเพิ่มอีก 500 ล้านคนในปี 2040 […]
เมื่อมนุษย์ตกเป็นทาสเจ้าขนปุย
โดย…อาภา เจตจำรัส BBLAM ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้โครงสร้างสังคมนั้นเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา นิยามคำว่า ครอบครัว สำหรับหลายๆ ครอบครัวในทุกวันนี้ อาจจะไม่ใช่ครอบครัวที่ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และลูกเสมอไป ในปัจจุบัน สมาชิกใหม่ ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งมาเทียบเท่าสมาชิกคนอื่นๆ ในหลายๆ ครอบครัวนั้น ก็คือ สัตว์เลี้ยงนั่นเอง “สัตว์เลี้ยง” นั้นไม่ใช่เพียงสัตว์เลี้ยงที่มีคนเป็น “เจ้าของ” อีกต่อไป แต่มีสถานะเป็น “สมาชิกในครอบครัว” สำหรับหลายๆ ครอบครัวไปแล้ว ซึ่งสัตว์เลี้ยงในหลายๆ ครอบครัวนั้นได้รับการปรนนิบัติ ดั่งราชา/ราชินี/เจ้าหญิง/ เจ้าชาย เลยทีเดียว ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดการนิยามคำศัพท์ใหม่ขึ้นมา นั่นคือ Pet Humanization หรือการที่เจ้าของให้ความสำคัญสัตว์เลี้ยงเทียบเท่ากับบุคคลคนหนึ่งในครอบครัว และมองว่าตนเองนั้น คือ คุณพ่อ หรือ คุณแม่ของสัตว์เลี้ยง ซึ่งคนกลุ่มนี้พร้อมที่จะทุ่มเท สรรหา อาหารและสิ่งของต่างๆ เพื่อที่จะดูแล “ลูก” ของพวกเขาอย่างสุดความสามารถและกำลังทรัพย์เลยทีเดียว หากให้ยกตัวอย่างสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงนั้นมีหลากหลายมากมาย […]
โอกาสของ Healthcare Digitalisation ใน ASEAN ภายใต้ตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงจาก COVID-19
โดย…ณัฏฐา ปัญญาบดีกุล กองทุนบัวหลวง ทุกวันนี้ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับรูปแบบการบริหารธุรกิจต่างๆ แทบจะกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับทุกองค์กรไปแล้ว โดยเฉพาะนับตั้งแต่ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยตรง ได้แก่ การให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งทุกท่านคงเห็นตัวอย่างมาแล้วในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ว่า เมื่อความต้องการมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนระบบสาธารณสุขไม่สามารถรองรับได้นั้น จะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตประชาชนมากขนาดไหน ทั้งยังสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นสังคมอีกด้วย องค์กรอนามัยโลก (WHO) บัญญัติถึงเป้าหมายด้านความเท่าเทียมทางสุขภาพ (Health Equity) ไว้ในปี 2005 ว่า “ …the absence of unfair and avoidable or remediable differences in health among population groups defined socially, economically, demographically or geographically…” ซึ่งก็คือ การทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ง่ายขึ้น ในราคาที่จับต้องได้ แต่ทว่า การขยายโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์นั้น ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก […]
หุ้นธนาคารเวียดนาม ดาวเด่นในเอเชีย
โดย…เจฟ สุธีโสภณ CFA® กองทุนบัวหลวง หุ้นในกลุ่มธนาคารของประเทศเวียดนามเป็นหุ้นที่เติบโตโดดเด่นที่สุดในบรรดาธนาคารต่างๆ ในเอเชียดังจะเห็นได้จากราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 25% ในปี 2020 และ 26% ในปี 2021 (ถ้าไม่รวมธนาคารรัฐวิสาหกิจแล้วคำนวณแค่ธนาคารเอกชนจะเพิ่มขึ้น 43% ในปี 2020 และ 60% ในปี 2021) สะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามที่แข็งแกร่ง ซึ่งภาคธนาคารเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ สาเหตุที่ราคาธนาคารรัฐวิสาหกิจปรับตัวขึ้นน้อยกว่าธนาคารเอกชน เนื่องจากในช่วงวิกฤตโควิดธนาคารของภาครัฐต้องให้ความร่วมมือกับธนาคารกลาง State Bank of Vietnam มากเป็นพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ที่ได้รับผลกระทบ อาทิเช่น การช่วยลดดอกเบี้ยและการปรับโครงสร้างหนี้ เราคาดว่าหุ้นธนาคารเวียดนามจะยังสามารถเติบโตได้อย่างโดดเด่นในอีก 2-3 ปีข้างหน้าเป็นอย่างน้อย เมื่อพิจารณาถึงอัตราผลตอบแทนหุ้นธนาคารเวียดนามเป็นหุ้นที่ให้ Return On Equity (ROE) สูงถึง 20% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในภูมิภาค สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเกินกว่าสองเท่าและสูงกว่าหุ้นธนาคารไทยถึงเกือบ 3 เท่า ซึ่งมี 3 ปัจจัยหลักในการผลักดันนั้นคือ […]
เมื่อหุ้น ASEAN หันมาสนใจการ IPO ผ่าน SPAC
โดย…พิชชาภา ศุภวัฒนกุล กองทุนบัวหลวง ในช่วงที่ผ่านมา มีบริษัท Start-Up ในภูมิภาค Southeast Asia มากมายที่เติบโตขึ้นมาถึงระดับ Unicorn (ธุรกิจ Start-Up ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ) โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรม E-Commerce การขนส่งสินค้าและอาหาร การเดินทาง และ Media แต่จากการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เริ่มถึงจุดอิ่มตัว ทำให้เงินทุนเริ่มชะลอตัวลง หลายบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จึงต้องเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการสร้างกำไรมากกว่าการเร่งการเติบโต นอกจากนี้ วิกฤติการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ประชากรทั่วโลกต้องปรับวิถีการใช้ชีวิตไปพึ่ง Digital Platforms มากขึ้น จากนโยบายปิดเมืองของรัฐบาล ทำให้บริษัทเหล่านี้เริ่มเห็นทิศทางต่อการสร้างกำไรได้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อ Platforms ที่สร้างขึ้นมาเริ่มมีความจำเป็นในการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ด้วย 2 เหตุผลประกอบกัน ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มมีบริษัทระดับ Unicorn ใน Southeast Asia ที่ให้ความสนใจกับการนำบริษัทเข้าตลาด ทั้งในการทำ IPO ผ่านตลาดในประเทศแบบที่เราคุ้นเคยกัน […]
พัฒนาการของ FinTech ใน ASEAN
โดย…ณัฐคม ธีรโรจนวงศ์ กองทุนบัวหลวง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการการเงินและการธนาคารต่างๆ มากมาย และคำว่า FinTech ได้ถูกนำมาพูดถึงอย่างแพร่หลาย จนเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อทั้งผู้บริโภคและผู้ให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการชำระเงินออนไลน์ของกลุ่มธนาคาร การให้สินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคล หรือ P2P Lending รวมไปถึงการพัฒนาการจ่ายเงินรูปแบบใหม่อย่าง Buy now Pay later ในกลุ่ม E-Commerce ซึ่งนวัตกรรมต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เข้าถึงการบริการได้สะดวกรวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้ารายใหม่เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นอีกด้วย สำหรับพัฒนาการของ FinTech ในภูมิภาคอาเซียนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เม็ดเงินลงทุนของกลุ่มสตาร์ทอัพเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 52% ต่อปี โดยในปีที่ผ่านมา มีมูลค่าการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพสูงถึง 904 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมีบริษัทเกิดใหม่กว่า 46 บริษัท ทำให้ในภูมิภาคอาเซียนมีบริษัท FinTech เกิดใหม่รวมทั้งหมด 2,744 บริษัท ซึ่งถ้าแบ่งประเภทธุรกิจออกมา E-Payment ยังคงมีสัดส่วนเม็ดเงินลงทุนสูงกว่า […]
สำรวจ ASEAN และเทรนด์การลงทุน
โดย…จันทร์เพ็ญ กิตติเวทย์วิทยา กองทุนบัวหลวง แม้ว่าประเทศไทยจะเลื่อนการเปิดพื้นที่ Sandbox ในพื้นที่ 5 จังหวัด จากเดิม 1 ตุลาคม เป็น 1 พฤศจิกายน 2564 ก็ตาม แต่ไทยเองก็เริ่มผ่อนคลายการ Lockdown ในหลายๆ กิจการมากขึ้น ทั้งร้านเสริมสวย สปา โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร รวมทั้งเร่งการฉีดวัคซีนให้ประชากร โดยเฉพาะในเขตพื้นที่เสี่ยงอย่างกรุงเทพมหานครที่จำนวนคนฉีดวัคซีนครบโดสในปัจจุบันมีแล้ว 44% ทั้งนี้ก็เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวกลับมาและเปิดรับนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีแผนเปิดเมืองเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเช่นกัน แม้ว่าอัตราการฉีดวัคซีนให้ครบโดสของประชากรทั้งประเทศยังต่ำกว่า 30% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ยกเว้นสิงคโปร์และมาเลเซียที่มีอัตราการฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเกินกว่า 70% และ 60% ตามลำดับ ในแง่ของเทรนด์การลงทุนก็มีหลายๆ ประเด็นที่น่าสนใจ อย่างแรก คือ เรื่องของ Digitalization เพราะแม้ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วก็ตาม แต่การเกิดขึ้นของ […]
GoTo ดีลใหญ่ เขย่าวงการบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียน
โดย…พัสกร ตรีวัชรีกร กองทุนบัวหลวง แม้จะเป็นเพียงการควบรวมกันของ 2 บริษัทสตาร์ทอัพในอินโดนีเซีย แต่ก็ถือป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย และจะกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ติดอันดับ Top 3 ของประเทศ โดยเมื่อรวมมูลค่าธุรกรรม หรือ Gross Transaction Value (GTV) ของ 2 บริษัทนั้น จะมีมูลค่ามากถึง 2.2 หมื่นล้านเหรียญ คิดเป็น 2% ของ GDP อินโดนีเซีย อีกทั้งผู้บริหารยังตั้งเป้าว่า อาจจะไปได้ถึง 5-10% ของ GDP ภายหลังจากควบรวมกันเป็น GoTo หลังจากนี้ บริษัทเตรียมที่จะเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศอินโดนีเซียและที่สหรัฐฯ พร้อมนำเม็ดเงินที่จะมาพลิกโฉมหน้าการแข่งขันของอุตสาหกรรม ไม่เพียงแต่ในประเทศ แต่ยังรวมถึงประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย ซึ่งจะได้รับผลกระทบและแรงกระเพื่อมจากดีลครั้งนี้ ก่อนอื่น ไปดูว่า GoTo คือใคร และทำไมถึงจะสร้างผลกระทบต่อวงการบริษัทเทคโนโลยีในอาเซียนได้มากขนาดนี้ บริษัทแรกของการควบรวม คือ Gojek […]
อาเซียน วัคซีนโควิด และแผนการเปิดประเทศ
หทัยภัทร ลิมป์บรรเจิด กองทุนบัวหลวง การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศในภูมิภาคอาเซียน เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นกัน เนื่องจากศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้ การพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวในสัดส่วนที่สูง มองย้อนกลับไปในปี 2562 กัมพูชา เวียดนาม และไทย มีอัตราส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวต่อ GDP สูงถึงร้อยละ 18 12 และ 11 ตามลำดับ จนกระทั่งในปี 2563 ที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ รายได้จากการท่องเที่ยวของกัมพูชาและไทย ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 79 และ 83 เมื่อเทียบกับปี 2562 ส่วนเวียดนาม ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขรายได้ท่องเที่ยวรายปีออกมา แต่ทว่าก็ได้รับผลกระทบจากภาคการส่งออกเช่นเดียวกัน ในด้านของประเทศที่พึ่งพาการส่งออกในสัดส่วนที่สูง ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ซึ่งล้วนมีรายได้จากการส่งออกที่ลดลง ส่วนประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต ได้แก่ เวียดนาม และกัมพูชา ยังคงมีรายได้จากการส่งออกที่เติบโตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในแง่การฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลายประเทศเล็งเห็นตรงกันว่า […]