ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นที่ 4.35 พันล้านดอลลาร์ฯ

ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นที่ 4.35 พันล้านดอลลาร์ฯ

BF Economic Research การส่งออกฟิลิปปินส์เดือนต.ต. 2018 อยู่ที่ 6,108.1 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว 3.3% YoY ขณะที่ การนำเข้าอยู่ที่ 10,320.0 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัวสูง 21.4% YoY ส่งผลให้ฟิลิปปินส์ขาดดุล -4,212.0 ล้านดอลลาร์ฯ  โดย 10 เดือนแรกของปี 2018 ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าสะสม  -33,917.9 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นกว่า 68.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งขาดดุลการค้าสะสมที่ -20,128.5 ล้านดอลลาร์ฯ การส่งออกฟิลิปปินส์เดือนต.ค. อยู่ที่ 6,108.1 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.3% YoY ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 10,320.0 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัว +21.4% YoY ส่งผลให้ขาดดุล -4,212.0 ล้านดอลลาร์ฯ […]

จับตาท่าทีผู้นำสหรัฐ-จีน หลังเอเปกไร้แถลงการณ์ร่วมครั้งแรกในประวัติศาสตร์

จับตาท่าทีผู้นำสหรัฐ-จีน หลังเอเปกไร้แถลงการณ์ร่วมครั้งแรกในประวัติศาสตร์

การประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก ที่กรุงพอร์ต มอสบี้ ประเทศปาปัวนิวกินี จบลงโดยไม่มีการแถลงการณ์ร่วมของผู้นำอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เนื่องจากในการประชุมสุดยอดเอเปกที่ผ่านมาจะมีแถลงการณ์ร่วมทุกครั้ง นับตั้งแต่ปี 1998 โดยรายงานข่าวระบุว่า มาจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน นายปีเตอร์ โอนีล (Peter O’Neill) นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี กล่าวว่า สองยักษ์ใหญ่ในห้องนี้ ไม่สามารถตกลงกันได้ พร้อมระบุว่า จะมีการเผยแพร่แถลงการณ์ของประธานการประชุมสุดยอดเอเปกในภายหลัง โดยสองประเทศต่างแข่งขันกันมีอำนาจในภูมิภาคแปซิฟิก ทำให้กลายเป็นประเด็นหลักในการประชุมครั้งนี้

เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 3 เติบโต 4.4% YoY น้อยกว่าที่ตลาดคาด จากการส่งออกเป็นหลัก

เศรษฐกิจมาเลเซียไตรมาส 3 เติบโต 4.4% YoY น้อยกว่าที่ตลาดคาด จากการส่งออกเป็นหลัก

BF Economic Research เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 3/2018 เติบโต 4.4% YoY ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เติบโต 4.5% YoY และน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดยเป็นผลจากการส่งออกที่ได้รับผลจากความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงราคาน้ำมันปาล์ม และก๊าซธรรมชาติที่ปรับตัวลดลงทำให้มูลค่าการส่งออกชะลอตัว สำหรับเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญในไตรมาสนี้ คือ การบริโภคในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด เนื่องจากผลของการยกเลิกภาษี GST (Goods and Services Tax) ในเดือนมิ.ย.-ส.ค. และการอุดหนุนราคาน้ำมัน สามารถกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศซึ่งคิดเป็น 55% ของขนาดเศรษฐกิจ ให้ขยายตัวได้ถึง 9.0% YoY ในไตรมาส 3 ด้านการลงทุนในประเทศเติบโต 3.2% YoY เพิ่มขึ้นจาก 2.2% YoY ในไตรมาส 2 โดยได้อานิสงส์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศในช่วงหลังการเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้น และนโยบายของภาครัฐที่หนุนการลงทุน ทั้งนี้ ด้วยมุมมองต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของมาเลเซียที่ยังขยายตัวได้ บวกกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในกรอบของธนาคารกลาง ทำให้เรามองว่า […]

ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 basis points เป็น 4.75%

ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 basis points เป็น 4.75%

BF Economic Research ธนาคารธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 basis points เป็น 4.75% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันนี้ (15 พ.ย. 2018) นับเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งที่ 5 ติดต่อกัน รวม 175 basis points นับตั้งแต่เดือน พ.ค. 2018 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ BSP ยังปรับประมาณการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2018 เพิ่มเป็น 5.3% YoY จาก 5.2% YoY แต่ปรับลดอัตราเงินเฟ้อในปี 2019 เป็น 3.5% YoY จาก 4.3% YoY  ธนาคารธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 basis […]

นายกฯ มาเลเซียคาดทรัมป์หมดสิทธิ์ชนะเลือกตั้งรอบหน้า

นายกฯ มาเลเซียคาดทรัมป์หมดสิทธิ์ชนะเลือกตั้งรอบหน้า

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ โมฮัมหมัด ของมาเลเซีย กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เขาจะประหลาดใจถ้าประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งในครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นปี 2020 เขา กล่าวว่า เขาพยากรณ์อยู่บนพื้นฐานผลการเลือกตั้งกลางเทอมในช่วงที่ผ่านมา ของพรรครีพับลิกัน และเชื่อว่า เมื่อไหร่ที่ทรัมป์ออกไป นั่นจะเป็นการยุติสงครามการค้าที่วุ่นวาย “อย่างที่คุณเห็นจากการเลือกตั้งกลางเทอม ทรัมป์ทำได้ไม่ดี โอกาสของเขาที่มียิ่งน้อยลงไป ฉันจะประหลาดใจถ้าในการเลือกตั้งครั้งหน้าเขากลับมาอีก” มหาเธร์ กล่าว ทั้งนี้ มหาเธร์ มองว่า ถ้าทรัมป์ไม่อยู่ในตำแหน่งนี้แล้ว สมาชิกคนอื่นในรัฐบาลสหรัฐ ไม่ว่าจะมาจากรีพับลิกัน หรือเดโมแครต พวกเขาก็คงจะไม่เดินหน้าต่อสงครามการค้า

GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาส 3/2018 โต 6.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.2% YoY และต่ำสุดในรอบ 3 ปี

GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาส 3/2018 โต 6.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.2% YoY และต่ำสุดในรอบ 3 ปี

BF Economic Research GDP ของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 6.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.2% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 6.2% YoY การเติบโตที่ชะลอลงของการบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศอ่อนแอลง ขณะที่ การส่งออกสุทธิ (Net Export) ที่ลดลงยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์   GDP ของฟิลิปปินส์ในไตรมาส 3/2018 ขยายตัว 6.1% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัว 6.2% YoY ต่ำสุดในรอบ 3 ปี เนื่องมาจากการบริโภคซึ่งที่ขยายตัวชะลอลงที่ 5.2% YoY (Prev.+5.9% YoY) ประกอบกับการลงทุนที่ขยายตัวชะลอลงเช่นกันที่ 16.7% YoY (Prev.+21.5% YoY) ในทางตรงกันข้าม การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเร่งขึ้นที่ 14.3 % YoY (Prev.+11.9% […]

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนต.ค. ขยายตัว 6.7% YoY  ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา

เงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนต.ค. ขยายตัว 6.7% YoY ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์เดือนต.ค. ขยายตัวที่ 6.7% YoY ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนที่ผ่านมา แต่เหนือกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.5% โดยเป็นการขยายตัวเหนือกรอบเป้าหมายของ BSP เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน  ราคาอาหารและพลังงานยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ ทว่าแรงกดดันที่มาจากราคาอาหารซึ่งมีน้ำหนักในตะกร้าเงินเฟ้อกว่า 38.3% ลดลงเล็กน้อยจากราคาข้าวที่มีทิศทางที่ชะลอลง ทั้งนี้ ยังคงคาดว่า อัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปีนี้น่าจะชะลอลง โดย BSP ได้ประมาณการอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 ทั้งปีที่ 5.2% YoY อัตราเงินเฟ้อฟิลิปปินส์ขยายตัวที่ 6.7% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 6.5% YoY และเหนือกรอบเป้าหมายของ BSP ที่ตั้งไว้ที่ 2-4% เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ราคาอาหารและพลังงานยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อของฟิลิปปินส์ ทว่าแรงกดดันที่มาจากราคาอาหารซึ่งมีน้ำหนักในตะกร้าเงินเฟ้อกว่า 38.3% ลดลงเล็กน้อยจากราคาข้าวที่มีทิศทางที่ชะลอลง เนื่องจากการนำข้าวจากต่างประเทศเริ่มทยอยเข้าสู่ตลาด นอกจากนี้ ราคาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และผลิตภัณฑ์ยาสูบก็ชะลอลงเล็กน้อยเช่นกัน ทั้งนี้ […]

เมียนมาออกเกณฑ์นำเข้ารถยนต์ใหม่ต้องพวงมาลัยซ้ายมีผลปี 2019

เมียนมาออกเกณฑ์นำเข้ารถยนต์ใหม่ต้องพวงมาลัยซ้ายมีผลปี 2019

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้ายานยนต์ ของเมียนมาได้ออกร่างนโยบายการนำเข้ารถยนต์ใหม่สำหรับปี 2019 มา โดยระบุว่า จะมีเพียงรถยนต์พวงมาลัยซ้ายเท่านั้นที่สามารถนำเข้ามาได้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจราจรของประเทศ ทั้งนี้ รถยนต์ปี 2016 จะเป็นรุ่นเก่าที่สุดตามนโยบายใหม่นี้ที่อนุญาตให้นำเข้ามาได้สำหรับการใช้เป็นรถยนต์ส่วนตัว ไม่ใช่จุดประสงค์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับจัดส่งสินค้า ส่วน รถยนต์โดยสาร เช่น มินิบัส ซิตี้บัส เอ็กซ์เพรสบัส และรถบรรทุกที่ใช้ในโรงงาน ที่นำเข้าได้จะต้องผลิตในปี 2015 หรือหลังจากนั้น สำหรับรถดับเพลิงหรือรถพยาบาลนั้น ถูกกำหนดไว้ว่า จะต้องนำเข้ารถที่ผลิตออกจากโรงงานตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นไป และอนุญาตให้รถสำหรับบรรทุกอุปกรณ์หนักๆ เช่น รถขัด รถตัก รถเครน ที่นำเข้ามาได้ จะต้องมีอายุ 15 ปีหรือน้อยกว่านั้น สื่อเมียนมา ยังรายงานอีกว่า ผู้คนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถซื้อรถยนต์รุ่นใหม่ของแบรนด์ต่างๆ ได้ เนื่องจากมีราคาสูง โดยจากการสำรวจตลาด พบว่า บางคนเลือกที่จะใช้วิธีผ่อนชำระในตลาดรถยนต์ และอีกหลายคนยังคงเลือกซื้อรถยนต์มือสอง ขณะที่ […]

ชี้การทำงานที่ยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์มากในปี 2030

ชี้การทำงานที่ยืดหยุ่นมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์มากในปี 2030

เดอะสเตรทไทม์ รายงานว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทำงานที่ยืดหยุ่นใน 16 ตลาดงานหลัก พบว่า การเปลี่ยนไปสู่รูปแบบการทำงานแบบไม่ประจำ จะมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์มากขึ้น โดยจะครองมูลค่า 54,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2030 เพิ่มขึ้น 27,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจุบัน Regus ซึ่งเป็นผู้จัดหาคนทำงานระดับโลก ที่สนับสนุนการจัดทำผลศึกษานี้ ระบุว่า การกระจายสัดส่วนคนทำงานแบบไม่ประจำในปัจจุบัน คิดเป็น 6.1% ของแรงงานโดยรวมของชาติในปี 2017 แต่ตัวเลขนี้คงไม่ใช่สำหรับปี 2030 ด้วย นอกจากนี้ ทาง Regus ยังชี้ว่า ในปี 2030 นั้น น่าจะมีตำแหน่งงานมากกว่า 73,000 ตำแหน่ง ที่เป็นรูปแบบงานที่มีความยืดหยุ่น โดยงานในกลุ่มที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ งานสนับสนุนธุรกิจ งานบริหารจัดการสาธารณะ งานด้านข้อมูลและการสื่อสาร ด้านการเงิน และบริการอสังหาริมทรัพย์ จะคิดเป็น 83.5% ของมูลค่างานทั้งหมดที่อยู่ในกลุ่มงานที่มีความยืดหยุ่นในวงจรธุรกิจ หากคิดเป็นสัดส่วนแล้วจะพบว่า 8-13% […]

ทุนสิงคโปร์ดอดซื้อธุรกิจความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอิสราเอล

ทุนสิงคโปร์ดอดซื้อธุรกิจความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอิสราเอล

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ทุนสิงคโปร์ เทมาเส็ก โฮลดิงส์ กำลังจะซื้อกิจการ Sygnia บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอิสราเอล โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการลงนามและสรุปเงื่อนไข Sygnia สตาร์ทอัพที่ทางสิงคโปร์จะซื้อกิจการนั้น แจ้งว่าจะยังคงดำเนินการอย่างอิสระแม้ว่าจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเทมาเส็กแล้วก็ตาม ขณะที่ Shachar Levy ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sygnia จะยังคงเป็นผู้นำในบริษัทต่อไป “เทมาเส็กจะช่วยมาเพิ่มขีดความสามารถให้กับบริษัท สนับสนุนกลยุท์ของบริษัทได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการด้านการจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และยังเปิดทางให้บริษัทสามารถเร่งการเติบโตในตลาดโลกได้” Levy กล่าว สำหรับรายละเอียดด้านการเงินเกี่ยวกับการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ ไม่ได้มีการเปิดเผยออกมา โดยเทมาเส็กนั้นเป็น องค์กรด้านการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ที่มีพอร์ตการลงทุนอยู่กว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าเทมาเส็กจะปฏิเสธการให้ความเห็นเกี่ยวกับเม็ดเงินที่ใช้ในการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้แต่แหล่งข่าวที่ใกล้ชิด กล่าวกับ ซีเอ็นบีซีว่า Sygnia น่าจะถูกเข้าซื้อกิจการด้วยเงิน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเดือน มิ.ย. นั้น เทมาเส็กเพิ่งลงทุนในบริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ชื่อว่า Claroty ไป โดยบริษัทนี้ผลิตซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการปกป้องการโจมตีทางไซเบอร์ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม