เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียจะมีมูลค่าเพิ่มเกือบเท่าตัวในอีก 5 ปีข้างหน้า
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า สถาบันเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการเงิน (Indef) และมูลนิธิวิจัยที่ไม่แสวงหากำไร Laboratorium Data Persada ได้ทำผลการศึกษาร่วมกัน พบว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียจะมีมูลค่าเพิ่มเกือบเท่าตัวจาก 814 ล้านล้านรูเปียห์ในปีก่อน เป็น 1,447 ล้านล้านรูเปียห์ หรือ 101,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2024 หรือ 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า เศรษฐกิจดิจิทัลจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ภาคการผลิต การค้า การขนส่ง และการสื่อสาร Berly Martawardaya ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย Indef กล่าวว่า ภาคการผลิตจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากเศรษฐกิจดิจิทัล โดยคาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะสร้างมูลค่าเพิ่ม 100 ล้านล้านรูเปียห์ให้กับอุตสาหกรรมการผลิต Berly กล่าวอีกว่า รัฐบาลควรต้องสร้างความมั่นใจว่าคนในชาติเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล เช่นเดียวกับการทำงานร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัล การเข้าถึงระบบโลจิสติกส์และแหล่งเงิน Mira […]
อินโดนีเซียเร่งชดเชยผู้บริโภค 21.3 ล้านรายที่ได้ร้บผลกระทบไฟดับเมื่อวันอาทิตย์
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า บริษัทไฟฟ้าของรัฐอินโดนีเซีย PLN วางแผนที่จะชดเชยให้กับผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 21.3 ล้านราย ซึ่งรวมถึงภาคธุรกิจด้วย จากกรณีที่พวกเขาได้รับความเสียหายเนื่องจากเหตุการณ์ไฟดับเป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงทั่วทางตะวันตกของหมู่เกาะชวา และใจกลางกรุงจาการ์ตา Sripeni Inten Cahyani รักษาการประธานผู้อำนวยการ PLN กล่าวว่า บริษัทจะชดเชยลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตาม พระราชกฤษฎีกา กระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ ฉบับที่ 27/2017 เกี่ยวกับการปรับปรุงบริการของ PLN สำหรับการชดเชยจะอยู่ในรูปแบบของการลดค่าไฟฟ้า ตามระยะเวลาของไฟดับว่านานเท่าใด รวมถึงจำนวนกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงที่หายไประหว่างเกิดเหตุการณ์ ซึ่งการชดเชยนี้จะทำให้ผู้บริโภคใช้พลังงานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปหลายวัน Djoko Rahardjo Abumanan ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การจัดซื้อ กล่าวว่า เหตุไฟดับส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างน้อย 21.3 ล้านราย ประกอบด้วยภาคอุตสาหกรรม และภาคครัวเรือน เหตุไฟดับเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น นับเป็นเหตุการณ์ไฟดับทั่วกรุงจาการ์ตา และทางตะวันตกของหมู่เกาะชวาที่ร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ในเมืองหลวงและบางเมืองของภูมิภาคพบกับประสบการณ์เลวร้ายจากปัญหาการจราจรติดขัด และทำให้ธุรกิจรวมถึงการสื่อสารหยุดชะงัก โดยรวมระยะเวลาที่ไฟดับประมาณ 8 ชั่วโมง และหลังจากนั้นแม้ไฟจะติดแล้วแต่ก็จะยังคงไม่เสถียร […]
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 2 โต 5.05% YoY ตามที่ตลาดคาด
BF Economic Research เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 2/2019 ขยายตัว 5.05% YoY จาก 5.07% ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นการเติบโตจากการบริโภคในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการเร่งใช้จ่ายของรัฐบาลก่อนการเลือกตั้งที่ทำให้การบริโภคภาครัฐเติบโตถึง 8.2% YoY ด้านการบริโภคภาคครัวเรือนยังขยายตัวได้แม้จะชะลอลงเล็กน้อยจาก 4.7% เป็น 4.4% ในขณะที่การส่งออกสุทธิหดตัว จากการนำเข้าที่ขยายตัวมากกว่าการส่งออก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนในประเทศที่เติบโตชะลอลง โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และการก่อสร้าง ทั้งนี้ เรามองว่าทั้งปี 2019 เศรษฐกิจอินโดนีเซียน่าจะขยายตัวที่ 5.2% สำหรับอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดในเดือนก.ค. ขยายตัวที่ 3.32% โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจาก 3.28% YoY ในเดือน มิ.ย. จากราคาหมวดเครื่องนุ่งห่ม การศึกษา และคมนาคมที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 3.0-3.5% ตลอดทั้งปี 2019 ส่งผลให้เราคาดว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank […]
ไอเอ็มเอฟแนะอินโดนีเซียปฏิรูปโครงสร้างเน้นเพิ่มการพึ่งพาในประเทศหนุนเศรษฐกิจเติบโต
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า คณะกรรมการบริหาร กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาให้ความเห็นชื่นชมฝ่ายนโยบายของอินโดนีเซียว่าสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ภายนอกที่ถาโถมในปี 2018 ได้เป็นอย่างดี เป็นแรงสนับสนุนที่ทำให้เศรษฐกิจมีผลการดำเนินงานในเชิงบวก นอกจากนี้ ยังให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าด้วยว่า แนวโน้มหน่วยงานกำกับยังคงต้องระมัดระวังความเสี่ยง โดยเฉพาะด้านการไหลของเงินทุน เพราะอินโดนีเซียพึ่งพิงเงินทุนจากภายนอกประเทศมาก ทั้งนี้ ไอเอ็มเอฟ เปิดเผยในรายงานเศรษฐกิจอินโดนีเซีย โดยระบุว่า กรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า หากต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศมีศักยภาพในการเติบโตสูงจะต้องมีแพ็กเกจปฏิรูปโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มรายได้ในประเทศ การจัดหาเงินทุนในประเทศ เพื่อช่วยลดความผันผวน รวมทั้งมีการอำนวยความสะดวกในการปฏิรูปทรัพยากรบุคคล โครงสร้างพื้นฐาน แรงงาน และผลิตภัณฑ์ในตลาด ไอเอ็มเอฟ ยังระบุว่า คณะกรรมการไอเอ็มเอฟ คาดการณ์เศรษฐกิจอินโดนีเซียจะเติบโตได้อย่างมั่นคงที่ 5.2% ในปีนี้ และปีหน้า รวมทั้งขยับขึ้นเป็น 5.3% ในระยะกลาง ภายใต้เงื่อนไขการเพิ่มความต้องการในประเทศให้มากขึ้น
อินโดนีเซียเตรียมจัดเก็บภาษีจากกิจกรรมทั้งหมดในเศรษฐกิจดิจิทัล
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า อธิบดีกรมสรรพากร อินโดนีเซีย กำลังเตรียมเครื่องมือเพื่อจัดเก็บภาษีที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทั้งหมดในเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ใช่เพียงการซื้อขายที่เกิดในตลาดกลางซื้อขายเท่านั้น แต่รวมทุกกิจกรรมในโซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มอื่นๆ ครอบคลุมถึงเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) ด้วย Iwan Djuniardi ผู้อำนวยการด้านการสื่อสารและการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวว่า ขณะนี้ กำลังทำงานวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเศรษกิจดิจิทัลอยู่ เพื่อหาช่องทางที่จะทำให้จัดเก็บภาษีที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมบนเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างง่ายดาย เขา กล่าวว่า ในขั้นต้น ข้อมูลเกี่ยวกับยอดขายและการทำธุรกรรมบนเศรษฐกิจดิจิทัลจะมีอยู่กับสำนักงานบริการด้านภาษี กรมสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศด้านภาษี ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานภาษีมีความพยายามในการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับภาษีมาตั้งแต่ปี 2012 Iwan กล่าวว่า ผู้อำนวยการใหม่ 2 คน จะทำงานร่วมกันเพื่อวางแผนการจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของรัฐบาลที่ต้องการให้เสียภาษีโดยไม่ต้องมีกฎระเบียบด้านภาษีใหม่ Ignatius Untung นายกสมาคมอี-คอมเมิร์ซอินโดนีเซีย (idEA) กล่าวว่า อุปสรรคใหญ่ที่สุดคือการจัดเก็บภาษีเศรษฐกิจดิจิทัลที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งรวมทั้งการโฆษณาและค้าปลีก ทั้งนี้ เป็นเรื่องยากที่จะจัดเก็บข้อมูลของคนที่ขายสินค้าของตัวเองผ่านโซเชียลมีเดีย หากผู้ขายเหล่านั้นเป็นคนที่มาจากนอกโซเชียลมีเดีย
มาเลเซียมั่นใจอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์จะช่วยสร้างงานจำนวนมากให้คนในประเทศ
นิว สเตรทไทม์ส รายงานว่า Yeo Bee Yin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง (MESTECC) ของมาเลเซียออกมาแสดงความมั่นใจว่า อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์จะสร้างงานจำนวนมากให้กับประเทศได้ โดยตัวเลขล่าสุดเมื่อปี 2011 ที่มีคนมาเลเซีย 54,300 คน ทำงานอยู่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ “เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความยั่งยืนในพลังงานแสงอาทิตย์ ก็คือการสร้างงานในอุตสาหกรรมนี้” เธอ กล่าวกับผู้สื่อข่าว หลังจากที่เปิดตัวโครงการแผงพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย โดย บริษัท กู๊ดเยียร์ มาเลเซีย Yeo กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ใช่เพียงมุ่งเน้นแต่การติดตั้งแผงโซลาร์บนอาคารพาณิชย์ แต่ยังรวมถึงการติดตั้งในโรงงานด้วย ซึ่งมีการติดตั้งแล้วโดยกู๊ดเยียร์ ซึ่งเป็นผู้ติดตั้งแผงโซลาร์ในโรงงาน มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รวมถึงเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต “การติดตั้งครั้งนี้จะช่วยลดความต้องการไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของบริษัทได้” Yeo กล่าว สำหรับกู๊ดเยียร์ ในมาเลเซีย ติดตั้งแผงโซลาร์ไป 6,680 แผง โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2.5 เมกะวัตต์ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้ […]
ธนาคารกลางอินโดนีเซียเริ่มกลับทิศทางดอกเบี้ย พร้อมส่งสัญญาณว่าจะปรับลดลงอีกในปีนี้
BF Economic Research ในการประชุมเดือน ก.ค. ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (Bank Indonesia: BI) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25bps จาก 6.0% เป็น 5.75% ตามที่เราคาด โดยเป็นการกลับทิศทางนโยบายการเงินจากตึงตัวเป็นผ่อนคลายเป็นครั้งแรกในรอบ 22 เดือน เพื่อหนุนโมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความตึงเครียดจากนโยบายกีดกันทางการค้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้เป็นช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2018 ทั้งนี้ ในการประชุมเดือนก่อนหน้า BI ได้เริ่มส่งสัญญาณ Dovish ด้วยการปรับลดอัตรากันสำรองหรือ Reserve Requirement Rate (RRR) ของธนาคารพาณิช ย์ลงไป 50bps เหลือ 6.0% เพื่อกระตุ้นยอดสินเชื่อในประเทศ ในการประชุมครั้งนี้ ผู้ว่า BI ได้ส่งสัญญาณ Dovish ต่อเนื่องว่าในระยะข้างหน้ามีโอกาสที่ BI จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้อีก ซึ่งเราคาดว่า BI […]
สิ้นสุดดอกเบี้ยขาขึ้น เฟดส่งซิกผ่อนคลายนโยบายการเงิน คาดอาเซียนดำเนินรอยตาม
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้มีท่าทีผ่อนคลายในการดำเนินนโยบายทางการเงินมากขึ้น ทำให้ตลาดคาดการณ์กันว่าอาจสิ้นสุดรอบอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นแล้ว ขณะที่แนวโน้มของธนาคารกลางแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนน่าจะดำเนินรอยตาม ด้วยการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเช่นเดียวกับเฟด ส่วนรายละเอียดของแต่ละประเทศอาเซียนจะเป็นอย่างไร สามารถรับฟังความคิดเห็นของ Macro Analyst ของกองทุนบัวหลวงได้ในคลิปวิดีโอนี้
ธนาคารกลางมาเลเซียคงดอกเบี้ยนโยบายตามคาด แต่มีโอกาสลดอีกครั้งในปีนี้ หากเศรษฐกิจเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้น
BF Economic Research ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.0% ในการประชุมเดือนก.ค. เป็นไปตามที่ ตลาดคาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในการประชุมเดือนพ.ค. ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยลงมา 25bps จาก 3.25% ทั้งนี้ รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของ BNM ระบุว่า ความเสี่ยงเชิงลบจากการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังคงมีอยู่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของมาเลเซียในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนในประเทศจะเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจให้สามารถเติบโตได้ต่อเนื่องในปี 2019 ด้านอัตราเงินเฟ้อ BNM ระบุว่า ในระยะสั้น เงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ผลของฐานสูงในช่วงต้นปีก่อนการยกเลิกภาษี GST (Good and Services Tax) จะเริ่มมีผลน้อยลงนับตั้งแต่ครึ่งหลังของปีเป็นต้นไป แต่ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงมา บวกกับการควบคุมราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ จะยังฉุดให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งทำให้ BNM ยังมีพื้นที่ในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินจะติดตามและประเมินความเสี่ยงต่างๆ ที่มีต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อภายในประเทศต่อไป สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2019 […]
ฟิลิปปินส์เผยการใช้จ่ายด้านลงทุน-โครงสร้างพื้นฐานกลับมาฟื้นตัวแตะ 6.15 หมื่นล้านเปโซ
รายงานข่าวจากเดอะ มะนิลา ไทม์ส ระบุว่า การใช้จ่ายด้านการลงทุนและด้านโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ ปรับตัวดีขึ้นในเดือน พ.ค. จากเดือนก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นเป็น 6.15 หมื่นล้านเปโซ จากโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างชาติเพื่อพัฒนาโครงการสาธารณะ และโครงการปรับปรุงทางทหาร ในรายงานเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมงบประมาณและการจัดการ (the Department of Budget and Management: DBM) ของฟิลิปปินส์ กล่าวว่า การใช้จ่ายด้านการลงทุน และโครงสร้างพื้นฐานของรัฐในเดือน พ.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 5.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 5.81 หมื่นล้านเปโซ รายงานยังระบุว่า การเพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายโครงการภาครัฐที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศของกรมการขนส่ง กรมโยธาธิการและทางหลวง รวมถึงการลงทุนภายใต้โครงการปรับปรุงกองทัพฟิลิปปินส์