รัฐบาลอินโดนีเซียหั่นภาษีบ้านหรูจาก 5% เหลือ 1% กระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า กระทรวงการคลังอินโดนีเซีย ออกประกาศว่า ได้ปรับลดภาษีรายได้บ้านหรูจาก 5% เหลือ 1% เพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กระทรวงการคลังออกนโยบายใหม่มาผ่านกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 92/2019 ซึ่งเป็นการแก้ไขกฎฉบับที่ 253/2018 เกี่ยวกับข้อกำหนดสำหรับผู้เสียภาษีสำหรับการซื้อและขายสินค้าฟุ่มเฟือย ขณะที่กฎฉบับแรกเรื่องนี้คือกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 90/2015 สัปดาห์ที่ผ่านมา Suahasil Nazara หัวหน้าฝ่ายนโยบายการคลัง กระทรวงการคลัง ออกมาให้รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายเพื่อกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยมุ่งเน้นไปที่ที่พักอาศัยระดับหรู โดยระบุว่า รัฐบาลเชื่อว่า นโยบายนี้จะช่วยให้เกิดผลทวีคูณต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ “กฎใหม่เกี่ยวกับภาษีที่พักหรูนั้นมีความสำคัญ เพราะผู้พัฒนาในธุรกิจนี้จะได้รับส่วนต่างสูงขึ้น” Suahasil กล่าว สำหรับการออกกฎใหม่ครั้งนี้ จะมีการเปลี่ยนประเภทของที่พักหรูด้วย จากเดิมราคาเริ่มต้น 5,000-10,000 ล้านรูเปียห์ เป็นเริ่มต้น 30,000 ล้านรูเปียห์ โดยกฎใหม่นี้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งที่พักหรูนั้นจะต้องเป็นบ้านที่มีพื้นที่ 500 ตารางเมตร หรือเป็นอพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียมที่มีความกว้าง 150 […]
อินโดนีเซียห่วงรายได้ภาษีชะลอตัว หลัง 5 เดือนจัดเก็บได้แค่ 31.9% ของเป้าหมายทั้งปี
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า Sri Mulyani Indrawati รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอินโดนีเซีย ออกมาแสดงความเป็นห่วงกรณีรายได้ภาษีปีนี้ที่ชะลอตัว โดยตัวเลขสิ้นสุดเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียสามารถจัดเก็บภาษีและศุลกากรไปได้แล้ว 727.7 ล้านล้านรูเปียห์ หรือ 51,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 31.9% ของเป้าหมายรายได้ภาษีทั้งปีงบประมาณ 2019 ที่รัฐบาลวางไว้ ทั้งนี้ ตัวเลขรายได้ภาษีที่ออกมา ถือว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเพียง 5.7% เท่านั้น ซึ่งยังห่างไกลอัตราการเติบโตของปีก่อนเทียบกับปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ 14.5% รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังแสดงความเป็นห่วงอีกว่า รายได้ภาษีจากน้ำมันและก๊าซ เติบโตเพียง 2.4% เป็น 496.6 ล้านล้านรูเปียห์เท่านั้น “นี่ถือเป็นจุดวิกฤติ เราต้องจับตาสัญญาณเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ว่าจะยังแข็งแกร่งหรืออ่อนตัว” เธอให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ kontan.co.id เมื่อวันก่อน เธอ กล่าวอีกว่า กระทรวงการคลังมีความระมัดระวังในการบริหารจัดการงบประมาณของประเทศ รวมทั้งการจัดเก็บรายได้ […]
ASEAN ASEAN Corner B-ASEAN B-ASEANRMF
เศรษฐกิจอาเซียนในระยะข้างหน้าน่าจะเร่งขึ้นจากแรงส่งของอุปสงค์ภายในประเทศ
BF Asean Corner ผ่านมาเกือบครึ่งปีแล้วสำหรับปี 2019 สำหรับเศรษฐกิจของอาเซียนในไตรมาสแรกที่ผ่านมา ยังคงมีโมเมนตัมที่สามารถเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งเศรษฐกิจของอินโดนีเซียและมาเลเซียขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่นับว่าดูดีเลยทีเดียวท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวนในขณะนี้ ขณะที่เศรษฐกิจของฟิลิปปินส์และสิงคโปร์จะขยายตัวได้น่าผิดหวังเล็กน้อย แต่ก็มีปัจจัยเฉพาะที่สามารถอธิบายได้คือ ฟิลิปปินส์เป็นผลจากความล่าช้าในการผ่านร่างนโยบายงบประมาณ สำหรับสิงคโปร์เนื่องจากเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นหลัก ก็ย่อมได้รับผลกระทบจากประเด็นกีดกันทางการค้า รวมถึงเป็นผลของฐานที่สูงของช่วงเดียวกับของปีที่ผ่านมาอีกด้วย แต่อย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจอาเซียนในไตรมาสแรกของปี สามารถทำให้เติบโตได้ดี คืออุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง ขณะที่ การบริโภคภาครัฐบาลในบางประเทศ และการลงทุนในทุกประเทศอาเซียนยังไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าที่ควร สำหรับในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจของประเทศอาเซียนน่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสแรก โดยมีปัจจัยสนับสนุน อย่างแรกคือการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ หลังการเลือกตั้งของอินโดนีเซียท่ามกลางชัยชนะของโจโควีที่ได้ก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ที่เพิ่งผ่านพ้นการเลือกตั้งกลางเทอมเมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งพรรคของรัฐบาลภายใต้การนำของดูเตอร์เต้ได้กวาดชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้ ความต่อเนื่องนโยบายของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศที่เน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานน่าจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพ ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียภายใต้การนำของมหาเธร์ ก็น่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการทบทวนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อันที่ 2 คือ การลงทุนภาคเอกชน ซึ่งความเชื่อมั่นของนักลงทุนหลังการเลือกตั้งของประเทศอาเซียนซึ่งมีเสถียรภาพ จะส่งผลให้การลงทุนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ การลงทุนภาคการก่อสร้างของสิงคโปร์ที่มีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นตัวอย่างต่อเนื่องจากการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์เพื่อดึงดูดการลงทุน อีกอันที่สำคัญคือการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายลง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งประเทศที่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วคือมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนอินโดนีเซียก็มีแนวโน้มที่จะปรับลดเช่นกัน ซึ่งการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นอีกหนึ่งแรงส่งสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านต้นทุนทางการเงินที่ลดลง […]
ปีนังอนุมัติการลงทุนในภาคการผลิตไตรมาสแรกทำสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมี
นิว สเตรทไทม์ส รายงานว่า ปีนังอนุมัติการลงทุนในภาคการผลิต 8,800 ล้านริงกิต ในไตรมาสแรกที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 768% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยมีมา สำหรับการอนุมัติลงทุนทั้งหมดนั้น 8,470 ล้านริงกิต เป็นเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ที่เข้ามาลงทุนในภาคการผลิต เพิ่มขึ้น 1,360% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 42% ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดที่มาลงทุนในมาเลเซีย โดยเงินลงทุนในภาคการผลิตหลักๆ ในปีนัง ครอบคลุมโครงการของบริษัท ไมครอน เทคโนโลยี และ จาบิล เซอร์กิต Chow Kon Yeow หัวหน้าคณะรัฐมนตรี มาเลเซีย กล่าวว่า ระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค. ปีนังอนุมัติโครงการลงทุนไปทั้งหมด 41 โครงการ มูลค่าประมาณ 8,850 ล้านริงกิต คิดเป็น 35% ของยอดอนุมัติการลงทุนในภาคการผลิตทั้งหมดของมาเลเซีย โดยคาดว่า การอนุมัติเงินลงทุนทั้งหมดในไตรมาสแรกจะช่วยสร้างงานใหม่ในมาเลเซียถึง […]
อินโดนีเซียเร่งศึกษาแนวทางเปิดให้สายการบินต่างชาติให้บริการเส้นทางบินในประเทศ
เดอะ จาการ์ตา โพสต์ รายงานว่า Budi Karya Sumadi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อินโดนีเซีย เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาข้อเสนอของนายโจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ที่แนะนำให้เชิญชวนสายการบินจากต่างชาติมาให้บริการเส้นทางบินในประเทศ เพื่อช่วยผลักดันให้ค่าตั๋วเครื่องบินลดลง “เราไม่ได้เปิดรับสายการบินต่างชาติทั้งหมดง่ายๆ อุตสาหกรรมการบินของเรายังคงมีมาตรฐานสูงอยู่ อย่างไรก็ตามเรากำลังศึกษาข้อเสนอและเราจะรายงานผลลัพธ์ของการศึกษาให้ประธานาธิบดีรับทราบก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป” รมว.คมนาคม กล่าว เขายังกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สายการบินจากต่างชาติจะมาช่วยเติมเต็มความต้องการการดำเนินการเส้นทางบินในประเทศ แต่ก่อนที่สายการบินต่างชาติจะเข้ามาได้ พวกเขาต้องปฏิบัติตามหลักการของอุตสาหกรรมสายการบิน คือ ต้องมาจัดตั้งบริษัทในอินโดนีเซียและต้องมีชาวอินโดนีเซีย ถือหุ้นในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 51% นอกจากนี้บริษัทต่างชาติยังต้องทำให้แน่ใจว่าได้มาตรฐานความปลอดภัยทางการบิน รวมทั้งผ่านแนวทางการตรวจสอบที่จัดทำโดยกระทรวงคมนาคมอินโดนีเซียด้วย
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Product Special
B-ASEAN และB-ASEANRMF
กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และ กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF) ปี 2019 นับเป็นปีแห่งการเลือกตั้งของหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็น ไทย ฟิลิปปินส์ รวมถึง “อินโดนีเซีย” ที่ผ่านพ้นการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงกลางเดือน เม.ย. และมีการประกาศผลการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ที่ผ่านมา ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า นายโจโค วิโดโด จากพรรคประชาธิปไตยแห่งการต่อสู้ของอินโดนีเซีย (Indonesian Democratic Party of Struggle) เอาชนะคู่แข่งคนสำคัญอย่าง พล.ท. ปราโบโว สุบิยันโต จากพรรคเกรินดา (Gerindra) ไปด้วยคะแนนร้อยละ 55:45 โดยที่ พล.ท. ปราโบโว ประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ด้วยยกเหตุผลที่ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่โปร่งใส และเรียกร้องให้กลุ่มผู้สนับสนุนของตนเองออกมาเดินขบวนประท้วงในกรุงจาการ์ตา ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอินโดนีเซียและตลาดค่าเงินกลับไม่ได้ตอบรับกับประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นมากนัก โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลงเล็กน้อยในช่วงแรกเริ่มของการประท้วง ก่อนที่ปรับตัวขึ้นมาใหม่ […]
GDP มาเลเซีย Q1/2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 4.5 % YoY ขณะที่ อินโดนีเซียขาดดุลการค้าในเดือน เม.ย. สูงกว่าคาด
BF Economic Research GDP มาเลเซีย Q1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ อินโดนีเซียพลิกกลับมาขาดดุลการค้าในเดือนเม.ย. 2019 ที่ -2,502 ล้านดอลลาร์ฯ สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ มาเลเซีย: GDP Q1/2019 ขยายตัวที่ 4.5% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 4.7% YoY ตามที่ตลาดคาดการณ์ เป็นผลมาจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.6% YoY ( 8.4% YoY) ประกอบกับการลงทุนที่พลิกมาหดตัวที่ -3.5% YoY จากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 0.6 % YoY โดยสาเหตุหลักมาจากการลงทุนภาครัฐที่หดตัวถึง -13.2 % YoY เนื่องมาจากการชะลอการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายภาครัฐกลับขยายตัวเร่งขึ้นที่ 6.3% […]
GDP ฟิลิปปินส์ Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 5.6% YoY
BF Economic Research GDP Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.6% YoY และชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐเป็นหลัก ขณะที่ ฟิลิปปินส์ขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค. ที่ -3,140 ล้านดอลลาร์ฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี การขาดดุลการค้าใน Q1/2019 ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ASEAN UPDATE ฟิลิปปินส์: GDP Q1/2019 ขยายตัวต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 5.6% YoY ชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 6.3% YoY เป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวชะลอลงที่ 7.4% YoY เป็นหลัก (Prev. 12.6% YoY) เนื่องจากความล่าช้าในการผ่านร่างงบประมาณประจำปี 2019 ซึ่งประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต เพิ่งลงนามเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี […]
สิงคโปร์ประกาศเน้นให้ความสำคัญรับมือโครงสร้างเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยี
เดอะ สเตรทไทม์ส รายงานว่า Heng Swee Keat รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสิงคโปร์ พบปะกับสื่อมวลชนในซานฟรานซิสโก ระหว่างร่วมฟอรั่มด้านเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา โดยในงานนี้สื่อมวลชนได้แสดงความกังวลต่อสัญญาณเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งเขาก็ตอบกลับไปว่า หากมีความจำเป็นก็จะใช้นโยบายการเงินและการคลังเพื่อจัดการ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าสำหรับเราคือการมุ่งให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักที่กำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสิงคโปร์ “เราต้องยืนหยัดให้ความสำคัญกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมและมองหาแนวทางสร้างการทำงานร่วมกัน ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ต้องผลักดันคือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม โดยเราคิดว่าต้องวางตำแหน่งสิงคโปร์เป็นเสาหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมมและองค์กรระดับโลกของเอเชีย Heng ยังกล่าวระหว่างที่เดินทางไปเยือนซิลิคอน วัลเลย์ด้วยว่า เขาพบว่าควรมุ่งความสำคัญไปที่เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการนำมาใช้เพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมและเศรษฐกิจ นอกจากนี้เขายังมองเห็นความตั้งใจของคนในซิลิคอน วัลเลย์ที่มุ่งสู่การเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดและการนำมาใช้ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ที่แตกต่างกัน และทำให้เขาพบว่า นี่เป็นสิ่งที่สิงคโปร์ต้องลงทุนทั้งเวลาและทรัพยากรเข้าไปให้มาก เขายังกล่าวด้วยว่า รัฐบาลสิงคโปร์นั้นสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเทคโนโลยีได้ไม่ยาก เพราะมีรัฐบาลเพียงชุดเดียว ทำให้การตัดสินใจอะไรเกิดขึ้นได้รวดเร็ว แต่สิ่งที่สิงคโปร์ต้องการคือการวางกฎระเบียบเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เทคโนโลยีมีช่องทางไปได้
ASEAN B-ASEAN B-ASEANRMF Economic Update
GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. ชะลอลงหลุดกรอบ BI
BF Economic Research เวียดนาม: GDP เวียดนาม Q1/2019 โตสูงกว่าคาดที่ 6.8% YoY แม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวที่ 7.1% YoY ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง อินโดนีเซีย: อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือน มี.ค. 2019 ขยายตัวชะลอลงที่ 2.48% YoY ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 2.57% YoY ต่ำกว่ากรอบที่ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ตั้งเป้าไว้ ASEAN UPDATE เวียดนาม: GDP เวียดนาม Q1/2019 ขยายตัวที่ 6.8% YoY โดยแม้ว่าจะชะลอลงจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัว 7.1% YoY แต่ก็นับว่าสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง การเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสแรกของปี เกิดจากแรงส่งสำคัญจากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้างที่ขยายตัว 8.6% YoY (Prev.8.9% YoY) ประกอบกับภาคบริการที่ขยายตัว 6.5% YoY […]