จับตาทุนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้แห่ควบรวมธนาคารในอินโดนีเซีย

จับตาทุนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้แห่ควบรวมธนาคารในอินโดนีเซีย

เดอะ จาการ์ต้าโพสต์ รายงานว่า ปีนี้จะได้เห็นกลุ่มทุนจากต่างชาติเข้ามาควบรวมกิจการกลุ่มสถาบันการเงินในอินโดนีเซียมากขึ้น โดยกลุ่มทุนหลักๆ จะมาจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ที่เริ่มเข้ามาซื้อกิจการธนาคารท้องถิ่นแล้ว ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ให้บริการในอินโดนีเซีย 115 ราย ลดลงจากปี 2015 ที่มี 118 ราย โดยจำนวนธนาคารพาณิชย์ลดลงแล้วก็จริง แต่หน่วยงานกำกับของอินโดนีเซีย ระบุว่า จำนวนที่มีอยู่ยังถือว่ามาก และจัดได้ว่ามีจำนวนธนาคารพาณิชย์มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งการที่จำนวนธนาคารพาณิชย์มีมาก ทำให้เกิดความยากลำบากต่อหน่วยงานกำกับ ที่จะส่งผ่านนโยบายต่างๆ มาจากระบบธนาคารพาณิชย์ของประเทศ และปัจจุบันความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกมีมากขึ้น เช่น ตลาดการเงินโลกที่คาดเดาได้ยากขึ้น ดังนั้นเพื่อเร่งการรวมธนาคาร หน่วยงานกำกับสถาบันการเงินของอินโดนีเซียจึงอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นในธนาคารท้องถิ่นของอินโดนีเซียได้มากกว่า 40% ทั้งนี้ ยักษ์ใหญ่ด้านบริการการเงินในญี่ปุ่น มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป พยายามเข้ามาหาโอกาสในอินโดนีเซียในการก่อตั้งบริษัทย่อย MUFG ในอินโดนีเซีย มีเป้าหมาย เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารปล่อยกู้ภาคเอกชนอินโดนีเซีย Danamon เป็นมากกว่า 73.8% เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจที่อินโดนีเซีย โดย Yasushi Itagaki ผู้อำนวยการ กลยุท์โลก […]

สิงคโปร์พบ 2 เดือนยอดทดลองให้บริการเรียกรถบัสจอดตามป้ายที่ต้องการคึกคัก

สิงคโปร์พบ 2 เดือนยอดทดลองให้บริการเรียกรถบัสจอดตามป้ายที่ต้องการคึกคัก

เดอะสเตรทไทม์ส รายงานว่า กรมการขนส่งทางบกของสิงคโปร์ เปิดเผยรายงานผลการทดลองให้บริการรถบัสสาธารณะตามความต้องการ หรือ ออน-ดีมานด์ พับบลิก บัส เซอร์วิส ในช่วงทดลอง 6 เดือน พบว่า มียอดการใช้บริการ 6,000 ครั้ง ในช่วง 2 เดือนแรกของการทดลอง การทดลองนี้เริ่มต้นตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2018 มีกำหนดสิ้นสุดวันที่ 15 มิ.ย. 2019 โดยจะอนุญาตให้ผู้ใช้บริการเรียกให้รถบัสมารับและส่งในสถานีรถบัสใดๆ ก็ได้ในย่าน Joo Koon และ Marina Downtown เมื่อดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ 2 แอป ได้แก่ BusNow ซึ่งเป็นแอปที่พัฒนาโดยหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคมในประเทศ ซึ่งเปิดให้จองการเดินทางในย่าน Marina Downtown โดยมีผู้ดาวน์โหลดแอปไปใช้งานแล้วรวม 11,000 ครั้ง โดยความสามารถของแอปนี้ยังใช้จองรถบัสในช่วงเวลาที่ดึกมากๆ ระหว่างย่านธุรกิจใจกลางเมือง กับเมือง Bedok และ […]

ผลสำรวจพบนักศึกษาจบใหม่ในสิงคโปร์ได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น สาขาไอทีเด่นสุด

ผลสำรวจพบนักศึกษาจบใหม่ในสิงคโปร์ได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น สาขาไอทีเด่นสุด

เดอะสเตรทไทม์ส รายงานว่า มหาวิทยาลัยที่มีโปรแกรมการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ 4 แห่งในสิงคโปร์ ได้ร่วมกันจัดทำผลสำรวจนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่จำนวน 11,200 คน เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งจากผลสำรวจ พบว่า นักศึกษาจบใหม่ในประเทศสิงคโปร์ปี 2018 หารายได้ได้สูงกว่าอัตราเงินเดือนขั้นต้น โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่เรียนจบสาขาไอที ที่จะได้อัตราค่าจ้างสูง ทั้งนี้ ผลสำรวจนักศึกษาจบใหม่ที่ได้รับการจ้างงาน พบว่า ค่าเฉลี่ยของเงินเดือนในปี 2018 อยู่ที่ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยในปี 2017 ซึ่งอยู่ที่ 3,400 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกัน ผลสำรวจยังระบุว่า 81.2% ของนักศึกษาจบใหม่ส่วนใหญ่ได้รับการว่าจ้างเป็นพนักงานประจำ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นจาก 78.4% ในปี 2017 ส่วนนักศึกษาที่ทำงานเป็นฟรีแลนซ์มีสัดส่วนลดลงมาอยู่ที่ 1.8% ในปี 2018 จาก 2.4% ในปีก่อนหน้า

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียน (B-ASEAN) และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นอาเซียนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-ASEANRMF)

สรุปภาวะตลาดหุ้นอาเซียนในช่วงเดือน ธ.ค. 2018 ดัชนี MSCI AC ASEAN Index ในเดือน ธ.ค. ยังคงปรับลดลงต่อเนื่องอีก 3.8% ส่งผลให้ทั้งปี 2018 ตลาดหุ้นอาเซียนปรับตัวลง 11% โดยได้รับปัจจัยกดดันจากภายนอกมากกว่าปัจจัยภายในภูมิภาค ปัจจัยหลักคือการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) รวมถึงยังมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่ยืดเยื้อและยังไม่ได้ข้อสรุปของการเจรจาซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ขณะที่เม็ดเงินลงทุนต่างชาติในตลาดอาเซียนไหลออกอย่างต่อเนื่องทั้งปี ยกเว้นเวียดนามเท่านั้นที่มีกระแสเงินทุนไหลเข้า อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นอาเซียนนับว่าปรับตัวลดลงน้อยกว่าเอเชียที่ในปี 2018 ดัชนี MSCI AC Asia ex-Japan ปรับตัวลง 16% ด้วยความที่ประเทศกลุ่มอาเซียนได้รับผลกระทบของปัญหาสงครามการค้าอย่างค่อนข้างจำกัด และบางประเทศ เช่น เวียดนาม กลับกลายเป็นได้รับประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต ประกอบกับราคาหุ้นที่ระดับมูลค่าปรับลดลงมาจนใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีต ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เป็นตลาดที่ปรับลงมากสุดใน 2018 ด้วยเหตุจากราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อการนำเข้าและทำให้บัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากขึ้นและอัตราเงินเฟ้อพุ่งทะยานขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังค่าเงินของประเทศที่อ่อนค่าลงเรื่อยๆ ทำให้ธนาคารกลางของฟิลิปปินส์ต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อพยุงค่าเงินและต่อสู้กับเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ต้นปี 2019 ตลาดหุ้นอาเซียนกลับมามีผลตอบแทนเป็นบวกอีกครั้ง ด้วยปัจจัยที่คอยกดดันตลาดหุ้นอาเซียนในปี 2018 […]

พัฒนาการขนส่งทางอากาศ เพิ่มโอกาสท่องเที่ยวอาเซียน

พัฒนาการขนส่งทางอากาศ เพิ่มโอกาสท่องเที่ยวอาเซียน

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ ก่อนหน้านี้เราเล่าเรื่องราวการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน ทางบกไปแล้ว นั่นคือการพัฒนาถนนและจำนวนยานพาหนะที่เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาดีขึ้น ในครั้งนี้ เราจะมาเล่ากันต่อถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอีกอย่างของประเทศ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเดินทางทางอากาศ เพราะหากประเทศพัฒนาด้านนี้ได้ดีแค่ไหน จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้การท่องเที่ยวของประเทศขยายตัวดีขึ้นเท่านั้น จากรายงานจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างประเทศผ่านทางอากาศครอบคลุมผู้โดยสารที่มาต่อเครื่องบินด้วย ของ 10 ประเทศในอาเซียน พบว่า มีอัตราการเติบโตรวดเร็ว โดยเมื่อปี 2004 ประเทศทั้งหมดในอาเซียนมีจำนวนผู้เดินทางระหว่างประเทศผ่านทางอากาศ 92.4 ล้านคน ก็เติบโตก้าวกระโดดขึ้นเป็น 288.8 ล้านคนในปี 2017 เรียกว่าขยับขึ้นมา 3 เท่าตัวทีเดียว เป็นที่น่าดีใจสำหรับตัวเลขด้านนี้ เพราะไทย ครองแชมป์ อันดับ 1 ของประเทศในอาเซียนที่มีผู้เดินทางระหว่างประเทศผ่านทางอากาศมากที่สุด โดยตัวเลขปี 2017 อยู่ที่ 78.3 ล้านคน ตามด้วย สิงคโปร์ 61.6 ล้านคน มาเลเซีย 49.8 ล้านคน และอินโดนีเซีย 31.6 ล้านคน […]

อินโดนีเซียได้ประโยชน์จากสงครามการค้าสหรัฐและจีน

อินโดนีเซียได้ประโยชน์จากสงครามการค้าสหรัฐและจีน

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย ออกมาให้ความเห็นว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน เปิดโอกาสใหม่ๆ ให้อินโดนีเซีย ทั้งนี้ อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภูมิภาคนี้มีหลายประเทศได้ประโยชน์จากสงครามการค้าที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก โดยผู้เชี่ยวชาญ ระบุว่า ความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกจะเป็นแรงผลักดันให้บริษัทต่างๆ เร่งแผนที่จะเคลื่อนย้ายฐานห่วงโซ่อุปทานของตัวเองในจีนไปยังประเทศอื่น เช่น เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย Airlangga Hartarto รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย บอกกับซีเอ็นบีซี ในระหว่างร่วมเวทีสัมมนาของสภาเศรษฐกิจโลกว่า อินโดนีเซียเริ่มเห็นการเคลื่อนย้ายห่วงโซ่อุปทานมาแล้ว พร้อมระบุว่า จำนวนบริษัทที่ผลิตสิ่งทอและรองเท้าเริ่มมองหาโอกาสในการเคลื่อนย้ายฐานผลิตจากจีนมายังอินโดนีเซีย ขณะที่ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังส่งออกเหล็กให้สหรัฐได้มากขึ้น หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐได้ขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมเมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา จากข้อมูลการค้าของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย พบว่า ในเดือน ม.ค. – พ.ย. 2018 การส่งออกเหล็กของอินโดนีเซียไปสหรัฐเพิ่มขึ้น 8.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในช่วงเวลาเดียวกัน ยอดรวมการส่งออกไปยังสหรัฐเติบโต 3%    

10 ปีกว่าผ่านไปถนนอาเซียนยาวขึ้นแค่ไหน?

10 ปีกว่าผ่านไปถนนอาเซียนยาวขึ้นแค่ไหน?

By…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ อาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เศรษฐกิจเติบโตสูง มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่อง จึงไม่น่าแปลกใจที่ประชาคมโลกจะสนใจภูมิภาคนี้มาก โดยเฉพาะการเข้ามาลงทุนคว้าโอกาสธุรกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียนจะมีมากเพียงใด วันนี้เรามีคำตอบที่จะทำให้ทุกคนเห็นภาพชัดขึ้น ผ่านเรื่องราวของถนนอาเซียน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ได้รวบรวมข้อมูลการพัฒนาด้านการขนส่ง การท่องเที่ยว และการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียนไว้ ผ่านรายงาน ASEAN Key Figures 2018 โดยชี้ว่า การพัฒนาด้านการขนส่ง การท่องเที่ยว และการสื่อสารในภูมิภาคนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค โดยผู้คนและสถานที่ต่างเชื่อมโยงกันด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่จับต้องได้ รวมถึงการท่องเที่ยว และการใช้ดิิจิทัลเพิ่มขึ้น ความยาวของถนนและจำนวนยานพาหนะโดยรวมในอาเซียนนั้น เป็นตัวเลขที่ทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นว่าอาเซียนพัฒนาไปถึงไหนแล้ว โดยความยาวถนนของทั้งอาเซียนในปี 2017 อยู่ที่ 1.8 ล้านกิโลเมตร เพิ่มขึ้น 48.1% เมื่อเทียบกับปี 2006 หรือ 11 ปีก่อน ประเทศที่มีถนนระยะทางยาวที่สุดในอาเซียน คือ อินโดนีเซีย ถนนความยาวรวม 539,415 กิโลเมตร ตามด้วย เวียดนาม 370,664 […]

สิงคโปร์เผยงบประมาณปี 2019 ให้ความสำคัญด้านการศึกษา สุขภาพ และการป้องกันประเทศ

สิงคโปร์เผยงบประมาณปี 2019 ให้ความสำคัญด้านการศึกษา สุขภาพ และการป้องกันประเทศ

เดอะ สเตรทไทม์ รายงานว่า Heng Swee Keat รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สิงคโปร์ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2019 ที่จะถึงนี้ (1 เม.ย. 2019-31 มี.ค. 2020) สิงคโปร์จะให้น้ำหนักกับด้านการศึกษาและสุขภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับด้านการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ Heng กล่าวว่า เขาจะจัดส่งงบประมาณวันที่ 18 ก.พ. นี้ โดยในงบประมาณนี้จะมุ่งเน้นช่วยคนสิงคโปร์เผชิญการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญๆ ในเศรษฐกิจโลกและใช้ประโยชน์จากโอกาส โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี เขา กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังงานอีเวนท์หนึ่งเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า ในงบประมาณปี 2019 สิงคโปร์มุ่งจัดหาบริการด้านสุขภาพและการศึกษาที่ดี โดยจะให้ความสำคัญด้านนี้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการเพิ่มด้านการรักษาความปลอดภัยและป้องกันประเทศให้ดีขึ้น และแน่นอนที่สุดยังต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสิงคโปร์ด้วย “ความต้องการที่จะทำมีเยอะมาก เช่น โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ทั้งเส้นทางรถไฟฟ้า MRT สนามบิน รวมถึงการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวสูงโดยรัฐบาล (HDB flats) ตลอดจนการดูแลผู้สูงอายุ และคนสิงคโปร์โดยรวม หลักๆ แล้ว เราจะให้ความสำคัญกับการทำให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ยังแข่งขันได้ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว […]

ASEAN UPDATE : อินโดนีเชียขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค.ชะลอลง ขณะที่การส่งออกสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวลงสูงสุดในรอบ 2 ปี

ASEAN UPDATE : อินโดนีเชียขาดดุลการค้าในเดือน ธ.ค.ชะลอลง ขณะที่การส่งออกสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวลงสูงสุดในรอบ 2 ปี

BF Economic Research อินโดนีเซีย: ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ต. ชะลอลงเหลือ 1.1 พันล้านดอลลาร์ฯ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์เป็นผลมาจากการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลง ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6.0% ในการประชุมวันนี้ (17 ม.ค.) สิงคโปร์ : การส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมัน (NODX) ของสิงคโปร์เดือน ธ.ค. หดตัวต่อเนื่องที่ -8.5 % YoY จากที่หดตัว -2.8% YoY ในเดือนที่ผ่านมา อินโดนีเซีย: ขาดดุลการค้าในเดือนธ.ค. ลดลงเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์ ฯ ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ที่ 1.115 พันล้านดอลลาร์ฯโดยชะลอลงจากเดือนที่ผ่านซึ่งขาดดุลที่  2.05 พันล้านดอลลาร์ฯ  โดยแม้ว่าการส่งออกจะหดตัวลงที่ -4.6% YoY  (vs. Consensus 1.0% YoY ) แต่การนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงที่ […]

มาเลเซียและไทยควงคู่ติด 10 อันดับประเทศที่ดีที่สุดสำหรับคนเกษียณอายุ

มาเลเซียและไทยควงคู่ติด 10 อันดับประเทศที่ดีที่สุดสำหรับคนเกษียณอายุ

สภาเศรษฐกิจโลก เผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.weforum.org โดยนำข้อมูลที่อินเตอร์เนชั่นแนล ลีฟวิ่ง แมกกาซีน ที่ได้จัดทำดัชนีคนเกษียณอายุทั่วโลก มีการรวบรวมอันดับประเทศที่ดีที่สุดสำหรับคนเกษียณอายุทั่วโลกในปีนี้ โดยพิจารณาจากปัจจัยประกอบที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต ทั้งสถานที่ สภาพภูมิอากาศ ไลฟ์สไตล์ของคนในท้องถิ่น ต้นทุนการใช้ชีวิต บริการด้านสุขภาพ วีซ่า ข้อกำหนดเรื่องการอยู่อาศัย และความง่ายสำหรับคนใหม่ๆ ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ที่ไปด้วย สำหรับ 10 อันดับแรกของประเทศที่ดีที่สุดสำหรับคนเกษียณอายุนั้น ปรากฎว่ามีประเทศในอาเซียนติดอันดับด้วยกันถึง 2 ประเทศ คือ มาเลเซีย และไทย โดย  10 อันดับ ได้แก่ 1.ปานามา 2.คอสตา ริกา 3.เม็กซิโก 4.เอกวาดอร์ 5.มาเลเซีย 6.โคลัมเบีย 7.โปรตุเกส 8.เปรู 9.ไทย และ 10.สเปน ภาพรวมข้อมูลที่ออกมา พบว่า ประเทศที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ดั้งเดิมอย่างเม็กซิโก และคอสตา ริกา ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ ซึ่งมีเหตุผลมาจากเรื่องการเข้าถึงประเทศ […]