พันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ไต่ขึ้นระดับสูงสุด ตั้งแต่ไวรัสระบาด
โดย…ทนง ขันทอง เมื่อวันจันทร์ (29 มี.ค.) ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทน หรือยิลด์ของพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลสหรัฐฯ สูงขึ้นไปแตะเหนือระดับ 1.76% ซึ่งถือว่าเป็นระดับสูงสุด นับตั้งแต่เดือน ม.ค. 2020 ยิลด์ที่สูงขึ้นเกิดจากการขายพันธบัตรของนักลงทุน ในขณะที่กำลังชั่งใจดูว่า โครงการฉีดวัคซีนของสหรัฐฯ จะสามารถบริหารจัดการให้ทั่วถึงเพียงใด รวมทั้งประเมินว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใด The Financial Times รายงานว่า การขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นตัวนำการขายตลาดพันธบัตรโลก เนื่องจากนักลงทุนเกรงว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปล่อยให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างร้อนแรง ผ่านนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และนโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลโดยยังไม่คิดที่จะสกัดเงินเฟ้อ ดัชนีของ Bloomberg Barclays ที่เกาะติดพันธบัตรของรัฐบาลของประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลกได้ลดลง 5% ในแง่ของผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี 2020 นี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ให้คำมั่นว่า ภายในกลางเดือนเม.ย. คนอเมริกันจำนวน 90% […]
เศรษฐกิจจีนจะเป็นผู้นำการฟื้นตัวของเอเชีย
โดย…ทนง ขันทอง รายงานล่าสุดของธนาคารโลก (East Asia and Pacific Economic Update, 26 มีนาคม 2021) ระบุว่า เศรษฐกิจของจีน ซึ่งจะมีอัตราการเจริญเติบโต 8.1% ในปี 2021 นี้จะช่วยผลักดันให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกลับมาขยายตัว 7.4% แม้ว่าหลายๆ ประเทศยังคงมีอุปสรรคการฟื้นตัวจากปัญหาของไวรัสโคโรนา จีนและเวียดนามเป็น 2 ประเทศที่โดดเด่นที่สุดในเรื่องการบริหารจัดการปัญหาไวรัส ทำให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ โดยจีนจะมีอัตราการเติบโต 8.1% ในปีนี้ เทียบกับ 2.3% ในปี 2020 ส่วนเวียดนามจะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 6.6% ในปีนี้เทียบกับ 2.9% ในปีที่ผ่านมา ธนาคารโลก กล่าวในรายงานว่า ความท้าทายทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศมีความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาไวรัสโคโรนาอย่างไร มีความสามารถที่จะฉกฉวยโอกาสของการฟื้นตัวของการค้าระหว่างประเทศมากน้อยเพียงใด และท้ายที่สุดรัฐบาลมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงใด ทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินในการดูแลเศรษฐกิจให้กลับมามีการขยายตัวตามศักยภาพที่แท้จริง สำหรับประเทศไทย ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัว 3.4% เทียบกับการหดตัว […]
เงินคริปโตกับความเสี่ยงของการถูกลงดาบ
โดย…ทนง ขันทอง มีบุคคลที่สำคัญ 2 คนออกมาแสดงความเห็นในเชิงลบกับเงินคริปโตที่กำลังบูมมากในตลาด ซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันมากขึ้นว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุน คนแรกคือนาย Agustin Carstens ผู้จัดการทั่วไปของ Bank for International Settlements ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเป็นที่รู้กันว่าเป็นธนาคารกลางของธนาคารกลางทั่วโลก อีกคนหนึ่งคือนาย Ray Dalio ผู้ก่อตั้ง Bridgewater Associates ซึ่งเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยทรัพย์สินภายใต้การบริหาร 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นาย Carstens มองว่า เงินคริปโตถูกใช้เพื่อเลี่ยงกฎหมาย และสมควรที่จะต้องถูกควบคุมให้อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น เขา บอกว่า เงินคริปโตถูกใช้เพื่อการอาร์บิทราจ หรือการเลี่ยงกฎหมาย ในขณะที่กฎหมายป้องกันการฟอกเงิน และกฎหมายที่สกัดการไฟแนนซ์การก่อการร้ายไม่ได้อยู่ในสารบบของเงินไซเบอร์ บิตคอยน์ ซึ่งเป็นคริปโตหลักของตลาดคริปโตทำราคาสูงขึ้น 80% ตั้งแต่ช่วงต้นปี แต่เมื่อเทียบกับระดับสูงสุดที่ทำเอาไว้ที่ 61,000 ดอลลาร์สหรัฐ บิตคอยน์อ่อนค่าลงไปแล้วประมาณ 12% ท่ามกลางความผันผวน และการเก็งกำไรอย่างเข้มข้น Carstens […]
Mohamed El-Erian: นักลงทุนต้องแอคทีฟ
โดย…ทนง ขันทอง นาย Mohamed El-Erian นักยุทธศาสตร์แมคโครที่มีชื่อเสียงระดับโลกได้ออกมากล่าวว่า ได้เวลาที่นักลงทุนต้องแอคทีฟแล้ว เนื่องจากนโยบายของเฟดในปัจจุบันที่ต้องการกดดอกเบี้ยต่ำไปจนถึงตลอดทั้งปี 2023 เขาให้สัมภาษณ์ในรายการ Yahoo Finance ว่า เรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้นักลงทุนทุกคนต้องมีการบริหารจัดการแบบแอคทีฟ โดยสร้างพอร์ตการลงทุนจากล่างขึ้นไปข้างบน ในปัจจุบัน El-Erian ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีของ Queens’ College มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ของอังกฤษ และเป็นที่ปรึกษาให้กับ Allianz เขากล่าวว่า เราได้อยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ โดยที่เศรษฐกิจต้องต่อสู้อย่างสมบุกสมบัน แต่ในขณะเดียวกัน เราทำเงินได้ ทั้งจากทรัพย์สินเสี่ยงและทรัพย์สินที่ไม่มีความเสี่ยง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ในขณะที่โควิดระบาดหนักแต่สถานการณ์ตอนนี้ได้กลับข้าง แม้ว่า มีตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวดูดีขึ้น แต่ความผันผวนของทรัพย์สินเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น El-Erian บอกว่า มี 3 ปัจจัยที่นักลงทุนต้องถามตัวเอง 1. เฟดจะเสียการคอนโทรลตลาดบอนด์หรือไม่2. แล้วมันจะเปลี่ยนจิตวิทยาของตลาดหรือไม่3. มันจะมีผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจหรือไม่ El-Erian ให้ความเห็นว่า เฟดมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียการคอนโทรลตลาดบอนด์ ประการที่สอง มันจะมีผลเปลี่ยนโครงสร้างของสภาพคล่อง แต่ประการที่สาม มันจะไม่ทำร้ายเศรษฐกิจ ท้ายที่สุด […]
เมื่อเป้าหมายเงินเฟ้อไม่ได้เป็นเป้าหมายต่อไป
โดย…ทนง ขันทอง หน้าที่หลักของธนาคารกลางคือดูแลเสถียรภาพของราคา โดยมีเป้าหมายของเงินเฟ้อเป็นกรอบอยู่ในใจ หรืออาจจะประกาศออกมาเป็นนโยบายที่เป็นทางการก็ได้ ว่าจะให้เงินเฟ้อเคลื่อนไหวอยู่ในระดับใดถึงจะเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% โดยจะดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลเงินเฟ้อไม่ให้หลุดกรอบนี้ ตัวเลขเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ยกมาจากไหนไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มันดูเหมือนว่ามันเป็นภาระที่ศักดิ์สิทธิ์ของเฟด และธนาคารกลางอื่นๆ ที่ร่วมขบวนในการที่จะต้องปกป้องเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ให้ได้ ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังวิกฤติปี 2008 เงินเฟ้อไม่ได้เป็นปัญหา เพราะว่าเศรษฐกิจตกต่ำ แต่มีปัญหาเงินฝืดมากกว่า แม้ว่าจะมีการกดดอกเบี้ยลงระดับ 0% และทำคิวอีเพื่ออัดสภาพคล่องอย่างมโหฬารเข้าไปในระบบการเงินผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ของเอกชนเพื่อปั๊มเศรษฐกิจและดูแลระบบการเงิน เงินเฟ้อก็ไม่มา อย่างน้อยตามตัวเลขของทางการ เมื่อเงินเฟ้อไม่เป็นภัย หรือไปไม่ถึง 2% เฟดจึงถือโอกาสกดดอกเบี้ยต่ำเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินพอดี ซึ่งเกื้อหนุนตลาดหุ้น และสินทรัพย์เสี่ยงเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะค่อยๆ ปล่อยให้ดอกเบี้ยปรับอัตราสูงขึ้น รวมท้ังลดปริมาณการทำคิวอีลง แต่พอเกิดการระบาดของโควิด-19 เฟดรีบเร่งกลับมาใช้นโยบายดอกเบี้ย 0% อีกคร้ังตั้งแต่เดือนมี.ค. ปีที่แล้ว พร้อมกับคิวอี จนในขณะนี้พิมพ์เงินเข้าระบบในอัตรา 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (พันธบัตรรัฐบาล 80,000 […]
BlackRock ยังคง ‘bullish’ กับหุ้น
โดย…ทนง ขันทอง ตลาดหุ้น S&P 500 กำลังไต่เพดานเพื่อสร้างสถิติใหม่ หลังจากที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า 70% ตั้งแต่วิกฤติโควิดเริ่มต้น โควิดยังไม่จบ และคนยังไม่กลับไปทำงานตามปกติ แต่ BlackRock ซึ่งบริหารทรัพย์สินมากกว่า 8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังคงมีความเชื่อมั่นในตลาดหุ้น แม้ว่านักลงทุนส่วนมากเริ่มกังวลใจกับภาวะเงินเฟ้อ ยาฮูไฟแนนซ์ รายงานว่า BlackRock ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นของสหรัฐฯ และมีมุมมองที่ก้าวข้ามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมีความเห็นว่าโควิดที่สร้างแรงช็อคไปทั่วโลกเป็นจุดสตาร์ทใหม่ ไม่ใช่เป็นการฟื้นตัวของวงจรธุรกิจเหมือนที่เคยเห็นมาในอดีต จากแง่มุมนี้ BlackRock ได้ลงทุนเพิ่มในทรัพย์สินที่ขึ้นลงตามวงจร และมีลีลาการลงทุนที่พร้อมรับความเสี่ยงในระยะ 6 ถึง 12 เดือนข้างหน้า ความเสี่ยงที่พร้อมจะลงทุนไม่เพียงแต่หุ้นที่มีขนาดใหญ่ในตลาดหุ้น S&P 500 เท่านั้น แต่ BlackRock ระบุว่าให้ความสนใจในหุ้นขนาดเล็กที่ขยายไปมากกว่าหุ้นของบริษัทที่ไม่จดทะเบียน และเครดิตของบริษัท นอกจากนี้ BlackRock ยังเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นของตลาดเกิดใหม่ โดยบอกว่าการเทขายหุ้นของตลาดเกิดใหม่เมื่อเร็วๆ นี้เป็นโอกาสที่จะเข้าไปซื้อของถูก BlackRock มีเหตุผล 3 ประการของมุมมองการลงทุนในช่วงจังหวะเวลานี้ […]
ยังคงมีข้อกังขากับเงินคริปโต
โดย…ทนง ขันทอง ราคาของบิตคอยน์ร่วงลงมาอยู่ที่ 54,548 ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากทำระดับพีคที่ 61,683 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา บิตคอยน์เคยลงไปต่ำระดับ 4,981 ดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นความผันผวนของราคาอย่างรุนแรง ล่าสุด ธนาคารสิงคโปร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารโอซีบีซีของสิงคโปร์ ได้มีรายงานว่า เงินคริปโตมีโอกาสที่จะมาแทนทองคำในแง่ของการเป็นที่รักษาค่า (store of value) แต่กว่าจะถึงจุดนั้น เงินคริปโตต้องก้าวข้ามความผันผวนในเรื่องราคา การยอมรับของทางการในเรื่องกฎเกณฑ์ และความเสี่ยงด้านชื่อเสียง ที่สำคัญ นักลงทุนต้องการสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ ที่สามารถเก็บรักษาเงินคริปโตได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ สภาพคล่องจำต้องเพิ่มอย่างมากเพื่อลดความผันผวนของราคาลงสู่ระดับที่บริหารจัดการได้ ราคาที่สูงขึ้นของบิตคอยน์ และเงินคริปโตในช่วงระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้นักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนสถาบันเริ่มให้ความสนใจในเงินคริปโตมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะบิตคอยน์ที่มีขนาดมาร์เก็ตแคปมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แต่สัญญาณที่ไม่ชัดเจนจากทางการไม่ว่าจะเป็น เจเน็ต เยลเลน รมว.คลังสหรัฐฯ ที่ออกมาเตือนว่าบิตคอยน์มีความผันผวน ไม่เหมาะสำหรับทำธุรกรรม และอาจถูกใช้ในการฟอกเงินก็ได้ หรืออินเดียที่กำลังพิจารณาออกกฎหมายเพื่อแบนการถือครอง […]
เฟดไม่กลัวเงินเฟ้อ แต่ตลาดอาจไม่คิดอย่างนั้น
โดย…ทนง ขันทอง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุด 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐของอังเคิลแซมได้สร้างความกังวลใจให้กับนักลงทุนมากพอสมควร เนื่องจากว่ายังไม่มีใครรู้ว่าเมื่อไหร่รัฐบาลจะหยุดแจกเฮลิคอปเตอร์มันนี่ให้ประชาชนคนอเมริกันได้ เพราะว่ามันเหมือนยาเสพติด เสพแล้วหยุดยาก ที่สำคัญ เงินที่แจกเป็นเงินอนาคตที่รัฐบาลต้องกู้หนี้มาใช้ก่อน เมื่อมีการสร้างหนี้สูงๆ พิมพ์เงินออกมามากแทบไม่จำกัดจะทำให้เกิดความคาดหมายของเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ดูเหมือนว่า เจอโรม พาวเวลล์ ประธาน ธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือเฟด ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นกับเงินเฟ้อแต่ประการใด เพราะว่าเอาใจไปจดจ่อที่ตัวเลขการจ้างงาน และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่า เงินเฟ้อแม้จะสูงขึ้นไปบ้าง ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับนโยบายการเงินที่กำหนดดอกเบี้ยเฟดที่ 0% แต่อย่างใด ไม่ต้องห่วงอะไรมาก เป้าหมายของเงินเฟ้อ 2% ยังคงติดที่หน้าปากประตูทางเดินเข้าตึกที่ทำงานของเฟด เฟดจะมีการประชุมในกลางสัปดาห์นี้ และตลาดคาดการณ์ว่า นายพาวเวลล์จะไม่เปลี่ยนท่าทีแต่ประการใดในการยืนยันที่จะดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำติดดินต่อไป เพื่อที่จะช่วยประคองการจ้างงาน ขณะที่มีอัตราว่างงาน 6.2% เทียบกับ 3.5% เมื่อช่วงก่อนโควิดระบาด กระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ รายงานว่า เงินเฟ้อในเดือน ก.พ. ไต่ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.7% จาก 1.4% ก่อนหน้านั้น แต่นักลงทุนส่วนมากไม่ค่อยจะเชื่อตัวเลขเงินเฟ้อของทางการเท่าใด เพราะว่าค่าครองชีพที่เป็นจริงมันสูงขึ้นมาก เกรงว่าการใช้จ่ายที่สูงของภาครัฐ […]
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจผูกติดกับแคมเปญวัคซีน
โดย…ทนง ขันทอง หน่วยงานโออีซีดี (Organization for Economic Co-operation and Development) ได้ออกมาตอกย้ำชัดเจนว่า เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวเร็ว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการแจกจ่ายหรือการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาว่าแพร่หลายหรือมากน้อยเพียงใด ในขณะที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกากำลังดำเนินมาตรการทางด้านการคลังด้วยแพคเกจขนาดใหญ่ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย Laurence Boone หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของโออีซีดี บอกว่า ถ้าไม่มีการวัคซีนรวดเร็วพอ อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงว่างบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจอาจจะไม่ได้ผลตามความคาดหมาย ซึ่งหมายถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมจะชะลอลง อย่างไรก็ดี โออีซีดี คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัวด้วยอัตราเติบโต 5.6% ในปีนี้ และ 4.0% ในปี 2022 แต่คำถามของประชาชนส่วนใหญ่ที่ยังไม่มีคำตอบจากทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้งผู้นำของประเทศต่างๆ ที่ชัดเจนว่า หลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว โอกาสของความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไวรัส หรือติดเชื้อไวรัสมีมากน้อยเพียงใด ที่สำคัญเมื่อไหร่ ชีวิตจะได้กลับสู่ภาวะปกติเสียที โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือไม่ต้องใส่หน้ากากกันเชื้อโรค หน่วยงาน US Centers for Disease […]
HSBC เดินหน้าปรับแผนธุรกิจการเงินอิงความยั่งยืน
โดย…ทนง ขันทอง ธนาคาร HSBC มีแผนยกเลิกการให้กู้ธุรกิจถ่านหินสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วในปี 2030 และประเทศกำลังพัฒนาในปี 2040 โดยปรับแผนการปล่อยกู้ตามแรงกดดันของนักลงทุนและผู้จัดการกองทุนที่ต้องการให้ธนาคารต่างๆ มีจุดยืนที่เข้มงวดกับการปล่อยกู้ให้กับเชื้อเพลิงฟอสซิล รอยเตอร์ส รายงานว่า ก่อนหน้านี้ผู้จัดการกองทุนที่บริหารสินทรัพย์รวมกันกว่า 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ร่วมกันลงนามเรียกร้องให้ธนาคาร HSBC แสดงจุดยืนที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในการให้บริการทางการเงินที่สนับสนุนความยั่งยืน เชื่อว่า ในตอนนี้น่าที่จะมีการพูดคุยกันรู้เรื่องแล้วระหว่างธนาคารกับนักลงทุน HSBC จะตั้งเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาวที่จะปรับการปล่อยกู้เงินให้กับธุรกิจที่มีเป้าหมายสอดคล้องกับข้อตกลงของปารีส (Paris agreement) ที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน นอกจากจะมีเป้าหมายลดการปล่อยกู้ให้ธุรกิจที่ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลแล้ว HSBC ยังจะมีการให้กำลังใจลูกค้าให้ลดการล่อยก๊าซคอร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น และมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมของโลก แรงกดดันต่อ HSBC และสถาบันการเงินอื่นๆ ให้ทำธุรกิจการธนาคารให้สอดคล้องกับความยั่งยืน กระทำในนามของกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า ShareAction ที่ได้ตกลงที่จะถอนวาระที่จะให้มีการโหวตในการประชุมผู้ถือหุ้นของ HSBC ในวันที่ 28 พ.ค. ที่จะถึงนี้ ในทางกลับกัน HSBC ตกลงที่จะยื่นเป้าหมายหรือจุดยืนของตัวเอง โดยได้รับการสนับสนุนจาก ShareAction ซึ่งประกอบด้วยผู้จัดการกองทุนใหญ่ 15 […]