ค่าพีอี หรือ P/E ratio (ตอนจบ)
การพิจารณาว่าหุ้นราคาถูกหรือแพงโดยดูที่ราคาหุ้นอาจไม่เพียงพอ ตัวอย่าง หุ้นธนาคาร X ราคา 220 บาท หุ้นธนาคาร Y ราคา 200 บาท ดูเหมือนธนาคาร X จะมีราคาแพงกว่า การใช้ค่า P/E จะทำให้เปรียบเทียบได้ดีกว่า หากธนาคาร X มีกำไรต่อหุ้น 22 บาท ส่วนธนาคาร Y เป็น 15 บาท ดังนั้นค่า P/E ของธนาคาร X เท่ากับ 10 ธนาคาร Y เท่ากับ 13.3 แสดงให้เห็นว่ราคาหุ้นธนาคาร X ถูกว่า การเปรียบเทียบค่า P/E ระหว่างหุ้น ต้องดูปัจจัยอื่นประกอบด้วย การเปรียบเทียบ ค่า P/E ระหว่างหุ้นในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่แตกต่างกันอาจไม่เหมาะสม เช่น […]
ค่าพีอี (P/E ratio) ตอนที่ 1
P/E เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่คำนวนจาก ราคาตลาดของหุ้น (Price) เทียบกับกำไรต่อหุ้น (Earning per share) มีหน่วยเป็นเท่า แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าน่าลงทุนของหุ้นบริษัทนั้น ตัวอย่าง หุ้นราคา 30 บาท กำไรต่อหุ้น 2 บาท ได้ค่า P/E 15 เท่า แปลว่าราคาหุ้นมีมูลค่าเป็น 15 เท่าของกำไร ถ้าให้ความหมายกันอย่างตรงๆ คงแปลได้ว่า เราลงทุนในบริษัทนี้จะใช้เวลาถึง 15 ปี จึงได้ทุนคืนจากผลกำไร (โดยสมมุติว่ากำไรทั้งหมดถูกจ่ายเป็นเงินปันผลให้นักลงทุน) P/E คำนวนได้ทั้งแบบย้อนหลังหรือมองไปข้าง · Trailing P/E ใช้กำไรปัจจุบันคือกำไรต่อหุ้นของสี่ไตรมาสที่ผ่านมา เป็นการคิดแบบ conservative ใช้กำไรจริงที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน · Forward P/E ใช้กำไรที่คาดว่าบริษัทจะทำได้ใน 12 เดือนข้างมาคำนวน ซึ่งจะเป็นวิธีแบบ Progressive โดยคิดว่าการลงทุนในหุ้นก็เพื่อได้รับผลกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ใช่กำไรในอดีตที่ผ่านไปแล้ว แต่การใช้ […]
หุ้น Small & Mid Cap
หุ้น Small & Mid Cap เรียกกันง่ายๆ ว่าหุ้นขนาดเล็กและกลาง โดย Cap ย่อมาจาก Market Capitalization หมายถึง มูลค่าตามราคาตลาดของหุ้นซึ่งวัดจากราคาตลาดของหุ้นคูณกับจำนวนหุ้นจดทะเบียน แสดงถึงขนาดของหุ้นหรือบริษัท ดังนนั้น Market cap ของหุ้นทุกตัวจึงแสดงถึงมูลค่ารวมหรือขนาดของตลาดหุ้น Market cap ยังถูกใช้ประกอบการคำนวนดัชนีตลาดหุ้น ทั้งดัชนีรวมของตลาด (SET Index) หรือ ดัชนีหุ้นขนาดใหญ่ 50 หุ้น (SET50 Index) ตลาดหลักทรัพย์ยังจัดทำดัชนีหุ้นแยกตามขนาด ได้แก่ หุ้นขนาดใหญ่ (Large cap FSTHL) หุ้นขนาดกลาง (Mid cap FSTHM) และ หุ้นขนาดเล็ก (Small cap FSTHS) เพื่อแสดงสภาวะของหุ้นในกลุ่มที่มีขนาดแตกต่างกัน เพิ่มเติมจากดัชนีตลาดรวม นักลงทุนจะสามารถแยกแยะได้ว่าดัชนีรวมของตลาดที่เปลี่ยนไปนั้น หุ้นแต่ละขนาด […]
หุ้น Domestic Play
หุ้น Domestic Play ได้แก่ บริษัทที่ผลิตสินค้าทั้งที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบและส่วนประกอบ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคหรือตลาดภายในประเทศเป็นหลัก ไม่ได้ผลิตเพื่อส่งขายต่างประเทศ ขณะที่ยอดขายและกำไรจะไม่ถูกกระทบจากความต้องการสินค้าจากต่างประเทศหรือภาวะเศรษฐกิจโลก แต่จะขึ้นอยู่กับกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า ธุรกิจประเภทนี้จะได้รับผลประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล หรือนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย(ลดดอกเบี้ย)ของธนาคารกลาง หากเศรษฐกิจเติบโตดีจากการส่งออก กลุ่ม Domestic stock จะได้รับผลดีน้อยกว่า
หุ้น Defensive VS หุ้น Cyclical
หุ้นทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะตรงกันข้าม โดยพิจารณาได้จากความผันผวนของผลประกอบการ รายได้และกำไรของบริษัท แต่ไม่ใช่ที่ราคาหุ้น หุ้น Defensive เป็นบริษัทที่รายได้และกำไรไม่ค่อยผันผวนขึ้น-ลงตามภาวะเศรษฐกิจมากนัก ส่วนมากเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าและบริการที่จำเป็น หรือกินใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร สาธารณูโภค (ไฟฟ้า ประปา ทางด่วน) ในยามที่เศรษฐกิจถดถอยการบริโภคไม่ลงลดมาก ช่วงที่เศษฐกิจเฟี่องฟูการบริโภคก็ไม่เพิ่มขึ้นมากมาย ส่วนหุ้น Cyclical จะมีผลประกอบการผันผวนขึ้นลงสูงตามวงจรเศรษฐกิจ ในช่วงที่เศรษฐกิจดี ยอดขายและกำไรจะเติบโตสูง เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว ยอดขายจะลดลงมากจนทำให้บางช่วงอาจขาดทุนได้ โดยหุ้นที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ บริษัทที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) ที่ราคาผันผวนไปตามภาวะเศรษฐกิจ เช่น น้ำมัน ปิโตรเคมี หรืออีกพวกหนึ่งได้แก่ สินค้าฟุ่มเฟือย อย่างเครื่องประดับ และสินค้าที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ และบ้าน ในยามตลาดหุ้นอยู่ในช่วงซบเซาหรือขาลง หุ้น Defensive มักเป็นที่นิยมลงทุน ในทางกลับกันเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหรือตลาดขาขึ้น หุ้น Cyclical ก็จะได้รับความสนใจมากกว่า