BF Knowledge Center BMAPS100RMF BMAPS25RMF BMAPS55RMF BMAPSRMF
BF Knowledge Tips: อยู่กับปัจจุบันยังไง ให้มีเงินใช้ในอนาคต
“อยู่กับปัจจุบันยังไง ให้มีเงินใช้ในอนาคต” โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® สำหรับใครที่เข้าสู่วัยกลางคน แล้วใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยไม่คำนึงถึงอนาคต ขอให้ปรับมุมมองใหม่สักนิดนึง แม้ว่าเราต้องอยู่กับปัจจุบันก็ตาม แต่การกระทำในปัจจุบันของเรานั้น สามารถส่งผลไปถึงอนาคตของเราด้วย เหมือนกับคำที่กล่าวว่า “อดีตเป็นอย่างไร ดูได้ในปัจจุบัน ส่วนอนาคตจะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจุบันที่เราทำ” นั่นเองค่ะ ดังนั้น หากไม่อยากให้ลำบากในอนาคต เราต้องทำปัจจุบันเพื่อปัจจุบัน และเพื่ออนาคตด้วยค่ะ ใครที่ว่าอนาคตไม่สำคัญ คำพูดนี้ ไม่จริงเลยค่ะ เพราะเราทำปัจจุบัน ก็เพื่อให้อนาคตเราดี เพราะปัจจุบันเรายังมีเรี่ยวแรงในการทำงาน ร่างกายเรายังแข็งแรง ยังสามารถทำงานได้ไหว เราก็ต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้ เพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตเราจะเป็นยังไง งานที่เราทำอยู่ตอนนี้ อนาคตเราจะยังได้ทำมั้ย เงินที่เราหาได้ตอนนี้ อนาคตเราจะยังหาได้หรือเปล่า เพราะทุกอย่างไม่มีความแน่นอนนั่นเอง แม้ว่าการทำงานในบริษัท ได้เงินเดือนทุกเดือนๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ใครๆ ก็คิดว่ามีความมั่นคง แต่หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านเข้ามาในชีวิต ทำให้หลายคนเริ่มมีมุมมองที่เปลี่ยนไป จากความมั่นคงที่คิดว่ามั่นคงจริงๆ ก็ไม่มั่นคงอีกต่อไป ดังนั้น ทำปัจจุบันให้ดี อยู่กับปัจจุบัน […]
BBLAM Weekly Investment Insights BMAPS100RMF BMAPS25RMF BMAPS55RMF BMAPSRMF
BBLAM Weekly Investment Insights 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2022
2022 – Opportunities are never lost INVESTMENT STRATEGY อีกไม่กี่วันก็จะครึ่งปีแล้ว เชื่อว่าหลายคนนั่งดูพอร์ตลงทุนตัวเองในเวลานี้ ก็อาจจะปาดเหงื่อกับตัวเลขผลตอบแทนติดลบเป็นหางว่าว เพราะแทบทุกสินทรัพย์ลงทุนปรับลดลง แต่จังหวะนี้ก็อาจไม่ใช่การตัดใจขายโดยไม่ได้ดูให้ดี เพราะการที่สินทรัพย์ปรับราคาลงมาก็เป็นโอกาสกับการลงทุนระยะยาว การที่ต้องหันกลับมาดูว่าความเสี่ยงในระยะถัดไปคืออะไร อะไรเป็นโอกาสที่ต้องทยอยสะสม แต่ก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากถ้าจะจัดการเอง บางทีก็อาจต้องปรับพอร์ตไปให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางดูแลให้ คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy จาก BBLAM ออกมาให้คำแนะนำว่า การลงทุนในช่วงนี้ มีความผันผวนมาก ตลาดให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีในระยะสั้น ส่วนในช่วงครึ่งปีหลังนี้ มีสิ่งที่นักลงทุนต้องจับตา 3 ประเด็นหลักๆ คือ เงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และเศรษฐกิจถดถอย ทั้ง 3 ประเด็นนี้ เป็นประเด็นใหญ่ที่มีผลต่อการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ โดยในเรื่องเงินเฟ้อ เราคิดว่า ไม่น่าจะลดลงมาได้ง่ายๆ เพราะเงินเฟ้อ มาจากทั้งราคาน้ำมัน ราคาอาหาร บ้าน รถยนต์มือสอง มาจากหลายๆ […]
BF Knowledge Center BMAPS100RMF BMAPS25RMF BMAPS55RMF BMAPSRMF
BF Knowledge Tips: BMAPS กองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนช่วยเลือกลงทุน
สรุปความสัมภาษณ์ เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® การลงทุนในกองทุนรวมปัจจุบัน จะแนะนำให้ลงทุนเป็นพอร์ตมากขึ้น โดยพิจารณาโดยปรับสัดส่วนให้เหมาะกับตัวเอง โดยพอร์ตลงทุน อาจจะมี 3 แบบง่ายๆ พอร์ตที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ จะลงทุนในทรัพย์สินที่ลงทุนในตราสารหนี้ หรือตราสารที่มีความเสี่ยงไม่มากนักเป็นหลัก ขณะเดียวกันกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง เช่น หุ้น หรือทองคำ ก็อาจลงทุนในสัดส่วนไม่มากนัก พอร์ตที่มีความเสี่ยงกลางก็อาจจะมีความผสมผสาน อาจลงทุนในกองที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ้น ประมาณครึ่งนึง และกองที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ประมาณครึ่งนึง เป็นต้น พอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง เหมาะสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้มากๆ อาจจะลงทุนในหุ้น 80-100% ของเงินที่ลงทุนได้ ประเด็นอยู่ที่ไส้ของพอร์ตว่าควรจะลงทุนอย่างไร สำหรับคำแนะนำคือถ้ามีสัดส่วนหุ้น หรือพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูง ก็ควรพิจารณาเลือกกองทุนหุ้นหลายๆ กอง เพราะทุกวันนี้ การลงทุนมีความเสี่ยงจากหลายปัจจัยที่มากระทบ หรือผันผวนมากขึ้น การลงทุนในหุ้น หรือกองทุน จึงควรกระจายการลงทุนไปในหลายๆ กอง หลายๆ แบบ […]
BMAPS100RMF BMAPS25RMF BMAPS55RMF BMAPSRMF Product Special
เปิดเทคนิคจัดพอร์ตลงทุนรับครึ่งหลังปี 2022 ติดอาวุธด้วย BMAPSRMF
โดย…คุณมทินา วัชรวราทร CFA® Head of Investment Strategy, BBLAM มุมมองการลงทุนในช่วงครึ่งหลังปี 2022 นี้ มีประเด็นอะไรที่นักลงทุนต้องจับตาบ้าง การลงทุนในช่วงนี้ มีความผันผวนมาก ตลาดให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีในระยะสั้น ประเด็นที่ต้องจับตามองคือ เงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เศรษฐกิจถดถอย ทั้ง 3 ประเด็นนี้ เป็นประเด็นใหญ่ที่มีผลต่อการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ เรื่องเงินเฟ้อ เราก็คิดว่า ไม่น่าจะลดลงมาได้ง่ายๆ เพราะว่าเงินเฟ้อ มาจากทั้งราคาน้ำมัน ราคาอาหาร บ้าน รถยนต์มือสอง มาจากหลายๆ ส่วนของภาคเศรษฐกิจ เรียกได้ว่า เริ่มลามไปใหญ่ ส่วนเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ก็มาพร้อมกับการทำ Quantitative Tightening (QT) ที่เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ เราจะต้องสังเกตว่า มีตลาดการเงินไหนที่เริ่มมีการตึงตัวไหม เช่น ตลาดกู้ยืมระยะสั้น (repo) ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน (corporate bond) ตลาด […]