BBLAM Knowledge Tips: จำให้ขึ้นใจ ก่อนลงทุนใน RMF
โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM ลงทุนใน RMF มาก็หลายปี แต่ก็ลื้มลืม ลืมนู่น ลืมนี่ตลอด จะมีวิธีไหนที่ช่วยให้ไม่ลืมได้มั้ยเนี่ย ต้องถามคนโน้น คนนี้ประจำเลย ง่ายมากค่ะ เพียงแค่ 4 ข้อ จำให้ขึ้นใจ เมื่อลงทุนใน RMF ก็จะช่วยให้เราจำเงื่อนไขต่างๆ ของกองทุนรวม RMF ได้ อย่าซื้อผิดวัตถุประสงค์ (เก็งกำไร) อย่าลืมซื้อ อย่าซื้อเกินสิทธิ อย่าขายก่อน (เข้าใจผิดเรื่องการถือครอง) อย่างแรกคือ อย่าซื้อผิดวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะใครที่เห็นว่าไม่มีค่าธรรมเนียมเข้า-ออก แล้วใช้โอกาสนี้ลงทุนเพื่อเก็งกำไร แบบนี้ไม่ดีเลยค่ะ เพราะวัตถุประสงค์ของกองทุนรวม RMF คือต้ องการให้เราลงทุนอย่างสม่ำเสมอ สะสมไว้ จะได้มีเงินใช้หลังเกษียณ แต่การลงทุนผิดวัตถุประสงค์ นอกจากจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีแล้ว กำไรที่ได้รับยังต้องนำมาคิดเป็นเงินได้ในปีที่ขายคืนด้วย ดังนั้น ไม่ควรซื้อผิดวัตถุประสงค์ค่ะ อย่างที่ 2 สำคัญมาก คือ อย่าลืมซื้อ เพราะตามเงื่อนไขการลงทุน สามารถลืมลงทุนได้ […]
BF Knowledge Center DCA Money Tips
BBLAM Knowledge Tips: จะรู้ได้ไง จังหวะไหนควรปรับพอร์ต
โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM เอ๊ะ … จะปรับพอร์ตตอนนี้ดีมั้ยนะ ติดลบกระจายเลย หรือ โห… พอร์ตบวกขนาดนี้ ต้องปรับพอร์ตมั้ยนะ ขึ้นแรงเกินไป!!! ไม่ว่าพอร์ตของเราจะขึ้น หรือจะลง ต่างก็มีข้อสงสัยกันว่า แล้วจังหวะไหนล่ะ ควรปรับพอร์ต ลองสังเกต 3 สัญญาณที่บอกให้รู้ว่า ถึงเวลาต้องปรับพอร์ตกันแล้วนะ สัญญาณแรก สถานการณ์ไม่ปกติ ไม่ว่าจะเป็น ช่วงโรคระบาด สงคราม เงินเฟ้อสูง จากเดิม หากเราจัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง 50% สินทรัพย์เสี่ยงต่ำ 50% หรือ 50:50 แล้วพอร์ตการลงทุนของเรากลับกลายเป็น 40:60 เพราะเกิดการขาดทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่ลงทุนไป ทำให้มูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงปรับตัวลดลง ก็อย่าเพิ่งตกใจกันไป เราสามารถเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง เพื่อปรับพอร์ตของเราให้กลับมาเป็น 50:50 ตามที่เราต้องการได้ แม้ว่าเราจะรู้สึกว่า ไม่อยากลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงสูงเพิ่มขึ้นเลย เพราะที่ผ่านมา […]
BF Knowledge Center DCA Money Tips
BBLAM Knowledge Tips: จัดพอร์ตลงทุนด้วยวิธี DCA ต้องใส่ใจอะไรบ้าง
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM ปัจจุบันการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ DCA (Dollar Cost Averaging) ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมือใหม่ รวมถึงวัยทำงานที่ไม่ค่อยมีเวลา ด้วยหลักการที่ว่า การลงทุนด้วยวิธี DCA จะช่วยจัดการความเสี่ยง หรือความผันผวนที่เกิดจากการจับจังหวะเข้าลงทุน (Market Timing) ทำให้เรามีโอกาสได้รับราคาต้นทุนแบบถัวเฉลี่ย ที่ไม่ถูกไม่แพงจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยสร้างวินัยให้เกิดการลงทุนอย่างสม่ำเสมอไปพร้อมๆ กันด้วย ทำให้ในภาพรวมสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับพอร์ตการลงทุนได้ในระยะยาว การลงทุนด้วยวิธี DCA มักจะได้รับทัศนคติในเชิงบวก และถูกพูดถึงเสมอว่า สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้แน่นอน … แต่ในโลกของการลงทุน ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน เพราะในความเป็นจริง DCA ไม่ได้เหมาะกับสินทรัพย์ทุกประเภท แต่เหมาะกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง หรือความผันผวนค่อนข้างมาก และสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนด้วยวิธี DCA ก็ควรจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตต่อไปได้ในระยะยาว รวมถึงตัวของเราเองก็ควรที่จะลงทุนระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องไปกับวิธี DCA ด้วยเช่นกัน เพราะอย่างที่เรารู้กันดีว่า […]
BBLAM Knowledge Tips: เศรษฐกิจตอนนี้ควรลงทุน DCA ต่อดีไหม?
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM BBLAM ในปีนี้ใครๆ ต่างก็มองว่า โลกกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากการที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจ ในปีที่ผ่านมาไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่ ตั้งแต่การจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนและภาครัฐ รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนต่างๆ ที่ลดน้อยถอยลงไปด้วย ประกอบกับผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น ไม่ว่าจะเป็น หุ้นรายตัว หรือกองทุนรวมหุ้น ต่างก็ให้ผลตอบแทนที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้ เพราะเดิมทีนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่า เทรนด์เทคโนโลยีฝั่งโลกตะวันตกกำลังมาแรง ส่วนในฝั่งโลกตะวันออกอย่างจีนเองก็กำลังเตรียมที่จะผงาดเป็นผู้นำโลก ดังนั้น ถ้าลงทุนไว้ไม่มีผิดหวังแน่นอน! … แต่ก็อย่างที่เราเคยพูดกันเสมอว่า “โอกาสจากการลงทุนมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ” โดยในปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการเติบโตของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีได้ชะลอตัวลง หลังจากที่ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตอย่างก้าวกระโดด อย่างการแพร่ระบาดของโควิดอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และส่วนหนึ่งก็มาจากการที่มีผู้ลงทุนขายคืนเพื่อทำกำไร จึงทำให้ในภาพรวมราคาของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลดลง ส่วนในฝั่งของจีน ภาครัฐเองก็ได้เข้ามามีบทบาทในการควบคุม และใช้มาตรการต่างๆ เข้ามาดูแล รวมถึงการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อ ป้องปรามคู่ปรับอย่างสหรัฐฯ จึงทำให้ในภาพรวมอาจจะยังไม่ได้เติบโตได้ดีอย่างที่หลายๆ คนคาดการณ์ไว้ ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ อาจทำให้นักลงทุนรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ และไม่แน่ใจว่า […]
BF Knowledge Tips: จัดพอร์ตลงทุนด้วยวิธี DCA ต้องใส่ใจอะไรบ้าง
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM , BBLAM ปัจจุบันการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ DCA (Dollar Cost Averaging) ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมือใหม่ รวมถึงวัยทำงานที่ไม่ค่อยมีเวลา ด้วยหลักการที่ว่า การลงทุนด้วยวิธี DCA จะช่วยจัดการความเสี่ยง หรือความผันผวนที่เกิดจากการจับจังหวะเข้าลงทุน (Market Timing) ทำให้เรามีโอกาสได้รับราคาต้นทุนแบบถัวเฉลี่ย ที่ไม่ถูกไม่แพงจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยสร้างวินัยให้เกิดการลงทุนอย่างสม่ำเสมอไปพร้อมๆ กันด้วย ทำให้ในภาพรวมสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับพอร์ตการลงทุนได้ในระยะยาว การลงทุนด้วยวิธี DCA มักจะได้รับทัศนคติในเชิงบวก และถูกพูดถึงเสมอว่า สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีได้แน่นอน … แต่ในโลกของการลงทุน ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน เพราะในความเป็นจริง DCA ไม่ได้เหมาะกับสินทรัพย์ทุกประเภท แต่เหมาะกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง หรือความผันผวนค่อนข้างมาก และสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนด้วยวิธี DCA ก็ควรจะต้องเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสเติบโตต่อไปได้ในระยะยาว รวมถึงตัวของเราเองก็ควรที่จะลงทุนระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องไปกับวิธี DCA ด้วยเช่นกัน […]
BF Knowledge Tips: เศรษฐกิจตอนนี้ควรลงทุน DCA ต่อดีไหม?
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM , BBLAM ในปีนี้ใครๆ ต่างก็มองว่า โลกกำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากการที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่ ตั้งแต่การจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนและภาครัฐ รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชนต่างๆที่ลดน้อยถอยลงไปด้วย ประกอบกับผลตอบแทนจากการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น ไม่ว่าจะเป็น หุ้นรายตัว หรือกองทุนรวมหุ้น ต่างก็ให้ผลตอบแทนที่ผิดไปจากที่คาดหวังไว้ เพราะเดิมทีนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่า เทรนด์เทคโนโลยีฝั่งโลกตะวันตกกำลังมาแรง ส่วนในฝั่งโลกตะวันออกอย่างจีนเองก็กำลังเตรียมที่จะผงาดเป็นผู้นำโลก ดังนั้น ถ้าลงทุนไว้ไม่มีผิดหวังแน่นอน! … แต่ก็อย่างที่เราเคยพูดกันเสมอว่า “โอกาสจากการลงทุนมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ” โดยในปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการเติบโตของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีได้ชะลอตัวลง หลังจากที่ปัจจัยสนับสนุนการเติบโตอย่างก้าวกระโดด อย่างการแพร่ระบาดของโควิดอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และส่วนหนึ่งก็มาจากการที่มีผู้ลงทุนขายคืนเพื่อทำกำไร จึงทำให้ในภาพรวมราคาของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวลดลง ส่วนในฝั่งของจีน ภาครัฐเองก็ได้เข้ามามีบทบาทในการควบคุม และใช้มาตรการต่างๆ เข้ามาดูแล รวมถึงการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อป้องปรามคู่ปรับอย่างสหรัฐฯ จึงทำให้ในภาพรวมอาจจะยังไม่ได้เติบโตได้ดีอย่างที่หลายๆ คนคาดการณ์ไว้ ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ อาจทำให้นักลงทุนรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ และไม่แน่ใจว่าเราควรจะบริหารจัดการการลงทุนของตัวเองในปีนี้ยังไงดี? โดยเฉพาะการลงทุนด้วยวิธีถัวเฉลี่ยแบบ DCA “ไปต่อหรือพอแค่นี้” […]
BF Knowledge Tips: เศรษฐกิจถดถอยต้องวางแผนการเงินให้ดี
โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM ในปีที่ผ่านมา เราน่าจะได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย หรือ Global Recession กันมาโดยตลอด ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค และปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ที่ส่งผลให้ราคาสินค้าทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น จนกลายเป็นปัญหาเงินเฟ้อ และส่งผลกระทบทำให้ GDP ของหลายๆ ประเทศปรับตัวลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในยุโรป สหรัฐฯ และจีน ซึ่งมี GDP รวมกัน คิดเป็น 2 ใน 3 ของโลก จนหลายๆ ประเทศที่ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ต่างก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วยเช่นกัน อย่างไทยเราเองก็ได้รับผลกระทบจากการที่มีเงินทุนไหลออก เงินบาทอ่อนค่า และปัญหาเงินเฟ้อ โดยการหดตัวของ GDP รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อที่ปรากฎอยู่ในหลายๆ ประเทศ ทำให้นักวิเคราะห์ต่างพากันออกมาฟันธงว่า “โลกของเรากำลังเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” และสิ่งที่ทำให้นักลงทุนมั่นใจเข้าไปอีก ก็คือ การที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ที่ปกติแล้วไม่ค่อยจะทักท้วงอะไร แต่สำหรับครั้งนี้…กลับออกมาเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปี 2566 ทำให้นักลงทุนมือสมัครเล่นอย่างเรา รู้สึกใจสั่นอยู่นิดๆ กังวลอยู่หน่อยๆ และเกิดอยากจะวางแผนการเงินให้ดีเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองว่า เงินของเราจะปลอดภัย มั่นคง […]
BF Knowledge Tips: ซื้อ SSF ทุกเดือน อีก 10 ปีตอนขายคืนจะยุ่งยากหรือเปล่า
โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® BBLAM หลายคนถามกันเข้ามาบ่อยเลยว่า ลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเป็นประจำทุกเดือนๆ แล้วในอนาคตเมื่อครบกำหนดสามารถขายคืนได้ จะยุ่งยากมั้ย ต้องทำรายการขายคืนทุกเดือนๆ หรือเปล่า ต้องบอกว่า ถ้าเป็น RMF ไม่ยุ่งยากเลยค่ะ เพราะเมื่อครบกำหนดลงทุนตามเงื่อนไข จะขายคืนทั้งหมดก้อนเดียว หรือจะทยอยขายคืนเดือนละครั้ง หรือหลายๆ ครั้งก็สามารถทำได้ ส่วนกองทุนรวม SSF นั้น ต้องบอกว่า ไม่ยุ่งยากเลย ถ้าใช้เทคนิคตามที่แนะนำ กรณีแรก คือ ลงทุน SSF สม่ำเสมอทุกเดือน แต่วันที่ไม่แน่นอน ให้ใช้เทคนิคขายคืนทุกวันสุดท้ายของเดือนเมื่อครบกำหนด สำหรับกองทุนรวม SSF นั้น เงื่อนไขการลงทุนแตกต่างจาก RMF โดยเฉพาะเงื่อนไขที่ว่า เมื่อลงทุนแล้วต้องถือการลงทุนนั้นไป 10 ปีเต็มจึงจะขายคืนได้ ดังนั้น หากเราลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนๆ โดยวันที่ลงทุนไม่แน่นอน เดือนนี้อยากลงทุนวันที่ 1 เดือนหน้าอยากลงทุนวันที่ 5 หรือลงทุนตามวันที่สะดวก […]
BF Knowledge Tips: กระจายลงทุน ต้องทำแบบไหนถึงจะใช่
โดย อรพรรณ บัวประชุม CFP® “อย่าใส่ไข่ในตะกร้าใบเดียว” คำนี้เราได้ยินกันบ๊อยบ่อย นั่นหมายถึง เรามีไข่หลายใบ ก็ควรวางไข่ในหลายตะกร้า เผื่อตะกร้าตกลงมา ไข่ในตะกร้าแตกหมดจะได้แตกหมดแค่ตะกร้าเดียว ยังเหลือไข่ในตะกร้าใบอื่นๆ ให้เราได้เอาไปกินบ้าง เช่นเดียวกับการลงทุน หากเรามีการกระจายการลงทุนอย่างหลากหลาย แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ไม่ดีมากระทบการลงทุนของเราก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วย แต่อาจจะได้รับผลกระทบไม่เท่ากันในแต่ละกองทุน บางกองทุนติดลบ แต่ก็อาจจะมีบางกองทุนบวกสวนทางก็เป็นไปได้ แล้วเรากระจายการลงทุนกันแบบไหนดีล่ะ โดยทั่วไป นักลงทุนมักเลือกกระจายการลงทุนหลายสินทรัพย์ เพราะการลงทุนมีหลากหลาย เราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ อย่างเช่น พันธบัตร หุ้นกู้ ที่แม้ว่าจะมีโอกาสได้ผลตอบแทนน้อยหน่อย แต่ก็มีความมั่นคงค่อนข้างสูง หรือการลงทุนในหุ้น การลงทุนในทองคำ การลงทุนโดยตรงในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเราสามารถเลือกลงทุนได้เองโดยตรง หรือจะเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีหลากหลายนโยบายให้เลือกลงทุนก็สามารถทำได้ นอกจากนี้ยังมีการกระจายการลงทุนตามภูมิภาค กระจายการลงทุนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น การเลือกลงทุนในสหรัฐอเมริกา ยุโรป ทางฝั่งเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม รวมถึงประเทศไทย วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นักลงทุนหลายคนเลือก เพราะเป็นการกระจายการลงทุนไปในภูมิภาคต่างๆ […]
BF Knowledge Tips: ถอยหลัง ตั้งหลัก ทบทวนแนวทางการลงทุน
โดย เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® BBLAM ตั้งแต่ต้นปี มีนักลงทุนจำนวนมากประสบปัญหาขาดทุนจากปัญหาสงครามรัสเซียยูเครนที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันและสินค้าหลายอย่างราคาสูงขึ้น เกิดปัญหาเงินเฟ้อที่ต่อเนื่องจากฝั่งตะวันตกที่เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ทำให้หลายประเทศขึ้นดอกเบี้ย และมีการทำกำไรในหุ้นที่ขึ้นมาแรงมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่ม growth ปัญหาเหล่านี้เป็นวังวนเดิมๆ ที่เราเห็นได้ทั่วไป เวลาตลาดหุ้นขึ้นแรงๆ นักลงทุนคึกคัก ดึงดูดเม็ดเงินเข้ามาสู่สินทรัพย์เสี่ยง อย่างเช่น หุ้น และน้องใหม่อย่างคริปโต ไม่ผิดที่เราอยากหาผลตอบแทน แต่สิ่งที่พลาดไปคือ การจัดแบ่งเงิน เงินไหนเสี่ยงได้ เงินไหนควรเซฟ หรือเงินส่วนไหนที่ยอมให้สูญหายได้ 2 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์โควิดทำให้หุ้นหลายกลุ่มเติบโต ผลกำไรดี เพราะเม็ดเงินลงทุนไม่ค่อยมีทางเลือก การท่องเที่ยวเดินทางยังไม่เป็นปกติ ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวถือเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีผลต่อ GDP ในเกือบทุกประเทศ ดังนั้น เม็ดเงินลงทุนจึงพุ่งไปยังกลุ่มเทคโนโลยี แพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งก็เป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดใหญ่ๆ ในอเมริกา ทำให้ดัชนีโดยรวมขึ้นตามไปด้วย และเมื่อโควิดเริ่มจางหาย หลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจปกติเริ่มกลับมาเดินเครื่อง เกิดการเดินทางข้ามเมืองข้ามประเทศ ประกอบกับความกังวลเรื่องดอกเบี้ยและเงินเฟ้อ ทำให้เกิดการขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มเติบโต รวมถึงหุ้นหลายๆ ตัวที่ราคาพุ่งไปเกินปัจจัยพื้นฐาน นักลงทุนสถาบันหันมาถือเงินสดมากขึ้น […]