จีนถูกถอนออกจากการเป็น Currency Manipulator

จีนถูกถอนออกจากการเป็น Currency Manipulator

BF Economic Research กระทรวงการคลังของสหรัฐฯได้รายงาน  Macroeconomic and Foreign Exchange Policies of Major Trading Partners of the United States (ตามข้อกำหนดใน The Trade Facilitation and Trade Enforcement Act of 2015)  โดยได้พิจารณาประเทศที่เข้าข่ายที่มีความได้เปรียบเชิงการค้า เสถียรภาพทางการเงิน และค่าเงิน ผ่านการพิจารณาสามเกณฑ์หลัก (เป็นเกณฑ์ที่ได้รับการปรับปรุงเมื่อเดือนพ.ค. 2019 เป็นต้นมา) ประกอบไปด้วย มูลค่าการค้ารวมส่งออกและนำเข้าขั้นต่ำ 4 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เป็นต้นไป เกินดุลกับสหรัฐฯ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ เป็นต้นไป มีการเข้าป้องกัน FX คิดเป็นมูลค่า 2% ของ GDP เป็นระยะเวลา […]

Update แนวนโยบายของธนาคารกลาง Fed, ECB และ BoJ

Update แนวนโยบายของธนาคารกลาง Fed, ECB และ BoJ

BF Economic Research แนวนโยบายของธนาคารกลาง Fed, ECB,และ BoJ ในปัจจุบันยังคงหนุนการเพิ่มสภาพคล่องต่อเนื่อง โดยที่สภาพคล่องมาจาก Fed มากที่สุด (แม้ว่า Fed จะไม่ได้ประกาศทำ QE ก็ตาม) Implication: เราคาดการณ์ว่าสภาพคล่องในตลาดจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ประมาณ 8-9 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อเดือน โดยที่สภาพคล่องส่วนใหญ่จะมาจาก Fed กว่าครึ่ง ซึ่งเราประเมินจากขนาดของสินทรัพย์ที่ Fed เข้าซื้อในช่วงปลายปี 2019 ถึงข้อมูลล่าสุดเดือน ม.ค. 2020 พบว่า Fed ได้เข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นในปริมาณค่อนข้างมาก ซึ่งแม้ว่า Fed จะไม่ได้ประกาศทำ QE อย่างเป็นทางการ แต่พบว่าปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรสูงกว่าในช่วงที่ประกาศทำ QE ซึ่ง หาก Fed ยังเพิ่มสภาพคล่องประมาณ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯไปเรื่อยๆ จะทำให้ขนาดสินทรัพย์ของ Fed กลับไปที่ […]

Update สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านได้เริ่มคลี่คลาย

Update สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านได้เริ่มคลี่คลาย

BF Economic Research สถานการณ์ความไม่สงบระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านได้เริ่มคลี่คลาย เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ แถลงในวันที่ 8 ม.ค. ว่า สหรัฐฯ จะไม่ตอบโต้ทางการทหาร ต่อเหตุการณ์โจมตีฐานทัพสหรัฐฯ ในอิรัก โดยกองทัพอิหร่าน เนื่องจากการโจมตีครั้งนี้มิได้สร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญ และเห็นว่าท่าทีของอิหร่านลดความแข็งกร้าวลง อย่างไรก็ดี สหรัฐฯ จะตอบโต้ด้วยมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมแทน หากต่อไปประธานาธิบดีสหรัฐฯ เริ่มมีท่าทีใช้มาตรการทางการทูต จะยิ่งเป็นสัญญาณบวกต่อสถานการณ์ในตะวันออกกลาง สำหรับนัยยะของสถานการณ์นี้ที่มีต่อการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ในตลาดนั้น พบว่าราคาทองลงมาปิดที่ 1559.85 ดอลลาร์ฯ/ounce (-33%) ส่วนราคาน้ำมัน Brent อยู่ที่ 65.96 ดอลลาร์ฯ/bbl (+0.8%) ส่วนดัชนีหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นมานำโดยดัชนีหุ้นสหรัฐฯ เช่น DJIA ที่ 28,745.09 (+161.41 จุด) ขณะที่หุ้นเอเชียทั่วเริ่มเปิดมาบวกเช่นกัน สำหรับทิศทางของตลาดในระยะข้างหน้าคาดว่าความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯและอิหร่านน่าจะลดระดับลงและจะเป็นผลดีต่ออารมณ์ของนักลงทุนมากขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันที่จะมีต่อทิศทางของเศรษฐกิจไทยนั้น เราคาดว่าหากราคาน้ำมันBrent วิ่งอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 70 ดอลลาร์ฯ/ bbl แล้ว อัตราเงินเฟ้อไทยน่าจะยืนต่ำกว่า […]

บทวิเคราะห์ทิศทางค่าเงินบาท

บทวิเคราะห์ทิศทางค่าเงินบาท

BF Economic Research ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าไปอยู่ที่ต่ำกว่า 30 บาท เมื่อสิ้นปี และ ณ ตอนนี้เริ่มกลับมายืนเหนือ 30 บาท ได้ แต่ก็ยังค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับภูมิภาค ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เงินบาทแข็งค่านั้นมาจาก 1) การค้าสินค้าและบริการระหว่างประเทศ 2) การลงทุนระหว่างประเทศ และ 3) อัตราดอกเบี้ยโดยเปรียบเทียบเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 1. การค้าและการบริการระหว่างประเทศ  ในช่วงปี 2019 ทั้งปี จะเห็นว่าไทยส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ไทยกลับนำเข้าในอัตราที่ลดลงมากกว่า เป็นผลให้การส่งออกที่ไม่ดี กลับทำให้ไทย “เกินดุล” ด้านการค้า โดยข้อมูล 11 เดือน ไทยเกินดุลสะสมเกือบ 9 พันล้านดอลลาร์ฯ มากกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วเกือบ 4 เท่า ซึ่งเมื่อผนวกกับรายได้จากการท่องเที่ยว (ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือ การส่งออกการบริการ) ก็หนุนรายได้เข้าประเทศราวๆ เดือนละ 5 พันกว่าล้านดอลลาร์ฯ ก็เป็นผลให้ […]

(Update) วิเคราะห์ความขัดแย้งสหรัฐ-อิหร่านต่ออัตราเงินเฟ้อและการนำเข้าของไทย

(Update) วิเคราะห์ความขัดแย้งสหรัฐ-อิหร่านต่ออัตราเงินเฟ้อและการนำเข้าของไทย

  BF Economic Research ความขัดแย้งสหรัฐฯ-อิหร่านในครั้งนี้ มีชนวนจากการลอบสังหาร นายพลกาเซ็ม โซไลมานี บุคคลสำคัญของอิหร่าน ด้วยการโจมตีทางโดรนของสหรัฐฯ ณ สนามบินกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้อิหร่านตอบโต้ด้วยการประกาศว่าจะไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 ที่อิหร่านเคยตกลงไว้กับ 6 ชาติมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน อีกต่อไป และจะกลับมาเดินหน้าพัฒนาโครงการวิจัยด้านนิวเคลียร์ ทั้งนี้ ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านก่อตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลังจากในปี 2018 ที่ทรัมป์ให้สหรัฐฯ ถอนตัวจากความตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน และใช้วิธีการคว่ำบาตรกับอิหร่านหลายครั้ง หลังจากนั้น ส่งผลให้ท่าทีของอิหร่านต่อสหรัฐฯ เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งในอนาคตการตอบโต้ของอิหร่านอาจมีหลายรูปแบบ เช่น การโจมตีทางไซเบอร์ การสะสมแร่ยูเรเนียมเพื่อใช้ในการทำนิวเคลียร์ และการโจมตีแหล่งน้ำมัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อิหร่าน กล่าวว่า […]

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย. 2019

สรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย. 2019

BF Economic Research เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนอ่อนแอต่อเนื่อง (PII -6.1% YoY vs. -4.7% เดือนก่อน) โดยเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนหดตัวในวงกว้าง ทั้งหมวดก่อสร้าง (อาทิ ยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง -5.3%) และหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ (อาทิ ยอดขายรถยนต์พาณิชย์ -15.5%) การบริโภคภาคเอกชน (PCI) ขยายตัว 2.4% YoY (vs. 2.1% เดือนก่อน) โดยปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อที่อ่อนแอลงเมื่อเทียบกับช่วง 1H 2019 อาทิ รายได้และความเชื่อมั่นยังกดดันการใช้จ่ายของครัวเรือน ทั้งนี้ ในเดือน พ.ย. มีเพียงการบริโภคสินค้าไม่คงทนและภาคบริการที่ขยายตัว (1.6% และ 3.2% ตามลำดับ) ส่วนหนึ่งได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ขณะที่ยอดซื้อสินค้าคงทนหดตัวที่ -9.1% YoY ที่ถูกฉุดจากยอดขายรถยนต์ที่หดตัวในเดือนพ.ย.ถึง -16.2% YoY รายได้เกษตร ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของราคาสินค้าเกษตรที่เร่งขึ้นในกลุ่ม […]

BF Monthly Economic Review ครึ่งปีแรก 2020

BF Monthly Economic Review ครึ่งปีแรก 2020

BF Monthly Economic Review ครึ่งปีแรก 2020 ท่านสามารถติดตามอ่านข้อมูล Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 ได้ที่ https://www.bblam.co.th/application/files/6715/7768/0189/1H2020Economic_Review_Final.pdf

Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : เวียดนาม

Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : เวียดนาม

ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา       เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน เศรษฐกิจเวียดนามถือว่ายังสามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่งในปี 2019 ท่ามกลางความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2019 เติบโตถึง 6.98% YoY สูงที่สุดในรอบ 9 ปี โดยภาคอุตสาหกรรมซึ่งคิดเป็น 53.0% ของ GDP ยังขยายตัวได้ดีถึง 9.4% YoY เช่นเดียวกับภาคบริการที่เติบโต 6.8% YoY โดยได้อานิสงส์จากการขึ้นค่าจ้างแรงงาน และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคการเกษตรชะลอตัวจากภาวะภัยแล้งที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร บวกกับโรคระบาดในสุกรที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้านการลงทุนในประเทศยังเติบโตได้ดีจากตัวเลข FDI ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวอยู่ในกรอบของธนาคารกลางที่น้อยกว่า 4.0% แม้ตัวเลขล่าสุดในเดือนพ.ย. จะเด้งขึ้นมาแตะระดับ 3.52% หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ในช่วง 10 เดือนแรกขยายตัวต่ำกว่า 3.0% มาโดยตลอด โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหลายรายการ นอกเหนือจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทิศทางเศรษฐกิจปี 2020   […]

Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ไทย

Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ไทย

ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจในปี 2020       เศรษฐกิจไทยในปี 2019 เติบโตช้าลงต่อเนื่องจากปี 2018 ซึ่งเมื่อเราประเมินเศรษฐกิจไทยจากด้านอุปสงค์ (Expenditure Approach เป็นการวัดการขยายตัวของเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่าย) จะพบว่าการขยายตัวของอุปสงค์ภายในอันได้แก่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนต่างขยายตัวช้าลง และหนุนเศรษฐกิจในสัดส่วนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับหลายไตรมาสที่ผ่านมา ขณะที่ด้านอุปสงค์จากภายนอก ทั้งการส่งออก และการนำเข้าก็กลับมาหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นผลให้ GDP ล่าสุดสะท้อนโมเมนตัมที่ชะลอลงในทุกองค์ประกอบ ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับการประเมินเศรษฐกิจไทยจากด้านการผลิต (Income Approach เป็นการวัดการขยายตัวของเศรษฐกิจผ่านรายได้ของกลุ่มธุรกิจต่างๆ) ก็พบว่าภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรของไทยหดตัว (ทั้งคู่คิดเป็น 32%ของ GDP) ขณะที่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเช่นโรงแรมและร้านอาหารขยายตัวได้ไม่เท่ากับในอดีต สำหรับตัวเลขล่าสุด GDP ของไทยในไตรมาสที่ 3/2019 ขยายตัว 2.4%YoY ต่ากว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 2.7%YoY แต่เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเล็กน้อยที่ 2.3%YoY ในรายองค์ประกอบด้านการใช้จ่าย พบว่า การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนขยายตัวได้ดีกว่าไตรมาสก่อน ขณะที่การส่งออกสุทธิให้ผลบวกกับ GDP แต่เนื่องด้วย GDP ปีก่อนขยายตัวในเกณฑ์สูง (ไตรมาส3/2018 ขยายตัว […]

Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : สิงคโปร์

Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : สิงคโปร์

ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจในปี 2020        สิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าค่อนข้างหนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค GDP ไตรมาสทั้งสามไตรมาสที่ผ่านมาดิ่งลงต่ำกว่าในช่วงปี 2017-2018 โดยในรายองค์ประกอบพบว่า แรงฉุดหลักมาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในการผลิตกลุ่ม Precision Engineering โดยสินค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อยู่ใน Tariff List ที่สหรัฐฯปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับจีน (เป็นกลุ่ม 2 แสนล้านดอลลาร์ฯที่ปรับภาษีขึ้นไปเป็น 10.0% เมื่อเดือนก.ย. 2018)  และเนื่องด้วยสิงค์โปร์มีส่วนแบ่งการตลาดในสินค้ากลุ่มนี้คิดเป็น 11.0% ของมูลค่าการตลาดทั้งโลก จึงทำให้สิงคโปร์ได้รับแรงกระทบค่อนข้างแรง ทั้งจากกำลังการผลิตที่ลดลง ยอดคำสั่งซื้อต่างประเทศที่หดตัวต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจสิงคโปร์แทบจะไม่ขยายตัวเลยในปี 2019 หากภาคการผลิตยังคงอ่อนแออย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นเศรษฐกิจสิงคโปร์เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิค (Technical Recession ) ในช่วงท้ายปี 2019 และต้นปี 2020  อย่างไรก็ดี เรายังไม่เชื่อว่า GDP ทั้งปี 2020 จะหดตัวเนื่องด้วย […]