Economic Update: US GDP และมติ ECB
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM GDP สหรัฐฯ ขยายตัว 4.9% QoQ saar ในไตรมาส 3/2023 เป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 โดยสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 4.5% และสูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ 2.1% หนุนโดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 4% มากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2021 (เทียบกับ 0.8% ในไตรมาสที่ 2 ปี 2023) หนุนโดยการบริโภคที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภค การดูแลสุขภาพ บริการทางการเงินและการประกันภัย บริการอาหารและที่พัก สินค้าที่ไม่คงทน สินค้าสันทนาการและยานพาหนะ ด้านการส่งออกทะยานขึ้น 6.2% ฟื้นตัวจากที่หดตัว 9.3% ในไตรมาสที่ 2 ด้านการนําเข้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน (5.7% เทียบกับ -7.6%) สินค้าคงคลังภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 1.32 […]
Economic Update: กนง.มองเศรษฐกิจไปฟื้นปี 2024 แต่ขอปรับดอกเบี้ยขึ้นก่อนตอนนี้เลย
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Key Takeaway กนง.มองเศรษฐกิจไปฟื้นปี 2024 แต่ขอปรับดอกเบี้ยขึ้นก่อนตอนนี้เลย กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 % จาก 2.25% เป็น 2.50% ภาพรวมเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แต่ขยายตัวในอัตราชะลอลงในปี 2023 จากอุปสงค์ต่างประเทศ และจะไปขยายตัวในปี 2024 อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2024 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกอปรกับแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทั้งนี้ ต้องติดตามแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ มตินโยบายการเงิน เห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปที่ 2.5% เพื่อดูแลให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมาย รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า ประเมินภาพเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 2.8% และ 4.4% ในปี 2023 และ 2024 ตามลำดับ โดยมีแรงส่งสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชน สำหรับปีนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงจากภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า […]
Economic Update: Fed คงดอกเบี้ย แต่ปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้น โดยมองว่า ปีหน้าดอกเบี้ยจะยังยืนเกิน 5%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Key Takeaway การประชุม FOMC ประจำเดือนก.ย. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.5% ตามที่ตลาดคาด แต่ Fed ปรับขึ้นประมาณการเศรษฐกิจในปี 2024-25 โดยส่วนใหญ่มั่นใจว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่น่าจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย พร้อมมองว่า ดอกเบี้ยสามารถยืนได้เกิน 5% ในปีหน้า Dot plot สะท้อน “Even Higher for Longer” คาดการณ์สำหรับปี 2023 ยังไม่เปลี่ยนแปลงที่ 5.5-5.75% (5.625%) แต่การคาดการณ์สําหรับปี 2024 และ 2025 ได้รับการปรับขึ้นไปที่ 5.0-5.25% (เทียบกับ 4.5-4.75 % ในการประชุมก่อนหน้า) และ 3.75-4.0% […]
Economic Update: ราคาพลังงานดันเงินเฟ้อสหรัฐฯในเดือนส.ค. ตลาดยังคาดว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 ครั้ง
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนส.ค.เร่งตัวขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่ 3.7% YoY จาก 3.2% เดือนก่อน สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 3.6% หลักๆ มาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ประกอบกับฐานต่ำจากปีที่แล้ว (ทําให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น) ในรายองค์ประกอบพบว่า ราคาพลังงาน (เมื่อเทียบรายปี) แม้จะยังหดตัว -3.6% YoY แต่เป็นการหดตัวที่ต่ำกว่าเดือนก่อนที่ -12.5% โดยในกลุ่มย่อยของพลังงานพบว่าน้ำมันเตา (หดตัว-14.8% เทียบกับ -26.5%) และน้ำมันเบนซิน (หดตัว-3.3% เทียบกับ -19.9%) ต่างหดตัวในอัตราที่ลดลง นอกจากนี้ต้นทุนการขนส่ง (10.3% เทียบกับ 9%) ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวสําหรับราคาไฟฟ้า (2.1% เทียบกับ 3%) อาหาร (4.3% เทียบกับ […]
Economic Update Inflation Thailand
Economic Update: อัตราเงินเฟ้อของไทยขยายตัว 0.88% YoY เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนที่ 0.38%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อของไทยขยายตัว 0.88% YoY เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบจากเดือนก่อนที่ 0.38% และเมื่อเทียบรายเดือนอัตราเงินเฟ้อพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ 0.55% MoM จากเดือนก่อนที่หดตัว เป็นผลจากปรับเพิ่มขึ้นของหมวดอาหาร (ขยายตัว 0.74% YoY) เป็นหลัก นำโดย ข้าว ไข่และผลิตภัณฑ์นม (ไข่ไก่ นมสด นมถั่วเหลือง) ผักและผลไม้สด (มะนาว ขิง กระเทียม เงาะ แตงโม ส้มเขียวหวาน) เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่วนราคาหมูยังคงปรับตัวลงในเดือน ส.ค. เนื่องด้วยมีเนื้อหมูจากเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาในไทย ส่วนกลุ่มราคาสินค้าในหมวดที่ไม่ใช่อาหารปรับตัวขึ้น 0.98% YoY จากกลุ่มเคหสถาน และ ค่าของใช้ส่วนบุคคล ส่วนอัตราเงินเฟ้อ YTD อยู่ที่ 2.0% AoA ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัว […]
การส่งออกไทยเดือนก.ค. ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า มีมูลค่า 22,143.2 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลง -6.2 YoY%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การส่งออกไทยเดือนก.ค. ยังคงหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า มีมูลค่า 22,143.2 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลง -6.2 YoY% (vs prev -6.4%) จากตลาดคาด -2.8% ถึง -3.1% การนำเข้า มีมูลค่า 24,121 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลง -11.1% YoY (vs prev -10.3%) ส่งผลให้ในเดือนก.ค.66 ไทยขาดดุลการค้า -1,977.8 ล้านดอลลาร์ฯ (vs prev +58 ล้านดอลลาร์ฯ) สำหรับช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.) การส่งออก มีมูลค่า 163,313.5 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน -5.5% ส่วนการนำเข้า […]
Economic Update: คณะกรรมการ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ที่ 11:0 เห็นควรให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ 5.25-5.5%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM คณะกรรมการ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ที่ 11:0 เห็นควรให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ 5.25-5.5% เนื้อความในการประชุมครั้งนี้ มีทั้งส่วนที่ Dovish และส่วนที่ Hawkish พร้อมทิ้งท้ายมุข Data-dependent เช่นเดิม มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างจาก Statement การประชุมครั้งก่อน ? Upgrade มุมมองเศรษฐกิจ จากคำว่า Modest เป็น Moderate โดยในมุมมองของอดีตประธาน Fed สาขา Atlanta Dennis Lockhart ได้ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ภายหลังการประชุม FOMC ว่า การใช้คำว่า Moderate เป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกมากกว่า Modest มีอะไรบ้าง ที่เหมือนกับ […]
Economic Update: จีนส่งสัญญาณผ่อนคลายเชิงนโยบายเพิ่มเติม
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM จีนส่งสัญญาณผ่อนคลายเชิงนโยบายเพิ่มเติม ภายหลังจากที่ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือ Developer โดยขยายระยะเวลาชำระสินเชื่อไปถึงหนึ่งปี โดยก่อนหน้านี้ ได้ออกมาตรการสนับสนุนให้สถาบันการเงินและ Developer ได้เจรจาต่อรองเงื่อนไขการชำระ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบไปด้วย PBoC และหน่วยงานกำกับสถาบันการเงิน หรือ NFRA ได้กล่าวร่วมกันว่า มาตรการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ Developer มีสายป่านเพียงพอที่จะก่อสร้างจนแล้วเสร็จและสามารถส่งมอบบ้านได้ สำนักข่าว China Securities Journals กล่าวว่า ทางการจีนมีแผนที่จะออกมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมอีก เพื่อที่จะเพิ่มความเชื่อมันธุรกิจในกลุ่มนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งมาตรการที่จะออกต่อไป อาจจะเป็นมาตรการกระตุ้นจากฝั่งอุปสงค์ เช่น ผ่อนคลายเกณฑ์การซื้อบ้าน หรือปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่ามาตรการกระตุ้นจากฝั่งอุปทานแต่เพียงด้านเดียวอาจไม่เพียงพอให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีนฟื้นได้อย่างยั่งยืน จึงมองว่า มาตรการกระตุ้นทางฝั่งอุปสงค์จะมีส่วนช่วยหนุนธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง โดยหวังว่า ทางการจีนจะปรับลดการวางเงินดาวน์เพื่อกระตุ้นให้คนอยากซื้อบ้านมากขึ้น ทั้งนี้ ตัวเลข Saving Rate ล่าสุดของจีนปรับตัวสูงขึ้น 15 % YoY YTD มาอยู่ที่ […]
Economic Update: อัตราเงินเฟ้อไทยชะลอลงอย่างต่อเนื่อง คาดทั้งปีโต 1-2%
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือน มิ.ย.เพิ่มขึ้น 0.23%YoY ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ 0.53% ขณะที่ ตลาดคาดว่าไม่โต เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือน 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 22 เดือนตั้งแต่เดือน ส.ค.2021 เนื่องจากการลดลงราคาสินค้าในหมวดอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ รวมทั้งการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับฐานในเดือน มิ.ย.ปีก่อน อยู่ในระดับที่สูง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) ขยายตัว 2.49% สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน หรือ Core CPI ในเดือนมิ.ย. ขยายตัว 1.32% YoY เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเช่นกัน ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1.87% กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2023 […]
FOMC มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 5-5.25% Dot Plot เดือนมิ.ย. เผยหยุดเพื่อไปต่อ (อีกสองครั้ง)
โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ 11:0 ให้คงเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5%-5.25% ตามตลาดคาด แต่ส่งสัญญาณผ่าน Dot Plot ว่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.6% (5.5-5.75%) ภายในสิ้นปี หากอัตราเงินเฟ้อไม่ชะลอตัวลงอีก นับเป็นการหยุดการขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวครั้งแรก จากที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกัน 10 ครั้งตั้งแต่เดือนมี.ค. 2022 ซึ่งเป็นผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ ระดับปัจจุบัน ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุด นับตั้งแต่เดือนก.ย. 2007 คำพูดใน Statement การประชุมที่เปลี่ยนไปครั้งนี้ คือ คณะกรรมการ FOMC เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ เพื่อที่จะรอประเมินข้อมูลเพิ่มเติมและประเมินผลกระทบต่อนโยบายการเงิน โดยที่พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนทิศทาง หากมีเหตุการณ์ความเสี่ยงใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นที่จะมีผลต่อเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% Dot Plot ชุดใหม่สะท้อนว่า ควรคุมเงินเฟ้อก่อน เพราะเศรษฐกิจไม่ได้ดูแย่กว่าที่เคยคาดไว้เมื่อเดือนมี.ค. · […]