ธปท. มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ 2.0% พร้อมมองเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง

ธปท. มีมติปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ 2.0% พร้อมมองเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี เป็น 2.00% ต่อปี พร้อมมองเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ผ่านการปรับขึ้นประมาณการของ การท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน การส่งออก ด้านเงินเฟ้อ มองว่าชะลอ แต่ยังยืนสูง ทั้งนี้ ก็ยังพร้อมที่จะปรับขนาดและเงื่อนเวลาของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทยเปลี่ยนไปจากที่ประเมินไว้ Implication: ธปท.น่าจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นต่อ

Economic Update: Update สถานการณ์การเมืองไทย

Economic Update: Update สถานการณ์การเมืองไทย

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM พรรคก้าวไกลได้คะแนนนำ ตลาดมองเป็นปัจจัยบวกและคาดว่า พรรคก้าวไกลจะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล การเลือกตั้งทั่วไปเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2023 โดยที่มีผู้ลงคะแนนเสียง 75% ของผู้ที่มีสิทธิ์โหวต 52 ล้านคน ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคก้าวไกลชนะคะแนนเสียงค่อนข้างห่าง โดยที่ ณ ขณะนี้จำนวนเก้าอี้ พรรคก้าวไกลได้ทั้งหมด 151 เก้าอี้ (ตามมาด้วยพรรคเพื่อไทยที่ 141 เก้าอี้) โดยที่พรรคก้าวไกลชนะที่นั่งของ สส.เขตขาดลอยในกทม. (32 เขตจากทั้งหมด 33 เขต) ภาคกลาง และภาคเหนือ ในขั้นตอนถัดไป โดยที่ผลเลือกตั้งเป็นทางการจะประกาศภายใน 60 วัน (วันที่ 13 ก.ค. 2023) และตามกำหนดการ การเปิดสภาแรกจะมีขึ้นภายใน 15 วัน […]

Economic Update: Fed-ECB Divergence คือ Keyword ใหม่ เมื่อตลาดมองว่า Fed จะคงดอกเบี้ย แต่ ECB พร้อมไปต่อ

Economic Update: Fed-ECB Divergence คือ Keyword ใหม่ เมื่อตลาดมองว่า Fed จะคงดอกเบี้ย แต่ ECB พร้อมไปต่อ

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Fed-ECB Divergence คือ Keyword ใหม่ เมื่อตลาดมองว่า Fed จะคงดอกเบี้ยแต่ ECB พร้อมไปต่อ คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ 5-5.25% เนื้อความในมติการประชุมครั้งนี้ ที่ต่างจากการประชุมครั้งก่อน คือ การประชุมครั้งนี้ไม่มีประโยคที่ว่า “คณะกรรมการเห็นควรให้คุมเข้มนโยบายการเงินต่อไป” ทำให้ตลาดคาดว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. สำหรับ Key Point สำคัญ ระหว่าง Press Conference ได้แก่ ประธาน Fed ค่อนข้างจะ Bullish ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยได้ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวในอัตราปานกลางและไม่ได้มองว่า […]

ส่งออกไทยเดือนมี.ค. ติดลบน้อยลง หนุนจากออเดอร์สินค้าเกษตรที่ดี

ส่งออกไทยเดือนมี.ค. ติดลบน้อยลง หนุนจากออเดอร์สินค้าเกษตรที่ดี

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การส่งออกไทยเดือนมี.ค.อยู่ที่ 27,654.4 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -4.2% YoY (prev -4.7%) ด้านการนำเข้า อยู่ที่ 24,935.5 ล้านดอลลาร์ฯ หรือหดตัว -7.1%YoY (prev. -1.1%) เป็นผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2,718.8 ล้านดอลลาร์ฯ (prev -1,113.4) ภาพรวม ไตรมาสแรกของปี 2023 การส่งออก มีมูลค่า 70,280.1 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัว -4.5%YoY YTD การนำเข้า มีมูลค่า 73,324.3 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ หดตัว -0.5% YoY YTD ดุลการค้าไตรมาสแรกของปี 2023 ขาดดุล -3,044.2 […]

เครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนสะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

เครื่องชี้เศรษฐกิจของจีนสะท้อนการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM โดยที่แต่ละเครื่องชี้ มีรายละเอียด ดังนี้  GDP ไตรมาส 1/2023 ขยายตัว 4.5% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.0% เร่งตัวขึ้นจาก 2.9% ในไตรมาสก่อน ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน GDP ขยายตัว 2.2% QoQ เร่งตัวขึ้นจาก 0.04% ไตรมาสก่อน ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เร่งตัวขึ้นเป็น 10.6% YoY สูงกว่าตลาดคาดที่ 7.5% จาก 3.5% ในเดือน ม.ค.-ก.พ. การฟื้นตัว นำโดยหมวดร้านอาหาร (26.3% vs. 9.2% เดือน ม.ค.-ก.พ.), เครื่องสำอางค์ (9.6% vs. […]

นายกรัฐมนตรี หลี่เฉียง แสดงวิสัยทัศน์ ในระหว่างการประชุม Boao Forum

นายกรัฐมนตรี หลี่เฉียง แสดงวิสัยทัศน์ ในระหว่างการประชุม Boao Forum

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM นายกรัฐมนตรี หลี่เฉียง แสดงวิสัยทัศน์ ในระหว่างการประชุม Boao Forum ที่จัดขึ้นในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ เพิ่มกำลังการผลิตสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ให้มากกว่า 1000 กิกะวัตต์ ภายในปีนี้ นายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย นาย Anwar Ibrahim กล่าวว่า จีนจะต้องรื้อฟื้น Belt and Road Initiative ขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ นายกฯ ของมาเลเซียได้เข้าร่วมในงานสัมมนาดังกล่าว และมีแผนที่จะเข้าพบกับผู้นำของจีน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมาเลเซียและจีน นายกรัฐมนตรีของจีน กล่าวว่า จีนเป็นผู้เล่นสำคัญในเกมภูมิรัฐศาสตร์ในการที่จะนำสันติภาพของโลกกลับมา ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกในขณะนี้ จีน คือ สิ่งที่แน่นอนที่สุด ภาพเศรษฐกิจจีนขยายตัวได้อย่างดี ทั้งยังไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ไม่มีความจำเป็นต้องกังวลความเสี่ยงลูกโซ่ หรือ Systemic Risk […]

Economic Update: การส่งออกยังหดตัวตามอุปสงค์การค้าโลก คาดจีนจะมาช่วยครึ่งปีหลัง

Economic Update: การส่งออกยังหดตัวตามอุปสงค์การค้าโลก คาดจีนจะมาช่วยครึ่งปีหลัง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM การส่งออกไทยในเดือนก.พ. อยู่ที่ 22,376.3 ดอลลาร์ฯ หรือ หดตัว -4.7% YoY การนำเข้าอยู่ที่ 23,489.7 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 1.1% YoY เป็นดุลการค้าขาดดุล -1,113.4 ล้านดอลลาร์ฯ ภาพรวม 2 เดือนแรกของปีการส่งออก มีมูลค่า 42,625.8 ล้านดอลลาร์ฯ หรือหดตัว -4.6% YoY YTD การนำเข้า มีมูลค่า 48,388.8 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว 3.3% YoY YTD ดุลการค้า 2 เดือนแรกของปี  ขาดดุล -5,763.1 ล้านดอลลาร์ฯ ในรายสินค้า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว […]

Economic Update: ประชุม กนง. : มีมติเป็นเอกฉันท์ (7:0) ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ 1.75%

Economic Update: ประชุม กนง. : มีมติเป็นเอกฉันท์ (7:0) ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ 1.75%

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Bottom Line (สรุปจากที่อ่านมติ) กนง. มองเศรษฐกิจโดยภาพรวมขยายตัวจากการท่องเที่ยว การบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการส่งออก แต่กลับ Revise Down GDP ลงจากประมาณการครั้งก่อน สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป กนง. มองว่าทรงตัวต่ำ แต่ห่วง Core Inflation ที่จะคาสูง จึงตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ ความเห็นส่วนตัว เท่าที่มองประมาณการเศรษฐกิจในรอบนี้ เห็นว่า กนง. ดูจะ Hawkish Talk เกินไปมากกว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่เผยออกมา จึงคิดว่า อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอาจจะอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไป มองไปข้างหน้ากนง. น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจอาจจะไม่ได้สะท้อนการขยายตัวอย่างโดดเด่นในปีนี้ รายละเอียดของมติ กนง. เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกสินค้าเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวจากที่หดตัวในช่วงก่อนหน้า และคาดว่าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี กนง.ไม่ห่วงอัตราเงินเฟ้อ Overshoot แต่ห่วงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวสูง // อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเริ่มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงกลางปีนี้ […]

สถานการณ์ Bank Run ในสหรัฐฯ การเข้าช่วยเหลือของทางการ และความท้าทายที่ยังมีอยู่

สถานการณ์ Bank Run ในสหรัฐฯ การเข้าช่วยเหลือของทางการ และความท้าทายที่ยังมีอยู่

เมื่อเข้ากลางเดือนมี.ค. เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับ Silver Gate Bank (ที่ประสบกับปัญหาสภาพคล่องจากการถูกถอนเงินฝากในรูป Crypto Currency) และสถานการณ์ประทุรุนแรงมากขึ้น เมื่อลูกค้าของ Silicon Valley Bank (ที่มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นธุรกิจในกลุ่ม Tech ประสบกับปัญหาลูกค้าแห่ถอนเงินเช่นเดียวกัน เป็นผลให้ทั้งสองธนาคารต้องปิดตัวและเข้าสู่กระบวนการขอรับความช่วยเหลือจากทางการ สถานการณ์เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น เมื่อหุ้นของธนาคาร Credit Suisse (เป็นธนาคารที่ประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนักมาระยะใหญ่แล้ว) ดิ่งลงอย่างรวดเร็วเหตุจากผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือ Saudi National Bank ปฏิเสธการเพิ่มทุน แม้ว่า แต่ละธนาคารมีสาเหตุของปัญหาที่แตกต่างกัน แต่เมื่อเกิดปัญหาการถอนเงินในระยะเวลาใกล้ๆ กัน ความไม่เชื่อใจของผู้ฝากเงินต่อธนาคารจึงลุกลามบานปลายไปยังธนาคารอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นผลให้เกิดการแห่ถอนเงินฝาก กระทั่ง Credit Rating Agency หลายเจ้าออกมาประกาศพิจารณาปรับลด Credit Rating ธนาคารในสหรัฐฯ เหตุการณ์ Bank run/Crisis ถือเป็นสถานการณ์ที่วิกฤติและมีความจำเป็นยุติให้เร็วที่สุด ทางการจึงมีความจำเป็นต้องออกมาตรการเพื่อบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์แทบจะในทันที มาตรการที่ทางการได้ทยอยปล่อยออกมา ได้แก่ […]

Fed กล่าว ไม่ Trade-Off เสถียรภาพของธนาคารกับเงินเฟ้อ แต่เป็นการขึ้นแบบ Dovish Hike ด้าน Dot Plot ชี้ยังขึ้นได้อีก 1 ครั้ง

Fed กล่าว ไม่ Trade-Off เสถียรภาพของธนาคารกับเงินเฟ้อ แต่เป็นการขึ้นแบบ Dovish Hike ด้าน Dot Plot ชี้ยังขึ้นได้อีก 1 ครั้ง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Key Event คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11:0) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bp สู่กรอบ 4.75-5.0% โดยเนื้อความที่เปลี่ยนไปจากการประชุมครั้งก่อน ได้แก่ เครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนสะท้อนการขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งฝั่งการใช้จ่ายและการผลิตภาคอุตสาหกรรม การจ้างงานยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อัตราว่างงานต่ำ ส่วนแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ ระบบธนาคารในสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ อาจจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวได้บ้าง และอาจจะกระทบกับการใช้สินเชื่อของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะยังมีความไม่แน่นอน แต่ที่ยังคงแน่นอนเสมอมา คือ คณะกรรมการยังคงให้น้ำหนักกับอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการจะติดตามสถานการณ์ของธนาคารพาณิชย์อย่างใกล้ชิด แต่ ณ ขณะนี้ ยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปในอนาคต เพื่อให้เป้าหมายเงินเฟ้อระยะกลางเข้าสู่เป้าหมาย 2% โดยยังยึดหลักการตัดสินใจอ้างอิงข้อมูลปัจจุบันและพร้อมเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินหากจำเป็น (Data dependent) และยังคงเดินหน้าทำ QT […]