จีนตอบโต้สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า 128 รายการ

จีนตอบโต้สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้า 128 รายการ

รัฐบาลจีนประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ 128 รายการ เพื่อตอบโต้การขึ้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมของสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. จีนจะเก็บภาษีเพิ่มเติมจากอัตราเดิมที่เก็บอยู่ตอนนี้ โดยเก็บเพิ่มสูงสุด 25% สำหรับชิ้นส่วนอลูมิเนียม เนื้อหมูแช่แข็ง และอื่นๆ รวม 8 รายการ ส่วนสินค้าอื่นๆ อาทิ ถั่ว ผลไม้ ไวน์และเหล็กม้วน จะเก็บเพิ่ม 15% สินค้าส่วนใหญ่ที่จีนเก็บภาษีเพิ่มเติม คือ สินค้าเกษตร (ประมาณ 90%) แต่สินค้าทั้งหมดนี้คิดเป็นเพียง 0.2% ของการนำเข้าของจีน ชี้ให้เห็นว่า จีนยังมีความระมัดระวังต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งกำแพงภาษี จีนหลีกเลี่ยงการตอบโต้ในสินค้าที่มีความสำคัญ เช่น ถั่วเหลือง รถยนต์ และเครื่องบิน ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าหลักของจีนจากสหรัฐฯ การตอบโต้นี้ ต่อเนื่องมาจากการประกาศของจีนในช่วงก่อนหน้า ที่จะขึ้นภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์ฯ

ทิศทางเศรษฐกิจยูโรโซน

ทิศทางเศรษฐกิจยูโรโซน

Monthly Economic Review (March-April 2018) เศรษฐกิจยูโรโซนหรือ EA-19 เติบโต +0.6% QoQ sa (ประมาณการครั้งสุดท้าย) ในไตรมาสที่ 4/2017 ทำให้ GDP รวมทั้งปี 2017 เร่งขึ้นเป็น +2.5% เร็วที่สุดในรอบ 10 ปี โดยที่ทุกเครื่องยนต์เศรษฐกิจสร้างผลบวก (GDP Contribution) ให้กับเศรษฐกิจยูโรโซน โดยที่การลงทุนสามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ +0.9% QoQ sa (prev. -0.2% QoQ sa) ขณะที่การส่งออกขยายต่อตัวเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว (ที่ +1.9% QoQ sa จากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวที่ +1.6% QoQ sa) เช่นเดียวกับการนำเข้าที่ +1.1%QoQ sa จะเห็นได้ว่าการส่งออกขยายตัวได้มากกว่าการนำเข้าจึงยังทำให้การค้าต่างประเทศสุทธิยังส่งอานิสงส์ด้านบวกให้กับเศรษฐกิจยุโรป ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวที่ +0.2% […]

อัพเดทเศรษฐกิจ 5 ประเทศหลักอาเซียน

อัพเดทเศรษฐกิจ 5 ประเทศหลักอาเซียน

ASEAN THIS MONTH (March-April 2018)  อินโดนีเซีย อัตราเงินเฟ้ออินโดนีเซียชะลอลงในเดือนก.พ. มาอยู่ที่ +3.18% YoY จาก +3.25% YoY ในเดือนม.ค. เนื่องมาจากราคาอาหารบางรายการ อาทิ เนื้อไก่ ผักสด และพริกลดลง ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนก.พ. ที่หักราคาอาหารสดแล้วขยายตัว +2.58% YoY น้อยกว่าเดือนก่อนหน้าที่ +2.69% YoY ธนาคารกลางอินโดนีเซียมีเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในปี 2018 ที่ 2.5-4.5%  สิงคโปร์ การส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมันของสิงคโปร์ (NODX) หดตัวลงถึง -5.9% YoY ในเดือน ก.พ. 2018 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวได้ +4.8% YoY หากแยกออกเป็นหมวดหลักๆ จะสังเกตได้ว่ายอดการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ย่อลง -12.3% YoY จากการหดตัว -3.9% YoY […]

จีนตอบโต้กำแพงภาษีทรัมป์ ตลาดหุ้นโลกผันผวน

จีนตอบโต้กำแพงภาษีทรัมป์ ตลาดหุ้นโลกผันผวน

กระทรวงพาณิชย์จีน ประกาศว่าไม่กลัวการทำสงครามการค้ากับสหรัฐฯ และเตรียมยกระดับกำแพงภาษีอัตรา 15-25% กับสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯมูลค่ารวม 3 พันล้านดอลลาร์ฯ เช่น ผลิตภัณฑ์หมู อลูมิเนียมรีไซเคิล ท่อเหล็ก ผลไม้และไวน์ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น จีนอาจยังสามารถตอบโต้ด้วยการเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และขึ้นภาษีสินค้าประเภทอื่นๆ เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เมล็ดถั่วเหลือง อากาศยาน และไมโครชิป เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นภายหลังการสอบสวนของรัฐบาลสหรัฐฯยืนยันว่ามีการละเมิดสิทธิทางปัญญาของสหรัฐฯผ่านการโอนถ่ายเทคโนโลยีจากบริษัทที่จีนเข้ามาถือครอง Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงสั่งการให้ Robert Lighthizer ผู้แทนการค้าดำเนินการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ครอบคลุมตั้งแต่อุตสาหกรรมการบิน การสื่อสารและไอที รวมไปถึง เครื่องจักร ซึ่งรายละเอียดจะถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการภายใน 15 วัน ทางการจีนเผยถึงแผนที่จะนำเรื่องการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯขึ้นสู่การพิจารณาองค์กรการค้าโลก (WTO) โดยยังเชื่อว่าการเจรจานั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด Trump กล่าวด้วยว่าจะมีมาตรการอื่นๆตามมาอีกอย่างแน่นอน โดยที่ผ่านมามีการสั่งการให้ Steven Mnuchin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐ เตรียมนำเสนอแผนจำกัดการลงทุนจากจีนต่อ Trump […]

มุมมองต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น

มุมมองต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นประกาศปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4/2017 ขึ้น จาก +0.1% QoQ ในประมาณการครั้งแรก เป็น +0.4% QoQ โดยมีปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 5 และเพิ่มขึ้นจาก +0.7% QoQ ในการประมาณการครั้งแรก เป็น +1.0% QoQ บวกกับการลงทุนภาครัฐที่หดตัวน้อยลงจากการประมาณการครั้งแรก -0.5% QoQ เป็น -0.2% QoQ ขณะที่ การบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 60% ของ GDP นั้น ขยายตัว 0.5% QoQ เท่ากับการประมาณการครั้งแรก ดัชนีราคาค้าส่ง (PPI) ของญี่ปุ่นขยายตัว +2.5% YoY ในเดือนก.พ. โดยได้ปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันและราคาโลหะนอกกลุ่มเหล็กที่ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ แม้ดัชนี PPI จะปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 แต่ดัชนี PPI เดือนก.พ. […]

เศรษฐกิจยูโรโซนยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นแต่อาจจะชะลอจากปี 2017

เศรษฐกิจยูโรโซนยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นแต่อาจจะชะลอจากปี 2017

Monthly Economic Review March-April 2018 เศรษฐกิจยูโรโซน เศรษฐกิจยูโรโซนหรือ EA-19 เติบโต +0.6% QoQ sa (ประมาณการครั้งสุดท้าย) ในไตรมาสที่ 4/2017 ทำให้ GDP รวมทั้งปี 2017 เร่งขึ้นเป็น +2.5% เร็วที่สุดในรอบ 10 ปี โดยที่ทุกเครื่องยนต์เศรษฐกิจสร้างผลบวก (GDP Contribution) ให้กับเศรษฐกิจยูโรโซน โดยที่การลงทุนสามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ที่ +0.9% QoQ sa (prev. -0.2% QoQ sa) ขณะที่การส่งออกขยายต่อตัวเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว (ที่ +1.9% QoQ sa จากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวที่ +1.6% QoQ sa) เช่นเดียวกับการนำเข้าที่ +1.1%QoQ sa จะเห็นได้ว่าการส่งออกขยายตัวได้มากกว่าการนำเข้าจึงยังทำให้การค้าต่างประเทศสุทธิยังส่งอานิสงส์ด้านบวกให้กับเศรษฐกิจยุโรป ส่วนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวที่ […]

FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามคาด

FED ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามคาด

เปรียบเทียบผลประชุม FOMC เดือนม.ค. และมี.ค FOMC มองว่าตลาดแรงงานยังคงเติบโตแข็งแกร่ง แต่ ได้ปรับมุมมองต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจว่าขยายตัวปานกลาง จากเดิมที่มองว่าเศรษฐกิจขยายตัวดี โดยที่การบริโภคครัวเรือนและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวปานกลางจากที่โตดีในไตรมาส 4/2017 ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังโตต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2.0% และ มุมมองต่อแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะกลางและยาวยังไม่เปลี่ยนแปลง เป้าหมายเศรษฐกิจและการประเมินความเสี่ยง โดยส่วนใหญ่ไม่ต่างจากเดือนธ.ค. แต่ได้เพิ่มว่า “มีมุมมองต่อเศรษฐกิจว่าจะขยายตัวแข็งแกร่ง” อัตราเงินเฟ้อในช่วง 12 เดือนข้างหน้ามี “ทิศทางที่จะขยายตัว” FOMC ยังคงแนวโน้มการปรับทิศทางนโยบายการเงิน “ค่อยเป็นค่อยไป” และยังประเมินความเสี่ยงไม่เปลี่ยนแปลงจากการประชุมในครั้งที่แล้ว ผลการประชุม คณะกรรมการ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ 8-0 (ตามตลาดคาด) ให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps จากเดิม 1.25-1.5% เป็น 1.5-1.75% การประมาณการเศรษฐกิจ FOMC มอง GDP และอัตราว่างงานดีขึ้น โดยให้ GDP ปี […]

ส่งออกไทยเดือนก.พ.อยู่ที่  20,365 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว10.3% YoY

ส่งออกไทยเดือนก.พ.อยู่ที่ 20,365 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัว10.3% YoY

การส่งออกไทยเดือนก.พ.อยู่ที่ 20,365 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 20,101.4 ล้านดอลลาร์ฯ) ขยายตัว +10.3% YoY (เดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ +17.6% YoY) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 19,557 ล้านดอลลาร์ฯ (เดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 20,220.6 ล้านดอลลาร์ฯ)หรือขยายตัว +16.0% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว +24.2% YoY) ส่งผลให้การค้าพลิกมาเกินดุล 808 ล้านดอลลาร์ฯ (จากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -119.2 ล้านดอลลาร์ฯ) รวม 2 เดือนแรกของปี 2018 การส่งออกมีมูลค่า 40,467 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น +13.8% YoY)  การนำเข้ามีมูลค่า 39,778 ล้านดอลลาร์ฯ (เพิ่มขึ้น +20.1% YoY) และการค้าเกินดุล 689 ล้านดอลลาร์ฯ การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในเดือนก.พ. flat […]

การผลิตรถยนต์ทั้งหมดในเดือน ก.พ. มีทั้งสิ้น 178,237 คัน เพิ่มขึ้น 15.37% YoY

การผลิตรถยนต์ทั้งหมดในเดือน ก.พ. มีทั้งสิ้น 178,237 คัน เพิ่มขึ้น 15.37% YoY

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย การผลิตรถยนต์ทั้งหมดในเดือน ก.พ. มีทั้งสิ้น 178,237 คัน เพิ่มขึ้น 15.37% YoY จากการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกและเพื่อจำหน่ายในประเทศที่เพิ่มขึ้นทุกประเภท และเพิ่มขึ้น 7.25%MoM โดยจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 344,433 คัน เพิ่มขึ้น 12.28% YoY จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือน ก.พ.ส่งออกได้ 102,217 คัน เพิ่มขึ้น 4.05% YoY โดยตลาดตะวันออกกลาง และตลาดอเมริกากลางและอเมริกาใต้เป็นบวกมา 4 เดือนจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ตลาดออสเตรเลียยังคงเติบโตดีมาก ส่วนตลาดอัฟริกา ยุโรป และเอเชียส่งออกลดลง โดยตลาดเอเชียลดลงจากการชะลอส่งออกไปยังประเทศเวียดนามที่คุมเข้มรถยนต์ที่นำเข้า ทั้งนี้ส่งผลให้ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.) มีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปได้ 184,284 คัน เพิ่มขึ้น 3.34%YoY

ยอดส่งออกไม่รวมน้ำมันสิงคโปร์ (NODX) หดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016

ยอดส่งออกไม่รวมน้ำมันสิงคโปร์ (NODX) หดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016

การส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมันของสิงคโปร์ (Non-oil Domestic Exports: NODX) หดตัวลงถึง -5.9% YoY ในเดือน ก.พ. 2018 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะขยายตัวได้ +4.8% YoY หากแยกออกเป็นประเภท จะสังเกตได้ว่ายอดการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หดตัว -12.3% YoY ย่อลงจากการหดตัว -3.9% YoY ในเดือนก่อน ซึ่งเมื่อเทียบกับการส่งออกจากประเทศใกล้เคียงอย่างจีน เวียดนาม และเกาหลีแล้ว ถึงว่าค่อนข้างต่ำมาก ระหว่างที่สินค้าอื่นๆ (Non-electronics) หดตัวลง -3.4% YoY หลังจากทะยานขึ้นถึง +20.7% YoY ในเดือนก่อนหน้า ตัวเลขดังกล่าว อาจจะเป็นผลกระทบบางส่วนจากวันหยุดตรุษจีน ซึ่งตกอยู่ในเดือน ม.ค. ในปี 2017 แต่อยู่ในเดือน ก.พ. สำหรับปี 2018 เนื่องจากประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกหลักแห่งหนึ่งของผู้ผลิตสิงคโปร์ อย่างไรก็ดี แนวโน้มการชะลอตัวของการค้าระหว่างประเทศจากปี 2017 ที่เติบโต […]