สรุปภาพเศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค. 2022
Economic Research เศรษฐกิจไทยในเดือน ม.ค. 2022 ชะลอลง โดยการบริโภคและลงทุนของภาคเอกชนปรับลดลงจากความกังวลต่อการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปรับลดลงจากการระงับการลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ชั่วคราว ขณะที่การส่งออกสินค้าปรับลดลงบ้าง หลังจากเร่งไปในเดือนก่อน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานและอาหารสด ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากราคาอาหารสำเร็จรูปที่ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ด้านตลาดแรงงานทยอยปรับดีขึ้นบ้างแต่โดยรวมยังเปราะบาง สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากกว่าเดือนก่อน ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้น ตามความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังจากมีการประกาศในกลางเดือนม.ค.ว่าจะกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านระบบ Test & Go ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. เป็นต้นไป สำหรับความเคลื่อนไหวอื่นๆ ของเศรษฐกิจไทย มีดังนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปประจำเดือน ม.ค.ขยายตัว 3.23 %YoY ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 2.17% YoY โดยกลุ่มสินค้าที่ผลผลักดันอัตราเงินเฟ้อได้แก่ สินค้าในกลุ่มพลังงาน ที่ได้ส่งผล กระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเงินเฟ้อ โดยสินค้ากลุ่มพลังงานสูงขึ้น 19.22% YoY […]
วิกฤตยูเครน…ปัจจัยเพิ่มความผันผวนและความกังวลระยะสั้น
Economic Research สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย ยูเครน และชาติพันธมิตรนาโต ได้เพิ่มความตึงเครียดขึ้นอีกระดับหลังช่วงเช้าของวันที่ 24 ก.พ. รัสเซียประกาศใช้ปฏิบัติการทางทหารในภูมิภาคดอนบัส (ส่วนหนึ่งของยูเครนที่รัสเซียให้การรับรองสถานะการเป็นรัฐอิสระเมื่อคืนวันจันทร์ที่ 21 ก.พ.) โดยเกิดเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้งในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ส่งผลให้ขณะนี้หลายประเทศออกมาคว่ำบาตรรัสเซีย นำโดยสหรัฐฯ ที่ประกาศมาตรการคว่ำบาตรกับนักธุรกิจชั้นนำและสถาบันการเงินของรัสเซียไปแล้วบางส่วน ขณะที่ในระยะถัดไป เรามองว่าสหรัฐฯ มีทางเลือกที่จะยกระดับการคว่ำบาตรได้อีก รวมถึงอาจนำไปสู่ปฏิบัติการทางทหารที่เข้มข้นมากขึ้นในยูเครนหากสถานการณ์เลวร้ายกว่านี้ มาตรการคว่ำบาตรและความเป็นไปได้ของการยกระดับความรุนแรง เมื่อความขัดแย้งใดที่มีรัสเซียอยู่ในสมการ ก็จะสร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งกลุ่มเกษตร โลหะ และพลังงาน เนื่องด้วยรัสเซียเป็นผู้ผลิตหลัก เหตุการณ์นี้จึงได้เพิ่มความผันผวน และความไม่แน่นอนต่อตลาดที่หวั่นไหวเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอยู่แล้ว นักลงทุนส่วนหนึ่งจึงวิ่งเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Assets) ไม่ว่าจะเป็นเยน สวิสฟรังก์ ทองคำ หรือแม้กระทั่งค่าเงินบาท โดยเราคาดว่าเมื่อเหตุการณ์ความขัดแย้งสงบลง ตลาดจึงพร้อมที่จะเข้าสู่ Risk-on Mode อีกครั้ง สกุลเงินเยน สวิสฟรังก์ ทองคำ หรือแม้กระทั่งค่าเงินบาท กลายเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย สำหรับผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจจากเหตุการณ์ความไม่สงบนั้นจะขึ้นอยู่กับ 1) […]
GDP ไทยไตรมาสสุดท้ายมาแรง 1.9% YoY ทั้งปีโต 1.6%
Economic Research GDP ไทยขยายตัว 1.9% YoY ในไตรมาส 4 สูงกว่าที่ตลาดคาด ที่ 0.8% โดยปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัว -0.2% (revised) ทั้งนี้ หลังขจัดผลของฤดูกาล GDP ไตรมาส 4 ขยายตัว 1.8% QoQ, sa (vs. -0.9% ไตรมาสก่อน) ซึ่งตัวเลขที่ออกมาดีกว่าคาดเกิดหนุนการบริโภคภาครัฐ และการส่งออกสุทธิ สำหรับ GDP ทั้งปี 2021 ขยายตัวที่ 1.6% สูงกว่าที่คาดเช่นเดียวกัน (ตลาดคาด 1.0%) จากปี 2020 ที่หดตัวที่ -6.2% (revised) ในรายองค์ประกอบ ด้านการใช้จ่าย (Demand side) อุปสงค์ต่างประเทศ: การส่งออกขยายตัวสูง โดยเฉพาะการส่งออกบริการที่ขยายตัวสูงขึ้นมาก (30.5% […]
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี
Economic Research กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2022 มีแนวโน้มสูงกว่าที่ประเมินไว้และอาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายในช่วงแรกของปี จากการปรับขึ้นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานและอาหารสดบางประเภท นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น จากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจมากขึ้นหากราคาพลังงานและอาหารสดอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด หรือหากข้อจำกัดด้านการผลิตขยายวงกว้างขึ้นไปสู่สินค้าประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย แต่จะต้องติดตามราคาพลังงานโลก การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการในประเทศ รวมทั้งแรงกดดันต่อค่าจ้างแรงงานอย่างใกล้ชิด สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยการกระจายสภาพคล่องยังแตกต่างกันบ้างในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นสำคัญ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ฯ ยังเคลื่อนไหวผันผวน จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักที่เร็วขึ้นและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ด้านนโยบายการคลัง กนง. เห็นว่ามาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องยังมีความสำคัญ ด้านการดำเนินนโยบายการเงิน กนง.มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามต่อ ได้แก่ สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ราคาพลังงานโลก การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น รวมถึงความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ […]
BBLAM Monthly Economic Review – มกราคม 2022 : ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย
Economic Research เศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย ในเดือนมกราคม 2022 ประเด็นหลักหนีไม่พ้น อัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นสูง ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินเป็นหลัก ยูโรโซน สำหรับเศรษฐกิจยูโรโซน จะเห็นว่าตั้งแต่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวมาได้ค่อนข้างดี นับตั้งแต่เจอวิกฤติโควิด BBLAM คาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจยูโรโซนน่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง หลังจากฟื้นตัวค่อนข้างแรง แต่เมื่อยูโรโซนเผชิญกับการระบาดของโควิด ตั้งแต่สายพันธุ์เดลต้าต่อด้วยสายพันธุ์โอมิครอน ก็ทำให้เศรษฐกิจดูเหมือนจะสะดุดลงไปบ้างในไตรมาส 4 ปี 2021 สะท้อนได้จากตัวเลข PMI หรือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่บ่งบอกถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในเยอรมนี ที่นอกจากเผชิญปัญหาโควิดแล้ว ก็เจอปัญหาขาดแคลนชิปที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ปรับตัวลดลงด้วย ส่งผลให้เมื่อเทียบเยอรมนี กับประเทศอื่นๆ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปนแล้ว ดูเหมือนเศรษฐกิจเยอรมนีจะชะลอตัวลงไปมากกว่า เมื่อพิจารณาตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ล่าสุดที่ออกมา GDP เยอรมนี ออกมาอยู่ที่ -0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ทำให้ตลาดเริ่มมีความกังวลว่า เศรษฐกิจเยอรมนีอาจจะเผชิญกับภาวะ technical recession ได้ […]
BBLAM Monthly Economic Review – มกราคม 2022 : สหรัฐฯ จีน
Economic Research ประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจในเดือนมกราคม 2022 คือ ทิศทางนโยบายการเงิน โดยในส่วนของสหรัฐฯ และจีน นั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพิ่งจะประชุมไปเมื่อปลายเดือนมกราคม 2022 และ BBLAM จะมีข้อสังเกตจากธนาคารกลางจีน (PBoC) มาเป็นข้อมูลเปรียบเทียบด้วย BBLAM อยากชี้ให้ทุกท่านเห็นว่า Upside ของการลงทุน หรือส่วนเพิ่ม มาจากความต่างระหว่างสิ่งที่ตลาดคาดหวังกับความเป็นจริง เริ่มที่สิ่งที่ตลาดคาดหวังก่อน ก็คือ 1.ตลาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคมนี้แล้ว 2.Fed จะต้องขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง 5 ครั้ง หรือบางที่ก็คาดการณ์ว่าจะขึ้นไปถึง 7 ครั้งเลยทีเดียว 3.Fed อาจจะมีการปรับลดงบดุล หรือทำ QT ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ทั้ง 3 ประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นความกังวลให้กับตลาดในภาพรวม แต่ว่าสิ่งที่ Fed บอก ณ การประชุมเมื่อช่วงสิ้นเดือนมกราคม […]
สรุปภาพเศรษฐกิจไทยเดือน ธ.ค. 2021
Economic Research ธปท. เผยกิจกรรมเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในเดือน ธ.ค. 2021 เป็นผลให้ตัวเลขทั้งปี 2021 ดูดีขึ้นกว่าปีก่อน ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ Omicron อาจจะกระทบชั่วคราวต่อตัวเลขในเดือน ม.ค. การบริโภคครัวเรือนหดตัวน้อยลงในเดือน ธ.ค. (-1.2% YoY vs. -3.3% เดือนก่อน) แต่ทั้งปียังแย่ เนื่องจากการปรับตัวดีขึ้นในการใช้จ่ายหมวดบริการ (+9.2% vs. +2.0% เดือนก่อน) และหมวดสินค้าคงไม่คงทน (-2.2% vs. -5.0% เดือนก่อน) ท่ามกลางมาตรการ Lockdown ที่ผ่อนปรน (ก่อนการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ Omicron) สำหรับตัวเลขทั้งปีหดตัว -1.6% จากปีก่อนที่ -1.3% การลงทุนภาคเอกชนแผ่วลงมาอยู่ที่ +4.2% YoY (vs. +5.3% เดือนก่อน) ด้วยอุปสงค์ที่ชะลอลงในหมวดพื้นที่ขอรับอนุญาตก่อสร้าง (+1.4% vs. +3.1% […]
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (9-0) คงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม
Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (9-0) คงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม อย่างไรก็ดี Fed ส่งสัญญาณการใช้นโยบายการเงินที่จะเข้มงวดขึ้นชัดเจน ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง รวมถึงตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ขณะที่เงินเฟ้อขยายตัวเหนือเป้าหมาย 2% ด้านการดำเนินนโยบายการเงิน สรุปในประเด็นสำคัญได้ดังนี้ การลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE taper) ระบุจะสิ้นสุดเดือน มี.ค. ซึ่งค่อนข้างเป็นไปตามที่ตามส่วนใหญ่คาดการณ์กันไว้ แต่มีความชัดเจนขึ้นว่าจะสิ้นสุดในช่วง “ต้นเดือน มี.ค.” การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้ระบุชัดว่าจะปรับขึ้นเมื่อไหร่ โดยระบุเพียงว่าการปรับขึ้นในระยะใกล้นี้อาจมีความเหมาะสมหากภาพเศรษฐกิจเป็นไปตามที่คาดไว้ (… “soon” be appropriate to raise the target range for the federal funds rate …) โดยตลาด (สะท้อนผ่าน Fed Funds Futures) มองว่า Fed […]
ส่งออกขยายตัวได้ดีในเดือน ธ.ค. แต่ดุลการค้าขาดดุล
Economic Research มูลค่าการส่งออกของไทยเดือน ธ.ค. มีมูลค่า 24,930.3 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัวที่ 24.2% (vs. 16.4% ตลาดคาดและ 24.9% เดือนก่อน) ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือนธ.ค.อยู่ที่ 25,284.5 ล้านดอลลาร์ฯ หรือขยายตัวที่ 33.4% YoY (vs. 18.2% ตลาดคาดและ 19.9% เดือนก่อน) ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการขยายตัวเหนือความคาดหมายทั้งฝั่งส่งออกและนำเข้า แต่เนื่องด้วยมูลค่าการนำเข้าสูงกว่าการส่งออก ดุลการค้าไทยเดือน ธ.ค.จึงขาดดุล -354 ล้านดอลลาร์ฯ (จากที่ เกินดุล 19.9 หมื่นล้านดอลลาร์ฯเดือนก่อน) สรุปภาพรวมการค้าระหว่างประเทศทั้งปี 2021 มูลค่าการส่งออกเติบโตอยู่ที่ 2.71 แสนล้านดอลลาร์ฯ (จากปีก่อนอยู่ที่ 2.31 แสนล้านดอลลาร์ฯ) หรือขยายตัว 17.1% (จากปีก่อนหดตัว -5.9%) ส่วนมูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 2.68 แสนล้านดอลลาร์ฯ […]
ตัวเลขเศรษฐกิจจีนดู Soft ลง แต่ทิศทางด้านนโยบายการคลัง และการเงินมีความผ่อนคลายมากขึ้น
Economic Research GDP จีนประจำไตรมาส 4/2021 ขยายตัว 4.0% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.3% แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนที่ 4.9% ขณะที่เมื่อเทียบรายไตรมาส GDP ขยายตัว 1.6% QoQ (vs. 0.2% ไตรมาสก่อน) ทั้งปี 2021 เศรษฐกิจจีนขยายตัว 8.1% YoY จากปี 2020 ที่ขยายตัว 2.2% ทั้งนี้ GDP Growth ในปี 2021 ยังอยู่เหนือเป้าหมายของทางการจีนที่ “อย่างน้อย 6%” ด้านกิจกรรมเศรษฐกิจเดือน ธ.ค. ภาคการผลิตและส่งออกขยายตัวดีกว่าที่คาด การลงทุนชะลอลง ขณะที่ยอดค้าปลีกและการนำเข้าได้ชะลอลงมาก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) เดือน ธ.ค. ขยายตัว 4.3% YoY เร่งตัวขึ้นจาก […]