BBLAM Economic Outlook 2022 : ตอนที่ 1 สหรัฐฯ จีน ไทย
สรุปความ Economic Research BBLAM ขอนำเสนอมุมมองเศรษฐกิจรายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ยูโรโซน ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และไทย ในปี 2022 โดยจะแบ่งการเผยแพร่มุมมองออกเป็น 2 ตอน คือ ในตอนแรกจะพูดถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน และไทยก่อน จากนั้นในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงเศรษฐกิจยูโรโซน ญี่ปุ่น และอินเดีย โดยก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่มุมมองรายประเทศ ขอเริ่มต้นที่การสรุปการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2022 กันก่อน ข้อสังเกตที่พบคือ ปีนี้ภาพผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ส่วนใหญ่จะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2021 มาจากผลของฐานสูง โดยประเทศที่ฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้ก่อน มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นมาก่อนในปี 2021 ปีนี้อาจจะไปต่อ แต่อัตราการขยายตัวของ GDP อาจชะลอตัวลง ทั้งนี้ใน 6 กลุ่มประเทศ ที่เราติดตามข้อมูลอยู่ มี 4 […]
การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 1.99 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่าที่ตลาดคาดอย่างมาก
Economic Research การจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ธ.ค. 2021 เพิ่มขึ้น 1.99 แสนตำแหน่ง ต่ำกว่าที่ตลาดคาดอย่างมากที่ 4.50 แสนตำแหน่ง ขณะที่ตัวเลขเดือนก่อนหน้าถูก Revised ปรับเพิ่มขึ้น 3.9 หมื่นตำแหน่ง เป็น 2.49 แสนตำแหน่ง การจ้างงานในภาคบริการเพิ่มขึ้น 1.45 แสนตำแหน่ง ( ลดลงจาก 1.77 แสนตำแหน่งในเดือนก่อน) นำโดยการจ้างงานในหมวดโรงแรมและการพักผ่อน (+5.3 หมื่นตำแหน่ง) และหมวดบริการทางธุรกิจ (+4.3 หมื่นตำแหน่ง) ขณะที่หมวดค้าปลีกลดลงเล็กน้อย (-1.2 หมื่นตำแหน่ง) ส่วนการจ้างงานในภาคการผลิตเพิ่มขึ้น 5.4 หมื่นตำแหน่ง (vs. 7.2 หมื่นตำแหน่งในเดือนก่อน) และการจ้างงานในภาคการศึกษาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย +7 พันตำแหน่ง หลังลดลงต่อเนื่อง 3 เดือน […]
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธ.ค.เพิ่มขึ้น 2.17% YoY แต่ลดลง -0.38% MoM ส่งผลให้ทั้งปี 2021 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีอยู่ที่ 1.23%
Economic Research ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. 2021 เพิ่มขึ้น 2.17% YoY (vs. prev. 2.71%) แต่ลดลง -0.38% MoM (vs. prev. 0.28%) ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2021 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 0.29% YoY (vs. prev. 0.29%) และเมื่อเทียบรายเดือนเพิ่มขึ้น 0.05% MoM (vs. prev. 0.09%) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. 2021 ที่ปรับสูงขึ้น 2.17% YoY นั้นเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่เริ่มปรับสูงขึ้นบ้าง แต่กระทรวงพาณิชย์มองว่ายังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (mkt. cons.มองที่ 2.51%) เนื่องจากมาตรการตรึงราคาน้ำมันของภาครัฐ ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารสด […]
กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี
BF Economic Research Key Takeaway กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากราคาพลังงานเป็นหลัก แต่ยังต้องติดตามพัฒนาการเงินเฟ้อโลกและการส่งผ่านต้นทุน การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมในระยะข้างหน้า จึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป กนง. เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ประกอบกับมาตรการทางการเงินการคลังที่มีความต่อเนื่อง เน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้รายได้ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง Economic Projection GDP กนง. คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 0.9% ในปี 2021 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2022 และ 2023 ที่ 3.4% และ 4.7% ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะทยอยกลับมามากขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มปรับดีขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดย กนง. ประเมินว่าการระบาดของสายพันธุ์ Omicron จะกระทบเศรษฐกิจในช่วง 1H2022 เมื่อพิจารณาจากตัวเลขประมาณการนักท่องเที่ยวต่างประเทศสะท้อนว่า กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้เต็มอัตรา (Fully […]
Economic Review Economic Update
BF Economic Review – ครึ่งแรกปี 2022
BF Economin Research Core Macro Theme : When the world is full of uncertainty, don’t count much on the economic outlook นับตั้งแต่ปี 2008 เศรษฐกิจโลกเผชิญการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างมาหลายครั้งที่ส่งผลให้ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาดังกล่าวยังเกิดการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การกำกับดูแลในภาคการเงินหลายครั้ง และนโยบายการเงินที่เปลี่ยนทิศทางไปมาอย่างรวดเร็วนับเป็นความท้าทายของนักเศรษฐศาสตร์ในการคาดการณ์แนวทางนโยบายของธนาคารกลางได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะเมื่อทั่วโลกเผชิญวิกฤติ COVID-19 ในปี 2019 การประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจอย่างแม่นยำจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากการเปิด/ปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามสถานการณ์การแพร่ระบาดส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ด้านตลาดแรงงาน และภาวะขาดแคลนปัจจัยการผลิตในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักก็ยังไม่สามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็วแม้จะกลับมาเปิดเมืองแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ผลกระทบจากปัจจัยอื่นๆ ทั้งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี, การเติบโตของตลาด Cryptocurrency, การหันมาใช้พลังงานสะอาด และความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศยิ่งทำให้ความไม่แน่นอนมีมากขึ้นในระยะข้างหน้า ดังนั้นแล้ว ตัวเลขเศรษฐกิจจริงกับตัวเลขประมาณการ (GDP Projection) จึงสามารถแตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง เราจึงต้องตระหนักถึงจุดนี้และใช้ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจปี 2022 อย่างรอบคอบ (ดังรูปด้านล่าง) […]
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด ส่วน Dot Plot สะท้อนท่าทีที่ Hawkish มากขึ้น Fed ได้ระบุว่าเนื่องจากเงินเฟ้อขยายตัวในระดับสูงกว่าเป้าหมาย 2% มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว คณะกรรมการมองว่ามีความเหมาะสมที่ดอกเบี้ยจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวไปก่อนจนกว่าตลาดแรงงงานจะฟื้นตัวไปจนถึงจุดที่คณะกรรมการมองว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ระบุว่า เนื่องจากเงินเฟ้อได้ขยายตัวต่ำกว่าเป้าหมายมานาน (ในช่วงก่อน COVID-19) คณะกรรมการต้องการให้เงินเฟ้อขยายตัวสูงกว่าเป้าหมายเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เงินเฟ้อขยายตัวเฉลี่ยที่ 2% ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ จากพัฒนาการของเงินเฟ้อและการฟื้นตัวต่อเนื่องของตลาดแรงงาน คณะกรรมการได้ตัดสินใจปรับลดอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ลงเพิ่มเติม โดยจากเดิมที่ลดการเข้าซื้อสินทรัพย์ลงเดือนละ USD15bn (แบ่งเป็น Treasury เดือนละ USD10bn และ MBS เดือนละ USD5bn) ได้ปรับเป็นลดลงเดือนละ USD30bn (แบ่งเป็น Treasury […]
BF Monthly Economic Review – ธ.ค. 2564
สรุปความ BF Economic Research When the world is full of uncertainty, don’t count much on the economic outlook. หมายความว่า เวลาที่โลกเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน อย่าไปเอาอะไรมากกับการประมาณการเศรษฐกิจ แม้จะเป็นการจั่วหัวที่ล่อแหลม แต่เราก็มีเหตุผลมาอธิบายว่าทำไมเราอาจไม่ต้องไปคิดมากว่าจะทำนายแม่นหรือไม่แม่นเกี่ยวกับประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือไม่ และถึงแม้ว่าประมาณการจะแม่นหรือไม่แม่น ก็สามารถช่วยในการจับจุดหาจังหวะการลงทุนได้ โดยปกติแล้ว GDP จะมีการประมาณการในช่วงเดือน ม.ค., เม.ย., ก.ค. และ ต.ค. หากดูจากกราฟด้านบน จุดสีน้ำเงินที่เห็นในกราฟจะแสดงการประมาณการเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละไตรมาสของปี 2017-2020 ส่วนจุดสีชมพู แสดงตัวเลขจริงที่ออกมาว่าอยู่ที่เท่าไหร่ ในปี 2017 ช่วงนั้นเศรษฐกิจโลกค่อนข้างดี แต่กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์มองว่าดีน้อยเกินไป โดยต้นปีมองว่าเศรษฐกิจจะโต 3.4% แต่ท้ายปีมาปิดที่ 3.8% ส่วนปี 2018 […]
GDP ไตรมาส 3 หดตัว -0.3% YoY (-1.1% QoQ, sa)
BF Economic Research GDP ไตรมาส 3 หดตัว -0.3% YoY (-1.1% QoQ, sa) จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ระบาดรุนแรง แต่ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดที่ -0.8% สศช. รายงานเศรษฐกิจไทยหดตัว -0.3% YoY ในไตรมาส 3 ดีกว่าที่ตลาดคาด และปรับตัวแย่ลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 7.6% ทั้งนี้ เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้า GDP หดตัว -1.1% QoQ sa (vs. 0.1% ไตรมาสก่อน) ในรายองค์ประกอบ: ด้านการใช้จ่าย (Demand Side) อุปสงค์ในต่างประเทศ: การส่งออกสินค้าและบริการโดยรวมชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า (12.3% vs. 27.7% ไตรมาสก่อน) โดยการส่งออกสินค้าชะลอลงเป็น 12.3% (vs. 30.7% […]
BF Monthly Economic Review – พ.ย. 2564
สรุปความ BF Economic Research สำหรับการสรุปสถานการณ์เศรษฐกิจในครั้งนี้จะเริ่มต้นด้วยประเด็นของ Inflation หรือเรื่องของเงินเฟ้อ ทุกครั้งที่เกิดประเด็นเงินเฟ้อขึ้นมา ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ที่อยู่ในวงการการลงทุน ต้องบอกว่าเรื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ยังไม่น่ากลัวเท่าประเด็นเงินเฟ้อ โดยเวลาที่มีเงินเฟ้อ เราจำเป็นต้องเข้าไปดูรายละเอียดค่อนข้างมาก เวลาตรวจร่างกาย แล้วคุณหมออ่านผลการตรวจเลือดของเรา แล้วทักว่าคลอเรสเตอรัลสูงขึ้น ซึ่งคลอเรสเตอรัลที่สูงขึ้นมาจากไขมันดีหรือไขมันร้าย ก็มีความคล้ายคลึงกันกับตรรกะของเรื่องเงินเฟ้อ โดยเวลาที่เงินเฟ้อปรับขึ้นมา นักเศรษฐศาสตร์จะต้องไปพิจารณาว่าเป็นเงินเฟ้อจากตัวดีหรือตัวร้าย เงินเฟ้อตัวดีนั้น คือ ระดับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการในสินค้ามากขึ้น จึงยอมจ่ายแพงขึ้น ซึ่งเราอาจจะได้เห็นเรื่องนี้ ในช่วงที่ราคาบ้านในสหรัฐฯ ปรับขึ้นสูงมากในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ของปีนี้ ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็ไม่ค่อยกังวล เพราะคนมีความสามารถในการซื้อ โดยในช่วงเวลานั้นราคารถมือสองก็ปรับขึ้นมากๆ เช่นกัน เพราะรถยนต์มือหนึ่งผลิตไม่ทัน ซึ่งในเวลานั้นคนไม่ค่อยกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ส่วนประธาน Fed เองก็ระบุว่า เงินเฟ้อแบบนี้น่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยใช้คำว่า “Transitory” คือเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อมาถึงปลายไตรมาสที่ 3 เข้าสู่ไตรมาสที่ 4 […]
การประชุม Fed เดือน พ.ย. เผยการทำ Asset Tapering แล้ว แต่ยังไม่ Commit ต่อกรอบเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่กรอบ 0-0.25% ตามการคาดการณ์ของตลาด และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ปัจจุบันเข้าซื้อที่อัตรา USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn และตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ซึ่งออกโดยหน่วยงานภาครัฐ (MBS) เดือนละ USD40bn นั้น แถลงการณ์ระบุว่า Fed ตัดสินใจที่จะเริ่มต้นลดอัตราการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE Taper) แบ่งเป็น Treasury เดือนละ USD10bn และ […]