ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook

ESG มากแค่ไหนถึงเพียงพอ: กรณีศึกษาจาก Facebook

โดย ชัยธัช เบน บุญญาปะมัย กองทุนบัวหลวง ในปัจจุบัน มีเงินทุนภายใต้การบริหารของนักลงทุนสถาบันที่ใช้แนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG (Environmental Social และ Governance) อยู่ราว 30 ล้านล้านดอลลาร์ฯ โดยเพิ่มขึ้นมากถึง 34% นับจากปี 2016 (อ้างอิงจาก Global Sustainable Investment Alliance) ขณะที่ ข้อมูลของ Morningstar พบว่า การลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกผ่านกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนอย่างยั่งยืน (ESG) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนแตะระดับ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ และในช่วงนี้การลงทุนลักษณะดังกล่าวนับว่าสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่กองทุนเหล่านี้ สะท้อนถึงผลเชิงบวกของบริษัทที่มีแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ดี ขณะเดียวกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่านักลงทุนหันมาสนใจลงทุนหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีกันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติ COVID-19 ซึ่งจากข้อมูลของ Morningstar นั้น ชี้ให้เห็นว่า กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ (Large Cap) ที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 […]

พลิกวิกฤติ COVID-19 สู่การฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หนุนธุรกิจใส่ใจ ESG มากขึ้น ตอนที่ 1/2

พลิกวิกฤติ COVID-19 สู่การฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หนุนธุรกิจใส่ใจ ESG มากขึ้น ตอนที่ 1/2

โดย…ฐนิตา ตุมราศวิน กองทุนบัวหลวง มลพิษทางอากาศลดลง…อีกมุมหนึ่งของวิกฤติ COVID-19 เหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกในแบบที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน โดยปัจจุบันจำนวนยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นทะลุ กว่า 20 ล้านคน และยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง ซึ่งการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาล หรือที่เรียกว่าล็อคดาวน์ โดยให้ประชาชนกักตัวอยู่ในบ้านเพื่อลดการติดต่อสัมผัสกัน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้านต่างๆ รวมไปถึงสถาบันการศึกษาปิดทำการ ในขณะที่การเดินทางทั่วโลกก็หยุดชะงักจากการประกาศปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจหลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี ในอีกแง่มุมหนึ่ง COVID-19 นับเป็นเสมือนตัวเร่งให้เทรนด์การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง หรือกระแส Disruption เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด อีกทั้งเห็นภาพชัดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม จากพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดคือ ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนที่ไม่เคยสั่งก็ได้หันมาลองสั่งในช่วงที่ต้องมีการรักษาระยะห่างทางสังคม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (Climate Change) เนื่องจาก หากมองย้อนไปในอดีตจะพบว่า เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใด ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มักจะปรับตัวลดลงเสมอ โดยจากข้อมูลของเว็บไซต์ Carbon Brief ระบุว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั่วโลกปล่อยก๊าซฯ […]

ขยะ + ไอเดีย = Upcycling

ขยะ + ไอเดีย = Upcycling

โดย…อรุณี ศิลปการประดิษฐ กองทุนบัวหลวง  จากแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่เป็นการเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบระบบการผลิตทางตรง ที่เป็นการนำทรัพยากรมาใช้ เพื่อทำการผลิต และเมื่อหมดประโยชน์ก็ทิ้งไป มาเป็นระบบการวางแผนและออกแบบการผลิตเพื่อคืนสภาพให้กับวัสดุต่างๆ ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์แทนการทิ้ง โดย เป็นการนำวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่เป็นวงจรต่อเนื่องโดยไม่มีของเสีย ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เรามักคุ้นเคยกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติผ่านแนวความคิด 3R คือ Reuse : การใช้ซ้ำ Reduce: ลดการใช้Recycle: การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ในปัจจุบัน นอกจากแนวความคิดเรื่อง 3R ก็ยังมี Upcycling แนวความคิดใหม่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งคำว่า Upcycling มีการกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough and Michael Braungart ในหนังสือ  Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ ลดการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต หรือลดการใช้พลังงานที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดย […]

E “S” G ก้าวข้ามวิกฤติไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

E “S” G ก้าวข้ามวิกฤติไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

โดย…ศิรารัตน์ อรุณจิตต์ กองทุนบัวหลวง เป็นเวลากว่าห้าเดือนแล้วที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้เริ่มต้นขึ้น จนตอนนี้ได้ถือเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก โดย ณ ข้อมูลวันที่  28 พฤษภาคม 2020 พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกได้พุ่งทะลุกว่า 5.7 ล้านคน โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาครองแชมป์อันดับหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อปัจจุบัน และเมื่อกลับมาดูมูลค่าเศรษฐกิจรวมของประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสิบอันดับแรก พบว่า มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าเศรษฐกิจรวมทั้งโลก การแพร่ระบาดดังกล่าวถือว่าเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากมายังผู้คน เศรษฐกิจ การเงิน ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่า ทั่วโลกจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดดังกล่าวได้ภายในเมื่อไร และเมื่อกลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะฟื้นกลับมาได้เช่นเดิมหรือไม่ หรือต้องใช้ระยะเวลาเท่าไรในการฟื้นกลับมา จากความเสี่ยงที่ปรากฏและสิ่งที่เราต้องพบเจอ ทั้งเศรษฐกิจที่จะหดตัว ภาคการค้าภาคการผลิตที่ชะงักงัน ภาคการท่องเที่ยว ภาคการบริการที่ซบเซา รวมถึง ความรู้สึกกลัว ความวิตกกังวลของผู้คน ส่งผลให้ศักยภาพของคนหรือของแรงงานลดทอนลง ยิ่งทำให้การฟื้นกลับมาของธุรกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ล่าช้าออกไปได้ จึงเล็งเห็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้คน ธุรกิจและสังคมช่วยกันฝ่าฟันวิกฤติด้านสุขภาพครั้งนี้ด้วยการนำหลักของ ESG เป็นแนวทาง ซึ่งสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่ในภาวะวิกฤติที่เราต่างเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ได้บ่งชี้ให้เห็นชัดมากขึ้นว่า ESG […]

บอกลาพลาสติก

บอกลาพลาสติก

โดย …จันทร์เพ็ญ กิตติเวทย์วิทยา กองทุนบัวหลวง เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลจีนประกาศยกเลิกการใช้เม็ดพลาสติกขนาดเล็ก หรือ Microbeads เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอาง โดยให้มีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีทั้งต่อผู้บริโภคและต่อสภาพแวดล้อมของโลกเรา เพราะก่อนหน้านี้ เราคงเคยเห็นข่าวกันมามากแล้ว ว่า แหล่งน้ำในทะเลและแม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยเศษพลาสติกขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้สัตว์น้ำต่างๆ มีเม็ดพลาสติกขนาดเล็กจำนวนมากในตัว และสุดท้ายมนุษย์เราก็เป็นผู้บริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้กลับเข้าไปในร่างกาย เรียกได้ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างและทำลายในเวลาเดียวกัน ไมโครบีดส์ (Microbeads) คือ ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของพลาสติกขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร ด้วยขนาดที่เล็กทำให้ไม่สามารถหาวิธีการป้องกันไม่ให้สิ่งตกค้างเหล่านี้ไหลลงสู่ธรรมชาติได้และยังไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอีกด้วย ส่งผลให้ก่อนหน้านี้ก็มีหลายๆ ประเทศที่ออกมาตรการห้ามใช้ Microbeads เช่นกัน ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น นอกจากการที่ภาครัฐจะออกมาให้การสนับสนุนการเลิกใช้  Microbeads แล้ว บริษัทขนาดใหญ่อย่าง Unilever เองก็มีเป้าหมายที่จะลดการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างพลาสติกในการบรรจุสินค้าที่ขายให้กับผู้บริโภคอีกเช่นกัน โดย Unilever […]

17 เป้าหมาย มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development Goals–SDGs)

17 เป้าหมาย มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development Goals–SDGs)

by…วนาลี ตรีสัมพันธ์ Fund Management  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ได้หยิบยก 17 เป้าหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นประเด็นสำคัญในการวางทิศทางการดำเนินงาน โดยมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมสร้างสังคมที่เป็นสุข ลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดปัญหาความยากจน ส่งเสริมการเป็นเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนมีการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลังจากเป้าหมายเดิมซึ่งมุ่งเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน (Millennium Development Goals – MDGs) สิ้นสุดลงเมื่อปี 2015 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายใหม่ที่ต้องการบรรลุในอีก 15 ปีข้างหน้า (2016-2030) จำนวน 17 ข้อ และ 179 จุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “no one should be left behind […]

Sovereign Green Bond อีกหนึ่งการลงทุนที่สร้างสรรค์

Sovereign Green Bond อีกหนึ่งการลงทุนที่สร้างสรรค์

น.ส.ศิรารัตน์ อรุณจิตต์ Fund Management ตลาด Green Bond มีความเติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2018 มีมูลค่าประมาณ 5.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตถึง 4 เท่าจากปี 2014 และในปี 2020 ที่จะถึงมีการคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาด Green Bond จะสามารถทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แรงสนับสนุนสำคัญนอกเหนือจากความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและการตระหนักถึงปัญหาต่างๆ จากนักลงทุนและผู้ออกตราสารแล้ว ยังมีแรงขับเคลื่อนอีกส่วนหนึ่งจากการจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อมุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ อาทิเช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข โดยวางเป้าหมายว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030 แรงตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวได้มีเพิ่มมากขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการทำนโยบายด้าน ESG การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ป้องกันการเกิดมลภาวะ การแก้ปัญหาสภาพวิกฤติทางภูมิอากาศ ขณะที่ทางด้านการลงทุนก็ได้มีการออกตราสารหนี้แบบเฉพาะเพื่อนำเงินทุนไปใช้ในโครงการที่มุ่งพัฒนาและแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้ง […]

Luxury brands กับ ESG

Luxury brands กับ ESG

By…พัสกร ตรีวัชรีกร Fund Management Group เมื่อพูดถึงแบรนด์หรู สำหรับสินค้าต่างๆ อย่างเครื่องประดับ เสื้อผ้าแฟชั่น รถสปอร์ต หรือน้ำหอม ซึ่งเป็นเรื่องของคุณภาพ ความหรูหรา ดารา และความประทับใจส่วนบุคคลแล้ว สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับคำว่า สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลเลย แม้ว่าคำเหล่านี้จะกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงกันอยู่ในทั่วไปในทุกวงการ และมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ช่องว่างดังกล่าวนั้น ดูเหมือนกำลังถูกลดทอนลงไปแล้ว งานนิวยอร์คแฟชั่นวีคเมื่อไม่นานมานี้ มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจมากขึ้น นั่นก็คือคำว่า “ความยั่งยืน” ผู้ที่ได้รับรางวัลกลับไม่ใช่ผลงานแฟชั่นที่ทันสมัย หรูหรา แต่เป็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ไม่คุ้นหูอย่าง Studio 189 องค์กรนี้เป็นองค์กรแฟชั่นเพื่อสังคมในประเทศกานา โดยผลงานนั้นเป็นงานที่มาจากการย้อมสีธรรมชาติด้วยมือและวาดด้วยมือของคนกานา รวมถึงรายได้จากกิจการยังนำไปช่วยสนับสนุนการศึกษาในประเทศอีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ว่า คำว่า “ความยั่งยืน” นั้น มาเกี่ยวกับวงการแฟชั่นตั้งแต่เมื่อไหร่ อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้น มีขนาดใหญ่มหาศาลและมีการสร้างการจ้างงานทั่วโลก ทว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตมลพิษทางอุตสาหกรรมต่อโลกมากเป็นอันดับสองรองจากอุตสาหกรรมน้ำมัน และจากข้อมูลของ United Nations อุตสาหกรรมแฟชั่นผลิต 20% […]

Millennial Investors พลังขับเคลื่อน ESG

Millennial Investors พลังขับเคลื่อน ESG

By…พัสกร ตรีวัชรีกร Fund Management Group ดูเหมือนว่า การลงทุนโดยมุ่งหวังผลตอบแทนสูงสุดในระยะสั้นแต่เพียงอย่างเดียวนั้นจะเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอและล้าสมัยไปแล้วสำหรับการลงทุนในยุคปัจจุบัน ทุกคนต่างกำลังพูดถึงการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความหมายไกลไปกว่าการทำกำไรสูงสุด แต่รวมถึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงและผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวมให้ได้อีกด้วย แนวโน้มการลงทุนอย่างยั่งยืนดังกล่าวนี้ ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สะท้อนผ่านการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการของ ETF ที่ใช้ธีมการลงทุน ESG ที่เพิ่มขึ้น จากราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อ 5 ปีที่ก่อน เป็น 11 พันล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากความตระหนักที่เพิ่มขึ้นของสังคม การกำกับดูแลกิจการที่เข้มงวดขึ้น และสิ่งหนึ่งที่มีส่วนสำคัญก็คือ ความเข้าใจและตระหนักในการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นของ นักลงทุนยุคมิลเลนเนียล งานวิจัยจาก Morgan Stanley ในปี 2017 จากกลุ่มลูกค้านักลงทุน เปิดเผยผลสำรวจว่า ผู้ลงทุนที่เป็น มิลเลนเนียลนั้นมีความตระหนักและความสนใจในการลงทุน ESG มากขึ้นเรื่อยๆ โดยใส่ใจถึงคุณค่าของกิจการต่อผลกระทบทางสังคม โดยมากเป็นสองเท่าสำหรับการลงทุนและเป็นสามเท่าสำหรับการเลือกที่เข้าทำงาน สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุน นักลงทุนมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับผลตอบแทนที่มั่นคงและนำแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนมาใช้เพิ่มขึ้นจาก 32% ในปี 2015 เป็น 38% […]

เมื่อเทคโนโลยีผสานกับ ESG

เมื่อเทคโนโลยีผสานกับ ESG

By…ณัฐพล ปรีชาวุฒิ Portfolio Management ทุกวันนี้ เราได้เห็นข่าวภัยธรรมชาติที่รุนแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น พายุที่รุนแรง อุทกภัยหนัก หรือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ โดยในประเทศไทยเรา ก็ได้เห็นข่าวอุทกภัยแทบทุกปี จนเป็นข่าวที่ชินตา ซึ่งสิ่งที่ตามมาจากข่าวเหล่านี้ คือ ความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยที่ต้องการความช่วยเหลือ ในการนี้เอง ในฐานะของการเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี เราได้เห็นผู้ประกอบการหลายรายตระหนักถึงสถานการณ์และยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละครั้งไม่น้อย ซึ่งสิ่งที่เราเห็นในไทยโดยส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการจะช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนในรูปแบบของการบริจาคเงินและสิ่งของ แต่ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากขึ้น เราจะได้เห็นบริษัทชั้นนำในต่างประเทศนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินการ ESG เพื่อผู้ประสบภัยได้อย่างน่าสนใจทีเดียว เมื่อปลายเดือนกันยายน 2560 เกิดพายุเฮอริเคนหลายลูก พัดถล่มรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในแถบทะเลคาริเบียน มีผู้เสียชีวิตและสูญหายหลายร้อยคน ส่วนผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบนั้นมีนับหลายแสนคน ในครั้งนั้นเอง เราได้เห็นความช่วยเหลือจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แห่งซิคอน วัลเลย์ อย่าง แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) อูเบอร์ (Uber) ลิฟท์ (Lyft) เฟสบุ๊ค (Facebook) เทสลา (Tesla) และอีกมากมาย เอื้อเฟื้อเทคโนโลยีที่ตัวเองมีอยู่ เข้ามาช่วยทดแทนโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย Airbnb […]