พลิกวิกฤติ COVID-19 สู่การฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หนุนธุรกิจใส่ใจ ESG มากขึ้น ตอนที่ 1/2

พลิกวิกฤติ COVID-19 สู่การฟื้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน หนุนธุรกิจใส่ใจ ESG มากขึ้น ตอนที่ 1/2

โดย…ฐนิตา ตุมราศวิน กองทุนบัวหลวง มลพิษทางอากาศลดลง…อีกมุมหนึ่งของวิกฤติ COVID-19 เหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลกในแบบที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน โดยปัจจุบันจำนวนยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นทะลุ กว่า 20 ล้านคน และยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง ซึ่งการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาล หรือที่เรียกว่าล็อคดาวน์ โดยให้ประชาชนกักตัวอยู่ในบ้านเพื่อลดการติดต่อสัมผัสกัน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรม บริษัทห้างร้านต่างๆ รวมไปถึงสถาบันการศึกษาปิดทำการ ในขณะที่การเดินทางทั่วโลกก็หยุดชะงักจากการประกาศปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจหลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี ในอีกแง่มุมหนึ่ง COVID-19 นับเป็นเสมือนตัวเร่งให้เทรนด์การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง หรือกระแส Disruption เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาด อีกทั้งเห็นภาพชัดขึ้นในหลายอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม จากพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไป ที่เห็นได้ชัดคือ ยอดสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนที่ไม่เคยสั่งก็ได้หันมาลองสั่งในช่วงที่ต้องมีการรักษาระยะห่างทางสังคม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะในประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (Climate Change) เนื่องจาก หากมองย้อนไปในอดีตจะพบว่า เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใด ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มักจะปรับตัวลดลงเสมอ โดยจากข้อมูลของเว็บไซต์ Carbon Brief ระบุว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั่วโลกปล่อยก๊าซฯ […]

ขยะ + ไอเดีย = Upcycling

ขยะ + ไอเดีย = Upcycling

โดย…อรุณี ศิลปการประดิษฐ กองทุนบัวหลวง  จากแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่เป็นการเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบระบบการผลิตทางตรง ที่เป็นการนำทรัพยากรมาใช้ เพื่อทำการผลิต และเมื่อหมดประโยชน์ก็ทิ้งไป มาเป็นระบบการวางแผนและออกแบบการผลิตเพื่อคืนสภาพให้กับวัสดุต่างๆ ในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์แทนการทิ้ง โดย เป็นการนำวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้ใหม่เป็นวงจรต่อเนื่องโดยไม่มีของเสีย ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เรามักคุ้นเคยกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติผ่านแนวความคิด 3R คือ Reuse : การใช้ซ้ำ Reduce: ลดการใช้Recycle: การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ในปัจจุบัน นอกจากแนวความคิดเรื่อง 3R ก็ยังมี Upcycling แนวความคิดใหม่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งคำว่า Upcycling มีการกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough and Michael Braungart ในหนังสือ  Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ ลดการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิต หรือลดการใช้พลังงานที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดย […]

E “S” G ก้าวข้ามวิกฤติไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

E “S” G ก้าวข้ามวิกฤติไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

โดย…ศิรารัตน์ อรุณจิตต์ กองทุนบัวหลวง เป็นเวลากว่าห้าเดือนแล้วที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้เริ่มต้นขึ้น จนตอนนี้ได้ถือเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก โดย ณ ข้อมูลวันที่  28 พฤษภาคม 2020 พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกได้พุ่งทะลุกว่า 5.7 ล้านคน โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาครองแชมป์อันดับหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อปัจจุบัน และเมื่อกลับมาดูมูลค่าเศรษฐกิจรวมของประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสิบอันดับแรก พบว่า มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าเศรษฐกิจรวมทั้งโลก การแพร่ระบาดดังกล่าวถือว่าเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากมายังผู้คน เศรษฐกิจ การเงิน ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่า ทั่วโลกจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดดังกล่าวได้ภายในเมื่อไร และเมื่อกลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะฟื้นกลับมาได้เช่นเดิมหรือไม่ หรือต้องใช้ระยะเวลาเท่าไรในการฟื้นกลับมา จากความเสี่ยงที่ปรากฏและสิ่งที่เราต้องพบเจอ ทั้งเศรษฐกิจที่จะหดตัว ภาคการค้าภาคการผลิตที่ชะงักงัน ภาคการท่องเที่ยว ภาคการบริการที่ซบเซา รวมถึง ความรู้สึกกลัว ความวิตกกังวลของผู้คน ส่งผลให้ศักยภาพของคนหรือของแรงงานลดทอนลง ยิ่งทำให้การฟื้นกลับมาของธุรกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ล่าช้าออกไปได้ จึงเล็งเห็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้คน ธุรกิจและสังคมช่วยกันฝ่าฟันวิกฤติด้านสุขภาพครั้งนี้ด้วยการนำหลักของ ESG เป็นแนวทาง ซึ่งสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่ในภาวะวิกฤติที่เราต่างเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ได้บ่งชี้ให้เห็นชัดมากขึ้นว่า ESG […]

บอกลาพลาสติก

บอกลาพลาสติก

โดย …จันทร์เพ็ญ กิตติเวทย์วิทยา กองทุนบัวหลวง เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลจีนประกาศยกเลิกการใช้เม็ดพลาสติกขนาดเล็ก หรือ Microbeads เป็นส่วนประกอบในการผลิตเครื่องสำอาง โดยให้มีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีทั้งต่อผู้บริโภคและต่อสภาพแวดล้อมของโลกเรา เพราะก่อนหน้านี้ เราคงเคยเห็นข่าวกันมามากแล้ว ว่า แหล่งน้ำในทะเลและแม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยเศษพลาสติกขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้สัตว์น้ำต่างๆ มีเม็ดพลาสติกขนาดเล็กจำนวนมากในตัว และสุดท้ายมนุษย์เราก็เป็นผู้บริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้กลับเข้าไปในร่างกาย เรียกได้ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างและทำลายในเวลาเดียวกัน ไมโครบีดส์ (Microbeads) คือ ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของพลาสติกขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร ด้วยขนาดที่เล็กทำให้ไม่สามารถหาวิธีการป้องกันไม่ให้สิ่งตกค้างเหล่านี้ไหลลงสู่ธรรมชาติได้และยังไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติอีกด้วย ส่งผลให้ก่อนหน้านี้ก็มีหลายๆ ประเทศที่ออกมาตรการห้ามใช้ Microbeads เช่นกัน ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น นอกจากการที่ภาครัฐจะออกมาให้การสนับสนุนการเลิกใช้  Microbeads แล้ว บริษัทขนาดใหญ่อย่าง Unilever เองก็มีเป้าหมายที่จะลดการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างพลาสติกในการบรรจุสินค้าที่ขายให้กับผู้บริโภคอีกเช่นกัน โดย Unilever […]

17 เป้าหมาย มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development Goals–SDGs)

17 เป้าหมาย มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development Goals–SDGs)

by…วนาลี ตรีสัมพันธ์ Fund Management  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ได้หยิบยก 17 เป้าหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นประเด็นสำคัญในการวางทิศทางการดำเนินงาน โดยมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมสร้างสังคมที่เป็นสุข ลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดปัญหาความยากจน ส่งเสริมการเป็นเศรษฐกิจสีเขียว ตลอดจนมีการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลังจากเป้าหมายเดิมซึ่งมุ่งเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน (Millennium Development Goals – MDGs) สิ้นสุดลงเมื่อปี 2015 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายใหม่ที่ต้องการบรรลุในอีก 15 ปีข้างหน้า (2016-2030) จำนวน 17 ข้อ และ 179 จุดมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) สร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “no one should be left behind […]

Sovereign Green Bond อีกหนึ่งการลงทุนที่สร้างสรรค์

Sovereign Green Bond อีกหนึ่งการลงทุนที่สร้างสรรค์

น.ส.ศิรารัตน์ อรุณจิตต์ Fund Management ตลาด Green Bond มีความเติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2018 มีมูลค่าประมาณ 5.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตถึง 4 เท่าจากปี 2014 และในปี 2020 ที่จะถึงมีการคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาด Green Bond จะสามารถทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แรงสนับสนุนสำคัญนอกเหนือจากความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและการตระหนักถึงปัญหาต่างๆ จากนักลงทุนและผู้ออกตราสารแล้ว ยังมีแรงขับเคลื่อนอีกส่วนหนึ่งจากการจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อมุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ อาทิเช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข โดยวางเป้าหมายว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030 แรงตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวได้มีเพิ่มมากขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการทำนโยบายด้าน ESG การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ป้องกันการเกิดมลภาวะ การแก้ปัญหาสภาพวิกฤติทางภูมิอากาศ ขณะที่ทางด้านการลงทุนก็ได้มีการออกตราสารหนี้แบบเฉพาะเพื่อนำเงินทุนไปใช้ในโครงการที่มุ่งพัฒนาและแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้ง […]

Luxury brands กับ ESG

Luxury brands กับ ESG

By…พัสกร ตรีวัชรีกร Fund Management Group เมื่อพูดถึงแบรนด์หรู สำหรับสินค้าต่างๆ อย่างเครื่องประดับ เสื้อผ้าแฟชั่น รถสปอร์ต หรือน้ำหอม ซึ่งเป็นเรื่องของคุณภาพ ความหรูหรา ดารา และความประทับใจส่วนบุคคลแล้ว สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับคำว่า สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลเลย แม้ว่าคำเหล่านี้จะกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงกันอยู่ในทั่วไปในทุกวงการ และมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ช่องว่างดังกล่าวนั้น ดูเหมือนกำลังถูกลดทอนลงไปแล้ว งานนิวยอร์คแฟชั่นวีคเมื่อไม่นานมานี้ มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจมากขึ้น นั่นก็คือคำว่า “ความยั่งยืน” ผู้ที่ได้รับรางวัลกลับไม่ใช่ผลงานแฟชั่นที่ทันสมัย หรูหรา แต่เป็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ไม่คุ้นหูอย่าง Studio 189 องค์กรนี้เป็นองค์กรแฟชั่นเพื่อสังคมในประเทศกานา โดยผลงานนั้นเป็นงานที่มาจากการย้อมสีธรรมชาติด้วยมือและวาดด้วยมือของคนกานา รวมถึงรายได้จากกิจการยังนำไปช่วยสนับสนุนการศึกษาในประเทศอีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ว่า คำว่า “ความยั่งยืน” นั้น มาเกี่ยวกับวงการแฟชั่นตั้งแต่เมื่อไหร่ อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้น มีขนาดใหญ่มหาศาลและมีการสร้างการจ้างงานทั่วโลก ทว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตมลพิษทางอุตสาหกรรมต่อโลกมากเป็นอันดับสองรองจากอุตสาหกรรมน้ำมัน และจากข้อมูลของ United Nations อุตสาหกรรมแฟชั่นผลิต 20% […]

Millennial Investors พลังขับเคลื่อน ESG

Millennial Investors พลังขับเคลื่อน ESG

By…พัสกร ตรีวัชรีกร Fund Management Group ดูเหมือนว่า การลงทุนโดยมุ่งหวังผลตอบแทนสูงสุดในระยะสั้นแต่เพียงอย่างเดียวนั้นจะเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอและล้าสมัยไปแล้วสำหรับการลงทุนในยุคปัจจุบัน ทุกคนต่างกำลังพูดถึงการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งมีความหมายไกลไปกว่าการทำกำไรสูงสุด แต่รวมถึงการสร้างความเปลี่ยนแปลงและผลเชิงบวกต่อสังคมโดยรวมให้ได้อีกด้วย แนวโน้มการลงทุนอย่างยั่งยืนดังกล่าวนี้ ได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สะท้อนผ่านการเติบโตของสินทรัพย์ภายใต้การจัดการของ ETF ที่ใช้ธีมการลงทุน ESG ที่เพิ่มขึ้น จากราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อ 5 ปีที่ก่อน เป็น 11 พันล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากความตระหนักที่เพิ่มขึ้นของสังคม การกำกับดูแลกิจการที่เข้มงวดขึ้น และสิ่งหนึ่งที่มีส่วนสำคัญก็คือ ความเข้าใจและตระหนักในการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นของ นักลงทุนยุคมิลเลนเนียล งานวิจัยจาก Morgan Stanley ในปี 2017 จากกลุ่มลูกค้านักลงทุน เปิดเผยผลสำรวจว่า ผู้ลงทุนที่เป็น มิลเลนเนียลนั้นมีความตระหนักและความสนใจในการลงทุน ESG มากขึ้นเรื่อยๆ โดยใส่ใจถึงคุณค่าของกิจการต่อผลกระทบทางสังคม โดยมากเป็นสองเท่าสำหรับการลงทุนและเป็นสามเท่าสำหรับการเลือกที่เข้าทำงาน สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุน นักลงทุนมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับผลตอบแทนที่มั่นคงและนำแนวคิดการลงทุนอย่างยั่งยืนมาใช้เพิ่มขึ้นจาก 32% ในปี 2015 เป็น 38% […]

เมื่อเทคโนโลยีผสานกับ ESG

เมื่อเทคโนโลยีผสานกับ ESG

By…ณัฐพล ปรีชาวุฒิ Portfolio Management ทุกวันนี้ เราได้เห็นข่าวภัยธรรมชาติที่รุนแรงเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น พายุที่รุนแรง อุทกภัยหนัก หรือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆ โดยในประเทศไทยเรา ก็ได้เห็นข่าวอุทกภัยแทบทุกปี จนเป็นข่าวที่ชินตา ซึ่งสิ่งที่ตามมาจากข่าวเหล่านี้ คือ ความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยที่ต้องการความช่วยเหลือ ในการนี้เอง ในฐานะของการเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี เราได้เห็นผู้ประกอบการหลายรายตระหนักถึงสถานการณ์และยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยในแต่ละครั้งไม่น้อย ซึ่งสิ่งที่เราเห็นในไทยโดยส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการจะช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนในรูปแบบของการบริจาคเงินและสิ่งของ แต่ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตมากขึ้น เราจะได้เห็นบริษัทชั้นนำในต่างประเทศนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินการ ESG เพื่อผู้ประสบภัยได้อย่างน่าสนใจทีเดียว เมื่อปลายเดือนกันยายน 2560 เกิดพายุเฮอริเคนหลายลูก พัดถล่มรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในแถบทะเลคาริเบียน มีผู้เสียชีวิตและสูญหายหลายร้อยคน ส่วนผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบนั้นมีนับหลายแสนคน ในครั้งนั้นเอง เราได้เห็นความช่วยเหลือจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แห่งซิคอน วัลเลย์ อย่าง แอร์บีเอ็นบี (Airbnb) อูเบอร์ (Uber) ลิฟท์ (Lyft) เฟสบุ๊ค (Facebook) เทสลา (Tesla) และอีกมากมาย เอื้อเฟื้อเทคโนโลยีที่ตัวเองมีอยู่ เข้ามาช่วยทดแทนโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย Airbnb […]

ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะกับอนาคตประเทศไทย

ระบบไฟฟ้าอัจฉริยะกับอนาคตประเทศไทย

By…จันทร์เพ็ญ กิตติเวทย์วิทยา ท่านผู้อ่านคุ้นหูกับคำว่าระบบสมาร์ทกริด (Smart Grid) กันบ้างไหม? รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาระบบสมาร์ทกริดนี้มาสักพักใหญ่แล้ว แม้ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของหน่วยงานรัฐ แต่ในอนาคตเชื่อว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีจะทำให้พวกเราทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องไปด้วยกันทั้งสิ้น ความจริง แนวคิดระบบสมาร์ทกริด เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 1999 ในรูปแบบของแนวคิดระบบไมโครกริด ภายใต้ The Consortium for Electric Reliability Technology Solutions, (CERTS) โดย Lawrence Berkeley National Laboratory ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยหลักสังกัดกระทรวงพลังงาน (Department of Energy, DOE) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งการทำงานของระบบไมโครกริดประกอบด้วย แหล่งกําเนิดไฟฟ้าแบบกระจาย เช่น แหล่งผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ พลังลม  ชีวมวล เป็นต้น อุปกรณ์สะสมพลังงานไฟฟ้า แบตเตอรี่ ผู้ใช้ไฟฟ้า ศูนย์ควบคุมไมโครกริดจะเชื่อมต่อกับระบบจําหน่ายไฟฟ้ากําลังภายนอกด้วยสวิทช์ปิดเปิดอีกทีหนึ่ง เพื่อให้ระบบนี้สามารถทำงานได้ใน 2 โหมด นั่นคือ […]