พัฒนาการของ ESG ในจีน (ตอนที่1)

พัฒนาการของ ESG ในจีน (ตอนที่1)

By… เศรณี นาคธน ESG ในจีนยังอยู่ในระดับต่ำ หลังเร่งขยายสังคมเมืองกระทบสิ่งแวดล้อม เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา MSCI ซึ่งเป็นบริษัทจัดทำดัชนีระดับโลกได้พิจารณาเพิ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่จำนวน 222 บริษัท ในตลาด A-Share ของจีนเข้าร่วมคำนวณใน MSCI Emerging Markets Index จนถึงปัจจุบัน มีสัดส่วนของจีนในดัชนีทยอยเพิ่มขึ้นมาสู่ 30% นับเป็นความสำเร็จก้าวหนึ่งในการเปิดเสรีทางการเงินของจีนและช่วยจูงใจให้นักลงทุนหันมาสนใจลงทุนในตลาดการเงินของจีนมากขึ้น แต่หากพิจารณาในแง่มุมของ ESG พบว่า MSCI Emerging Markets SRI Index ซึ่งเป็นดัชนีที่รวบรวมบริษัทต่างๆในตลาดเกิดใหม่ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อม สังคม และมีการจัดการที่มีธรรมภิบาล บริษัทจีนที่ผ่านเกณฑ์เพื่อเข้าร่วมดัชนีกลับมีสัดส่วนเพียงแค่ราว 4% ของดัชนีเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้เกิดส่วนต่างมากขนาดนี้ มาจากการขยายของสังคมเมือง (Urbanization) ผนวกกับการเร่งขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในช่วงก่อนหน้า ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ ทั้งจากการเร่งตัวของการก่อสร้าง การใช้พลังงานมากขึ้น ขณะที่พลังงานหลักของประเทศมาจากถ่านหินซึ่งยิ่งใช้ยิ่งส่งผลเสียต่อมลภาวะทางอากาศ ในด้านของสังคม บริษัทจีนส่วนมากยังไม่มีมาตรฐานและนโยบายในเรื่องของแรงงาน รวมถึงสภาพความเป็นอยู่และสวัสดิการของแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ จะเห็นได้จากข่าวเรื่องการเกิดอุบัติเหตุจากการปฎิบัติงานบ่อยครั้งในประเทศจีนเมื่อเทียบกับประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ และในแง่ของผู้ถือหุ้น บริษัทจีนยังคงมีการเปิดเผยข้อมูลในระดับค่อนข้างต่ำ […]

อนาคตพลังงานทางเลือกใน ASEAN

อนาคตพลังงานทางเลือกใน ASEAN

พลังงาน หนึ่งในความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่มีความต้องการใช้เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเฉพาะในภูมิภาค ASEAN ที่มีขนาดประชากรจำนวนมากและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 700 ล้านคนในปี 2025 ภายใต้คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจปีละกว่า 5% ส่งผลให้คาดว่าความต้องการใช้พลังงานจะเติบโตสูงปีละกว่า 4% หรือมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันกว่าเท่าตัวภายในปี 2025 ปัญหาก็คือ ASEAN ยังมีน้ำมันดิบไม่พอใช้ หลายประเทศต้องนำเข้าน้ำมันดิบมาใช้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และทำให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นตามมา จึงเป็นที่มาของการรณรงค์ให้เกิดการใช้พลังงานทางเลือก หรือพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ทั้งนี้ The Association of Southeast Asian Nations คาดการณ์ว่าสัดส่วนการใช้ Renewable energy ใน ASEAN จะเพิ่มขึ้นจาก 9% ในปี 2014 เป็น 17% ของความต้องใช้พลังงานทั้งหมดในปี 2025 โดยความต้องการใช้ Renewable energy หลักๆมาจากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้า และกลุ่ม End-user ซึ่งได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน […]

ธนาคาร BNP Paribas จะเริ่มยกเลิกให้เงินกู้กับธุรกิจ Shale Gas ทรายน้ำมัน และถ่านหิน

ธนาคาร BNP Paribas จะเริ่มยกเลิกให้เงินกู้กับธุรกิจ Shale Gas ทรายน้ำมัน และถ่านหิน

BNP Paribas ธนาคารยักษ์ใหญ่ของโลก สัญชาติฝรั่งเศส ประกาศเจตนารมณ์สนับสนุนการแก้ปัญหาภาวะโรคร้อน โดย บริษัท จะยกเลิกการปล่อยเงินกู้ให้กับ บริษัท น้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ทำธุรกิจ สำรวจและขุดเจาะพลังงานประเภท shale gas และ ทรายน้ำมัน (oil sand) รวมถึงลดการปล่อยเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับพลังงานประเภทนี้ เช่น การขนส่งและการส่งออกพลังงาน พร้อมกันนี้ ธนาคารยังเพิ่มการปล่อยเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมประเภท พลังงานสะอาดเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปอุตสาหกรรมพลังงานอย่างยั่นยืนมากขึ้น ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าว เกิดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของนานาชาติ ซึ่งต้องการจะลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลง 2 องศาเซลเซียส ภายในทศวรรษนี้ ด้วยการลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล โดยเริ่มจาก Shale Oil และ Oil Sand ยิ่งไปกว่านั้น นอกเหนือจากพลังงานประเภทฟอสซิลแล้ว BNP Paribas ยังได้ยกเลิกการปล่อยกู้ให้บริษัทถ่านหินและโรงไฟฟ้าถ่านที่ยังไม่ได้วางแผนจะกระจายแหล่งพลังงานไปยังพลังงานสะอาดมากขึ้น ในส่วนของการต่อยอดการสนับสนุนพลังงานสะอาดนั้น BNP Paribas ยังวางแผนยอดการปล่อยเงินกู้ในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้สูงถึง 15,000 ล้านยูโร ( $17.72 […]

ผลตอบแทนในระยะยาว กับกองทุนที่ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาล

ผลตอบแทนในระยะยาว กับกองทุนที่ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาล

ถือเป็นนิมิตรหมายอันดี ที่บริษัทจัดการกองทุนทั้ง 11 แห่ง ร่วมกันจัดตั้งกองทุนรวมธรรมภิบาลไทย ซึ่งเปิดขายไปแล้ว 6 กองทุน สามารถระดมทุนจากนักลงทุนในประเทศได้แล้วกว่า 2,700 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หลายท่านอาจยังมีข้อสงสัยว่า “ธุรกิจที่มีศีลธรรม จะมีกำไรดีกว่าธุรกิจที่มุ่งไปที่ผลประโยชน์สูงสุดขององค์กรได้อย่างไร” เรื่องนี้เรามีคำตอบที่จะช่วยให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น บริษัทที่ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการพิจารณาเรื่องธรรมาภิบาล จะให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นหลัก ซึ่งเป็นผลดีกับมูลค่าของกิจการในระยะยาว ชื่อเสียงและประวัติการดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาลที่ดี สามารถสร้างความน่าเชื่อถือและโอกาสทางธุรกิจในอนาคต อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากบทลงโทษ ซึ่งอาจส่งผลต่อองค์กรเป็นมูลค่ามหาศาลได้ อิทธิพลของ Social Media ในปัจจุบัน ได้กลายเป็นเครื่องมือในการยกระดับจริยธรรม และธรรมาภิบาลในสังคม โดยธุรกิจที่มีไม่เอาเปรียบสังคม จะได้รับการกล่าวถึงอย่างรวดเร็ว ขณะที่การดำเนินธุรกิจอย่างไม่เป็นธรรมก็จะสามารถถูกแรงกดดันทางสังคมได้ทันทีเช่นกัน การลงทุนที่มีนโยบายด้านการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable and Responsible Investing, SRI) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเติบโตมากกว่า 25% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาหลักทรัพย์ที่มีหลักธรรมาภิบาลที่ดี หากจะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนรวมธรรมาภิบาลกับตลาดในปัจจุบัน เราจะขอยกตัวอย่างโดยเปรียบเทียบดัชนี iShares MSCI EM […]