โควิด-19 ปลุกกระแสลงทุนยั่งยืน เงินไหลเข้ากองทุน ESG ไตรมาสแรก 45,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โควิด-19 ปลุกกระแสลงทุนยั่งยืน เงินไหลเข้ากองทุน ESG ไตรมาสแรก 45,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายงานข่าวจากซีเอ็นบีซี ระบุว่า การระบาดของโควิด-19 สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการลงทุนในแนวทางการคัดเลือกบริษัทที่มีพื้นฐานการทำธุรกิจที่ยั่งยืน (ESG) โดยพิจารณาจากบริษัทที่มีคะแนนความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีธรรมาภิบาลควบคู่ไปกับการพิจารณาปัจจัยทางการเงินแบบดั้งเดิม ข้อมูลจากมอนิ่งสตาร์ กองทุนที่ลงทุนอย่างยั่งยืนสามารถดึงดูดกระแสเงินทุนไหลเข้าในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ท่ามกลางความวุ่นวายในตลาดทุน และพบว่ากองทุนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่ดีกว่าตลาดสำหรับปีนี้ UBS คาดว่า นักลงทุนจะมุ่งเน้นไปที่การพิจารณาการลงทุนในกลุ่ม ESG มากขึ้นหลังจากโควิด-19 จากความต้องการในการลงทุนในองค์กรที่ให้ยึดความโปร่งใสและความรับผิดชอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มากขึ้น วิกฤติโรคระบาดได้ตอกย้ำให้ผู้ลงทุนตระหนักถึงความเกี่ยวข้องของกับการพิจารณา ESG ต่อผลการดำเนินงานของบริษัท และผลตอบแทนจากการลงทุน เราคาดหวังว่าสิ่งนี้จะยังคงมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานขององค์กรและนักลงทุนต่อไปในอนาคต กองทุนที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนดึงดูดเงินทุนจำนวนสูงสุดในไตรมาสแรกของปีนี้ แม้ว่าตลาดจะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดทั่วโลก โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลกมีเงินไหลเข้า 45,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เม็ดเงินลงทุนกองทุนทั้งอุตสหกรรมในวงกว้างมีเงินไหลออก 384,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

E “S” G ก้าวข้ามวิกฤติไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

E “S” G ก้าวข้ามวิกฤติไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

โดย…ศิรารัตน์ อรุณจิตต์ กองทุนบัวหลวง เป็นเวลากว่าห้าเดือนแล้วที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้เริ่มต้นขึ้น จนตอนนี้ได้ถือเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก โดย ณ ข้อมูลวันที่  28 พฤษภาคม 2020 พบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกได้พุ่งทะลุกว่า 5.7 ล้านคน โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาครองแชมป์อันดับหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อปัจจุบัน และเมื่อกลับมาดูมูลค่าเศรษฐกิจรวมของประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสิบอันดับแรก พบว่า มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าเศรษฐกิจรวมทั้งโลก การแพร่ระบาดดังกล่าวถือว่าเป็นวิกฤตการณ์ระดับโลกที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากมายังผู้คน เศรษฐกิจ การเงิน ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่า ทั่วโลกจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดดังกล่าวได้ภายในเมื่อไร และเมื่อกลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะฟื้นกลับมาได้เช่นเดิมหรือไม่ หรือต้องใช้ระยะเวลาเท่าไรในการฟื้นกลับมา จากความเสี่ยงที่ปรากฏและสิ่งที่เราต้องพบเจอ ทั้งเศรษฐกิจที่จะหดตัว ภาคการค้าภาคการผลิตที่ชะงักงัน ภาคการท่องเที่ยว ภาคการบริการที่ซบเซา รวมถึง ความรู้สึกกลัว ความวิตกกังวลของผู้คน ส่งผลให้ศักยภาพของคนหรือของแรงงานลดทอนลง ยิ่งทำให้การฟื้นกลับมาของธุรกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ล่าช้าออกไปได้ จึงเล็งเห็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้คน ธุรกิจและสังคมช่วยกันฝ่าฟันวิกฤติด้านสุขภาพครั้งนี้ด้วยการนำหลักของ ESG เป็นแนวทาง ซึ่งสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่ในภาวะวิกฤติที่เราต่างเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ได้บ่งชี้ให้เห็นชัดมากขึ้นว่า ESG […]

กองทุนบัวหลวง ประกาศธีมการลงทุนปี 2563 “เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน”

กองทุนบัวหลวง ประกาศธีมการลงทุนปี 2563 “เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน”

กองทุนบัวหลวง ประกาศธีมการลงทุนปี 2563 “เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน” ต่อยอดจากธีมการลงทุนในปีก่อน สะท้อนความเชื่อมั่นต่อธุรกิจที่รู้จักสร้างเครือข่ายสินค้าและบริการที่หลากหลาย ทั้งมีช่องทางเข้าถึงที่ครอบคลุมและใช้ฐานข้อมูลให้เป็นประโยชน์ ตอบสนองความต้องการได้ตรงใจผู้บริโภค พร้อมเน้นย้ำความสำคัญในประเด็น ESG ที่เป็นแนวโน้มให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง ยั่งยืน ทั้งเติบโตได้ดีในระยะยาว นายพีรพงศ์  จิระเสวีจินดา  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด หรือ กองทุนบัวหลวง เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี 2555 กองทุนบัวหลวงจะกำหนดธีมการลงทุนที่ชัดเจน เพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้ลงทุนให้ได้เข้าใจถึงแนวคิด  ความเสี่ยงและโอกาสที่จะมีผลต่อการลงทุนในอนาคต สำหรับธีมการลงทุนในปี  2563  คือ “เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง บรรษัทแข็งแรงสร้างความยั่งยืน” อันจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกกิจการเพื่อลงทุนในระยะยาว ซึ่งเป็นการต่อยอดจากธีมการลงทุนของปีที่ผ่านมา ที่ว่า “รุ่งเรืองด้วยโครงสร้างพื้นฐาน  บนสายพานของโลจิสติกส์” (Logistics and Infrastructure Solutions)  เครือข่ายครอบคลุมสร้างความแข็งแกร่ง กองทุนบัวหลวงมองว่า ทุกวันนี้ เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทำให้ภาคธุรกิจต่างต้องปรับตัวให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง โดยจะเห็นว่า ธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย […]

มูลค่าการลงทุนอย่างยั่งยืนปี 2018 โตเท่าตัวจาก 6 ปีก่อนหน้า

มูลค่าการลงทุนอย่างยั่งยืนปี 2018 โตเท่าตัวจาก 6 ปีก่อนหน้า

เว็บไซต์ weforum.org ของสภาเศรษฐกิจโลกนำเสนอรายงานการลงทุนอย่างยั่งยืนพบว่าในปี 2018 ที่ผ่านมาการลงทุนอย่างยั่งยืนมีมูลค่าถึง 30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐนี่ไม่ได้สะท้อนว่ามีจำนวนมากอย่างเดียวแต่ตัวเลขนี้ยังเพิ่มขึ้นถึง 34% ในเวลาเพียง2 ปีและเพิ่มขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2012 สิ่งนี้สะท้อนว่าการลงทุนอย่างยั่งยืนเป็นแนวโน้มที่ต้องเดินไปอย่างไม่มีข้อแม้และต้องทำให้ดีขึ้นด้วยเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ขณะที่คำว่า ESG ซึ่งมาจากสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับการลงทุนอย่างยั่งยืน  โดยขณะนี้ยังมีเส้นทางอีกยาวไกลที่จะทำให้การลงทุนอย่างยั่งยืนมีมูลค่าเกินกว่าการลงทุนที่ไม่มีการจัดการด้านความยั่งยืนได้

กบข. ร่วมกับนักลงทุนสถาบัน ประกาศเจตนารมณ์ระงับลงทุนในบริษัทจดทะเบียนที่มีประเด็นปัญหา ESG

กบข. ร่วมกับนักลงทุนสถาบัน ประกาศเจตนารมณ์ระงับลงทุนในบริษัทจดทะเบียนที่มีประเด็นปัญหา ESG

นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวในโอกาสร่วมกับนักลงทุนสถาบัน 32 ราย ลงนามแนวปฏิบัติ “การระงับลงทุน” (Negative List Guideline) ประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือด้านการลงทุนอย่างรับผิดชอบ (ESG Collaborative Engagement) ว่า การตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนสถาบัน จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG เพื่อผลักดันให้นักลงทุนตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนอย่างรับผิดชอบ (Responsible Investment) นายวิทัย รัตนากร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. กล่าวว่า การลงทุนโดยพิจารณา ESG จะช่วยสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่สม่ำเสมอและลดความเสี่ยงให้สมาชิกระยะยาว ก่อให้เกิดพัฒนาการที่ยั่งยืนของตลาดทุนอีกด้วย ซึ่งการรวมตัวในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมของกลุ่มนักลงทุนสถาบันชั้นนำของประเทศไทย ในการขับเคลื่อนการลงทุนตามหลัก ESG โดย กบข. ในฐานะผู้ริเริ่มผลักดันจนเกิดความร่วมมือนี้ เล็งเห็นตรงกันกับนักลงทุนสถาบัน รวม 32 ราย […]

Sovereign Green Bond อีกหนึ่งการลงทุนที่สร้างสรรค์

Sovereign Green Bond อีกหนึ่งการลงทุนที่สร้างสรรค์

น.ส.ศิรารัตน์ อรุณจิตต์ Fund Management ตลาด Green Bond มีความเติบโตอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2018 มีมูลค่าประมาณ 5.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตถึง 4 เท่าจากปี 2014 และในปี 2020 ที่จะถึงมีการคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาด Green Bond จะสามารถทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แรงสนับสนุนสำคัญนอกเหนือจากความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและการตระหนักถึงปัญหาต่างๆ จากนักลงทุนและผู้ออกตราสารแล้ว ยังมีแรงขับเคลื่อนอีกส่วนหนึ่งจากการจัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อมุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ อาทิเช่น ความยากจน ความไม่เท่าเทียม สภาวะโลกร้อน และสันติสุข โดยวางเป้าหมายว่าจะทำสำเร็จได้ภายในปี 2030 แรงตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวได้มีเพิ่มมากขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการเน้นการทำนโยบายด้าน ESG การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ป้องกันการเกิดมลภาวะ การแก้ปัญหาสภาพวิกฤติทางภูมิอากาศ ขณะที่ทางด้านการลงทุนก็ได้มีการออกตราสารหนี้แบบเฉพาะเพื่อนำเงินทุนไปใช้ในโครงการที่มุ่งพัฒนาและแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้ง […]

Luxury brands กับ ESG

Luxury brands กับ ESG

By…พัสกร ตรีวัชรีกร Fund Management Group เมื่อพูดถึงแบรนด์หรู สำหรับสินค้าต่างๆ อย่างเครื่องประดับ เสื้อผ้าแฟชั่น รถสปอร์ต หรือน้ำหอม ซึ่งเป็นเรื่องของคุณภาพ ความหรูหรา ดารา และความประทับใจส่วนบุคคลแล้ว สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับคำว่า สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลเลย แม้ว่าคำเหล่านี้จะกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงกันอยู่ในทั่วไปในทุกวงการ และมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม ช่องว่างดังกล่าวนั้น ดูเหมือนกำลังถูกลดทอนลงไปแล้ว งานนิวยอร์คแฟชั่นวีคเมื่อไม่นานมานี้ มีสิ่งหนึ่งที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจมากขึ้น นั่นก็คือคำว่า “ความยั่งยืน” ผู้ที่ได้รับรางวัลกลับไม่ใช่ผลงานแฟชั่นที่ทันสมัย หรูหรา แต่เป็นผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ไม่คุ้นหูอย่าง Studio 189 องค์กรนี้เป็นองค์กรแฟชั่นเพื่อสังคมในประเทศกานา โดยผลงานนั้นเป็นงานที่มาจากการย้อมสีธรรมชาติด้วยมือและวาดด้วยมือของคนกานา รวมถึงรายได้จากกิจการยังนำไปช่วยสนับสนุนการศึกษาในประเทศอีกด้วย ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่ว่า คำว่า “ความยั่งยืน” นั้น มาเกี่ยวกับวงการแฟชั่นตั้งแต่เมื่อไหร่ อุตสาหกรรมแฟชั่นนั้น มีขนาดใหญ่มหาศาลและมีการสร้างการจ้างงานทั่วโลก ทว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตมลพิษทางอุตสาหกรรมต่อโลกมากเป็นอันดับสองรองจากอุตสาหกรรมน้ำมัน และจากข้อมูลของ United Nations อุตสาหกรรมแฟชั่นผลิต 20% […]

Sharing economy เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว

Sharing economy เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว

By…หทัยภัทร พรหมน้อย Sharing economy – To share more and to buy less เพื่อความยั่งยืนในระยะยาว การแบ่งปัน (Sharing) เป็นส่วนหนึ่งในพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ ทำให้ทรัพยากรบางประเภทที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ได้ถูกนำมาใช้ เพื่อให้ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันการเข้าถึงมสมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตนับเป็นช่องทางสำคัญที่ช่วยทำให้คนเราแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างกันได้สะดวกมากขึ้น เราสามารถแบ่งปัน playlist เพลงได้ง่ายผ่าน JOOX โดยที่ไม่ต้องซื้อเพลงนั้นๆ เราสามารถเรียกคนแปลกหน้าให้ขับรถมารับเราผ่านแอปพลิชั่นของ Uber หรือ Grab ได้ เราสามารถหาห้องหรือบ้านเพื่อพักผ่อนตากอากาศ ผ่าน Airbnb ได้โดยไม่ต้องลงทุนซื้อบ้านตากอากาศ สิ่งเหล่านี้เรียกว่า Sharing economy ซึ่งเข้ามาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ (หรือจริงๆอาจกล่าวได้ว่า เป็นการดึงพฤติกรรมมนุษย์กลับสู่พฤติกรรมดั้งเดิมผ่านความเจริญทางเทคโนโลยี) PwC คาดการณ์ว่า Sharing economy ของโลกจะเติบโตจาก US$15 Billion ในปี 2014 เป็น […]

Electric Vehicle (EV) – รถยนต์ไฟฟ้า ทางเลือกสู่อากาศสะอาด

Electric Vehicle (EV) – รถยนต์ไฟฟ้า ทางเลือกสู่อากาศสะอาด

By…ฐาปณัฐ สุภาโชค Fund Management ในปัจจุบัน ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองในอากาศซึ่งก่อตัวรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆในเมืองต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากไอเสียรถยนต์ กับเขม่าและฝุ่นจากการก่อสร้าง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้แต่ละประเทศมีการเตรียมออกมาตรการป้องกันและแก้ไขออกมาอย่างหลากหลาย โดยมากจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบรถยนต์เก่า ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ใช้รถยนต์พลังงานทดแทน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถปลั๊กอินไฮบริด และรถยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง จึงไม่แปลกที่ผู้ผลิตรถยนต์เกือบทุกค่ายจะสนใจในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า หลายประเทศได้เริ่มกำหนดระยะเวลาในการเลิกใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล นำโดย นอร์เวย์ ในปี 2025 อินเดีย ในปี 2030 ตามด้วย ฝรั่งเศส และ อังกฤษ ในปี 2040 ขณะที่ยักษ์ใหญ่อย่าง จีน ยังไม่ได้ประกาศเส้นตายออกมาอย่างเป็นทางการ แต่การกำหนดเป้าหมายลดมลพิษในอากาศภายในปี 2030 ทำให้เชื่อว่าเส้นตายของ จีน อาจมาถึงเร็วกว่าที่คิด ก่อนหน้านี้ จีนได้ประกาศห้ามใช้รถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมัน และหันมาใช้รถจักรยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทน ส่งผลให้จำนวนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าใน จีน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาถึงกว่า 200 ล้านคัน ด้านประเทศไทย แม้จะยังอยู่ในช่วงปรับตัวให้สอดรับกับกระแสรถยนต์ไฟฟ้า […]

พัฒนาการของ ESG ในจีน (ตอนจบ)

พัฒนาการของ ESG ในจีน (ตอนจบ)

By… เศรณี นาคธน โอกาสพัฒนา ESG ในจีน จากแรงหนุนของรัฐบาล นโยบายการปฏิรูปทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลจีนฉบับล่าสุด (2016-2020) ผนวกกับแรงขับเคลื่อนจากนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ ที่หันมาให้ความสำคัญต่อ ESG ควบคู่กันไปกับผลประกอบการในการพิจารณาลงทุนจะช่วยเป็นแรงกดดันให้บริษัทของจีนต้องตระหนักถึงความสำคัญของ ESG ทั้งนี้นโยบายการปฏิรูปของภาครัฐ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ซึ่งด้านที่ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด คือ ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการพยายามหาทางลดมลภาวะ โดยจีนประกาศตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ทั้งประเทศเลิกพึ่งพาโรงงานไฟฟ้าถ่านหินเป็นหลักให้ได้ในปี 2020 ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินขนาดใหญ่ของจีนหลายแห่งได้ถูกยกเลิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รวมถึงมีบทลงโทษสำหรับบริษัทหรือโครงการใดๆที่ก่อให้เกิดมลภาวะขึ้นซึ่งมีโทษสูงสุดถึงการสั่งปิดกิจการ นอกจากนี้รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนแก่บริษัท หรือโครงการต่างๆที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการเข้าระดมทุนในตลาด แม้กระทั่ง การตั้งเป้าหมายที่จะให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) กระทั่ง ณ ปัจจุบันประเทศจีนกลายเป็นตลาดที่สำคัญสำหรับรถยนต์ EV สำหรับด้านธรรมาภิบาลนั้น ทาง กลต. ของจีนได้พยายามพัฒนาเพื่อให้ใกล้เคียงกับมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็น กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนของจีนต้องเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนมากขึ้น รวมถึงข้อมูลในด้านของ ESG เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน สำหรับเรื่องของคอร์รัปชั่น นโยบายการกำจัดคอร์รัปชั่นของรัฐบาลเริ่มเผยแพร่มาสู่ภาคเอกชน โดยบางบริษัทเริ่มมีนโยบายยกเลิกการมอบของขวัญให้กับข้าราชการ เพราะรัฐบาลได้บังคับใช้บทลงโทษสำหรับทั้งผู้ให้และผู้รับสินบน ด้วยแรงสนับสนุนของภาครัฐและเอกชนขนาดใหญ่ จึงเชื่อได้ว่าจีนมีโอกาสพัฒนาทางด้าน ESG ได้อีกไกล