EU ประกาศเก็บภาษีนำเข้า EV จีนเป็น 45% อย่างเป็นทางการ จับตาจีนงัดมาตรการโต้กลับ
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า สหภาพยุโรป (EU) เริ่มใช้มาตรการจัดเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) จากจีนในอัตรา 45% แล้ว หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาของ EU เมื่อวานนี้ (29 ต.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากมีการเจรจามานานหลายเดือน โดยภาคอุตสาหกรรมยานยนต์พยายามเรียกร้องให้หลีกเลี่ยงการขึ้นภาษีดังกล่าว ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จีนอาจใช้มาตรการตอบโต้กลับ และส่งผลให้ความตึงเครียดด้านการค้าระหว่างมหาอำนาจโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น สำหรับอัตราภาษีใหม่ของ EU จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ผลิต โดยอยู่ระหว่าง 8-35% จากเดิมในอัตรา 10% โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กำหนดภาษีนำเข้า 7.8% สำหรับ Tesla และ 35.3% สำหรับแบรนด์ SAIC ของจีน การปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าของยุโรปสร้างอุปสรรคต่อผู้ผลิตรถยนต์ในจีนเพิ่มขึ้น หลังถูกสหรัฐฯ สกัดกั้นในการเข้าเจาะตลาด ด้วยการเก็บเพิ่มภาษีนำเข้าเพิ่มขึ้นกว่า 100% ในปีนี้ โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลจีนให้เงินอุดหนุนการผลิตเพื่อให้สามารถทำตลาดในราคาต่ำ ขณะที่ ปริมารณการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าของจีนทั่วโลกเพิ่มขึ้น 70% เมื่อปีที่แล้ว […]
BF Monthly Economic Review EU India Japan
BBLAM Monthly Economic Review ตอน ยูโรโซน ญี่ปุ่น อินเดีย…ท่ามกลางข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวินทีม Economic ResearchBBLAM ยูโรโซน ในช่วงเดือนที่ผ่านมา Sentiment เชิงลบยังคงกดดันตลาดยูโรโซนอยู่ต่อเนื่อง และเมื่อมองไปข้างหน้าในไตรมาส 4/2022 ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิด Downside risk ได้อีกมาก โดยหลักๆ คือ สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ช่วงนี้กลับมามีท่าทีแข็งกร้าวกันมากขึ้น รวมถึงการตอบโต้ของฝั่งตะวันตกที่เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรกับรัสเซีย ทั้งนี้ อีกหนึ่งความผันผวนที่เข้ามากระทบดัชนีหุ้นยุโรปเมื่อช่วงปลายเดือนก.ย. ที่ผ่านมา คือ การที่รัฐบาลอังกฤษประกาศมาตรการลดภาษี ซึ่งเป็นการลดครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่า จะนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านไปทั้งในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดเงินที่ผันผวนอย่างมากในช่วงสัปดาห์นั้น โดยปอนด์อ่อนค่าแรง จนเกือบจะแตะระดับ 1 ปอนด์ต่อ 1 ดอลลาร์ฯ ส่งผลให้หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษออกมากล่าวว่า จะไม่ยื่นเสนอแผนนี้เข้าสภาแล้ว เนื่องจากเผชิญแรงต้านทั้งจากพรรคฝ่ายค้าน และส.ส. ภายในพรรคเอง […]
WHO เผยชาวยุโรปไม่ต่ำกว่า 17 ล้านคนเจอภาวะ ‘ลองโควิด’
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยผลการศึกษาใหม่เมื่อวันอังคาร (13 ก.ย.) ระบุว่า มีชาวยุโรปไม่ต่ำกว่า 17 ล้านคนที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว แต่ยังคงเผชิญกับอาการไม่พึงประสงค์ที่หลงเหลืออยู่ หรือที่เรียกกันว่า “ลองโควิด” (Long Covid) ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีแรกที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ระบาด คือ 2020-2021 ผู้ป่วยในยุโรปราว 10-20% พบว่า ตัวเองมีอาการผิดปกติหลงเหลืออย่างน้อย 3 เดือนหลังจากที่หายป่วย เช่น อ่อนเพลียง่าย สมองล้า หรือหายใจลำบาก เป็นต้น ผลการศึกษายังพบว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็น “ลองโควิด” มากกว่าผู้ชายประมาณ 1 เท่าตัว และในกลุ่มผู้หญิงที่ป่วยโควิดรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาล พบว่า 1 ใน 3 คนเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ที่มา: ซีเอ็นบีซี
BBLAM Monthly Economic Review: Sep – จับตาวิกฤติพลังงานฉุดเศรษฐกิจยูโรโซนถดถอย หลังรัสเซียหยุดส่งก๊าซ
สรุปความสัมภาษณ์ ฐนิตา ตุมราศวินทีม Economic ResearchBBLAM ยูโรโซน – ความเสี่ยง Recession ที่ใกล้เข้ามาจากวิกฤติพลังงาน ประเด็นที่ตลาดให้ความสนใจหลักๆ ในช่วงนี้ คือ เรื่องของ Recession จากสถานการณ์ด้านพลังงานที่ดูแย่ลง รวมไปถึงทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ซึ่งในภาพรวมของเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรก จะเห็นว่ายังขยายตัวได้ค่อนข้างดี อย่างตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ที่ออกมาดีเกินคาด และการปรับคาดการณ์ GDP ของ ECB ที่ปรับให้ปีนี้เติบโตดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจยูโรโซนเองเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง ตัวเลขชี้วัดรายเดือนสะท้อนว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีโมเมนตัมที่อ่อนแอลง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดเงินตลาดทุนของยุโรปในช่วงนี้ ซึ่งเมื่อนักลงทุนกังวลว่า เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย ประกอบกับว่า ดอลลาร์ฯ เองก็แข็งค่าขึ้นมากจากทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลให้ในช่วงเดือนส.ค.ถึงต้นก.ย. เราจะเห็นว่า ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงหนักที่สุดในรอบ 20 ปี จนต่ำกว่า 1 ยูโรต่อ […]
อียูปาดเหงื่อ! พื้นที่ 2 ใน 3 ของยุโรปเผชิญภัยแล้งหนักสุดในรอบ 500 ปี
สำนักข่าวบีบีซี รายงานเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมว่า หอสังเกตุการณ์ภัยแล้งโลก (จีดีโอ) ของสหภาพยุโรป (อียู) ได้ออกมาแจ้งเตือนว่าพื้นที่กว่า 2 ใน 3 ของยุโรปกำลังเผชิญกับภัยแล้งที่หนักที่สุดในรอบ 500 ปี ตามรายงานฉบับล่าสุดของจีดีโอ ซึ่งได้แบ่งสถานการณ์ความรุนแรงของภัยแล้งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ “เฝ้าระวัง” (watching) “เตือนภัย” (warning) และ “ฉุกเฉิน” (alert) ได้ระบุว่า พื้นที่ของยุโรปราว 47% ประสบปัญหาภัยแล้งในระดับเตือนภัย และมีอีกกว่า 17% ที่เผชิญภัยแล้งขั้นสูงสุดในระดับฉุกเฉิน มารียา กาเบรียล กรรมาธิการวิจัยของจีดีโอ กล่าวว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเด่นชัดขึ้นทุกปี และสถานการณ์ภัยแล้งที่ปรากฏในภูมิภาคยุโรป ณ ตอนนี้น่าจะเป็นภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดอย่างน้อยๆ ในรอบ 500 ปี โดยคลื่นความร้อนที่พัดผ่านยุโรปอยู่ในตอนนี้ ก็ได้ส่งผลร้ายแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนต่อระดับน้ำในแหล่งน้ำทั้งหมดของยุโรป อีกทั้งยังมีเหตุไฟป่าที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าค่าเฉลี่ยจนส่งผลกระทบต่อการผลิตพืชผล ผลจากภัยแล้งส่งผลให้ยุโรปต้องเผชิญกับการขาดแคลนน้ำ โดยระดับน้ำในแม่น้ำของยุโรปได้แห้งขอดจนปรากฏซากเรือรบจากสมัยสงครามโลกครั้งที่ […]
เศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัวอ่อนแรงอีกครั้ง หลังเผชิญโอมิครอนระบาด
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนอ่อนแรงลงในเดือนมกราคม 2022 หลังจากมีการกลับมาใช้มาตรการจำกัดเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งทำให้กิจกรรมบริการที่เคยขยับขึ้นมาหยุดชะงักอีกครั้ง ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสที่ขยายวงกว้างทำให้รัฐบาลในยุโรปใช้มาตรการขอความร่วมมือให้พลเมืองอยู่ที่บ้าน หลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือการพบปะรวมกลุ่ม จากข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ที่ IHS Markit จัดทำขึ้น ซึ่งถือเป็นมาตรวัดสุขภาพทางเศรษฐกิจ พบว่า ภาพความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ปรับลดลงเหลือ 52.4 ในเดือนมกราคม 2022 จาก 53.3 ในเดือนธันวาคม 2021 ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 และยังต่ำกว่าระดับ 52.6 ที่ผลสำรวจของ Reuters คาดการณ์ไว้ ตัวเลขที่ปรับลดลงนี้ ได้รับผลกระทบมาจากดัชนี PMI ภาคบริการ ซึ่งลดลงสู่ระดับ 51.2 ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน จากระดับ 53.1 ในเดือนธันวาคม 2021 แม้ว่าจะยังอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งหมายถึงยังเติบโตอยู่ แต่ก็ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับระดับที่ผลสำรวจของ Reuters คาดการณ์เอาไว้ที่ 52.2 […]
ยุโรปตั้งเป้าหมายผลิตเซมิคอนดักเตอร์ 20% ของโลกภายใน 10 ปีจากนี้
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า สหภาพยุโรปต้องการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำสมัย ในสัดส่วน 1 ใน 5 ของโลก ภายใน 10 ปีนี้ และต้องการมีควอนตัมคอมพิวเตอร์เครื่องแรกภายใน 5 ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการสนับสนุนลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ไม่ได้มาจากยุโรป แผนงานของยุโรปนี้มีชื่อว่า 2030 ดิจิทัล คอมพาส เกิดขึ้นในช่วงที่มีไวรัสแพร่ระบาด ซึ่ง 27 ประเทศสมาชิกของยุโรป พึ่งพาเทคโนโลยีที่บริษัทจีนและสหรัฐฯ เป็นเจ้าของ ทั้งนี้ ในแผนงานให้ความสำคัญกับเซมิคอนดักเตอร์ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับรถยนต์ สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง และปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และใช้ในกรณีที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาขาดแคลนจนต้องปิดโรงงานผลิตรถยนต์ “เป้าหมายของเราคือผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำสมัยและมีความยั่งยืนในยุโรป รวมถึงชิปประมวลผล อย่างน้อย 20% ของการผลิตทั่วโลกในเชิงมูลค่า” ข้อมูลตามเอกสารของยุโรป ที่รอยเตอร์ส พบเห็น นอกจากนี้ ยุโรปยังวางแผนสนับสนุนการลงทุนในเทคโนโลยีควอนตัม เนื่องจากมองว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนเกมในการพัฒนายาใหม่ๆ และเร่งความเร็วในการจัดลำดับจีโนม ขณะเดียวกัน ยุโรปยังมีแผนที่จะลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นกลางต่อสภาพภูมิอากาศ ภายในปี 2030 […]
อียูต้องใช้เงิน 80,000 ล้านยูโร หนุนใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่ม 50 เท่าใน 10 ปี
สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า Eurelectric ออกมาเผยว่า สหภาพยุโรป (อียู) วางแผนที่จะเพิ่มการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 50 เท่า ภายในช่วง 10 ปีจากนี้ เพื่อช่วยลดมลภาวะจากก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะต้องใช้เงิน 80,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 96,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการลงทุนจุดชาร์จเพื่อสนับสนุน ทั้งนี้ สหภาพยุโรปต้องการให้มีรถยนต์ที่สร้างมลภาวะเป็นศูนย์ 30 ล้านคัน วิ่งบนถนนภายในปี 2030 ถือเป็นส่วนหนึ่งของการสนันสนุนการลดสร้างมลภาวะอย่างน้อย 55% ภายในทศวรรษนี้ เมื่อเทียบกับระดับที่มีในช่วงปี 1990-1999 จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ยุโรป เผยว่า สิ้นปี 2019 อียูมีรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 615,000 คัน ขณะที่จำนวนจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะมีประมาณ 250,000 จุด ซึ่งต้องเพิ่มเป็น 3 ล้านจุด ภายในปี 2030 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายสีเขียว ตามรายงานของ Eurelectric สมาคมไฟฟ้าแห่งชาติ […]
BF Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2021 รายประเทศ : ยุโรป
BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและทิศทางเศรษฐกิจปี 2020-2021 จากผลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่นำมาซึ่งมาตรการล็อคดาวน์และการปิดพรมแดนระหว่างประเทศในยุโรปช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. ส่งผลให้เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 2/2020 หดตัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่มีการรวมกลุ่มยูโรโซนในปี 1999 ที่ -11.8% QoQ โดยเป็นการชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนเป็นหลัก แต่หลังจากนั้นในไตรมาส 3/2020 ที่แต่ละประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ธุรกิจต่างๆ กลับมาเปิดดำเนินงาน และมีการเดินทางระหว่างประเทศในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจต่างๆ อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) การค้าปลีก และการผลิต ต่างฟื้นตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ตัวเลข GDP ของไตรมาส 3/2020 พลิกกลับมาขยายตัวดีกว่าที่ตลาดคาดถึง 12.5% QoQ นับเป็นการขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนจะพบว่าเศรษฐกิจยังหดตัวอยู่ -4.3% YoY ในรายประเทศ GDP ไตรมาส 3/2020 ของประเทศเศรษฐกิจหลักต่างพลิกกลับมาขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะอิตาลี สเปน และฝรั่งเศส จากความต้องการสินค้าในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของการบริโภคและการลงทุน […]
Economic Review Economic Update EU
Economic Review ครึ่งปีแรกปี 2020 : ยุโรป
ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจยูโรโซนในไตรมาส 3/2019 ขยายตัว 0.2% QoQ sa เท่ากับตัวเลขในไตรมาสก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบรายปีขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 1.2% YoY เท่ากับไตรมาสก่อน ในรายองค์ประกอบ การใช้จ่ายภาคเอกชนเป็นปัจจัยสำคัญของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสนี้ โดยส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Contribution to Growth) 0.3% ตามมาด้วยการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนที่ 0.1% อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การค้าโลกยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจยูโรโซนอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนที่ยังคงไม่ได้ข้อสรุป ด้านเศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวดีกว่าคาดที่ 0.1% QoQ sa หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในไตรมาส 3 เนื่องจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจหดตัว -0.2% ในไตรมาส 2 ส่งผลให้สามารถหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยไปได้ ส่วนเศรษฐกิจฝรั่งเศส และอิตาลีมีการขยายตัว 0.3% QoQ sa และ 0.1% QoQ sa ตามลำดับ ทั้งนี้ ท่ามกลางการชะลอตัวของภาคการผลิตในยูโรโซนที่สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ […]