เงินเฟ้อยูโรโซนเดือนส.ค. ขยายตัวที่ 2.0% YoY ขณะที่ อัตราการว่างงานเดือนก.ค.ต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี

เงินเฟ้อยูโรโซนเดือนส.ค. ขยายตัวที่ 2.0% YoY ขณะที่ อัตราการว่างงานเดือนก.ค.ต่ำสุดในรอบเกือบ 10 ปี

BF Economic Research อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนเดือนส.ค. 2018 ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยที่ 2.0% YoY จากเดือนทีผ่านมาที่ขยายตัว 2.1% YoY กลับเข้ามาใกล้เคียงกรอบที่ ECB ตั้งไว้คือ ใกล้เคียงแต่ไม่เกิน 2.0% ขณะที่ อัตราการว่างงานของยูโรโซนในเดือนก.ค. 2018 อยู่ที่ 8.2% ลดลงจากระดับ 9.1% ในเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา นับเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2008  อัตราเงินเฟ้อยูโรโซน เดือนส.ค. 2018 ขยายตัว 2.0% YoY ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัว 2.1% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 2.1% YoY โดยเป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กที่ 9.2% YoY (prev. 9.5% YoY) ประกอบสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่พลังงานที่ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยเช่นกันที่ 0.3 % YoY (prev. 0.5% YoY) […]

ค่าเงินลีราของตุรกีวิกฤติสุดในรอบ 17 ปี กระทบยุโรปและEmerging Markets

ค่าเงินลีราของตุรกีวิกฤติสุดในรอบ 17 ปี กระทบยุโรปและEmerging Markets

BF Economic Research ค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนัก โดยแตะ 6.916 ลีราตุรกี ต่อ ดอลลาร์ฯ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องของตุรกี ประกอบกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาประกาศเพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความกังวลว่าการดิ่งลงของค่าเงินลีราจะส่งผลกระทบต่อธนาคารยุโรปในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ของตุรกี สำหรับผลต่อตลาดอาเซียนนั้นค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียและเปโซของฟิลิปปินส์อ่อนตัวลงแรง ค่าเงินลีราของตุรกีดิ่งลงอย่างหนัก โดยแตะ 6.916 ลีราตุรกี ต่อ ดอลลาร์ฯ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องของตุรกี ประกอบกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาประกาศเพิ่มอัตราภาษีต่อเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า เป็นอัตราภาษีต่อการนำเข้าเหล็กจะอยู่ที่ 50% และอลูมิเนียมอยู่จะที่ 20% หลัง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้แสดงความกังวลว่าการดิ่งลงของค่าเงินลีราจะส่งผลกระทบต่อธนาคารยุโรป โดยเฉพาะธนาคารในสเปน อิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของตุรกี โดยการลดลงของค่าเงินลีราน่าจะส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศของตุรกีลดลงกระทั่งผิดนัดชำระได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและลุกลามไปในยุโรปได้    […]

GDPR ในยุโรปเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจบริหารจัดการข้อมูล

GDPR ในยุโรปเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจบริหารจัดการข้อมูล

กฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคล ที่รู้จักกันในชื่อ General Data Protection Rule (GDPR) กำลังส่งผลกระทบทั่วยุโรปแล้ว โดยที่ผ่านมา ภาคธุรกิจมีเวลา 2 ปีที่จะเตรียมตัวรับกฎหมายใหม่นี้ ซึ่งผลสำรวจจากบริษัทวิเคราะห์ข้อมูล SAS พบว่ามีบริษัทเพียง 49% ทั่วโลกที่จะเตรียมพร้อมได้ตามกำหนดเวลา ปัจจุบัน GDPR มีผลบังคับใช้แล้ว บริษัทและบุคคลในด้านการบริหารจัดการข้อมูลจะมีโอกาสใหญ่ทางธุรกิจมากขึ้น โดย Tamzin Evershed ผู้บริหารด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลระดับโลก บริษัท Veritas Technologies ซึ่งเป็นบริษัทบริหารจัดการข้อมูลที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เราต้องการคนมากขึ้นที่จะเข้าใจว่าจะปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวอย่างไร Evershed ระบุว่า ได้ใช้เวลาถึง 2 ปี ในการเตรียมตัวรับกับ GDPR โดยการทำงานกับทีมงานด้านไอทีและกฎหมายของ Veritas ทั่วโลก แน่นอนว่าเรื่องนี้ซับซ้อนและหลายคนจำเป็นต้องเข้ามาเรียนรู้อย่างรวดเร็ว สำหรับ GDPR เรียกร้องให้รัฐและบริษัทที่มีกิจกรรมหลักๆ เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลที่สำคัญๆ ต้องจ้างเจ้าหน้าที่เพื่อมาคอยปกป้องดูแลข้อมูล โดยในกรณีที่ถูกละเมิดข้อมูลต้องแจ้งให้ทราบในเวลา 72 ชั่วโมง […]

เศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสแรก เติบโต +0.4% QoQ sa

เศรษฐกิจยูโรโซนไตรมาสแรก เติบโต +0.4% QoQ sa

GDP ไตรมาส 1/2018 ของยูโรโซน โต +0.4% QoQ sa ชะลอลงจาก +0.7% QoQ sa ในไตรมาสก่อนหน้า การแข็งค่าของสกุลเงินยูโร กดดันความต้องการสินค้าจากต่างประเทศ และสงครามการค้ายืดเยื้อกระทบความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ข้อมูลดังกล่าว จะถูก ECB นำไปพิจารณาเพื่อตัดสินใจกรอบเวลาในการคลาย QE ออก Eurostat ประเมินเบื้องต้นว่า เศรษฐกิจของสมาชิกยูโรโซน 19 ประเทศขยายตัวเพียง +0.4% QoQ sa ในไตรมาสที่ 1/2018 (Preliminary Flash Estimate) นับว่าน้อยกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่โตได้ +0.7% QoQ sa พอสมควร และยังถือว่าช้าที่สุดในรอบ 6 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม เรายังต้องรอดูองค์ประกอบที่จะถูกเผยออกมาในการประกาศครั้งถัดไป เพื่อทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ที่ผ่านมา เศรษฐกิจยุโรปเผชิญกับแรงต้านหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศแปรปรวน […]

มูดี้ส์เผยเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้น ดันความน่าเชื่อถือปีนี้ มีเสถียรภาพ

มูดี้ส์เผยเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้น ดันความน่าเชื่อถือปีนี้ มีเสถียรภาพ

รายงานจากมูดี้ส์ระบุแนวโน้มความน่าเชื่อถือของยูโรโซนในปี 2018 มีเสถียรภาพ ปัจจัยสนับสนุนมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตามวัฏจักร ซึ่งสามารถชดเชยการปฏิรูปที่เป็นไปอย่างจำกัด สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิสยังระบุอีกว่า ความคืบหน้าในการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่ฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการรับมือกับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ยังไม่สอดคล้องกันทั่วภูมิภาค แม้เศรษฐกิจยูโรโซนยังคงมีโอกาสปรับตัวสู่ช่วงขาขึ้นก็ตาม คาดการณ์การขยายตัวโดยเฉลี่ยของเศรษฐกิจยูโรโซนในปี 2018 จะอยู่ที่ 2.0% ก่อนที่จะชะลอตัวลงสู่ระดับ 1.7% ในปี 2019 พร้อมระบุว่า อุปสงค์ภายในประเทศ (domestic demand) จะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี

แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปปี 2018

แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปปี 2018

มองเศรษฐกิจยูโรโซนอาจชะลอตัวเล็กน้อย แต่ยังมีพื้นฐานที่มั่นคง มองได้แรงหนุนจากนโยบายการเงินผ่อนคลาย-อุปสงค์โลกโตต่อเนื่อง และตลาดตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะมีแนวโน้มชะลอตัวลงเล็กน้อยจากฐานสูงในปีนี้ เราคาดว่าการเติบโตจะยังคงอยู่ในกรอบสูง เพราะที่ผ่านมา การขยายตัวกำลังแผ่ออกเป็นวงกว้างขึ้นทั้งในเชิงอุตสาหกรรมและภูมิศาสตร์ เป็นสัญญาณว่าโมเมนตัมเศรษฐกิจในรอบนี้มีพื้นฐานที่มั่นคง นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่ฟื้นตัว จะส่งผลให้ ECB รักษานโยบายการเงินลักษณะผ่อนคลายต่อไปก่อน เมื่อประกอบกับการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์โลก และตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งขึ้น จึงเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดการลงทุนในภูมิภาคเป็นวงจรบวกต่อในระยะถัดไป โดยล่าสุด ECB รายงานว่า มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อไตรมาส 4/2017 ของธนาคารพาณิชย์ต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนยังคงมีทิศทางผ่อนคลายลง ขณะที่ความต้องการสินเชื่อใหม่ปรับตัวขึ้นในทุกๆภาคส่วน จากอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ช่วยลดภาระการกู้ยืมลง สำหรับทิศทางของเศรษฐกิจปี 2018 เราคาดว่า GDP รวมของยูโรโซนจะขยายตัว 2.3% และคาดว่าเงินเฟ้อเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ใกล้เคียงกับแต่ต่ำกว่า 2% ต่อไป เพราะที่ผ่านมา การตึงตัวของตลาดแรงงานและการขยายตัวของเศรษฐกิจ ยังไม่ส่งผลผ่านไปเป็นแรงขับเคลื่อนทางราคาชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านการเมืองของยุโรปยังไม่หมดไปเสียทีเดียว เพราะกระบวนการเจรจาถอนตัวออกจาก EU ของสหราชอาณาจักร หรือ Brexit กำลังดำเนินไปอย่างเชื่องช้า การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลเยอรมนีเผชิญกับความล้มเหลว วาระของรัฐบาลอิตาลีจะสิ้นสุดลงในปีหน้า ทำให้จะมีการเลือกตั้งครั้งใหม่เกิดขึ้น […]

ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยูโรโซนทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 17 ปี

ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจยูโรโซนทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 17 ปี

คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ESI) ซึ่งวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจใน Euro area พบว่า ดัชนีพุ่งขึ้น 1.4 จุด สู่ระดับ 116.0 ในเดือน ธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2543 โดยได้แรงสนับสนุนมาจากความเชื่อมั่นในภาคบริการ, ค้าปลีก และภาคก่อสร้าง ทั้งนี้ตัวเลขความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี ขณะที่ประเทศสเปนความเชื่อมั่นลดลง นอกจากนี้ EC ยังเปิดเผยว่า ดัชนี ESI ของสหภาพยุโรป (EU) ดีดตัวขึ้น 1.6 จุด สู่ระดับ 115.9 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2543

มุมมองเศรษฐกิจใน 5 ประเทศหลัก

มุมมองเศรษฐกิจใน 5 ประเทศหลัก

US : เศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2017-2018 จะสามารถขยายตัวเกินค่าเฉลี่ยระยะยาวได้ที่ 2.5% ทั้งสองปี ด้วยแรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนที่จะเริ่มผลิตเพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังให้พอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ส่วนการจ้างงานน่าจะยังเติบโตได้แข็งแกร่ง EU : ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาพลังงานช่วยสนับสนุนการบริโภค ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมา การใช้สินเชื่อเริ่มดีขึ้นเรามองว่า GDP จะขยายตัวที่ 2.3% JP : เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถขยายตัวได้อัตรา 1.4% เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีส่วนช่วยผลักดันได้แก่ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือ Supplementary Budget จากรัฐบาล มีส่วนหนุนการบริโภคภาคเอกชน CH : เศรษฐกิจจีนน่าจะขยายตัวได้ที่ 6.5% โดยเป็นการขยายตัวตามเป้าหมายของทางการที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจจีนค่อยๆขยับเข้าภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชน TH : การส่งออกและการใช้จ่ายลงทุนภาเอกชนจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.8% ในปี 2017-2018