ซีอีโอ เจพีมอร์แกน เตือนทั่วโลกเตรียมรับมือ “เฟด” ขึ้นดอกเบี้ยถึง 7%

ซีอีโอ เจพีมอร์แกน เตือนทั่วโลกเตรียมรับมือ “เฟด” ขึ้นดอกเบี้ยถึง 7%

เจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ธนาคารใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ เตือนว่า โลกต้องเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์เลวร้ายที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจขึ้นดอกเบี้ยสูงถึง 7% และจะเกิด stagflation หรือภาวะเงินเฟ้อสูง ในขณะที่เศรษฐกิจชะงักงันพร้อมการว่างงานสูง วันที่ 25 กันยายน 2023 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานว่า เจมี ไดมอน (Jamie Dimon) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค (JPMorgan Chase & Co.) ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ ไทม์ส ออฟ อินเดีย (Times of India) ว่า โลกอาจไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์กรณีที่เลวร้ายที่สุดของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) […]

Economic Update: Fed คงดอกเบี้ย แต่ปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้น โดยมองว่า ปีหน้าดอกเบี้ยจะยังยืนเกิน 5%

Economic Update: Fed คงดอกเบี้ย แต่ปรับประมาณการเศรษฐกิจขึ้น โดยมองว่า ปีหน้าดอกเบี้ยจะยังยืนเกิน 5%

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Key Takeaway การประชุม FOMC ประจำเดือนก.ย. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25-5.5% ตามที่ตลาดคาด แต่ Fed ปรับขึ้นประมาณการเศรษฐกิจในปี 2024-25 โดยส่วนใหญ่มั่นใจว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่น่าจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย พร้อมมองว่า ดอกเบี้ยสามารถยืนได้เกิน 5% ในปีหน้า   Dot plot สะท้อน “Even Higher for Longer” คาดการณ์สำหรับปี 2023 ยังไม่เปลี่ยนแปลงที่ 5.5-5.75% (5.625%) แต่การคาดการณ์สําหรับปี 2024 และ 2025 ได้รับการปรับขึ้นไปที่ 5.0-5.25% (เทียบกับ 4.5-4.75 % ในการประชุมก่อนหน้า) และ 3.75-4.0% […]

Economic Update: คณะกรรมการ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ที่ 11:0 เห็นควรให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ 5.25-5.5%

Economic Update: คณะกรรมการ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ที่ 11:0 เห็นควรให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ 5.25-5.5%

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM คณะกรรมการ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ที่ 11:0 เห็นควรให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ 5.25-5.5% เนื้อความในการประชุมครั้งนี้ มีทั้งส่วนที่ Dovish และส่วนที่ Hawkish พร้อมทิ้งท้ายมุข Data-dependent เช่นเดิม มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างจาก Statement การประชุมครั้งก่อน ? Upgrade มุมมองเศรษฐกิจ จากคำว่า Modest เป็น Moderate โดยในมุมมองของอดีตประธาน Fed สาขา Atlanta Dennis Lockhart ได้ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ภายหลังการประชุม FOMC ว่า การใช้คำว่า Moderate เป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกมากกว่า Modest มีอะไรบ้าง ที่เหมือนกับ […]

เฟดจะขึ้นดบ.รอบสุดท้าย ส.ค.นี้

เฟดจะขึ้นดบ.รอบสุดท้าย ส.ค.นี้

จากโพลของรอยเตอร์ ซึ่งสำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 106 คน ระบุว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงข้ามคืน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่กรอบ 5.25-5.50% ในวันที่ 26 ก.ค.นี้ ด้วยเสียงข้างมากยังคงกล่าวว่า ครั้งนี้จะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของวัฏจักรคุมเข้มนโยบายในปัจจุบัน เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้เร็วและอัตราการว่างงานที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เป็นเวลานานกว่า 1 ปี นับตั้งแต่เฟดเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่แข็งกร้าวที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์และนักลงทุนทั้งหลายสับสนอยู่หลายครั้ง อัตราเงินเฟ้อกำลังร่วงลง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปวัดค่าได้ชะลอตัวลงสู่ระดับ 3.0% ในเดือน มิ.ย. จาก 4.0% ในเดือน พ.ค. ซึ่งทำให้ผู้สังเกตการณ์ในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท สรุปลงความเห็นว่า อัตราเงินเฟ้ออาจจะควบคุมได้ง่ายในไม่ช้านี้ กระตุ้นให้มีการเดิมพันครั้งใหม่ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจจะเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด คือ สิ้นปี 2566 นี้ การโต้เถียงในขณะนี้ คือ การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก อาจจะจำเป็นเพื่อทำให้มั่นใจว่า “ภาวะเงินเฟ้อลดลง” จะดำเนินต่อไปได้หรือไม่ หรือหากว่า ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างไม่จำเป็น แต่อัตราเงินเฟ้ออ้างอิงยังคงเป็นปัญหาและประธานเฟด […]

จับตาเฟดคงดอกเบี้ยนโยบาย หลังดัชนีเงินเฟ้อต่ำสุดรอบ 2 ปี

จับตาเฟดคงดอกเบี้ยนโยบาย หลังดัชนีเงินเฟ้อต่ำสุดรอบ 2 ปี

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่คึกคักสำหรับตลาดการเงิน เพราะมีการจัดการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางชั้นนำ ของโลกถึง 3 แห่ง ท่ามกลางกระแส คาดการณ์ว่าจะมีการดำเนินนโยบาย ที่แตกต่างกัน เริ่มจาก เฟดจัดการประชุม ในวันที่ 13-14 มิ.ย. ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จัดประชุมวันที่ 15 มิ.ย. ปิดท้ายด้วยธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่จัดการประชุมวันที่ 15-16 มิ.ย. นักลงทุนเทน้ำหนักเกือบ 100% คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประกาศคงอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมนโยบายการเงินในวันพรุ่งนี้ หลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ต่ำสุดในรอบ 2 ปี FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 96.4% ที่เฟด จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. และ […]

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอลงในเดือนพ.ค. เปิดทาง Fed คงดอกเบี้ยในวันพฤหัสฯ นี้

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ชะลอลงในเดือนพ.ค. เปิดทาง Fed คงดอกเบี้ยในวันพฤหัสฯ นี้

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM อัตราเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯ ชะลอลงสู่ 4.0% YoY ในเดือนพ.ค. ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2021 และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 4.1% โดยได้แรงหนุนจากราคาพลังงานที่ลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมสินค้าที่ราคาผันผวน เช่น อาหารและพลังงาน ซึ่งได้ชะลอตัวลงสู่ระดับ 5.3% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2021  ·       ในรายองค์ประกอบราคาพลังงานลดลง -11.7% YoY (เทียบกับ -5.1% เดือนก่อน) ในขณะที่ ราคาอาหารชะลอลงมาที่ 6.7% YoY (เทียบกับ 7.7% เดือนก่อน) ส่วนราคารถยนต์ใหม่ปรับขึ้น (4.7% เทียบกับ 5.4% เดือนก่อน) ด้านบริการขนส่งชะลอลงมาที่ 10.2% YoY เทียบกับ 11.0% เดือนก่อน) ·       เมื่อเทียบรายเดือน […]

BBLAM Weekly Investment Insights 15-19 พฤษภาคม 2023

BBLAM Weekly Investment Insights 15-19 พฤษภาคม 2023

2023 – The Rise of Asia INVESTMENT STRATEGY By BBLAM “เมื่อเทียบ Fed กับ ECB ตลาดมองว่า ECB ดูจะ Bullish กว่า Fed เป็นผลให้ Fx Trader เริ่มมองว่าจะเกิดเหตุการณ์ Fed-ECB Divergence” ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จาก BBLAM กล่าวว่า ท่าทีของตลาดที่มีต่อธนาคารกลางสรัฐฯและธนาคารกลางของ EU ล่าสุดว่า เป็น “Fed-ECB Divergence Fed จะคงดอกเบี้ยแต่ ECB พร้อมไปต่อ” คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) ในเดือนพฤษภาคม ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ […]

Economic Update: Fed-ECB Divergence คือ Keyword ใหม่ เมื่อตลาดมองว่า Fed จะคงดอกเบี้ย แต่ ECB พร้อมไปต่อ

Economic Update: Fed-ECB Divergence คือ Keyword ใหม่ เมื่อตลาดมองว่า Fed จะคงดอกเบี้ย แต่ ECB พร้อมไปต่อ

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Fed-ECB Divergence คือ Keyword ใหม่ เมื่อตลาดมองว่า Fed จะคงดอกเบี้ยแต่ ECB พร้อมไปต่อ คณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีก 25 bps สู่กรอบ 5-5.25% เนื้อความในมติการประชุมครั้งนี้ ที่ต่างจากการประชุมครั้งก่อน คือ การประชุมครั้งนี้ไม่มีประโยคที่ว่า “คณะกรรมการเห็นควรให้คุมเข้มนโยบายการเงินต่อไป” ทำให้ตลาดคาดว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. สำหรับ Key Point สำคัญ ระหว่าง Press Conference ได้แก่ ประธาน Fed ค่อนข้างจะ Bullish ต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยได้ให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวในอัตราปานกลางและไม่ได้มองว่า […]

Fed กล่าว ไม่ Trade-Off เสถียรภาพของธนาคารกับเงินเฟ้อ แต่เป็นการขึ้นแบบ Dovish Hike ด้าน Dot Plot ชี้ยังขึ้นได้อีก 1 ครั้ง

Fed กล่าว ไม่ Trade-Off เสถียรภาพของธนาคารกับเงินเฟ้อ แต่เป็นการขึ้นแบบ Dovish Hike ด้าน Dot Plot ชี้ยังขึ้นได้อีก 1 ครั้ง

โดย ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist, BBLAM Key Event คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ (11:0) ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25 bp สู่กรอบ 4.75-5.0% โดยเนื้อความที่เปลี่ยนไปจากการประชุมครั้งก่อน ได้แก่ เครื่องชี้เศรษฐกิจรายเดือนสะท้อนการขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งฝั่งการใช้จ่ายและการผลิตภาคอุตสาหกรรม การจ้างงานยังขยายตัวได้ดี ขณะที่อัตราว่างงานต่ำ ส่วนแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อยังคงมีอยู่ ระบบธนาคารในสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ส่วนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ อาจจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบตึงตัวได้บ้าง และอาจจะกระทบกับการใช้สินเชื่อของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจจะยังมีความไม่แน่นอน แต่ที่ยังคงแน่นอนเสมอมา คือ คณะกรรมการยังคงให้น้ำหนักกับอัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ดี คณะกรรมการจะติดตามสถานการณ์ของธนาคารพาณิชย์อย่างใกล้ชิด แต่ ณ ขณะนี้ ยังคงทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปในอนาคต เพื่อให้เป้าหมายเงินเฟ้อระยะกลางเข้าสู่เป้าหมาย 2% โดยยังยึดหลักการตัดสินใจอ้างอิงข้อมูลปัจจุบันและพร้อมเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินหากจำเป็น (Data dependent) และยังคงเดินหน้าทำ QT […]

‘เฟด’ จับมือ 5 แบงก์ชาติ เสริมสภาพคล่องระบบการเงิน ผ่านการปรับสว็อปไลน์สกุลเงินดอลลาร์

‘เฟด’ จับมือ 5 แบงก์ชาติ เสริมสภาพคล่องระบบการเงิน ผ่านการปรับสว็อปไลน์สกุลเงินดอลลาร์

เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศความร่วมมือกับธนาคารกลางแคนาดา, ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE), ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ), ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ระบบการเงิน ผ่านการปรับธุรกรรมสว็อปไลน์สกุลเงินดอลลาร์ (U.S. dollar Swap Line) โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากข้อตกลงที่ทางการสวิสเป็นนายหน้าให้ UBS ซื้อธนาคารคู่แข่งของสวิส Credit Suisse เพื่อป้องกันการล่มสลายอย่างไม่เป็นระเบียบและส่งสัญญาณถึงความกังวลที่ธนาคารกลางมีต่อความวุ่นวายในระบบการเงินเมื่อเร็วๆ นี้ “เพื่อเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกรรมสว็อปไลน์ในการจัดหาสภาพคล่องสกุลเงินดอลลาร์ เฟดและธนาคารกลางอีก 5 แห่ง ซึ่งปัจจุบันได้ร่วมมือกันผ่านธุรกรรมดังกล่าวนั้น มีความเห็นตรงกันว่า เราจะเพิ่มความถี่ในการดำเนินการไถ่ถอนข้อตกลงสว็อปอายุ 7 วัน จากเดิมที่มีการไถ่ถอนเป็นรายสัปดาห์ เปลี่ยนเป็นการไถ่ถอนรายวัน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันนี้ (20 มี.ค.) ไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นเดือนเม.ย.” เฟดระบุในแถลงการณ์ร่วมกับธนาคารกลางอีก 5 แห่ง ทั้งนี้ การดำเนินการจะเริ่มในวันจันทร์และจะดำเนินต่อไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นเดือนเมษายน […]