นักเศรษฐศาสตร์ต่างชาติ คาดเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือน ก.ย.

นักเศรษฐศาสตร์ต่างชาติ คาดเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือน ก.ย.

นักเศรษฐศาสตร์รอยเตอร์ ชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% ในเดือนกันยายน ท่ามกลางคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อจะพุ่งถึงจุดสูงสุด เพราะกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเมื่อเดือนที่แล้ว ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ส่งผลให้กองทุนฟิวเจอร์สของเฟดปรับราคาให้แคบลงอยู่พื้นฐานที่ 0.50% ในเดือน ก.ย. หลังจากที่เคลื่อนไหวในเดือนมิ.ย.และ ก.ค.อยู่ที่ 0.75%  ในผลสำรวจของรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 19 – 20 ส.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครึ่งเปอร์เซ็นต์ในเดือนหน้า ซึ่งจะนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยหลักที่ระดับ 2.75-3.00% เมื่อเดือนที่แล้ว นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ กล่าวว่า ในการประชุมที่แจ็กสันโฮล วันที่ 26 – 27 ส.ค. อาจพิจารณาชะลอการเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย น่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม นายพาวเวล จะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในวันที่ 26 ส.ค.เวลา 10.00 […]

ผู้บริโภคสหรัฐฯ มองเงินเฟ้อเริ่มแผ่ว หวังเฟดผ่อนนโยบายขึ้นดอกเบี้ย

ผู้บริโภคสหรัฐฯ มองเงินเฟ้อเริ่มแผ่ว หวังเฟดผ่อนนโยบายขึ้นดอกเบี้ย

ผู้บริโภคมองว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม 2565 จะลดลงอย่างมาก สืบเนื่องจากราคาก๊าซที่ร่วงลงอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงความเชื่อที่มองว่าการเร่งตัวของราคาอาหาร และที่อยู่อาศัยจะเบาลงในอนาคตด้วยเช่นกัน ผลสำรวจรายเดือนของธนาคารกลางนิวยอร์ก พบว่า ผู้บริโภคในสหรัฐฯ มองว่า อัตราเงินเฟ้อจะเคลื่อนตัวอยู่ในระดับ 6.2% ในปี 2566 และ 3.2% ในอีกสามปีหลังจากนั้น ถึงแม้ว่าตัวเลขดังกล่าวจะยังอยู่สูงเมื่อเทียบกับมาตรฐานในอดีต แต่ถือว่าเป็นการปรับตัวลดลงที่สูงมากจากผลสำรวจที่ทำขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งตัวเลขที่ได้มานั้นอยู่ที่ 6.8% และ 3.6% ตัวเลขจากสำนักสถิติแรงงานสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า ราคาอาหารในปีนี้จนถึงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มสูงขึ้น 10.4% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก  6.7% ในอีก 12 เดือนหลังจากนี้ แต่ยังลดลง 2.5 จุดเปอร์เซ็นต์จากผลสำรวจในเดือน มิ.ย. ในขณะเดียวกัน ราคาก๊าซที่เพิ่มสูงขึ้น 60% ในช่วงปีนี้ ผลสำรวจพบว่า ราคาก๊าซคาดจะสูงขึ้นเพียง 1.5% เท่านั้นในปีหน้า ซึ่งลดลง 4.2 จุดเปอร์เซ็นต์จากผลสำรวจในเดือน […]

Killing Inflation is Fed’s Top Priority

Killing Inflation is Fed’s Top Priority

Economic Research การประชุม FOMC เดือนมี.ค. Fed พร้อมขึ้นดอกเบี้ยเพื่อจัดการเงินเฟ้อ Key Event การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯหรือ FOMC Meeting ประจำเดือนมี.ค. มีมติ 8:1 ให้ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% สู่กรอบ 0.25-0.5% โดยมีคณะกรรมการ 1 ท่านคือ James Bullard ซึ่งดำรงตำแหน่ง ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) สาขา St. Louis ไม่เห็นด้วยและมองว่าควรปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.5% ในครั้งนี้ ใจความหลักสำคัญของการประชุมในครั้งนี้ ได้แก่ คณะกรรมการ FOMC มองว่าประเด็นด้านการบริหารจัดการอัตราเงินเฟ้อคือภารกิจหลักของ Fed โดยในผลการประชุมได้ระบุถึงแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่มีมากขึ้นหรือ Broader Price Pressure (อันเป็นผลจาก Supply-Disruption และราคาพลังงาน) พร้อมกันนี้ยังได้ระบุเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ในรัสเซียและยูเครนจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะเวลาอันใกล้ด้วย ขณะที่คณะกรรมการ FOMC ยังคงเห็นว่าการจ้างงานในสหรัฐฯ […]

ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน จะทำให้ Fed ตัดสินใจยากขึ้นในการขึ้นดอกเบี้ย

ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครน จะทำให้ Fed ตัดสินใจยากขึ้นในการขึ้นดอกเบี้ย

มุมมองของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหลังเดือนมีนาคมนี้ไปแล้ว อาจจะยังไม่ชัดเจน ถ้าหากรัสเซียยังคงรุกรานยูเครนต่อไป เนื่องจากความตึงเครียดที่เกิดขึ้นนี้ไปกดดันให้ราคาน้ำมันและน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งหลักที่คนอเมริกันจำนวนมากต้องซื้อ และการบริโภคในสหรัฐฯ คิดเป็น 70% ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ปรับขึ้น ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกองทัพรัสเซียที่เข้าไปในยูเครน และการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ และพันธมิตร ซึ่งอาจจะนำไปสู่การจำกัดในฝั่งอุปทาน เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกรายหลักน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในกลุ่มข้าวสาลีและแร่แพลเลเดียม ทั้งยังเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในกลุ่มนิกเกิล อะลูมิเนียม และโลหะอื่นๆ ด้วย Mark Zandi หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ของหน่วยงานวิเคราะห์ของ Moody’s กล่าวว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับน้ำมันมากกว่าสิ่งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวสาลี แพลเลเดียม และนิกเกิล โดยน้ำมันอาจจะราคาปรับขึ้น 10-15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้ เพราะว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และอาจจะเพิ่มอีก 30-40 เซ็นต์ต่อแกลลอน สำหรับน้ำมันไร้สารตะกั่ว ซึ่งเท่ากับการเพิ่มขึ้นครึ่งเปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคเมื่อเทียบรายปี ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อยู่ในระดับ 7.5% อยู่แล้ว เราจึงมองว่า มีความซับซ้อนมากขึ้นสำหรับการตัดสินใจของ Fed […]

Fed เปลี่ยนมาดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดแล้ว…ลงทุนอะไรดี

Fed เปลี่ยนมาดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดแล้ว…ลงทุนอะไรดี

โดย…จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ AFPTTM เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ปีนี้นักลงทุนคงจะได้เห็นทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งในภาวะแบบนี้นักลงทุนบางคนคงจะสงสัยว่า เราจะลงทุนอะไรดีให้เข้ากับทิศทางนี้ วันนี้ BBLAM เตรียมคำตอบดีๆ เอาไว้ให้แล้ว เมื่อปลายปี 2021 นาย Jerome Powell ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศเอาไว้ชัดเจนตั้งแต่ปลายปี 2021 ว่า Fed จะทยอยลดการเข้าซื้อสินทรัพย์สภาพคล่องในระบบตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณที่ดำเนินการอยู่ หรือที่เรียกว่า QE Tapering โดยจากเดิมตั้งใจจะลดเข้าซื้อเดือนละ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ก็จะเพิ่มเป็นลดลงเดือนละ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ซึ่งก็จะส่งผลให้การทำ QE สิ้นสุดลงในเดือนมีนาคม 2022 และหลังจากที่สิ้นสุดแล้ว Fed ก็จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 2022 ซึ่งก็ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed น่าจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 ที่ทำ QE จบนั่นเอง […]

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%

ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25%

BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติเป็นเอกฉันท์ (11-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% และระบุเช่นเดิมว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) สำหรับแนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ยังคงชี้ว่า เฟด จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวจนถึงสิ้นปี 2023 เป็นอย่างน้อย แต่ความเห็นของคณะกรรมการมีท่าทีที่ Hawkish มากขึ้น โดยคณะกรรมการ 7 ท่านจากทั้งหมด 18 ท่านที่มองว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในปี 2023 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือน ธ.ค. ที่มีคณะกรรมการ 5 จากทั้งหมด 17 ท่าน (นาย […]

Fed คงดอกเบี้ยที่ 0-0.25% ปรับ outlook ของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแต่จะยังคง Dovish ไปอีกนาน

Fed คงดอกเบี้ยที่ 0-0.25% ปรับ outlook ของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแต่จะยังคง Dovish ไปอีกนาน

BF Economic Research ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ (10-0) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Federal Funds Rate ไว้ที่ระดับต่ำ 0-0.25% และระบุว่าจะคงอยู่ที่ระดับดังกล่าวจนกว่าตลาดแรงงานจะอยู่ในระดับที่คณะกรรมการประเมินว่าเป็นระดับการจ้างงานเต็มอัตรา (Full Employment) และเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2% และเกินระดับดังกล่าวพอสมควร (Exceed moderately) เป็นระยะเวลาหนึ่ง (For some time) แนวโน้มของดอกเบี้ยหรือ Dot Plot ชี้ว่า Fed จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย ซึ่งไม่แตกต่างจาก Dot Plot ครั้งก่อนในเดือน ก.ย.   ด้านการเข้าซื้อสินทรัพย์ Fed ยังคงระบุว่า จะเข้าซื้อที่อัตราปัจจุบัน USD120bn ต่อเดือน เป็นอย่างน้อย แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล (Treasury) เดือนละ USD80bn […]

Fed มีมติปรับดอกเบี้ย 1.75-2.0% Dot Plot สะท้อนทั้งปีปรับ 4 ครั้ง

Fed มีมติปรับดอกเบี้ย 1.75-2.0% Dot Plot สะท้อนทั้งปีปรับ 4 ครั้ง

BF Economic Research  คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 1.75-2.0% (จากที่ได้ปรับดอกเบี้ยขึ้นในครั้งก่อนเมื่อเดือน มี.ค.) ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาด ขณะที่ FOMC มีมติปรับขึ้น Fed Fund Rate 0.25% แต่กลับปรับขึ้น IOER 0.2% เป็นผลให้ IOER ขยับขึ้น 1.95% ต่ำกว่า Fed Fund Rate 0.05% พร้อมกันนี้ FOMC ได้กล่าวว่า ได้เริ่มการลดงบดุลตามแผนที่ได้เคยระบุไว้ในเดือน มิ.ย. 2017 ในการประชุมดังกล่าวได้เผยประมาณการเศรษฐกิจ (GDP, Unemployment, และ Inflation) ส่วนใหญ่เป็นการปรับประมาณการเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ให้ระยะกลาง-ยาว เท่าเดิม (สะท้อนว่า Fed มองว่า […]

เฟดศึกษาใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งในภาคการเงิน

เฟดศึกษาใช้แมชชีนเลิร์นนิ่งในภาคการเงิน

ซีเอ็นบีซี ระบุว่า แรนดัล ควาเรส รองประธานฝ่ายกำกับดูแลภาคธนาคารของคณะกรรมการบริหารธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการศึกษาใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (แมชชีน เลิร์นนิ่ง) ในอุตสาหกรรมการเงิน เพื่อเปลี่นแปลงแนวทางการกำกับดูแลต่างๆ ให้เหมาะสมกับกรอบการกำกับดูแลที่วางไว้อยู่ ทั้งนี้ เฟดลงทุนไปมากสำหรับ การใช้เครื่องมือแมชชีน เลิร์นนิ่งเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภค เนื่องจากต้องการให้แน่ใจว่าในตลาดมีการปฏิบัติตามแนวทางการปกป้องดูแลที่มีอยู่ ขณะเดียวกันเฟดก็ยังต้องการใช้เครื่องมือนี้เพื่อตอบสนองผู้บริโภคในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรืออัลกอรึธึ่มประเมินความเสี่ยงและตัดสินใจด้านเครดิต

เฟด เผย หนี้ครัวเรือนสหรัฐฯ Q4/17 พุ่ง 193 พันล้านดอลล์

เฟด เผย หนี้ครัวเรือนสหรัฐฯ Q4/17 พุ่ง 193 พันล้านดอลล์

สำนักข่าว CNBC รายงานว่า ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟดเขตนิวยอร์กเปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนในสหรัฐฯไตรมาส 4 ปี 2017 เพิ่มขึ้น 193 พันล้านดอลลาร์ มาอยู่ที่ 13.15 ล้านล้านดอลลาร์ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยหนี้ครัวเรือนกลุ่มสินเชื่อจำนองอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสดังกล่าว เพิ่มขึ้น 139 พันล้านดอลลาร์ เป็น 8.88 ล้านล้านดอลลาร์ และหนี้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเป็นอันดับสอง เพิ่มขึ้น 26 พันล้านดอลลาร์ เป็น 834 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ในรายงานดังกล่าวระบุว่า หนี้ครัวเรือนในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันจากสินเชื่อจำนอง เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา สินเชื่อยานยนต์ และบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น