Fund Comment เมษายน 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment เมษายน 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน เม.ย. ปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุ จากภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ อันเป็นผลต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ซึ่งภาครัฐยังคงประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินต่อถึงสิ้นเดือน พ.ค. ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 0.25% มาอยู่ที่ 0.50% ในการประชุมเดือน พ.ค. นี้ ทั้งนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์เงินทุนไหลออกจากสินทรัพย์ทุกประเภทเพื่อถือเงินสดในเดือน มี.ค. ทางภาครัฐได้มีการประกาศมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจเป็นจำนวนรวมกว่า 2 ล้านล้านบาท รวมถึงมาตรการรักษาเสถียรภาพทางการเงินจากธปท. ตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. และแนวโน้มตลาดเงินโลกที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก Fed ที่มีมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้นักลงทุนกลับเข้าซื้อพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยอีกครั้ง ส่งผลให้ Yield curve โดยรวมในเดือน เม.ย. ปรับลดลงในทิศทางขนานตัวจากเดือน มี.ค. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในระยะ 10 ปี ณ สิ้นเดือน เม.ย. ปรับตัวตามการคาดการณ์การปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าวมาอยู่ที่ระดับ 1.21% […]

Fund Comment เมษายน 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment เมษายน 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนสูงในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยหลังจากการปรับตัวลงแรงในเดือนมีนาคม ตลาดก็สามารถปรับตัวฟื้นขึ้นมาได้จากจากระดับต่ำสุดมากกว่า 20% ในเดือน เม.ย. จากการที่เหตุการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ได้รับการรับมือที่เข้มข้นมากขึ้นจากประเทศต่างๆ ผ่านมาตรการของภาครัฐในภาคสาธารณสุขและการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการช่วยเหลือภาคธุรกิจ และการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดการเงิน เพื่อรักษาสภาพคล่องและกลไกตลาดให้ยังทำงานเป็นปกติได้ บรรยากาศการลงทุนในเดือนเมษายนนี้จึงเป็นไปในทิศทางเชิงบวก โดยถึงแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่มีประกาศออกมาจะเป็นไปในเชิงลบ แต่ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว นักลงทุนจึงหันมาให้น้ำหนักกับพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นลำดับของการแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ความหวังของการพัฒนายาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการกลับมาคลายล็อกดาวน์หลังจากที่สถานการณ์นั้นดีขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วมากขึ้น ด้านตลาดน้ำมันนั้น นอกจากจะถูกกดดันจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานอันทำให้ราคาน้ำมันตกต่ำแล้ว ยังลามไปจนเกิดภาวะติดลบครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยเป็นสาเหตุเพิ่มเติมจากภาวะขาดแคลนพื้นที่จัดเก็บ และสภาพคล่องที่น้อยในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ในช่วงที่สัญญาใกล้หมดอายุ อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันก็ค่อยๆกลับมาสู่ภาวะปกติมากขึ้น สำหรับ ตลาดหุ้นไทยในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้น 175.8 จุด สู่ระดับ 1,301.66 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีติดลบลดลงเหลือ 17.6% นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิราว 4.7 หมี่นล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 7.8 หมื่นล้านบาท แนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุนในช่วงต่อจากนี้ยังคงมีความไม่แน่นอน โดยเศรษฐกิจที่ถูกล็อคดาวน์มาในเดือน […]

Fund Comment มีนาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มีนาคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน มี.ค. ปรับตัวผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับลดลงในช่วง -16 ถึง -23 bps สอดคล้องกับการลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับเพิ่มขึ้นในช่วง +1 ถึง +70 bps จากปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของ Covid-19 และผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งยังไม่มีสัญญาณว่าการแพร่ระบาดจะไปถึงจุดสูงสุดหรือสามารถควบคุมได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ส่งผลให้นักลงทุนเกิดความตื่นตระหนกและเทขายสินทรัพย์ต่าง ๆ รวมทั้งพันธบัตรรัฐบาลเพื่อถือเงินสดจนกระทบต่อสภาพคล่องในตลาดการเงิน ธนาคารกลางทั่วโลกจึงพากันประกาศลดอัตราดอกเบี้ยและออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาผลกระทบ สำหรับธนาคารกลางหลักของโลก ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 50 bps มาอยู่ที่กรอบ 1-1.25% ในการประชุมฉุกเฉินเมื่อวันที่ 3 มี.ค. และจากจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ Fed ประชุมฉุกเฉินอีกครั้งในวันที่ 16 มี.ค. และมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 100 bps มาอยู่ที่กรอบ 0-0.25% พร้อมทั้งออกมาตรการซื้อสินทรัพย์ […]

Fund Comment มีนาคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มีนาคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ภาพรวมการลงทุนในไตรมาสแรกของปีนี้เต็มไปด้วยความผันผวน โดยหลังจากที่ตลาดหุ้นโลกได้ทำจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ แล้วปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว โดยตลาดหุ้นหลายแห่งปรับตัวลงไปทำจุดต่ำสุดที่ประมาณ -30% นับจากต้นปี จนถึงเดือนมีนาคม และเป็นการเข้าสู่ตลาดหมีหรือเป็นการลดลงจากจุดสูงสุดมากกว่า 20% ที่เร็วที่สุดประวัติศาสตร์ จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ได้กลายเป็นการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลก ทุกประเทศต้องใช้มาตรการต่างๆในการรับมือ ทั้งการปิดเมือง การจำกัดการเดินทาง และการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกเกิดภาวะชะงักงัน และมีโอกาสที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างแน่นอนแล้วในปีนี้  ความต้องการบริโภคที่หายไปอย่างกะทันหันเช่นนี้ ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงกว้าง รวมถึง สงครามราคาน้ำมันระหว่างบรรดาประเทศผู้ผลิตน้ำมันหลักที่ไม่สามารถเจรจาลดกำลังผลิตได้ ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงแรง ภาวะดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลกอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่เศรษฐกิจของทั่วโลกนั้นมีการเชื่อมโยงกันสูง ทำให้เกิดผลกระทบค่อนข้างมาก การตอบสนองของรัฐบาลและธนาคารกลางทั่วโลกในเวลานี้ จึงมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนเช่นกัน โดยผู้ที่มีอิทธิพลหลักอย่าง เฟด ได้ลดดอกเบี้ยลงอย่างรวดเร็วจนใกล้ศูนย์ เป็นการลดที่เร็วกว่าการถดถอยครั้งไหนๆ รวมทั้งใช้การอัดฉีดสภาพคล่องเพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่จากภาครัฐบาล ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก ซึ่งช่วยลดความกลัวของนักลงทุนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการล้มละลายของบริษัทจำนวนมากลงไปได้ ด้านตลาดหุ้นไทยในปี 2020 นี้ ปรับตัวลงมาแล้วราว 30% YTD โดยในเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงราว 16% จากปัจจัยลบต่างๆ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 7.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขายสุทธิ […]

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ความผันผวนในตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศจีน มีโอกาสมากขึ้นที่จะกลายเป็นการแพร่ระบาดทั่วโลก โดยแม้ว่าประเทศจีนจะสามารถควบคุมได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนกลับมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศ เกาหลีใต้ อิตาลี และอิหร่าน ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดต่างๆ อยู่ในโหมด Risk-off จากความกังวลต่อผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจโลก ล่าสุด IMF ได้มีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงเล็กน้อย ขณะที่ Fed ก็มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการเร่งด่วนลง 0.5% สู่ระดับ 1.00-1.25% ล่วงหน้า 2 สัปดาห์ก่อนการประชุมนโยบายครั้งต่อไป ขณะที่ผลตอบแทนพัธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนถึงแนวโน้มความเปราะบางทางเศรษฐกิจโลกในช่วงเวลานี้ และอีกหนึ่งปัจจัยคือสถานการณ์ราคาน้ำมัน ซึ่งมีการปรับตัวลงอย่างแรงและรวดเร็ว หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตร่วมกันได้ ทำให้ซาอุดิอาระเบียเปลี่ยนแผนเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดแทน กลายเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามราคาน้ำมันเข้ามาเพิ่มขึ้น ด้านเศรษฐกิจไทย เผชิญกับความกดดันมากขึ้นในทุกภาคส่วน โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจำนวนนักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง ภาคการส่งออกยังคงมีความชะลอตัวจากห่วงโซ่การผลิตของจีน รวมถึงภาคการบริโภคในประเทศ ที่คนระมัดระวังการใช้จ่ายและอาจจะออกนอกบ้านน้อยลง โดยความอ่อนแอลงทางเศรษฐกิจของไทยนี้ สะท้อนผ่านค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว ราว 6% จากต้นปี และการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ราว 11.5% ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ […]

Fund Comment มกราคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มกราคม 2563 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกเริ่มต้นปีด้วยปัจจัยบวกจากการเซ็นข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ซึ่งลดความกดดันที่มีผลต่อการชะลอของเศรษฐกิจโลกลง อย่างไรก็ตาม ตลาดเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงใหม่เรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งเริ่มต้นจากประเทศจีนและแพร่กระจายไปทั่วโลก ส่งผลให้ภาคธุรกิจจีนและการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ได้รับผลกระทบ แม้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเป็นเพียงชั่วคราวและประเทศต่างๆยังต้องหาวิธีการรับมือเพื่อไม่ให้ขยายวงกว้าง แต่ก็ยังทำให้เกิดความกังวลว่า จะกระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ นับตั้งแต่ต้นปีมาจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ แม้ว่าจะเจอปัจจัยลบจากโรคระบาด แต่ตลาดหุ้นหลักๆ นอกตลาดเอเชีย ยังให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้ อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดเอเชีย ส่วนใหญ่ยังให้ผลตอบแทนติดลบ เนื่องจาก เศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย มีความเชื่อมโยงกับประเทศจีนมากกว่าทั้งภาคการผลิต การค้า และการลงทุน ทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศต่างๆถูกชะลอออกไป ด้านเศรษฐกิจไทย เผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น อาทิ ภาคการส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัว ภาคการท่องเที่ยวที่จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของนักท่องเที่ยวจีน และการใช้จ่ายของภาครัฐที่ล่าช้า ทำให้ภาคการบริโภคในประเทศเริ่มได้รับผลกระทบ ส่งผลให้หลายสำนักเริ่มมีการปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลง โดยตลาดหุ้นไทยปรับตัวลง 4.1% ในเดือนมกราคม ก่อนที่จะฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลกและเอเชีย ขณะที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดหุ้นไทยอีก 1.73 หมื่นล้านบาท เป็นการขายสุทธิต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดยภาพรวมแล้ว แม้ว่าตลาดจะยังมีความเสี่ยงอยู่ แต่ดัชนีที่ปรับตัวลดลงมา และตัวเลขประมาณการ EPS […]

Fund Comment มกราคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มกราคม 2563 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงทุกช่วงอายุประมาณ -1 ถึง -18 bps โดยที่ปิดตลาดวันที่ 31 ม.ค. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี และ 10 ปี ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.08% (-10 bps) และ 1.31% (-18 bps) ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ สาเหตุหลักมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงและเข้าถือพันธบัตรในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ การปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังมีสาเหตุมาจากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. หลังเศรษฐกิจไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ในช่วงต้นเดือน ม.ค. ตลาดตราสารหนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ภายหลังสหรัฐฯ โจมตีทางอากาศในอิรัก และสังหารนายพลกาเซ็ม โซไลมานี ผู้บัญชาการกองกําลังนักรบคุดส์ ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษในต่างประเทศของกองกําลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านเมื่อวันที่ 3 ม.ค. และต่อมาในวันที่ 8 ม.ค. อิหร่านได้ยิงขีปนาวุธใส่ฐานทัพของสหรัฐฯ ในอิรัก นักลงทุนจึงเกิดความกังวลว่าสถานการณ์จะบานปลาย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งดังกล่าวได้คลี่คลายลงอย่างรวดเร็ว ทำให้นักลงทุนคลายกังวลลง […]

Fund Comment ธันวาคม 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment ธันวาคม 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

ในเดือนธันวาคม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุ โดยช่วงอายุคงเหลือไม่เกิน 10 ปีปรับตัวลดลง 7-14 bps สวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นในช่วงระหว่าง 2-10 bps ในพันธบัตรที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป หลังจากที่ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีทิศทางที่ผ่อนคลายขึ้น รวมถึง FED ได้มีการส่งสัญญาณชะลอการลดดอกเบี้ยภายหลังการปรับลดครั้งล่าสุดในเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้ตลาด US Treasury กลับเข้าสู่ Risk-on sentiment mode ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย ปรับตัวสวนทางกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ มาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก ด้วยตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยถูกปรับลดประมาณการต่อเนื่องในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทั้ง GDP, Inflation,Export โดยคาดการณ์ทั้งปี 2562 ลดลงเหลือ 2.5%, 0.71%, และ -2.0% ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน ปริมาณการประมูลพันธบัตร ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม 2562 ก็อยู่ในระดับที่ลดลงจากปีก่อนหน้า จากการอนุมัติงบประมาณรัฐบาลที่ล่าช้า […]

Fund Comment พฤศจิกายน 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment พฤศจิกายน 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

ในเดือน พ.ย. Yield Curve ของพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวในทิศทางที่ชันขึ้น โดยส่วนต่าง Yield Gap 10Y-2Y ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 12bps ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 39bps ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนแบ่งออกเป็ น 2 ช่วง โดยพันธบัตรอายุสั้นกว่า 4ปี มีอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวลดลง 2-13 bps ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงตามนโยบาย กนง. ที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ 1.25% ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นที่มีผลตอบแทนสูงกว่า policy rate อย่างไรก็ตาม สำหรับพันธบัตรอายุตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป มีอัตราผลตอบแทนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1-25 bps จากแนวโน้มตลาดที่เป็น Risk-on mode จากสงครามทางการค้าที่มีท่าทีผ่อนคลายขึ้น หลังจากที่ข้อตกลง เบื้องต้น (First Phase of Trade Deal) […]

Fund Comment ธันวาคม 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment ธันวาคม 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกปิดเดือนสุดท้ายของปี 2019 ด้วยบรรยากาศการลงทุนที่เป็นบวกมากขึ้น หลังสหรัฐและจีนสามารถบรรลุข้อตกลงการค้าเฟสแรกร่วมกันได้ ความเสี่ยงที่อังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปแบบไม่มีข้อตกลงนั้นลดลง และแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักๆจะยังคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปในปี 2020 อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยยังคงปรับตัวลดลงประมาณ 0.7% ในเดือนธันวาคม จากความกังวลต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยและผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ 2.45 หมื่นล้านบาท รวมทั้งปีขายสุทธิ 4.53 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ภาพรวมปี 2019 ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเพียงแค่ 1.0% ปรับตัวขึ้นได้น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านและตลาดหุ้นโลก แนวโน้มการลงทุนในปี 2020 ยังคงเป็นปีที่ท้าทาย แม้ว่าปัจจัยความเสี่ยงๆต่างในปีที่แล้วจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทั้งการเจรจาการค้าและความเสี่ยง no-deal Brexit ที่ลดลง ซึ่งช่วยจำกัดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อีกทั้งแนวโน้มนโยบายการเงินของธนาคารหลักๆยังคงสนับสนุนให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำในช่วงอนาคตข้างหน้า เพื่อช่วยรองรับเศรษฐกิจและตลาดการเงิน รวมถึงเศรษฐกิจที่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวขึ้นบ้าง สะท้อนผ่านดัชนี PMI อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่จะทำให้ตลาดมีความผันผวนต่อได้ คือ พัฒนาการของการเจรจาการค้าในเฟสต่อๆไป ซึ่งเป็นเรื่องยากในการเห็นข้อสรุป และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปีนี้ รวมถึงความเสี่ยงใหม่อย่างความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ซึ่งถึงแม้เบื้องต้นตลาดจะประเมินว่ามีความเสี่ยงจำกัด แต่ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นก็เป็นความเสี่ยงต่อภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังเปราะบาง และยังไม่แน่ชัดว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดระยะสั้นหรือระยะยาว […]