Fund Comment กรกฎาคม 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กรกฎาคม 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกในเดือน ก.ค. เคลื่อนไหวผันผวนในกรอบแคบ หลังจากการปรับตัวขึ้นในเดือนก่อนหน้าบนความคาดหวังต่อการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐและมุมมองเชิงบวกต่อการเจรจาการค้า ในเดือน ก.ค. ปัจจัยที่เข้ามาในตลาดค่อนข้างปะปนกัน โดยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะชะลอลงและยังเป็นการขยายตัวต่อเนื่องครบ 10 ปีเต็ม แต่ก็ยังไม่ได้แสดงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ติดลบ ทำให้เกิดความไม่แน่นนอนต่อการลดดอกเบี้ยในปลายเดือน ขณะที่ผู้ว่าการของ Fed สาขาต่างๆ ก็ยังออกมาให้ความเห็นในเชิงที่ Dovish และท้ายที่สุด Fed ก็ลดดอกเบี้ยลง 0.25bps ตามตลาดคาด ทว่าตลาดผิดหวังต่อถ้อยแถลงของ Fed ที่ส่งสัญญาณว่า เป็นเพียงการปรับเปลี่ยนนโยบายในช่วงกลางวัฎจักร (mid-cycle adjustment) แต่ต้องติดตามถึงพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจและความเสี่ยงภายนอกต่อไป ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าโอกาสในการลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย. จะลดลง ส่วนเรื่องสงครามการค้า สหรัฐกลับเดินหน้าประกาศว่าจะเก็บภาษี 10% สำหรับสินค้านำเข้าจีนมูลค่า 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เริ่มในวันที่ 1 ก.ย. ทำให้เป็นปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากตัวเลขภาคการผลิตทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงอ่อนแอ รวมถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยได้มีการปรับประมาณการ GDP โลกลงเล็กน้อย จากทั้ง World […]

Fund Comment มิถุนายน 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มิถุนายน 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวลดลงตลอดช่วงอายุ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะกลาง-ยาวที่ปรับตัวลงมากถึง 0.20% – 0.35% เป็นการปรับตัวในทิศทางเดียวกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จากความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ และยุโรปที่กลับมาส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอีกครั้ง หลังตัวเลขเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอตัวลงและมีความกังวลต่อผลกระทบของความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ด้านตลาดตราสารหนี้ไทยได้รับอานิสงส์จากความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำเช่นเดียวกันจากปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ Emerging Market ด้วยกัน ทำให้ในเดือนมิถุนายนมีเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาซื้อสุทธิรวม 52,296 ล้านบาท สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) ในเดือนมิถุนายนยังคงมีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันยังอยู่ในระดับผ่อนคลายเพียงพอต่อภาวะเศรษฐกิจไทย พร้อมปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2562 ลงเหลือ 3.3% จากเดิม 3.8% จากการส่งออกสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ยังแสดงความกังวลต่อการแข็งค่าของค่าเงินบาทที่ค่อนข้างเร็วและอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้าและเศรษฐกิจไทยในอนาคต แนวโน้มตราสารหนี้ไทยในอนาคตยังต้องติดตามปัจจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน และทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ตลาดได้ให้น้ำหนักต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.50% – 0.75% ภายใน 12 เดือนข้างหน้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งความไม่แน่นอนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญคือ การพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่คาดว่าจะล่าช้ากว่ากำหนด […]

Fund Comment มิถุนายน 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มิถุนายน 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น

หลังจากที่สงครามการค้านั้นทวีความรุนแรงมากขึ้นและภาพรวมเศรษฐกิจโลกเริ่มอ่อนแอลง ธนาคารกลางต่างๆจึงมีท่าทีที่ผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “Policy U-Turn” ของธนาคารกลางสหรัฐ ปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ความกังวลเรื่องสงครามการค้านั้น เริ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยในการพบกันของประธานธิบดี โดนัล ทรัมป์ และประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในช่วงของการประชุม G20 ทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงบางส่วนร่วมกันได้ ซึ่งทรัมป์เองก็ไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยงต่อการถดถอยของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากอาจจะกระทบกับคะแนนเสียงต่อการเลือกประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในปีหน้า ส่งผลให้เป็นบวกต่อบรรยากาศในการลงทุน ในส่วนของตลาดหุ้นไทยนั้น มีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยสุทธิสูงถึง 4.66 หมื่นล้านบาทในเดือนมิถุนายน จากการมองว่าเงินบาทเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัยในสถานการณ์ปัจจุบัน แม้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจและบริษัทจดทะเบียนของไทยจะไม่ได้โตโดดเด่นมากนัก ทำให้ยอดซื้อสุทธิในช่วง 6 เดือนแรกของปีนั้น พลิกกลับมาเป็นบวก ส่งผลให้ SET Index ปรับตัวขึ้น 6.8% ทะลุระดับ 1700 จุดอีกครั้ง ในรอบ 8 เดือน ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆของไทยยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งการลงทุนภาคเอกชน การส่งออก ท่องเที่ยว และการบริโภคภาคครัวเรือน อย่างไรก็ตาม หลังจากจัดตั้งรัฐบาลได้แล้ว คาดการณ์กันว่าจะได้เห็นมาตราการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศในเร็วๆนี้ […]

Fund Comment: มุมมองตลาดตราสารหนี้เดือนพฤษภาคม 2562

Fund Comment: มุมมองตลาดตราสารหนี้เดือนพฤษภาคม 2562

มุมมองตลาดตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมปรับตัวแบนราบมากขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะกลางถึงระยะยาวปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นการปรับไปในทิศทางเดียวกันกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ จากปริมาณความต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้นของนักลงทุน เนื่องจากความตึงเครียดด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังได้รับแรงหนุนจากการเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารในภูมิภาคอาเซียน สำหรับผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย (กนง.) ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ แม้ว่าภาวะการเงินโดยรวมยังอยู่ในระดับผ่อนคลายเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินที่ต้องติดตาม รวมทั้งความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลกและปัจจัยในประเทศยังมีอยู่สูง โดยจะต้องมีการติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม ในส่วนของปัญหาเรื่องสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา -จีนที่มีการเรียกเก็บภาษีตอบโต้กันในช่วงเดือนที่ผ่านมา และยังไม่มีแนวโน้มที่จะหาข้อสรุปได้ ยังมีการขยายวงไปเป็นความขันแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกา-เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา-ญี่ปุ่น รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลอิตาลีและสมาชิกยูโรโซนในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของรัฐบาลอิตาลี ที่ไม่สามารถปรับลดยอดขาดดุลทางการคลังและหนี้สาธารณะได้ตามที่ตกลงไว้ ยังคงส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อตราสารหนี้ทั่วโลก ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับแนวโน้มตราสารหนี้ไทยยังต้องติดตามปัจจัยทั้งภายในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง แม้ธนาคารกลางหลายแห่งได้ออกมาแสดงท่าทีผ่อนคลายมากขึ้นแล้วก็ตาม เพราะยังมีความไม่แน่นอนอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลของไทย ผลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ความเสี่ยงที่อังกฤษจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยไม่มีข้อตกลง รวมั้งการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในเดือนมิถุนายน เป็นต้น ด้านการดำเนินนโยบายการเงินของไทย  กองทุนบัวหลวงคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% จนถึงสิ้นปี […]

Fund Comment: ภาพรวมตลาดหุ้นเดือนพฤษภาคม 2562

Fund Comment: ภาพรวมตลาดหุ้นเดือนพฤษภาคม 2562

ภาพรวมตลาดหุ้น ในเดือนพฤษภาคม ตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง เนื่องจากความคืบหน้าของสถานการณ์การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนไม่เป็นไปตามคาด หลังจากประธานาธิบดี Donald Trump ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์ และกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯได้เพิ่ม Huawei เข้าสู่บัญชีดำการซื้อขาย ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถซื้อชิ้นส่วนหรือสินค้าจากสหรัฐฯ ได้ ซึ่งทางจีนได้ตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าสหรัฐฯ มูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ทำให้สหรัฐฯมีท่าทีอ่อนลงโดยการยืดระยะเวลาการคว่ำบาตรสินค้า Huawei ออกไป 3 เดือน ความกังวลต่อสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ของน้ำมันดิบ ทำให้ทิศทางราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อ่อนตัวลงตามทิศทางตลาดหุ้น ขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เริ่มส่งสัญญาณการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยความกังวลเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (Brexit) หลังนาง Theresa May นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากความล้มเหลวในการผลักดันข้อตกลง Brexit ให้ผ่านการอนุมัติของรัฐสภาอังกฤษ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดการถอนตัวแบบไม่มีข้อตกลง หรือ Hard Brexit มากขึ้น ด้านปัจจัยภายในประเทศ ยังคงถูกกดดันจากการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของเศรษฐกิจ […]

Fund Comment เมษายน 2019 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment เมษายน 2019 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นทั่วโลกในเดือน เม.ย. เคลื่อนไหวในทิศทางเชิงบวก ขับเคลื่อนโดยตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่มีสัญญาณฟื้นตัว ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น จีน และประเทศในกลุ่มเกิดใหม่ กอปรกับความคืบหน้าที่ดีขึ้นของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ช่วยให้นักลงทุนคลายความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้มากขึ้น สะท้อนผ่านส่วนต่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรุ่นอายุ 10 ปีกับ 3 เดือน ที่พ้นจากภาวะ “Inverted” หนุนให้กระแสเงินลงทุนไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมัน ก็ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแผนการยืดระยะเวลาการลดกำลังการผลิตของ OPEC และรัสเซีย และการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซูเอลาของสหรัฐ ทำให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ในเชิงบวก ด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายแห่งยังคงเป็นแบบผ่อนคลาย (Dovish) โดยธนาคารกลางสหรัฐ (FED) นั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ และจะยุติแผนการลดงบดุลตั้งแต่เดือน ก.ย. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน และเตรียมเปิดเผยรายละเอียดโครงการวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกับธนาคารพาณิชย์ (LTRO3) ในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้ ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็คงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายไปถึงอย่างน้อยเดือนมี.ค. ปีหน้า ทำให้ความกังวลเรื่องสภาพคล่องตึงตัวนั้นลดลง ด้านตลาดหุ้นไทย มีการปรับตัวเชิงบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก โดยได้แรงหนุนจากกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันโลก และการเก็งกำไรในหุ้นรายตัว ซึ่งอยู่ในช่วงเทศกาลการจ่ายเงินปันผลและการประกาศผลประกอบการ […]

Fund Comment มีนาคม 2019 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มีนาคม 2019 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ในเดือน มี.ค. ปัจจัยต่างประเทศถูกขับเคลื่อนโดยการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ จากที่เดิมคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ซึ่งสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงิน รวมทั้งยังชะลอการปรับลดงบดุลในเดือน พ.ค. จากระดับ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เหลือ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ก่อนจะยุติการปรับลดงบดุลในเดือน ก.ย. ส่งผลให้แนวโน้มการดำเนินนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลกอยู่ในภาวะผ่อนคลายมากขึ้น และมีผลในเชิงบวกต่อตลาดทุนหลายแห่ง ขณะที่ทิศทางราคาน้ำมันดิบและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทยอยปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นที่คลายความกังวลลง อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยความกังวลเกี่ยวกับการแยกตัวออกจากกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ของสหราชอาณาจักร (Brexit) ที่มีการขอผ่อนผันเลื่อนระยะเวลาออกไป จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 29 มี.ค. 2019 เป็นวันที่ 12 เม.ย. เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากการที่ยังไม่มีข้อตกลงใดๆ ซึ่งจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจทั้งของสหราชอาณาจักร และ EU ดังนั้นยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไปอย่างใกล้ชิด ด้านปัจจัยภายในประเทศ ยังคงถูกกดดันจากความไม่แน่นอนทางการเมือง หลังยังไม่มีความชัดเจนต่อทิศทางการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง ว่ากลุ่มการเมืองใดจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งจะส่งผลให้การขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจต่างๆ จากทางภาครัฐชะงักงันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระยะสั้น แม้แนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกสินค้าและบริการจะลดลงตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า  […]

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

การเคลื่อนไหวของตลาดการเงินในช่วงต้นปีนี้ ขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลักๆ ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว อาทิ ความกังวลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลักที่ส่งสัญญาณ dovish มากขึ้น มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์ความไม่แน่นอนของ Brexit รวมทั้ง สถานการณ์การปิดหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐฯ ที่ยาวนานถึง 35 วัน ส่งผลให้ในช่วงต้นปี ตลาดการเงินส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk-off) อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ตลาดการเงินกลับมีการซื้อขายด้วยแรงหนุนที่ให้ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง (risk-on) มากขึ้น เนื่องจากได้คลายความกังวลเกี่ยวกับการตกลงทางการค้าระหว่างทางสหรัฐฯ-จีน ตลาดเริ่มมีความหวังถึงการเจรจาของทั้งสองฝ่ายในแง่บวกมากขึ้น อีกทั้งตลาดยังได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐฯ หลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานรัฐบาล (ชัตดาวน์) รอบสองได้ ขณะที่ ปัจจัยภายในประเทศ มีประเด็นด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และความเสี่ยงทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กนง. มีมติด้วยเสียง 4 ต่อ 2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75% ซึ่งจากการที่มีกรรมการ 2 เสียง เห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% […]

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2562 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ท่าทีที่ผ่อนคลายลงของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของตลาด ได้ผลักดันให้สินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ปรับตัวฟื้นขึ้นได้จากสิ้นปีอย่างมีนัยสำคัญ ตลาดยังได้รับความหวังเชิงบวกมากขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ต่อการคงอัตราดอกเบี้ยของ Fed และท่าทีที่อาจจะหยุดการลดสภาพคล่อง (Quantitative Tightening) ลงในปีนี้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสภาพคล่องโดยรวมของระบบการเงิน ขณะที่เรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ก็มีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะเลื่อนการปรับขึ้นอัตราภาษีกับจีนที่จะมีผลในวันที่ 1 มีนาคมออกไป ส่วนในด้านตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่ออกมานั้น ในหลายๆ ภูมิภาค เริ่มแสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ชะลอตัว เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของยูโรโซนและญี่ปุ่นปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และเข้าสู่ภาวะหดตัวครั้งแรกในรอบหลายปี ซึ่งทำให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย อย่างไรก็ตามยังถือว่ามีโอกาสไม่สูง เนื่องจากธนาคารกลางหลักๆ ต่างก็พร้อมที่ผ่อนปรนการดำเนินนโยบายทางการเงินมากกว่าเดิม ปัจจัยที่ต้องจับตาต่อในเดือนมีนาคมนี้ อย่างแรกคือ พัฒนาการเพิ่มเติมของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทั้งนี้เชื่อว่า สถานการณ์ตึงเครียดทางการค้าระหว่างทั้งสองฝ่าย น่าจะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเรื่องที่สองคือ การประชุม FOMC ในวันที่ 19-20 มีนาคมนี้ ตลาดคาดว่าน่าจะเห็นแผนการหยุดการลดสภาพคล่องในการประชุมครั้งนี้ ส่วนปัจจัยภายในประเทศนั้น ผลประกอบการไตรมาส 4 […]

Fund Comment มุมมองตลาดตราสารหนี้ มกราคม 2019

Fund Comment มุมมองตลาดตราสารหนี้ มกราคม 2019

มุมมองตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารหนี้ไทยในเดือน ม.ค. มีการเคลื่อนไหวอย่างผันผวน โดยราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลงในช่วงแรกของเดือนจากกระแสเงินลงทุนที่ไหลกลับเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างตราสารทุนอีกครั้ง หลังจากผลการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่มีความคืบหน้าเชิงบวก รวมทั้งนักลงทุนยังตอบรับรายงานการประชุมของ FED ครั้งสุดท้ายของปี 2018 ที่ส่งสัญญาณชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ทรงอยู่ในระดับต่ำและภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งเดือนหลัง ตลาดตราสารหนี้ไทยกลับมามีทิศทางบวกอีกครั้งจากกระแสความต้องการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำที่เพิ่มขึ้นจากความกังวลของนักลงทุนต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังการปิดหน่วยงานรัฐบาลมีความยืดเยื้อออกไปจนกินระยะเวลายาวนานเป็นประวัติการณ์ และผลการประชุมของ FED ครั้งแรกของปี 2019 ที่มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% -2.50%  ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ พร้อมแถลงการณ์ในเชิง Dovish มากขึ้น ที่ระบุว่า คณะกรรมการฯ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนกว่าตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีทิศทางการขยายตัวที่ชัดเจนมากขึ้น และเตรียมทบทวนแผนการปรับลดงบดุลของ FED ที่ดำเนินการมานับตั้งแต่ปี 2017 ด้านปัจจัยภายในประเทศ กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. อยู่ที่ +0.27%  ชะลอตัวลงจากระดับ +0.36% ในเดือนก่อนจากผลของราคาสินค้าพลังงานและผักผลไม้ที่ลดลง ขณะที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของไทย(กนง.)ครั้งที่ 1/2019  มีมติ 4:2 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.75% […]