Fund Comment กรกฎาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment กรกฎาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกยังคงปรับตัวผันผวนในเดือนกรกฎาคม ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6% โดยตลาดการเงินยังคงถูกกดดันอยู่จากท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่เริ่มส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเล็กน้อย จากการประชุม FOMC เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ผ่าน Dot Plot ที่บ่งชี้ว่าดอกเบี้ยจะมีการปรับขึ้นถึง 2 ครั้งในปี 2023 อย่างไรก็ดี ภาพรวมตลาดหุ้นโลกยังคงระดับอยู่ได้ จากการที่ตลาดมีการสับเปลี่ยนกลุ่มหุ้นลงทุน โดยหลังจากการประชุมครั้งดังกล่าวจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม กลุ่มอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวได้ดีกว่าตลาดในดัชนี S&P500 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มสื่อสาร และกลุ่มการแพทย์ ขณะที่มีการปรับลดลงในหุ้น กลุ่มพลังงานและสาณารณูปโภค และกลุ่มการเงิน เป็นต้น ด้านปัจจัยจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกนั้นยังคงอยู่ในโมเมนตัมการฟื้นตัวที่ดี ผ่านตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยูโรโซนที่ขยายตัวสูงจากฐานต่ำและยังคงเติบโตต่อเมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ที่ยังคงแข็งแกร่ง และดัชนี PMI ของยูโรโซนที่อยู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี หนุนโดยการแจกจ่ายวัคซีนในวงกว้างที่ทำให้สามารถเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจได้เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ ประเด็นการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ที่เริ่มทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นนั้น ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม ว่าจะสามารถควบคุมให้ไม่กลับมามีผู้ติดเชื้อรายวันสูงได้หรือไม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเปิดเศรษฐกิจและการเดินทางที่มากขึ้นต่อไป ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนตลาดหุ้นในช่วงนี้ จะอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ หลังแรงส่งจากมาตรการทางการคลัง ที่สนับสนุนภาคการบริโภคของเศรษฐกิจสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมานั้น เริ่มหมดลง […]

Fund Comment มิถุนายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มิถุนายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกปรับตัวผันผวนระหว่างเดือนมิ.ย. ปิดปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.2% นำโดยตลาดสหรัฐฯ ทั้ง S&P 500 และ Nasdaq ที่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ และตลาดยุโรปทำจุดสูงสุดใหม่ในระหว่างเดือน ปัจจัยที่ตลาดจับตามองในเดือนนี้คือ ท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและเศรษฐกิจโลกที่ยังอยู่ในภาพของการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยจากผลการประชุม Fed แม้ว่าจะยังคงมุมมองการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อในระยะสั้น แต่ Dot Plot ชี้ว่า ดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ นำมาซึ่งความกังวลต่อการลดขนาดการซื้อสินทรัพย์ (QE Tapering) ของ Fed ที่อาจจะเร็วขึ้น ส่งผลให้กดดันบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า  สินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงตลาดทองคำ แต่ขณะเดียวกัน นักลงทุนกลับเข้าไปลงทุนในหุ้นกลุ่ม High growth ซึ่งราคาปรับลดลงมาก  ซึ่งสะท้อนความกังวลของ Bond yield ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปมากแล้ว ปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นในครึ่งปีหลังจึงอยู่ที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการเป็นสำคัญ  หลังนโยบายการเงินและการคลังของประเทศหลัก เริ่มส่งผลเชิงบวกลดลง ด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในโหมดของการฟื้นตัว การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เร็วกว่าคาด ขณะที่อุปทานสินค้าบางกลุ่มมีไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ […]

Fund Comment มิถุนายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มิถุนายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน มิ.ย. 2564 มีการปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าตั้งแต่ช่วงอายุคงเหลือ 2 ปีขึ้นไป และปรับตัวลดลงค่อนข้างมากถึง -13 ถึง -22 bpsในช่วงอายุคงเหลือ 4-9 ปี โดยมีปัจจัยหลักจากการที่ทิศทางเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า และยังไม่มีการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนระยะสั้นจะยังคงอยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง นักลงทุนจึงมีการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วง 4-5 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าช่วง 3 ปีค่อนข้างมาก และมีการไล่ซื้อไปจนถึงช่วงอายุ 9 ปี ขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปี ซึ่งมีความสัมพันธ์ด้านอัตราผลตอบแทนกับพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก มีความต้องการซื้อน้อยกว่าช่วงอายุก่อนหน้า เนื่องจากตลาดยังติดตามสัญญาณการสิ้นสุดการใช้นโยบายการเงินและผ่อนคลายของ Fed ในปี 2022 และยังคงแนวโน้มการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 1.78% ปรับลดลง 7 bps ณ สิ้นเดือน มิ.ย. แนวโน้มของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ถึงแม้ในระยะยาวจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น […]

Fund Comment พฤษภาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment พฤษภาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกปิดทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้น 1.4% โดยปรับตัวลงก่อนในครึ่งเดือนแรก ก่อนที่จะปรับฟื้นขึ้นในมาช่วงครึ่งหลังของเดือน โดยปัจจัยที่กดดันการลงทุนในเดือนนี้มาจาก ความกังวลต่อเงินเฟ้อของสหรัฐฯ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับสูงขึ้นเป็น 4.2% YoY ส่วนหนึ่งมาจากฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี หากเทียบเป็นเดือนต่อเดือน ถือว่าเร่งตัวขึ้นเป็น 0.8% MoM จาก 0.6% MoM ในเดือนก่อนหน้า ผลจากการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความกังวลว่า Fed อาจจะปรับลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าที่คาดการณ์ อย่างไรก็ดี Bond Yield ของสหรัฐฯปรับทรงตัวในเดือนนี้ สะท้อนว่า ตลาดได้รับรู้ ประเด็นเงินเฟ้อ และความกังวลต่อการลดการอัดฉีดสภาพคล่องไปบ้างแล้ว ส่วนปัจจัยบวกต่อตลาด ยังคงหนุนด้วยการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก นำโดยดัชนี ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ ที่ 61.2 สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ Composite PMI ของสหรัฐฯ ที่ 68.1 […]

Fund Comment พฤษภาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment พฤษภาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน พ.ค. 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ในช่วง -1 ถึง +6 bps โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือน อัตราผลตอบแทนโดยรวมมีทิศทางปรับลดลงตามการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ที่ถึงแม้จะยังมีความกังวลด้านการปรับเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อและการปรับลดปริมาณการซื้อพันธบัตรของ Fed แต่ตลาดเริ่มจะตอบรับแนวโน้มดังกล่าวไปค่อนข้างมากแล้ว โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 อัตราผลตอบแทน UST10Y ปรับเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 70 bps ตลาดจึงคาดการณ์ว่าการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ต่อจากนี้จะเป็นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป จึงมีการกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้ไทยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาดที่สำคัญในช่วงครึ่งหลังของเดือน จากการประกาศ พรก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของ COVID-19 เพิ่มเติม วงเงินไม่เกิน 500,000 ล้านบาท (เบื้องต้นวงเงินไม่เกิน 700,000 ล้านบาท ตามที่ประกาศในวันที่ 18 พ.ค.) ทำให้ตลาดมีความกังวลถึงการกู้เงินผ่านเครื่องมือทางการเงินต่างๆ รวมถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งผลต่อสภาพคล่องและราคาตราสารหนี้ จึงมีการขายพันธบัตรระยะยาวออกมา แนวโน้มของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ถึงแม้ในระยะยาวจะมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น จากสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายด้าน เช่น Manufacturing & […]

Fund Comment เมษายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment เมษายน 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อในเดือน เม.ย. โดย MSCI World Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างอ่อนแอกว่าในช่วงเดียวกัน จากปัจจัยการแพร่ระบาดในประเทศระลอก 3 โดยดัชนี SET Index ปรับตัวลดลง 0.26% จากสิ้นเดือน มี.ค. บรรยากาศการลงทุนโดยภาพรวมของโลก ยังคงหนุนด้วยภาพเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนในประเทศต่างๆ ซึ่งจะทำให้โอกาสในการทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในระยะข้างหน้ามีมากขึ้น สำหรับความกังวลต่อการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของบอนด์ยีลด์ (Bond Yield) สหรัฐฯ ในเดือนก่อนหน้านั้นดูมีความคลายตัวลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯทรงตัวดีขึ้น หลังจากที่นักลงทุนในตลาดต่างประเทศได้มีการปรับลดน้ำหนักการลงทุนตราสารหนี้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้ในอดีต ด้าน Fed ยังคงดำเนินนโยบายผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก ด้านแนวโน้มการลงทุนในไตรมาสที่ 2 นี้ ตลาดหุ้นโลกยังมีแนวโน้มอยู่ในทิศทางเชิงบวก จากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศเศรษฐกิจหลัก จะช่วยให้เศรษฐกิจมีโอกาสกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในระยะข้างหน้าได้เร็วกว่าที่คาด รวมทั้งการออกแผนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ (The American Jobs Plan) เป็นจำนวน 2.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ […]

Fund Comment เมษายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment เมษายน 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน เม.ย. 2564 ปรับตัวลดลง โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 5 ปี เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุมากกว่า 5 ปี ปรับตัวลดลง 4-19 bps. ปัจจัยหลักยังคงเคลื่อนไหวตามแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ ที่มีการปรับตัวลดลงเป็นเดือนแรกในปีนี้ หลังจากที่ความคาดหวังของอัตราเงินเฟ้อ (5 years forward breakeven inflation) มีแนวโน้มทรงตัวที่ระดับ 2.00-2.15% สะท้อนว่านักลงทุนเริ่มผ่อนคลายความกังวลด้านการปรับเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ และเห็นว่าอัตราผลตอบแทนที่ระดับปัจจุบันสามารถยอมรับได้ จึงกลับเข้ามาซื้อพันธบัตรอีกครั้ง อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยเฉพาะในระยะยาวปรับตัวลดลงในระดับจำกัดและมีปริมาณการซื้อขายที่เบาบางระหว่างเดือน เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลด้านธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) มูลค่ารวมไม่เกิน 140,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้พันธบัตรระยะยาวมีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีผลต่อราคาพันธบัตร โดยการทำธุรกรรม Bond Switching เสร็จสิ้นในวันที่ 26 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยมีการตอบรับจากนักลงทุนในระดับที่ดี ทำให้เกิดแรงซื้อกลับเข้าพันธบัตรระยะยาวอีกครั้ง ด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 27-28 เม.ย. […]

Fund Comment มีนาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment มีนาคม 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน มี.ค. 2564 เคลื่อนไหวผันผวนตลอดทั้งเดือน โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไม่เกิน 5 ปี ปรับลดลง 4-14 bps. เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน จากความต้องการพันธบัตรระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นเพื่อลดความผันผวน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีขึ้นไป ปรับเพิ่มขึ้น 6-45 bps. ซึ่งยังคงเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ เป็นหลัก จากความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ภายหลังประธานาธิบดี Joe Biden สามารถผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้สำเร็จ นอกจากนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศยังชะลอการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวเพื่อรอการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) ของ สบน. ในเดือน เม.ย. นี้อีกด้วย ด้านนักลงทุนต่างชาติ มียอดซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 696 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 8,921 ล้านบาท ขณะที่มีตราสารหนี้ที่นักลงทุนต่างชาติถือครองครบกำหนดอายุ (Expired) 4,552 ล้านบาท ทำให้มีเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ไทยสุทธิ 5,065 […]

Fund Comment มีนาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

Fund Comment มีนาคม 2564 : ภาพรวมตลาดหุ้น

ตลาดหุ้นโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นท่ามกลางความผันผวนในเดือนมีนาคม โดย MSCI World Index ปิดปรับเพิ่มขึ้น 2.5% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าที่ 6.0% โดยในเดือนนี้ตลาดการเงินเผชิญกับความกดดันมากขึ้นต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วของ Bond Yield สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากคาดการณ์เงินเฟ้อของตลาด และความกังวลว่านโยบายการคลังฉบับใหม่ที่อาจจะเป็นเม็ดเงินมากถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์จะส่งผลกระทบด้านลบต่อตลาดตราสารหนี้ รวมถึงสะท้อนความกังวลของตลาดว่า Fed อาจจะถอนการผ่อนคลายของนโยบายการเงินเร็วขึ้น ทำให้ตลาดหุ้น Nasdaq ที่ดัชนีประกอบไปด้วยหุ้นเทคโนโลยีและหุ้นเติบโตเร็วเป็นสัดส่วนสูงมีการปรับฐาน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่ำในปีที่ผ่านมา สวนทางกับหุ้นในกลุ่มภาคการเงิน หรือ กลุ่มธุรกิจสินค้าที่เป็น Commodity ที่ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น ทั้งนี้ ผลกระทบจากการปรับตัวขึ้นเร็วของ Bond Yield สหรัฐฯ ยังคงจำกัดอยู่เพียงในตลาดการเงิน ขณะที่ด้านปัจจัยพื้นฐานนั้น เศรษฐกิจโลกยังคงส่งสัญญาณการฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ และการแจกจ่ายวัคซีนเป็นวงกว้างจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติมากขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังต้องมีการใช้มาตรการ Lockdown อยู่ จากการแพร่ระบาดที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงและการแจกจ่ายวัคซีนที่ล่าช้า ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯนั้น จะได้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เข้ามาช่วยหนุนเศรษฐกิจ รวมถึงกำลังเสนอแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มาเพิ่ม ดังนั้น เศรษฐกิจโลกจึงยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปีนี้ ดังนั้น […]

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กุมภาพันธ์ 2564 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในเดือน ก.พ. 2564 ปรับเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุโดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาว ทำให้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Yield curve) มีลักษณะชันมากขึ้นเมื่อเทียบกับสิ้นเดือนก่อน สำหรับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุไม่เกิน 1 ปีปรับเพิ่มขึ้น 12–16 bps. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 1 ปี เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 0.52% ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy rate) ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรช่วงอายุ 5–30 ปีปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ประมาณ 37–58 bps. โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 48 bps. มาอยู่ที่ 1.77% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวของสหรัฐฯ เป็นหลัก (อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้น 33 bps. มาอยู่ที่ 1.44%) จากความคาดหวังต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มลดลงและประสิทธิภาพของวัคซีนได้ผลดี ด้านปัจจัยในประเทศ […]