‘เวิลด์แบงก์’ ปรับเพิ่มคาดการณ์ ‘GDP ไทย’ ปีนี้โต 3.1% แรงหนุนการบริโภค-ส่งออก
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ว่า ธนาคารโลก (World Bank) ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2565 เป็น 3.1% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมิถุนายนที่ 2.9% ปัจจัยหนุนจากการบริโภคและการส่งออกของภาคเอกชน ขณะเดียวกันได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2566 ลดลงเหลือ 4.1% จากแนวโน้มก่อนหน้าที่ 4.3% แม้ว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดการณ์ไว้ในปี 2566 จะกดดันความต้องการส่งออก แต่การผ่อนคลายของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว โดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือน 8-10 ล้านคนในปีนี้ “เวิลด์แบงก์” ปรับลดแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ “เอเชียตะวันออก-แปซิฟิก” เหลือ 3.2% เหตุจีนชะลอตัว ขณะเดียวกัน ธนาคารโลก ระบุว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกจะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วในปี 2565 แต่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2566 โดยคาดว่าการเติบโตในปี 2565 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก […]
GDP Global Morning Brief Uncategorized
เวิลด์แบงก์คงประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
ไชน่าเดลี่ รายงานว่า ธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ ได้คงคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้าเอาไว้ตามเดิม แต่เพิ่มความกังวลในความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตน้อยลงจากประเด็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น ทั้งนี้ ในรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับมุมมองเศรษฐกิจโลก เวิลด์แบงก์ ระบุว่า เศรษฐกิจโลกอาจเติบโต 3.1% ในปีนี้ จากนั้นจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลง หรือ 3% ในปี 2019 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน ม.ค. สำหรับ ประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว คาดการณ์ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 2.2% ในปี 2018 และชะลอลงเหลือ 2% ในปีหน้า เป็นผลจากธนาคารกลางประเทศเหล่านี้ได้ทยอยถอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกไป ส่วนประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตแข็งแกร่ง 4.5% ในปี 2018 จากนั้นจะเติบโต 4.7% ในปี 2019 เป็นผลพวงจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เคยปรับตัวลดลงก่อนหน้านี้ เริ่มขยับขึ้น ขณะเดียวกัน เวิลด์แบงก์ยังได้ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปีนี้ขึ้นเป็น 6.5% เพิ่มขึ้น 0.1% จากประมาณการเมื่อเดือน ม.ค. […]
GDP Q4/2017 ญี่ปุ่นอยู่ที่ 0.5% ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า
เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาส 4/2017(ประมาณการครั้งแรก) เติบโต 0.5%QoQ SAAR เป็นการขยายตัวติดต่อกัน 8 ไตรมาส การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก การเติบโตที่ชะลอลงจากไตรมาส 3 มาจากการเร่งตัวของการนำเข้าตามการลงทุนภาคเอกชน ส่งผลให้การส่งออกสุทธิปรับตัวลดลง หากอัตราค่าจ้างแรงงานในปี 2018 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา น่าจะทำให้การบริโภคภาคเอกชนเติบโตได้ดีต่อเนื่อง