Eurostat ยืนยันยูโรโซนโต 0.6% QoQ sa ในไตรมาส 3/2017

Eurostat ยืนยันยูโรโซนโต 0.6% QoQ sa ในไตรมาส 3/2017

ประกาศรอบสุดท้ายจาก Eurostat ระบุว่า เศรษฐกิจยูโรโซน 19 ประเทศ เติบโต 0.6% QoQ sa ในไตรมาสที่ 3/2017 ช้าลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่โตได้ถึง 0.7% QoQ sa เล็กน้อย แต่คงที่จากประมาณการครั้งก่อนหน้า และยังนับว่าเป็นการขยายตัวในระดับสูง โดยในรายงานรอบนี้มีการชี้แจงรายละเอียดของส่วนประกอบ GDP ออกมาด้วย มีใจความสำคัญดังนี้ การบริโภคภาคเอกชน โต 3% QoQ sa และนับว่ายังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ แม้ว่าจะชะลอลงจากการเติบโตในหลายไตรมาสที่ผ่านมาก็ตาม โดยล่าสุดเดือน พ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขึ้นมาอยู่ที่ 0.1 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 ขณะที่การว่างงานย่อลงอย่างต่อเนื่องเหลือ 8.8% แต่อัตราค่าจ้างที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก อาจเป็นปัจจัยที่รั้งการบริโภคครัวเรือนไว้อยู่ การลงทุน โตค่อนข้างดีที่1% QoQ sa ภายใต้การดำเนินนโยบายการเงินที่ยังผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่อยู่ในระดับสูง หลังจากความไม่แน่นอนทางการเมืองหลายเหตุการณ์ผ่านพ้นไป นอกจากนั้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ […]

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ไตรมาส 3/2017 โต 6.9% YoY เกินคาด

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ไตรมาส 3/2017 โต 6.9% YoY เกินคาด

·        GDP ไตรมาส 3/2017 ของฟิลิปปินส์ เร่งขึ้นเป็น 6.9% YoY สูงที่สุดในรอบ 4 ไตรมาส และเร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 6.5% YoY ค่อนข้างมาก ทำให้รัฐบาลเชื่อว่า ประเทศฟิลิปปินส์จะเติบโตได้ในกรอบเป้าหมาย 6.5-7.5% ที่ตั้งไว้สำหรับปีนี้ นอกจากนั้น GDP ไตรมาสที่ 2/2017 ยังถูกปรับขึ้นจาก 6.5% YoY เป็น 6.7% YoY ด้วย ·        ด้านรายได้: ภาคอุตสาหกรรมและการบริการ เป็นเครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 3/2017 จากการขยายตัว 7.5% YoY และ 7.1% YoY ตามลำดับ ทว่า ภาคการเกษตรกลับโตเพียง 2.5% YoY สืบเนื่องจากผลผลิตที่ขยายตัวช้าที่สุดในรอบ 3 ไตรมาส ·        […]

ตลาดหุ้นจะแรลลี่ไปถึงช่วงคริสมาสต์

ตลาดหุ้นจะแรลลี่ไปถึงช่วงคริสมาสต์

Larry Hatheway หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ GAM เขียนรายงานว่า ตลาดหุ้นยังคงมีแรงเหวี่ยงที่จะแรลลี่ไปถึงช่วงคริสมาสต์ “ความเสี่ยงที่มากที่สุดสำหรับนักลงทุนคือในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2017 จะเกิดการปรับราคาอย่างรุนแรงลงของตลาดหุ้นในช่วงขาขึ้นหรือไม่ บางคนมองว่าตลาดหุ้น และระดับราคาอาจจะตึงตัวเกินไปหลังจากที่มีการทำราคาสูงในปี 2017 นี้ แต่แรงเหวี่ยงโมเมนตั้มเป็นตัวขับเคลื่อนในช่วงสั้นในเกือบทุกตลาดในเวลานี้ แต่เราอาจจะเห็นหุ้นทำราคาสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ โดยที่นักลงทุนหลายคนอาจจะไม่เตรียมตัวพร้อมก็ได้” นายฮาทเธอเวย์เขียนในรายงาน สิ่งที่นายฮาทเวย์กล่าวชี้ให้เห็นว่าตลาดหุ้นยังคงไปได้ดี และแนวโน้มนี้จะยังไม่หยุด ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยจะค่อยๆปรับตัวขึ้น ซึ่งในอดีตมีผลต่อผลประกอบการของหุ้น ปีนี้ตลาดหุ้น DAX ของเยอรมันขึ้นไปแล้ว 16% ส่วนตลาดหุ้น S&P 500 ขึ้น 15% โดยสร้างสถิติใหม่เกือบตลาดเวลาพร้อมกับตลาดหุ้นดาวโจนส์ และตลาดบราซิลขึ้น 20%

จับตา “Powell” ประธาน FED คนใหม่

จับตา “Powell” ประธาน FED คนใหม่

  Trump ตกลงเลือก Jerome Powell เป็นประธาน FED คนใหม่แทน Janet yellen ซึ่งจะหมดวาระลงในกุมภาพันธ์ 2018 Wall Street ให้การต้อนรับที่ดีต่อข่าวนี้ เพราะแนวความคิดในเรื่องนโยบายการเงินของ Powell เป็นไปในทิศทางเดียวกับ Yellen เช่น การค่อยเป็นค่อยไปของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการลดงบดุลของ FED กว่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยพยายามไม่กระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินเป็นหลัก สำหรับเรื่องการดูแลสถาบันการเงิน Powell ไปแนวทางเดียวกับ Trump ที่ต้องการให้สถาบันการเงินมีความคล่องตัวในการทำธุรกิจมากขึ้น Powell แสดงให้เห็นว่าเขาจะสานต่อนโยบายของ Yellen และไม่พยายามแสดงให้เห็นว่าจะมีรอยต่อที่ส่อให้เกิดปัญหาในการดำเนินนโยบายของ FED

สายการบินตะวันออกกลาง หาทางลดต้นทุน

สายการบินตะวันออกกลาง หาทางลดต้นทุน

เมื่อพูดถึงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ความได้ประโยชน์ทางภูมิศาสตร์ของเจ้าน่านฟ้าอย่าง “เอมิเรตส์” “ทิฮัด” และ “กาตาร์” ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อซีกโลกตะวันออกกลาง ทำให้ตลอดทศวรรษต่างมีความสุขกับตัวเลขนักเดินทางที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าในทุกๆ ปี แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีสัญญาณของความไม่สดใสต่างรุมเร้าธุรกิจอย่างหนัก ตั้งแต่การที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านราคากันอย่างหนักจากโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ขณะที่ทั้ง 3 สายการบินยังให้บริการแบบฟูลเซอร์วิส ปัญหาราคาน้ำมันโลกที่ตกต่ำช่วง 2 ปีที่ผ่านมาส่งผลต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศอ่าว การก่อการร้ายทั่วโลก คำสั่งแบนชาวมุสลิมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกระทบต่อความต้องการเดินทางมาภูมิภาคนี้ลดลงไปเรื่อย ๆ ไฟแนนเชียล ไทมส์ รายงานว่า ในช่วงปี 2016-2017 สายการบินเอมิเรตส์มีผลกำไรลดลง 82% ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี และจำนวนที่นั่งที่เดินทางจากดูไบเพิ่ม 2% เท่านั้น ขณะที่ช่วงปี 2012-2016 มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 11% ขณะที่ “เอทิฮัด” สูญเสียรายได้กว่า 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่ไปลงทุนในสายการบินยุโรปอย่าง “แอร์เบอร์ลิน” […]

“บิ๊กตู่” แจงโรดแมป คาด พ.ย. ปีหน้าได้เลือกตั้ง-มิ.ย.61 จะประกาศวันเลือกตั้ง

“บิ๊กตู่” แจงโรดแมป คาด พ.ย. ปีหน้าได้เลือกตั้ง-มิ.ย.61 จะประกาศวันเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2560 เวลา 13.40 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธานในการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความชัดเจนไทม์ไลน์ของวันเลือกตั้งว่า เดือน มิ.ย.61 จะประกาศวันเลือกตั้ง และคาดเดือน พ.ย.61 จะสามารถจัดเลือกตั้งได้

ค่าเงินลีร่าของตุรกีตกกว่า 4%

ค่าเงินลีร่าของตุรกีตกกว่า 4%

ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ค่าเงินลีร่าของตุรกีตกหนักกว่า 4% หลังจากที่สถานกงสุลของตุรกีและของสหรัฐงดการให้บริการวีซ่าให้พลเมืองระหว่างกัน เงินลีร่าร่วงไปที่ 3.7694 ต่อดอลลาร์ในการเทรดในวันจันทร์ที่ผ่านมา เทียบกับระดับ 3.616 ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ระดับต่ำสุดของค่าเงินลีร่าในปีนี้คือ 3.9407 ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตุรกีขัดแย้งหนักกับสหรัฐฯหลังจากที่ทางการตุรกีจับกุม Metin Topuz ซึ่งเป็นชาวเติร์ก แต่ทำงานในสถานกงสุลสหรัฐฯในกรุงอิสตันบูล โดยมีการกล่าวหาว่า Topuz ทำงานให้ขบวนการของ Fethullah Gulen ซึ่งประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdoğan กล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อการรัฐประหารเพื่อล้มอำนาจของเขาในปีที่แล้ว ขณะนี้ Gulen ลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการจับกุม Topuz ทางสหรัฐฯตอบโต้ด้วยการให้สถานทูต และสถานกงสุลของสหรัฐฯในตุรกี งดออกวีซ่าพำนักชั่วคราวให้ชาวตุรกีที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศสหรัฐฯ ตุรกีโต้ตอบอย่างทันควัน ด้วยการสั่งให้สถานกงสุล และสถานทูตตุรกีงดให้บริการวีซ่าแก่ชาวอเมริกันที่ประสงค์จะเดินทางเข้าตุรกี ตุรกีมีเงินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่ 4,750 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน ทำให้มีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินต่างประเทศเพื่ออุดช่องว่างนี้ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทำให้ค่าเงินตุรกีอ่อนแอถูกโจมตีได้ เมื่อเกิดความไม่มั่นใจทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือการเงินของประเทศ ในขณะเดียวกัน […]

ถก “BREXIT” ถึงจุดวิกฤต

ถก “BREXIT” ถึงจุดวิกฤต

การเจรจาเพื่อนำอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ระหว่าง David Davis ตัวแทนอังกฤษ และ Michel Barnier ตัวแทนอียู เริ่มต้นรอบที่ 5 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ที่กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม โดยจะเป็นการเจรจารอบสุดท้ายก่อนการประชุมสุดยอด 27 ผู้นำอียูในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ ซึ่งผู้นำอียูจะลงมติว่า การหารือที่ผ่านมามีความคืบหน้าเพียงพอต่อการดำเนินกระบวนการต่อหรือไม่ Theresa May นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอียูเป็นสำคัญ โดยหวังว่าอียูจะแสดงความเป็นผู้นำและท่าทีที่ยืดหยุ่นในเรื่องนี้ออกมา แต่ Jean-Claude Juncker ประธานกรรมาธิการยุโรปเตือนว่า การเจรจารอบที่ 5 ต้องบรรลุผลในระดับปาฏิหาริย์จึงจะทำให้มติอียูออกมาในทางบวกได้ ในขณะที่ Barnier ชี้ว่า ความคืบหน้าที่เพียงพอต่อการมีมติดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ด้วยเหตุจากการเมืองภายในของอังกฤษเอง ซึ่งทำให้การเจรจา BREXIT ตกอยู่ในสภาพวิกฤตในขณะนี้ รายงานข่าวระบุว่า การเจรจาระหว่างอังกฤษกับอียูยังคงชะงักงันอยู่กับประเด็นหลัก 3 ข้อ คือ ประเด็นว่าด้วยเรื่อง จำนวนเงินที่อังกฤษ […]

“เงินเฟ้อ” ทำลายความมั่งคั่ง

“เงินเฟ้อ” ทำลายความมั่งคั่ง

ในขณะนี้เวเนซุเอลาเป็นประเทศที่ประสบกับปัญหาเงินเฟ้อกระจุยกระจายหนักที่สุด จนประธานาธิบดี Nicolas Maduro ประกาศขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำในวันแรงงานสากลถึง 60% ท่ามกลางภาวะวิกฤติเงินเฟ้อ 500% ปรากฎการณ์เงินเฟ้อของเวเนซุเอลาทำให้ประชาชนทั่วไปยากจนขึ้นทันที ทั้งนี้เนื่องจากเงินเฟ้อทำให้ค่าเงิน bolivares เสื่อมลง เมื่อค่าเงินเสื่อมลง อำนาจซื้อของประชาชนก็ลดลง ในขณะที่รายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้น แม้รัฐบาลจะประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมาหลายรอบแล้ว แต่อัตราค่าแรงที่สูงขึ้นยังวิ่งตามไม่ทันเงินเฟ้อ เงินเฟ้อมีสาเหตุมาจากการบริหารการเงินของรัฐบาลและธนาคารกลางที่ผิดพลาด โดยใช้จ่ายเกินตัว หรือไม่มีวินัยทางการเงินการคลัง เมื่อรัฐบาลไม่มีเงินพอจะใช้จ่าย ก็กู้หนี้จนเกินตัว เมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้ต้องพิมพ์เงินเพื่อจ่ายหนี้ ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นสาเหตุหลักของเงินเฟ้อ ซิมบับเวเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบกับปัญหาเงินเฟ้อสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเงินโลก ไม่มีใครรู้ว่าเงินเฟ้อของซิมบับเวอยู่ในอัตราเท่าใด เพราะตัวเลขสูงมหาศาล แต่คาดการณ์ว่าในกลางเดือนพฤศจิกายนปี 2008 เงินเฟ้อซิมบับเวอยู่ที่ราว 79,600,000% เงินซิมบับเวกลายเป็นกระดาษไปเลย เนื่องจากรัฐบาลพิมพ์เงินกันอย่างหูดับตับไหม้ และในปี 2009 รัฐบาลซิมบับเวต้องหยุดพิมพ์เงินของประเทศ แล้วหันไปใช้เงินสกุลต่างชาติแทน ในปี 2015 รัฐบาลซิมบับเวเริ่มใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแทนสกุลเงินของตัวเอง ซึ่งไม่หลงเหลือความน่าเชื่อถือใดๆ อีกต่อไป ในระหว่างปี 1921-1924 สาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic) หรือเยอรมนี ประสบกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงเหมือนกัน […]

“ควอนตัมคอมพิวเตอร์” กำลังจะมา

“ควอนตัมคอมพิวเตอร์” กำลังจะมา

ไอบีเอ็มเร่งพัฒนาและผลิตควอนตัมคอมพิวเตอร์ เพื่อออกขายภายใน 1 ปีนี้ บริษัทไอบีเอ็มประกาศว่าจะเร่งพัฒนา “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” เพื่อผลิตและนำออกจำหน่วยในท้องตลาด ในชื่อว่า IBM Q ในอีก 1 ปีข้างหน้า IBM Q จะทำงานคิดคำนวณด้วยพลังแบบควอนตัม ผ่านแพลตฟอร์มคลาวด์ของไอบีเอ็ม ซึ่งจะเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่จะเปิดให้บริการนี้ และถือเป็นก้าวย่างสำคัญของเทคโนโลยีสาขานี้อีกด้วย ควอนตัมคอมพิวเตอร์คือ คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลด้วยหลักการทางควอนตัมฟิสิกส์ ทฤษฎี Quantum Computing นั้นบอกว่า หากหน่วยเล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์พื้นฐานคือ บิท (bit) หน่วยเล็กที่สุดของ Quantum Computing ใช้ชื่อว่า คิวบิท (Qubit) สถานะของบิทนั้นอาจเป็นได้ไม่ 1 ก็ 0 เท่านั้น แต่สำหรับคิวบิทจะมีมิติที่เหนือกว่าบิท คือสามารถแสดงสถานะเป็น 1 หรือ 0 ได้ หรืออยู่ระหว่าง 1 กับ 0 ได้ทุกๆ […]