เงินเท่าไรถึงจะพอใช้ไปชั่วชีวิต

เงินเท่าไรถึงจะพอใช้ไปชั่วชีวิต

คนทุกคนย่อมมีช่วงเวลาที่ย้อนกลับไปคราวใดก็อดไม่ได้ที่จะเกิดรอยยิ้มมุมปากทุกครั้ง และเช่นเดียวกันก็ยังมีตะกอนของความคิดที่ว่าเราเองยังมีบางสิ่งที่อยากทำแล้วไม่ได้ทำในวัยหนุ่มสาว เพราะเราเพียรแต่จะสร้างฐานะความมั่นคงให้กับชีวิต โดยยอมเก็บสิ่งที่ตนเองอยากทำไว้ในลิ้นชักก่อน แต่ยิ่งเราหาเงินได้มากเท่าไร ทำไมกลับไม่รู้สึกพอเสียที  เรากลัวว่าจะมีเงินไม่พอใช้ไปได้ตลอด กลัวว่าลูกหลานจะลำบาก จนลืมเปิดลิ้นชักที่ปิดไว้ ถึงตอนนี้ถ้าเรามีความมั่นใจว่าจะมีเงินพอใช้ไปชั่วชีวิต เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บสิ่งที่อยากทำไว้ในลิ้นชักต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นบางทีเราอาจจะได้เปิดลิ้นชักตรวจดูสิ่งที่หล่นหายไปในระหว่างทางของชีวิต แล้วหยิบขึ้นมาทำ รอยยิ้มที่เกิดขึ้น  จะไม่เป็นรอยยิ้มที่คิดถึงแต่ในอดีตอย่างเดียว จะเป็นรอยยิ้มที่เราใช้ชีวิตในปัจจุบันด้วย  เอาละ เรามาเริ่มคิดพร้อมกันว่าจะทำอย่างไรให้มั่นใจว่าจะมีเงินพอใช้เช่นว่านั้น ด้วยเหตุผลง่ายๆ ที่ว่า ณ จุดใดจุดหนึ่งของชีวิตที่เราสามารถมีรายได้จำนวนหนึ่งซึ่งมากพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เก็บเผื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินบ้าง และยังมีเหลือพอที่จะใช้ชีวิตตามความฝันอันพอสมควรของเรา เราก็จะสามารถใช้ชีวิตตามความคิดตามใจที่อยากเป็นได้ หากเราอยากจะเล่นดนตรี เรียนศิลปะ ทำอาหาร ไปเที่ยวต่างประเทศ ก็สามารถทำได้  ชีวิตก็จะไม่ยึดติดกับการถูกบังคับด้วยกรอบของรายได้ เพราะรายได้ที่กำหนดจำนวนไว้นั้นจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายและฝันของแต่ท่านว่าจะมากและใหญ่ขนาดไหน  เมื่อเรารู้ว่าจะต้องมีรายได้จำนวนเท่าไรแล้ว เราก็ต้องวางแผนเพื่อให้มีรายได้ดังกล่าว ณ ปัจจุบัน เรามีรายได้ มีค่าใช้จ่าย ที่เหลือคือเงินเก็บ หากเรามีเงินเก็บแล้วเงินเก็บนี้สามารถนำไปหาผลประโยชน์สร้างผลตอบแทนได้เท่าจำนวนที่เราต้องการ ทุกอย่างก็จะเป็นไปตามแผนการที่วางไว้ แต่ปัญหาก็คือ ทุกวันนี้ในสถานการณ์จริง มันมีเงินเก็บบ้าง ไม่มีเงินเก็บบ้าง บางทีไม่พอใช้ด้วย แล้วจะทำอย่างไร อย่าเพิ่งท้อ เพราะลูกท้อเขามีไว้ให้ลิงถือเท่านั้น ผมอยากให้สำรวจแบบนี้ครับ […]

นักลงทุนที่มีเหตุมีผลเขามีวิธีคิดอย่างไรกัน?

นักลงทุนที่มีเหตุมีผลเขามีวิธีคิดอย่างไรกัน?

เคยเป็นบ้างไหมที่พอร์ตโฟลิโอจากการจัดสรรเงินลงทุนของท่านได้รับอัตราผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่าความเสี่ยง หรือต้องยอมรับความเสี่ยงที่มากขึ้นโดยไม่จำเป็น ถ้าท่านเคยมีประสบการณ์เช่นว่าแสดงว่าพอร์ตโฟลิโอของท่านอาจมีน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ด้อยกว่าความเหมาะสม(Sub-optimal)  แนวคิดทางการเงินเชิงพฤติกรรม (Behavioral Finance) ได้อธิบายสาเหตุของการเกิดพอร์ตโฟลิโอที่ด้อยกว่าความเหมาะสมไว้ว่าเกิดจากการที่นักลงทุนใช้อารมณ์หรือสุ่มเอาในการตัดสินใจ มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากเกินไป มีการคาดการณ์หวังผลในระยะสั้นๆ มีการใช้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนหรือไม่มีความเกี่ยวข้อง มีการแปลความหมายของข้อมูลที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม และไม่ได้มองความสัมพันธ์หรือผลกระทบของทรัพย์สินทั้งหมดที่ตัวเองถือครองอยู่ ผลลัพธ์ที่นักลงทุนได้จะถูกบิดเบือนไปจากความต้องการหรือความคาดหวังที่แท้จริงตั้งแต่ต้น พฤติกรรมจากเหตุผลทางจิตวิทยาของนักลงทุนเหล่านี้ได้สร้างฟองสบู่ให้เกิดขึ้นในตลาด และถึงทำให้ราคาของหลักทรัพย์ไม่ได้สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของตัวมันเอง ทำให้นักลงทุนที่มีเหตุมีผลสามารถเล็งเห็นความผิดปกติและแสวงหากำไรจากตลาดที่มีประสิทธิภาพน้อยนี้ได้   แนวความคิดของการเป็นนักลงทุนที่มีเหตุมีผล คาดการณ์อย่างมีเหตุมีผล นักลงทุนต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ได้มากที่สุดโดยปราศจากอคติด้วยความเข้าใจอย่างถ่องแท้ พึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ถ้าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนระหว่างทางเลือกต่างๆ ที่มีอยู่เท่ากัน ให้เลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำกว่า ต้องมองทรัพย์สินทั้งหมดในภาพรวม นักลงทุนต้องมีการเปรียบเทียบ และพิจารณาผลกระทบระหว่างกันของทรัพย์สินต่างๆ ที่ควรมีไว้ในพอร์ตโฟลิโอกับหลักทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ และมีการปรับเปลี่ยนการลงทุนให้เหมาะสมอยู่เสมอ   โดยอาศัยหลักการตามที่ว่านี้ท่านก็สามารถปรับปรุงพฤติกรรมการลงทุนของท่านให้ดีขึ้นและนำไปสู่การจัดสรรเงินลงทุนและการกระจายความเสี่ยงให้แก่พอร์ตโฟลิโอของท่านได้อย่างเหมาะสม

ทำไมต้อง DCA: Dollar Cost Averaging

ทำไมต้อง DCA: Dollar Cost Averaging

หลายท่านคงคุ้นหูกับคำว่า Dollar Cost Averaging หรือ DCA มาพอสมควร ซึ่งก็คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน พูดง่ายๆ นั่นก็คือ การที่เรากำหนดการลงทุนของเราเป็นรายงวด ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะกำหนดแผนการลงทุนงวดละเท่าๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส โดยไม่สนใจว่าราคาหน่วยลงทุน หรือราคาหุ้นที่เราจะซื้อตอนนั้นเป็นราคาเท่าไร ประโยชน์ใหญ่ๆ ของ DCA คืออะไร ตัดเอาอารมณ์ความรู้สึกในการลงทุนออกไป ในหนังสือเรื่อง Nudge ซึ่งมีนาย Richard Thaler นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลคนล่าสุด ทำการศึกษาเรื่องจิตวิทยาการเงิน (Behavioral Finance) ช่วยอธิบายได้อย่างมาก ว่ามนุษย์เรา จริงๆ แล้วไม่ได้มีเหตุมีผลอย่างที่ควรจะเป็นเท่าไหร่นัก เพราะถ้าเรามีเหตุผลจริงๆ ตามเศรษฐศาสตร์ เราก็ต้องเลือกสิ่งที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในการลงทุนระยะยาว แต่กลับกลายเป็นว่าในทางปฏิบัติ เราไม่ได้ทำอย่างที่ควรจะเป็น เรามีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง (เยอะมากด้วย) อาทิ เช่น ความโลภ ประกอบกับความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป พยายามที่จะจับจังหวะการลงทุน เป็นเหตุให้การลงทุนอาจไม่ประสบผลดังที่คาดหวังได้ ดังนั้น […]

เตรียมพร้อม 4 ด้านก่อนการลงทุน LTF

เตรียมพร้อม 4 ด้านก่อนการลงทุน LTF

คุณว่าคนเราตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทุกครั้งมั้ย?

คุณว่าคนเราตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทุกครั้งมั้ย?

เมื่อเร็วๆนี้ มีนักเศรษฐศาสตร์ชื่อ ริชาร์ด เธเลอร์ ได้รับรางวัลโนเบลจากงานวิจัยในสายเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เค้าเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีความไร้เหตุผลของมนุษย์ จากงานวิจัยของคุณริชาร์ด เค้ามีความเชื่อว่า พฤติกรรมของคนส่วนใหญ่นั้นไม่สามารถนำหลักเหตุผลมาใช้ในการอธิบายได้ คนส่วนมากมักให้น้ำหนักกับปัจจุบันมากจนเกินไป พร้อมๆกันกับการให้น้ำหนักกับอนาคตน้อยจนเกินไป ตัวอย่างง่ายๆ ก็เหมือนกับเรื่องการออมเงินนั่นแหละ ที่คนส่วนมากก็มักจะเลือกความสุขจากการใช้เงินในวันนี้ แทนที่จะออมเงินไว้เพื่อความสุขในวันข้างหน้า เป็นอาการของการควบคุมตัวเองไม่อยู่ และเลือกความสุขในวันนี้ดีกว่า ทั้งๆที่ใจจริงเรารู้ดีว่า ความสุขในวันข้างหน้ามันสำคัญและยิ่งใหญ่กว่าความสุขในวันนี้ จากความไม่มีเหตุผลแบบนี้นี่เอง ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาการออมเงิน เราจะแก้ปัญหาแบบนี้อย่างไรดี? ถ้าบอกให้คุณเลิกใช้เงินเพื่อหาความสุขในวันนี้ คงจะยากสักหน่อย ก็แหม!!! ความสุขใกล้ตัวในวันนี้มันยั่วยวนใจซะเหลือเกิน ยิ่งสมัยนี้การเข้าถึงสินค้าต่างๆก็ง่ายขึ้นมาก คุณสามารถนอนชอปปิ้งและรูดบัตรเครดิตอยู่บนเตียงนอนได้อย่างสบายๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นเวลาเที่ยงคืนแล้วก็ตาม แล้วถ้าคุณไม่ต้องเลิกหล่ะ ยังใช้เงินได้อย่างมีความสุข พร้อมๆกับมีเงินเก็บด้วย ชีวิตจะดีแค่ไหน เริ่มตั้งแต่วันแรกที่คุณได้รับเงินมา ลองแบ่งเงินออกเป็นก้อนๆดูสิ ก้อนแรก : เผื่อฉุกเฉิน ก้อนสอง : เพื่อลงทุน ก้อนสาม : เพื่ออิสรภาพ ก้อนสี่ : เพื่อความฝัน ก้อนแรกสำรองไว้เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา คุณจะได้มั่นใจได้ว่าชีวิตคุณจะยังสามารถดำเนินต่อไปได้อีกสักพัก พอมีเวลาให้คิดหาทางออกบ้าง […]

RMF vs. LTF : กองไหนเหมาะกับคุณ?

RMF vs. LTF : กองไหนเหมาะกับคุณ?

ยิ่งออมมากในวัยทำงาน ยิ่งจะสร้างความมั่งคั่งได้มากในวัยเกษียณ

ยิ่งออมมากในวัยทำงาน ยิ่งจะสร้างความมั่งคั่งได้มากในวัยเกษียณ

คนที่ออมเงินเพื่อการลงทุนระยะยาว หรือเพื่อใช้ในวัยเกษียณส่วนมากแล้วมักจะพิจารณาว่า จะลงทุนอย่างไรให้ออกดอกออกผลมากที่สุด ทำอย่างไรให้ค่าธรรมเนียมการจัดการหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆในการลงทุนต้องต่ำที่สุด เรื่องนี้เข้าใจได้ แต่ความเป็นจริงแล้ว เคล็ดลับของการสร้างความมั่งคั่งในวัยเกษียณจะมาจากการออม มากกว่าผลตอบแทนของการลงทุน ยิ่งออมมากเท่าใด ยิ่งจะมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นในวัยเกษียณ นายชาลี บิเบลโล (Charlie Bibello) ผู้อำนวยการวิจัยของ Pension Partners LLC ชี้ว่า จำนวนเงินที่นักลงทุนออมเพื่อการลงทุนระยะยาว มีความสำคัญมากกว่าผลตอบแทนของการลงทุน เพราะว่าในประการแรก นักลงทุนสามารถควบคุมจำนวนเงินที่จะออมได้ แต่ในขณะเดียวกันไม่สามารถควบคุมผลตอบแทนจากการลงทุนที่ผันผวนได้ เป็นที่แน่นอนว่าคนที่ออมเงิน $20,000ต่อปี ย่อมที่จะมีความมั่งคั่งมากกว่าคนที่ออม $10,000ต่อปี ผลตอบแทนของคนที่ออม $10,000ต่อปี ไม่มีทางที่จะชนะคนที่ออม $20,000ต่อปี เมื่อสิ้นสุดระยะการออม หรือวัยทำงาน นายบิเบลโลได้แสดงตัวเลขให้เราเห็นถึงความสำคัญของการออมของนักลงทุนว่า ยิ่งมีวินัยในการออมมากเท่าใด ยิ่งจะมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งมากขึ้นในภายหลัง นายบิเบลโลยกการเปรียบเทียบระหว่างการเพิ่มวงเงินออม 1% กับการได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1% จากพอร์ตการลงทุน โดยใช้สมมุติฐานว่า ครอบครัวอเมริกันมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ $58,000ต่อปี หลังจากหักภาษีแล้ว จะมีเงินเหลือที่จะใช้จ่าย $49,300 ถ้าหากว่าครอบครัวนี้มีการออมเงินเพียง1%ของรายได้ทุกๆ ปีเป็นเวลา […]

พร้อมเกษียณแล้วหรือยัง

พร้อมเกษียณแล้วหรือยัง

ในแต่ละช่วงอายุของคน ช่วงวัยที่เราควรมีความพร้อมทางการเงินที่สุดคือระหว่าง 50-60 ปี เนื่องจากช่วงดังกล่าว คนส่วนใหญ่ควรจะอยู่ในจุดที่มีรายได้หรือเงินเดือนสูงสุด ปลอดจากภาระหนี้สินต่างๆ ไม่ว่า สินเชื่อบ้าน หรือสินเชื่อรถยนต์ เป็นช่วงเวลาที่เราควรพร้อมรับมือกับยามเกษียณที่กำลังใกล้ถึง แต่กลับมีคนจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาการดำรงชีวิตในวัยเกษียณ แล้วอะไรคือสาเหตุที่ทำให้การวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณไม่ประสบความสำเร็จ เตรียมตัวช้า หลายคนมักจะมองข้ามประเด็นนี้ไป เมื่อเริ่มต้นวางแผนการเงินช้า ประกอบกับอายุโดยเฉลี่ยของคนเราในปัจจุบันที่ยืนยาวขึ้น ทำให้ในท้ายสุดก็เตรียมเงินไว้ไม่เพียงพอสำหรับใช้จ่าย เลี่ยงลงทุนในหุ้น เพราะเชื่อว่ามีโอกาสขาดทุนสูง หลายคนมักย้ำว่า การลงทุนในหุ้นไม่เหมาะสำหรับแผนการลงทุนเพื่อเกษียณ ทั้งที่จริงแล้ว แม้โอกาสขาดทุนค่อนข้างสูง แต่หากเราได้ศึกษาข้อมูลที่ดีพอก่อนจะลงทุนในหุ้นโดยตรง หรืออาจเลือกลงทุนผ่านกองทุนหุ้นหรือกองทุนผสม แล้วจัดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แผนการลงทุนประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเช่นปัจจุบัน เพราะการลงทุนในเงินฝากแม้โอกาสจะสูญเงินต้นนั้นมีน้อย แต่ก็มีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เราได้ วางแผนประกันสุขภาพ สิ่งที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ก็คือ อุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยในอนาคต ไม่ว่าจะโรคร้ายอย่างมะเร็งหรือโรคหัวใจ ที่ปัจจุบันมีสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การรักษาพยาบาลโรคจำพวกนี้ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลก็ดีดตัวสูงขึ้นทุกปี  ยิ่งเรามีอายุมากขึ้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็มีแนวโน้มสูงตามขึ้นเช่นกัน หากไม่วางแผนเกี่ยวกับประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุไว้บ้าง เงินลงทุนที่ตระเตรียมไว้เพื่อยามเกษียณ ก็อาจจะหมดไปกับเหตุที่ไม่คาดคิด การทำประกันสุขภาพถือว่าเป็นการป้องกันความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง สำหรับผู้เตรียมตัวเกษียณ ข้อดีของการวางแผนประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังไม่มากก็คือ ค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพมักไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับเริ่มทำในวัยใกล้เกษียณหรือหลังเริ่มป่วยไข้แล้ว อย่างไรก็ตามเพื่อตอบโจทย์คนวัยเกษียณที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ สถาบันการเงินต่างๆ […]

ชีวิตที่เลือกเองหลังเกษียณ

ชีวิตที่เลือกเองหลังเกษียณ

ชีวิตการทำงานก็เหมือนละครที่แต่ละคนจะ มีหัวโขนใส่ให้เล่นไปตามบทบาทที่ถูกเขียนเอาไว้ บางคนโชคดีได้เป็นเจ้านาย (หรือโชคร้ายก็ไม่รู้) ก็เหมือนเป็นดาราดังที่พอจะเลือกบทได้บ้าง บางคนเป็นลูกน้องก็ต้องเล่นตามบทที่ให้มาอย่างเดียว ไม่มีสิทธิเลือกเท่าไหร่ แต่หลังจากที่เกษียณอายุแล้ว หัวโขนทั้งหมดจะถูกถอดออกทันที ทุกคนจะกลายเป็นนายของตัวเองอย่างแท้จริง บทบาทชีวิตต่อไปจะเป็นยังไงก็ขึ้นกับตัวเองล้วนๆ ไม่ได้มีใครมากำหนดอีกแล้ว จะเกษียณอย่างสุขสำราญ เกษียณอย่างมั่นคง เกษียณอย่างลุ่มๆ ดอนๆ เกษียณด้วยใจระทึกยิ่งกว่าตอนกู้เต็มที่ไปซื้อหุ้นปั่นแล้วหุ้นตกพรวดๆ หรือเกษียณอย่างเหี่ยวเฉา ก็ขึ้นกับการวางแผนชีวิตมาตั้งแต่แรก ซึ่งแน่ละครับ ใครที่อุตส่าห์ทำงานมาตั้งหลายสิบปี ก็ต้องอยากจะมีชีวิตบั้นปลายที่มีความสุข มีคุณภาพ ให้สมกับที่เหน็ดเหนื่อยมาตลอด ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นไม่ได้จำเป็นว่าจะต้องมีบ้านหลังใหญ่ๆ มีคนรับใช้คอยปรนนิบัติทุกอย่าง มีรถหรูๆ ขับ ซึ่งถ้ามีมันก็ดีอยู่ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปหรอกครับ เพราะคุณภาพชีวิตที่ดีหมายถึงการมีสังคมแวดล้อมที่ดี ทำให้มีความชื่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน มีสุขภาพที่แข็งแรง ได้ไปท่องเที่ยวในที่ๆ อยากไป หรือได้ทำในสิ่งที่อยากทำซึ่งต้องไม่ผิดศีลธรรมจนมีใครมาคอยชี้หน้าด่าว่าเป็นคนไม่ดีในยามแก่ตัวนะครับ   ผมว่าได้แค่นี้ก็น่าจะเปี่ยมสุขแล้ว และสิ่งเหล่านี้บางอย่างเงินก็ซื้อไม่ได้ แต่ก็มีบางอย่างที่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้วย สิ่งสำคัญที่ผมจะบอกก็คือ “การวางแผนการเงินนั้นต้องเผื่อสำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดคิดเอาไว้ด้วย เพื่อจะได้มีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพดี ให้สมกับที่ได้เป็นนายตัวเองอย่างแท้จริง” จริงอยู่ ความสุขที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจและทัศนคติของตัวเอง ซึ่งลำพังการวางแผนทางการเงินเพียงอย่างเดียวคงช่วยอะไรไม่ได้เท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่การวางแผนทางการเงินจะช่วยได้มากสำหรับชีวิตหลังเกษียณก็คือ ความเป็นอยู่ […]

เตรียมพร้อม 4 ด้านการลงทุน RMF

เตรียมพร้อม 4 ด้านการลงทุน RMF