หุ่นยนต์กลายเป็นกำลังหลักดูแลผู้สูงอายุญี่ปุ่นแทนคนภายในปี 2020

หุ่นยนต์กลายเป็นกำลังหลักดูแลผู้สูงอายุญี่ปุ่นแทนคนภายในปี 2020

รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการที่จะเพิ่มการยอมรับในการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาขาดแคลนพยาบาล ขณะเดียวกันญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในสังคมผู้สูงอายุกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนผู้ที่ดูแลคนป่วย โดยคากการณ์ว่าภายในปี 2025 จะขาดแคลงผู้ดูแลสูงถึง 370,000 คน  ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องการที่จะกระตุ้นให้สังคมหันมายอมรับการใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหาขาดแคลนเจ้าหน้าที่พยาบาล โดยรัฐบาลต้องการที่จะเห็นหุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งล่าสุดได้มีปรับปรุงสิ่งที่หุ่นยนต์ควรทำเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ซึ่งครอบคลุมถึงหุ่นยนต์สามารถคาดการณ์ได้ว่าผู้ป่วยต้องการที่จะเข้าห้องน้ำหรือไม่ และต้องการเข้าเมื่อไหร่ Dr Hirohisa Hirukawa ผู้อำนวนการศูนย์วิจัยนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (National Institute of Advanced Industrial Science and Technology: AIST) กล่าวว่าเป้าหมายของเราในการพัฒนาเพื่อลดภาระของพยาบาล และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองขณะอยู่ที่บ้านได้ด้วย หุ่นยนต์อาจไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้ แต่อย่างน้อยหุ่นยนต์สามารถช่วยแก้ปัญหาบางเรื่องที่ยุ่งยากนี้ได้ เขากล่าว

ตลาดหุ้นในสหรัฐตกหนักส่งผลทำให้หุ้นนิคเคอิของญี่ปุ่นร่วงหนักตามไปด้วย

ตลาดหุ้นในสหรัฐตกหนักส่งผลทำให้หุ้นนิคเคอิของญี่ปุ่นร่วงหนักตามไปด้วย

ตลาดหุ้นในสหรัฐตกหนักส่งผลทำให้หุ้นนิคเคอิของญี่ปุ่นร่วงหนักตามไปด้วย โดยตกไปมากกว่า 1,000 จุด หรือ 4.4% ในช่วงของการเทรดในเช้าวันอังคารนี้

แบงก์ชาติญี่ปุ่นเผยฐานเงินปี 60 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

แบงก์ชาติญี่ปุ่นเผยฐานเงินปี 60 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รายงานว่า ฐานเงินของญี่ปุ่นประกอบไปด้วยกระแสเงินสดและเงินฝากของสถาบันการเงินที่ฝากไว้กับธนาคารกลางญี่ปุ่น อยู่ที่ 480 ล้านล้านเยน (4.25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ณ ปลายเดือน ธ.ค. 2560 เพิ่มขึ้น 9.7% จากปี 2559 การปรับขึ้นนับเป็นปีที่ 11 ติดต่อกัน โดยทำสถิติแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เดินหน้าผ่อนคลายนโยบายการเงิน ก่อนหน้านี้ BOJได้มีมติในการประชุมนโยบายเมื่อเดือนธ.ค. 2560 เพื่อเดินหน้าผ่อนคลายนโยบายทางการเงินต่อไป โดยนายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการ BOJ ได้ให้คำมั่นว่าจะเดินหน้าผ่อนคลายนโยบาย จนกว่าเงินเฟ้อจะขยายตัวแตะ 2% ตามเป้าหมาย

มุมมองเศรษฐกิจใน 5 ประเทศหลัก

มุมมองเศรษฐกิจใน 5 ประเทศหลัก

US : เศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2017-2018 จะสามารถขยายตัวเกินค่าเฉลี่ยระยะยาวได้ที่ 2.5% ทั้งสองปี ด้วยแรงหนุนจากการลงทุนภาคเอกชนที่จะเริ่มผลิตเพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังให้พอกับความต้องการบริโภคในประเทศ ส่วนการจ้างงานน่าจะยังเติบโตได้แข็งแกร่ง EU : ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ราคาพลังงานช่วยสนับสนุนการบริโภค ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มกลับมา การใช้สินเชื่อเริ่มดีขึ้นเรามองว่า GDP จะขยายตัวที่ 2.3% JP : เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถขยายตัวได้อัตรา 1.4% เป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีส่วนช่วยผลักดันได้แก่ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือ Supplementary Budget จากรัฐบาล มีส่วนหนุนการบริโภคภาคเอกชน CH : เศรษฐกิจจีนน่าจะขยายตัวได้ที่ 6.5% โดยเป็นการขยายตัวตามเป้าหมายของทางการที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ โครงสร้างเศรษฐกิจจีนค่อยๆขยับเข้าภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชน TH : การส่งออกและการใช้จ่ายลงทุนภาเอกชนจะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องที่ 3.8% ในปี 2017-2018

ญี่ปุ่นควงแขนพันธมิตร ถ่วงดุลอิทธิพล “จีน”

ญี่ปุ่นควงแขนพันธมิตร ถ่วงดุลอิทธิพล “จีน”

Taro Kono รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่น ประกาศเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่า ญี่ปุ่นเตรียมจัดเจรจาระดับสูงในเดือนพฤศจิกายน เพื่อ “ส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าภายใต้กรอบการค้าเสรีและความร่วมมือด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ” ขึ้นในระหว่างประเทศที่มีอาณาบริเวณติดต่อหรือเชื่อมโยงกับทะเลจีนใต้, มหาสมุทรอินเดีย และเลยไปไกลจนถึงทวีปแอฟริกา นอกจากญี่ปุ่นที่เป็นตัวตั้งตัวตีแล้ว ประเทศที่ได้รับเชิญล้วนเป็นยักษ์ใหญ่ในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ออสเตรเลีย และแน่นอนว่ามีสหรัฐฯด้วย Kono ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า มีการส่งข้อเสนอให้ “ประเทศนอกภูมิภาค” อย่างฝรั่งเศสและอังกฤษ เข้าร่วมในการก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือดังกล่าว ในฐานะ “ประเทศผู้ให้ความร่วมมือ” Kono ให้เหตุผลถึงการดำเนินการครั้งนี้ว่า “เราอยู่ในยุคซึ่งญี่ปุ่นจำเป็นต้องแสดงบทบาททางการทูตระหว่างประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ขนาดใหญ่ที่วางเอาไว้ หากทะเลจีนใต้เปิดกว้างและมีเสรีสำหรับทุกคน ผลประโยชน์ย่อมตกอยู่กับทุกประเทศ รวมทั้งจีน และแผนงานโอบีโออาร์ของจีน” ตั้งแต่ปี 2015 เมื่อจีนเมินเฉยต่อเสียงเรียกร้องและการประท้วงของนานาชาติ ในการส่งกำลังเข้าไปในเกาะแก่งหลายแห่งในทะเลจีนใต้ แสดงตนเป็นเจ้าของและพัฒนาสิ่งปลูกสร้างทางทหารขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศที่ร่วมอ้างสิทธิเหนือดินแดนเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, มาเลเซีย และบรูไน ต่างยื่นประท้วง ในขณะที่แวดวงประชาคมนานาชาติออกมาประณามการยึดครองฝ่ายเดียว หลายฝ่าย โดยเฉพาะญี่ปุ่นกังวลมากว่า วิธีการทำนองเดียวกันนี้ของจีนอาจนำมาใช้ในอีกหลาย ๆ ที่หลาย […]

ผู้บริหารอมตะชี้ “สัญญาณบวก” ญี่ปุ่นรับ EEC

ผู้บริหารอมตะชี้ “สัญญาณบวก” ญี่ปุ่นรับ EEC

คัดลอกบางส่วนจากรายงานพิเศษของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจที่ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารอมตะ วิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการ และ ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน หรือ AMATA เปิดเผยว่าหลังพบปะพูดคุยกับทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาในงานเจรจาจับคู่ธุรกิจ เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทุนญี่ปุ่นส่งสัญญาณในมุมมองบวกต่อประเทศไทยขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2545 การเอาจริงของภาครัฐที่ต้องการให้ทุนญี่ปุ่นกลับเข้ามาลงทุนนั้น สะท้อนมาจาก การเดินหน้าจริงจังของภาครัฐในโครงการ EEC การยกเว้นภาษีโดยเฉพาะภาษีบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน อีกทั้งการแสดงให้เห็นความต่อเนื่องด้วยแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยรัฐให้คำมั่นว่า ไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาต้องเดินตามแผนพัฒนาฯ แก้ไขไม่ได้ เพราะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีประเทศที่เป็นคู่แข่งเกิดขึ้นมาก เช่น เวียดนาม อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ ทำให้มองข้ามไทยไป โดยเหตุผลที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ ได้แก่ ปัญหาการเมือง ค่าแรงถูกกว่า ทั้งนี้ลูกค้าของบริษัทเองก็มักพูดว่าถ้าประเทศไทยยังเป็นแบบนี้ก็จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น แต่รัฐบาลคสช. สามารถควบคุมสถานการณ์ในประเทศได้ และดึงการลงทุนด้วยอัตราภาษี โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีกลุ่มธูรกิจ EEC หากเป็นนิติบุคคลยกเว้น 15% […]