G20 เล็งเสนอมาตรการกำกับดูแล “คริปโทเคอเรนซี” ทั่วโลกในเดือน ต.ค.65

G20 เล็งเสนอมาตรการกำกับดูแล “คริปโทเคอเรนซี” ทั่วโลกในเดือน ต.ค.65

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ว่า คณะกรรมการกำกับดูแลเสถียรภาพการเงิน (FSB) ระบุว่า จะเสนอมาตรการกำกับดูแลสกุลเงินคริปโทเคอเรนซีที่รัดกุมให้ครอบคลุมทั่วโลกในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากที่ตลาดหลายแห่งประสบความผันผวนอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการกำกับดูแลภาคธุรกิจนี้จากการเก็งกำไร ที่ผ่านมานั้น FSB ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีอำนาจควบคุม เจ้าหน้าที่การคลัง และธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในกลุ่ม G20 ทำได้เพียงแค่ติดตามตรวจสอบธุรกิจคริปโทฯ โดยกล่าวว่า ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบ แต่ความวุ่นวายในตลาดคริปโทฯ ในช่วงที่ผ่านมานั้น ตอกย้ำถึงความผันผวน ความเปราะบางเชิงโครงสร้าง และการเชื่อมโยงกับระบบการเงิน FSB กล่าวในแถลงการณ์ “นอกเหนือจากการสร้างความเสี่ยงที่ทำให้นักลงทุนเสียหายอย่างมาก และกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดที่เกิดจากการก่อตัวของความเสี่ยงด้านจรรยาบรรณแล้ว ความล้มเหลวของผู้เล่นในตลาดยังอาจสร้างความเสี่ยงที่กระทบต่อสวนอื่นๆ ของระบบสินทรัพย์สกุลเงินคริปโทฯ ได้อย่างรวดเร็ว” ทั้งนี้ มูลค่าของบิทคอยน์ (bitcoin) ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุด ร่วงลง 70% ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ 69,000 ดอลลาร์ และซื้อขายที่ 20,422 ดอลลาร์ในวันจันทร์ ส่งผลให้นักลงทุนจำนวนมากขาดทุน ขณะที่ TerraUSD […]

จีนสั่งปรับบิ๊กเทคฯ ฐานปกปิดข้อมูลธุรกรรม รวมอาลีบาบา-เทนเซ็นต์

จีนสั่งปรับบิ๊กเทคฯ ฐานปกปิดข้อมูลธุรกรรม รวมอาลีบาบา-เทนเซ็นต์

จีนสั่งปรับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่ง รวมถึงบริษัทอาลีบาบาและเทนเซ็นต์ โทษฐานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายต่อต้านการผูกขาดการค้าในการเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกรรม สำนักงานบริหารจัดการกฎระเบียบตลาดแห่งรัฐ (SAMR) ของจีน ได้เปิดเผยรายชื่อข้อตกลงทางธุรกิจ 28 รายการ ซึ่งละเมิดกฎหมายดังกล่าวในวันนี้ (10 ก.ค.) ในจำนวนนี้มี 5 รายการที่เกี่ยวข้องกับอาลีบาบา ซึ่งรวมถึงการซื้อหุ้นบริษัทในเครืออย่าง Youku Tudou ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิง เมื่อปี 2564 ด้านบริษัทเทนเซ็นต์พบการทำธุรกรรมที่ขัดต่อกฎหมายดังกล่าว 12 รายการ อย่างไรก็ดี บริษัทที่มีรายชื่อในบัญชีของ SAMR ยังไม่ออกมาแสดงความเห็นใด ๆ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของจีนเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่รัฐบาลจีนเข้ามากำกับดูแลการผูกขาดตลาดอย่างเข้มงวด ตั้งแต่ปลายปี 2563 ซึ่งตามกฎหมายต่อต้านการผูกขาดนั้น บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนอาจต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินสูงสุดถึง 500,000 หยวน (74,688 ดอลลาร์) ที่มา: รอยเตอร์

UNDP เตือน ‘วิกฤติค่าครองชีพ’ ทั่วโลก ผลักดันปชช. 71 ล้านคน เข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง

UNDP เตือน ‘วิกฤติค่าครองชีพ’ ทั่วโลก ผลักดันปชช. 71 ล้านคน เข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง

สำนักข่าว The Business Times รายงานเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 อ้างอิงรอยเตอร์ว่า โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ระบุในรายงานฉบับใหม่ว่า  วิกฤตค่าครองชีพทั่วโลกกำลังผลักดันให้ประชาชนอีก 71 ล้านคนในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกเข้าสู่ภาวะยากจนขั้นรุนแรง  Achim Steiner ผู้ดูแลระบบของ UNDP กล่าวว่า การวิเคราะห์ของประเทศกำลังพัฒนา 159 ประเทศ แสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญพุ่งสูงขึ้นในปีนี้ ได้กระทบพื้นที่บางส่วนของ Sub-Saharan Africa, Balkans, Asia และที่อื่นๆ UNDP เรียกร้องให้มีการดำเนินการที่เหมาะสม กำลังมองหาการแจกเงินสดโดยตรงให้กับกลุ่มที่เปราะบางที่สุด และต้องการให้ประเทศที่ร่ำรวยกว่าขยายและขยายโครงการ Debt Service Suspension Initiative (DSSI) ที่พวกเขาตั้งขึ้น เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด-19 “วิกฤติค่าครองชีพนี้กำลังทำให้ผู้คนหลายล้านต้องตกอยู่ในความยากจน และแม้กระทั่งความอดอยากด้วยความเร็วที่น่าทึ่ง ด้วยเหตุนี้ ภัยคุกคามจากความไม่สงบทางสังคมที่เพิ่มขึ้นจึงเพิ่มขึ้นทุกวัน” สถาบันต่างๆ เช่น สหประชาชาติ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ […]

วิกฤตค่าครองชีพ ‘อังกฤษ’ ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ หนี้เสียท่วม

วิกฤตค่าครองชีพ ‘อังกฤษ’ ‘ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง’ หนี้เสียท่วม

จากภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งทำลายสถิติในหลายประเทศ ส่งผลให้เกิด “วิกฤตค่าครองชีพ” ที่ผู้บริโภคต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น สินเชื่อรายย่อยจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภค แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนก็สร้างความเสี่ยงที่ผู้กู้ยืมจะไม่สามารถชำระหนี้ได้ และอาจกลายเป็นปัญหา “หนี้เสีย” อัตราเงินเฟ้ออังกฤษเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา พุ่ง 9.1% แตะระดับสูงสุดรอบ 40 ปี โดยสิ่งที่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก มาจากราคาพลังงาน  ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซ ค่าเชื้อเพลิงควบคู่กับการขนส่ง รวมถึงราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง กดดันให้วิกฤตค่าครองชีพรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดว่า ดัชนีเงินเฟ้อของประเทศมีโอกาสจะพุ่งสูงกว่า 11% ในเดือน ต.ค.นี้ เงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกดดันให้ธนาคารกลางอังกฤษ ประกาศขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ติดต่อกันเมื่อปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ระดับ 1.25% สูงสุดในรอบ 13 ปี โดยผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติแห่งสหราชอาณาจักร (ยูเค) ระบุว่า ชาวอังกฤษราว 68% ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และ 52% ระบุว่า […]

จีนเจอโควิดอีก สั่งล็อกดาวน์บางพื้นที่

จีนเจอโควิดอีก สั่งล็อกดาวน์บางพื้นที่

 รัฐบาลท้องถิ่นในมณฑลทางตะวันออกของประเทศจีน ต้องประกาศมาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวดอีกครั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ภายใต้นโยบาย “โควิดเป็นศูนย์” ของรัฐบาล หลังจากพบผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ การประกาศมาตรการดังกล่าวมีขึ้น หลังจากยอดผู้ติดเชื้อในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็น 380 ราย เทียบกับในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่พบผู้ติดเชื้อเพียงไม่กี่สิบรายเท่านั้น ล่าสุด ในมณฑลอันฮุย ที่พบผู้ติดเชื้อในพื้นที่มากที่สุดในรอบนี้ประกาศตรวจเชื้อโควิด-19 ประชากรทุกๆ 3 วัน และประกาศล็อกดาวน์ในบางเมือง ส่วนมณฑลฝูเจี้ยน ก็มีการสั่งตรวจเชื้อโควิด-19 ทั้งเมืองในบางเขตพื้นที่ด้วยเช่นกัน ที่มา: รอยเตอร์ส

เจพี มอร์แกนฯ คาดน้ำมันพุ่งรุนแรงถึง 380 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

เจพี มอร์แกนฯ คาดน้ำมันพุ่งรุนแรงถึง 380 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

เจพี มอร์แกนฯ คาดน้ำมันพุ่งรุนแรงถึง 380 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากรัสเซียลดกำลังผลิตน้ำมันดิบตอบโต้ชาติตะวันตก นักวิเคราะห์ เจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค เตือนราคาน้ำมันโลกอาจพุ่งสูงอย่างรุนแรงมากถึง  380 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลหากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และยุโรปทำให้รัสเซียตอบโต้ด้วยการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ  ล่าสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รัสเซียได้เข้าฮุบโครงการก๊าซและน้ำมันซัคคาลิน-2 แล้ว  กระทบเชลล์ มิตซุย และมิตซูบิชิ เนื่องจากถือหุ้นในโครงการนี้มาก กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ (จี7) กำลังจัดทำกลไกที่ซับซ้อน เพื่อจำกัดราคาน้ำมันของรัสเซีย เพื่อกดดันเครื่องจักรสงครามในยูเครนของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน  อย่างไรก็ดี บทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์ เจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค ซึ่งรวมถึง นาจาชา คาเนวา ระบุว่า เนื่องจากรัฐบาลมอสโกมีงบประมาณที่แข็งแกร่ง รัสเซียสามารถลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบได้ประมาณ 5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยไม่ได้สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากเกินไป อย่างไรก็ดี การลดกำลังการผลิตมากขนาดนั้น อาจเป็นหายนะอย่างใหญ่หลวงสำหรับชาติอื่นๆ โดยนักวิเคราะห์ เจพีฯ […]

เงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 23 ปี

เงินเฟ้อยูโรโซนพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 23 ปี

ภาวะเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน ที่ยูโรโซน เพิ่มขึ้นสูงสุด แตะที่ร้อยละ 8.6 สูงสุดในรอบ 23 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1999 สำนักงานสถิติยุโรป รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อประจำปีในยูโรโซน หรือกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดร้อยละ 8.6 เมื่อเดือนมิถุนายนแบบปีต่อปี และการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคา ผู้บริโภคใน 19 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรได้ทำให้ภาวะเงินเฟ้อพุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ที่ร้อยละ 8.1 ถือเป็นภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงสุด นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลเมื่อปี 1999 ขณะที่ราคาพลังงานพุ่งขึ้นร้อยละ 41.9 ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ที่ร้อยละ 39.1 เช่นเดียวกับราคาอาหาร เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 จากเดิมร้อยละ 7.5 ในเดือนพฤษภาคม โดยการที่ราคาอาหารและพลังงานพุ่งพรวด เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน นอกจากนี้ ในวันแรกของการประชุมนัดพิเศษของสภายุโรป เมื่อวันที่ 30 และ 31 พฤษภาคม […]

เศรษฐกิจจีนไม่ฟื้นกลับช่วง Q2 มาตรการคุมโควิดฉุดธุรกิจทุกประเภทชะลอตัว

เศรษฐกิจจีนไม่ฟื้นกลับช่วง Q2 มาตรการคุมโควิดฉุดธุรกิจทุกประเภทชะลอตัว

 ธุรกิจตั้งแต่ภาคบริการจนถึงภาคการผลิตของจีน ชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก สะท้อนผลกระทบอันยืดเยื้อของมาตรการคุมโควิด  ขณะเดียวกันมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลยังไม่ส่งผลกระทบ รายงาน “ไชน่า เบจ บุ๊ก” ในสหรัฐฯ ซึ่งอ้างว่า ได้สัมภาษณ์นักธุรกิจในจีนมากกว่า 4,300 คนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน ชี้ว่า ในขณะที่มีการผ่อนคลายล็อกดาวน์เป็นส่วนใหญ่ในเดือนพฤษภาคม แต่ข้อมูลในเดือน มิถุนายน ไม่ได้ชี้ว่า เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวกลับมาเหมือนที่มีการคาดการณ์เป็นส่วนใหญ่ และยังมีสัญญาณใหม่เพียงเล็กน้อยว่า มาตรการกระตุ้นของรัฐบาลจะมีผลกระทบมาก นครเซี่ยงไฮ้ ได้ล็อกดาวน์ในเดือนเมษายน และพฤษภาคม รวมถึงกรุงปักกิ่งและส่วนอื่นๆ ของประเทศยังได้คุมโควิดในระดับหนึ่งเช่นกัน  ในปลายเดือนพฤษภาคม  นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ได้เรียกร้องผ่านการประชุมวิดีโอคอลครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยให้เจ้าหน้าที่ทำงานหนัก เพื่อให้มีการเติบโตในช่วงไตรมาส 2 และลดการว่างงาน อย่างไรก็ดี รายงานของ ไชน่า เบจ บุ๊ก ชี้ว่า ในระหว่างไตรมาส 1 และไตรมาส 2 การจ้างงานลดลงในภาคผลิตทั้งหมด ยกเว้นการแปรรูปอาหาร […]

‘เยนอ่อน’ กดดันธุรกิจญี่ปุ่น เปิดช่องต่างชาติเข้าซื้อกิจการ

‘เยนอ่อน’ กดดันธุรกิจญี่ปุ่น เปิดช่องต่างชาติเข้าซื้อกิจการ

การอ่อนค่าของ “เงินเยน” ที่ร่วงลงต่ำสุดที่ 136.455 เยน/ ดอลลาร์สหรัฐ แตะระดับต่ำสุดในรอบ 24 ปี ทำให้นักท่องเที่ยวที่หลงรักญี่ปุ่นต่างแห่กันเข้าเก็บสะสม แต่เงินเยนที่อ่อนค่าก็กดดันผู้ประกอบการและชาวญี่ปุ่นจากผลกระทบจากต้นทุนพลังงานและสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น รอยเตอร์ส รายงานว่า เงินเยนของญี่ปุ่นยังคงแกว่งค่าอยู่ในระดับต่ำ หลังจากที่ร่วงลงต่ำสุดที่ 136.455 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (ultra-loose monetary policy) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ที่ยังคงมุ่งมั่นรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำที่ต้องการให้เกิดการขยายตัวของค่าแรงอย่างแข็งแกร่ง เพื่อบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อ 2% ซึ่งเป็นแนวทางส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น แม้ว่าการอ่อนค่าอย่างรุนแรงของเงินเยน อาจส่งผลให้บริษัทต่างๆ ของญี่ปุ่นประสบความยากลำบากในการวางแผนทางธุรกิจ แต่บีโอเจ มองว่า นโยบายการเงินในปัจจุบันมีความเหมาะสมต่อการกระตุ้นการเติบโตของค่าแรง ซึ่งจะช่วยให้การบริโภคภายในประเทศขยายตัว และเป็นปัจจัยที่หนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม การสำรวจของ “โตเกียว โชโกะ รีเสิร์ช” ผู้ให้บริการข้อมูลธุรกิจญี่ปุ่น เปิดเผยว่า บริษัทญี่ปุ่นถึง 46.7% จากบริษัทที่ร่วมให้ข้อมูลทั้งหมด 2,649 […]

รัสเซียผิดนัดชำระหนี้ต่างชาติครั้งแรกในรอบ 104 ปี

รัสเซียผิดนัดชำระหนี้ต่างชาติครั้งแรกในรอบ 104 ปี

รัสเซียผิดนัดชำระพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินต่างชาติเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี  พ.ศ.2461 หลังจากไม่สามารถชำระหนี้ได้ภายในเส้นตายวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา  อย่างไรก็ดี รมต.คลัง รัสเซีย ปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นการผิดนัดชำระหนี้อย่างแท้จริง เพราะรัสเซียมีเงินและต้องการชำระ แต่ชาติตะวันตกออกมาตรการด่วนที่ยับยั้งการชำระเงิน ระบุสถานการณ์ทั้งหมดเป็น “เรื่องตลก” รัสเซียมีเงินที่จะชำระหนี้ 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเต็มใจที่จะชำระ แต่มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกทำให้เป็นไปไม่ได้ที่รัสเซียจะชำระเงินแก่เจ้าหนี้ระหว่างประเทศ การชำระดอกเบี้ย 100 ล้านดอลลาร์ได้ครบกำหนดชำระเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมและรัสเซียกล่าวว่า ได้ส่งเงินให้กับ “ยูโรเคลียร์” ซึ่งเป็นธนาคารที่จะกระจายการชำระเงินให้แก่นักลงทุนแล้ว อย่างไรก็ดี จากรายงานของบลูมเบิร์ก การชำระเงินดังกล่าวได้เกิดการติดขัดและเจ้าหนี้หลายคนไม่ได้รับเงิน ในขณะเดียวกัน จากการรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ผู้ถือพันธบัตรรัสเซียสกุลเงินยูโรที่เป็นชาวไต้หวัน ไม่ได้รับการชำระดอกเบี้ย เงินที่ไม่ได้ถึงมือเจ้าหนี้ภายใน 30 วันหลังจากที่ครบกำหนด ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้ และยูโรเคลียร์ไม่ได้บอกว่ามีการขัดขวางการชำระเงินหรือไม่ แต่กล่าวว่า ทำตามมาตรการคว่ำบาตรทั้งหมด รัสเซียผิดนัดชำระหนี้ต่างชาติครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2461 ในช่วงที่มีการปฏิวัติบอลเชวิคเมื่อวลาดิมีร์ เลนิน ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์คนใหม่ ไม่ยอมชำระหนี้ของราชอาณาจักรรัสเซีย ส่วนการผิดนัดชำระหนี้ทุกประเภทครั้งสุดท้ายของรัสเซียเกิดขึ้นเมื่อปี […]