‘โกลด์แมน แซคส์’ ยกเลิกคาดการณ์เฟดเริ่มหั่นดอกเบี้ยเดือนพ.ค.
นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ ยกเลิกคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. เนื่องจากถ้อยแถลงของเหล่าผู้กำหนดนโยบายต่างชี้ว่าพวกเขายังไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้น หลังสำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ สมาชิกสภาผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวเมื่อวานนี้ (22 ก.พ.) ว่า เขาต้องการเห็นหลักฐานมากกว่านี้ว่า เงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลงแล้ว เขาจึงจะเต็มใจสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง โดยระบุว่า “ผมอยากรอดูข้อมูลเงินเฟ้ออีกอย่างน้อยสองเดือนก่อนจะตัดสินใจได้ว่า ข้อมูลเงินเฟ้อเดือนม.ค.นั้นเป็นเพียงปัญหาเล็กน้อยหรือเป็นปัญหาใหญ่กันแน่” ทั้งนี้ นายวอลเลอร์เป็นกรรมการถาวรของเฟดที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงใน FOMC นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ ระบุว่า “เนื่องจากเพิ่งมีข้อมูลอัตราเงินเฟ้อเพียง 2 เดือนเท่านั้นและมีเวลาอีกเพียง 2 เดือนเศษกว่าจะถึงการประชุมเฟดในเดือนพ.ค. ถ้อยแถลงของเขาทำให้เรายกเลิกคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือนพ.ค. ซึ่งเราคาดไว้ก่อนหน้านี้” ทำให้ตอนนี้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นพิเศษในปีหน้าแทน ที่มา: รอยเตอร์
ความมั่งคั่งในเวียดนามโตกระฉูด นักวิเคราะห์คาดคนญวนรวยขึ้น 125% ในอีกทศวรรษ
New World Wealth และ Henley & Partners รายงานว่า อัตราการเติบโตด้านความมั่งคั่งเวียดนามเตรียมพุ่งสูงขึ้นในทศวรรษหน้า หลังจากสามารถปักธงประเทศให้กลายเป็นจุดศูนย์กลางด้านการผลิตระดับโลก Andrew Amoils นักวิเคราะห์จาก New World Wealth ให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นบีซี โดยคาดการณ์ว่า เวียดนามจะมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 125% ภายใน 10 ปีนี้ โดยนับเป็นการเติบโตด้านความมั่งคั่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบ GDP ต่อประชากร และจำนวนของมหาเศรษฐีในประเทศ Andrew กล่าวว่า เวียดนามเป็นที่นิยมในการเป็นที่ตั้งฐานการผลิตด้านเทคโนโลยี รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า และสิ่งทอ โดยประเทศที่ตามมาติดๆ คือ อินเดีย ซึ่งกำลังจะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลกภายในปี 2570 และมีคาดการณ์ของอัตราการเติบโตด้านความมั่งคั่งอยู่ที่ 110% ประเทศเวียดนามมีประชากรระดับเศรษฐีจำนวนกว่า 19,400 คน และมีมหาเศรษฐีกว่า 58 คน โดยเป็นประเทศที่ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้บริษัทต่างๆ […]
แบงก์จีนปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ 1.7 หมื่นล้านดอลล์ ภายใต้โครงการ ‘ไวท์ลิสต์’
กระทรวงการเคหะและการพัฒนาเมืองและชนบทของจีน เปิดเผยว่า ธนาคารจีนได้อนุมัติสินเชื่อเพื่อการพัฒนาจำนวน 1.236 แสนล้านหยวน (1.720 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเบิกจ่ายแล้ว 2.94 หมื่นล้านหยวน ภายใต้กลไกไวท์ลิสต์ (white list) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต กลไกนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในความพยายามของรัฐบาล เพื่อรักษาเสถียรภาพวิกฤตหนี้ของภาคอสังหาริมทรัพย์ และเพิ่มความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมนี้ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 4 ของ GDP จีน สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า กลไกไวท์ลิสต์ได้เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 26 ม.ค. โดยรัฐบาลของเมืองต่างๆ จะเสนอโครงการที่อยู่อาศัยแก่ธนาคารที่เห็นว่าเหมาะสมสำหรับการให้เงินทุนสนับสนุน และประสานงานกับสถาบันการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของโครงการ แถลงการณ์ของกระทรวงฯ ระบุว่า จนถึงขณะนี้ เมืองต่างๆ 214 เมืองทั่วประเทศได้จัดตั้งกลไกดังกล่าวแล้ว และได้นำเสนอโครงการแก่ธนาคารมากกว่า 5,300 โครงการ นอกจากนี้ กระทรวงฯ เสริมว่า ธนาคารที่ปฏิเสธการมอบสินเชื่อแก่โครงการไวท์ลิสต์จำเป็นต้องชี้แจงเหตุผลการตัดสินใจต่อหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงิน ดัชนีหุ้นกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีนในตลาดหุ้นฮ่องกง (HSMPI) เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเที่ยงวันของวันนี้ (21 […]
แบงก์ชาติเยอรมนีชี้เศรษฐกิจประเทศเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอย เหตุอุปสงค์ต่างชาติอ่อนแอ-ดอกเบี้ยสูง
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ธนาคารกลางเยอรมนี (Bundesbank) กล่าวในรายงานประจำเดือนก.พ.ว่า เศรษฐกิจของเยอรมนี ซึ่งถือเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของทวีปยุโรป มีแนวโน้มเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ เนื่องจากอุปสงค์ภายนอกประเทศที่อ่อนแอ ขณะที่ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย และการลงทุนในประเทศที่ถูกจำกัด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง รายงานระบุว่า เยอรมนีพยายามอย่างหนักในการฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจ นับตั้งแต่เกิดเหตุรัสเซียบุกยูเครนเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันเศรษฐกิจของเยอรมนียังเติบโตเป็นศูนย์หรือติดลบ เป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยูโรโซนทั้งหมด Bundesbank ระบุว่า “เศรษฐกิจเยอรมนียังไม่ฟื้นตัว และผลผลิตจะลดลงอีกเล็กน้อยในไตรมาส 1/2567 ซึ่งหากผลผลิตทางเศรษฐกิจลดลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน จะทำให้เศรษฐกิจเยอรมนีประสบภาวะถดถอยทางเทคนิค” ผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ก่อให้เกิดคำถามถึงความยั่งยืนเกี่ยวกับแบบจำลองเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยนักวิจารณ์ชี้ว่า อุตสาหกรรมหนักที่พึ่งพาพลังงานส่วนใหญ่กำหนดราคาที่สูงเกินไปในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเยอรมนี ได้เร่งออกมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตสดใสอีกครั้ง โดยระบุว่านี่เป็นเพียงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากต้นทุนด้านพลังงานที่เพิ่มสูง อุปสงค์ของจีนซึ่งเป็นชาติคู่ค้าสำคัญที่อ่อนแอ และอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงชั่วคราวเท่านั้น บริษัทจำนวนมากต่างสั่งระงับการลงทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้นทุนการกู้ยืมที่เพิ่มสูงขึ้น นับตั้งแต่ธนาคารกลางยุโรปปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ ขณะที่การเติบโตของค่าจ้างที่สูง ยังส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ และการนัดหยุดงานในภาคส่วนสำคัญๆ […]
จีนอัดฉีดสภาพคล่อง 5 แสนล้านหยวน แต่ยังเดินหน้าคงดอกเบี้ย
ไร้สัญญาณลดดอกเบี้ยกระตุ้นเศรษฐกิจ แบงก์ชาติจีนคงดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลางที่ 2.5% แต่ใช้วิธีอัดฉีดสภาพคล่องแทนอีก 5 แสนล้านหยวน คาดพยุงค่าเงินหยวนไม่ให้ผันผวนเกินไป ขณะที่นักวิเคราะห์ยังตั้งความหวังลดดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี LPR ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบรอบใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 ก.พ. อีก 5 แสนล้านหยวน (ราว 2.5 ล้านล้านบาท) โดยดำเนินการผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ดอกเบี้ย 2.5% และข้อตกลง reverse repo ซึ่งนับเป็นการอัดฉีดสภาพคล่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 แล้ว อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ (19 ก.พ.) ธนาคารกลางจีนได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลางที่ระดับ 2.5% เท่าเดิม แม้ว่าจะมีแรงกดดันและคาดการณ์มาหลายสัปดาห์จากบรรดานักวิเคราะห์ว่า จีนอาจจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้นโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มากกว่านี้ จางเว่ยเหลียง นักกลยุทธ์ด้านสินเชื่อและอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารดีบีเอส กล่าวกับรอยเตอร์สว่า การคงอัตราดอกเบี้ย MLF เป็นเพราะแบงก์ชาติจีนต้องการพยุงค่าเงินหยวนและจำกัดส่วนต่างกับค่าเงินดอลลาร์ไม่ให้มากเกินไป ทั้งนี้ ดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง MLF เป็นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องจ่ายเมื่อมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางจีน […]
จับตา ‘พาวเวล’ แถลงนโยบายการเงินครั้งแรกของปีนี้ต่อสภาคองเกรสสหรัฐฯ ต้นเดือนมี.ค.
นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะแถลงนโยบายการเงินซึ่งมีขึ้นปีละ 2 ครั้งต่อคณะกรรมาธิการด้านการธนาคารแห่งวุฒิสภาสหรัฐฯ ในวันที่ 7 มี.ค. เมื่อพิจารณาจากธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้ว่า นายพาวเวลจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการด้านบริการการเงินแห่งสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ก่อนหน้านั้นอย่างน้อย 1 วัน อย่างไรก็ดี โฆษกของคณะกรรมาธิการด้านบริการการเงินแห่งสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ยืนยันกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า จะเป็นวันใด ขณะที่ เว็บไซต์ข่าว Punchbowl รายงานว่า นายพาวเวลจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการชุดดังกล่าวในวันที่ 6 มี.ค. ทั้งนี้ นักลงทุนจับตาการแถลงต่อสภาคองเกรสของนายพาวเวลอย่างใกล้ชิด โดยคาดว่า การแถลงครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่เฟดจะจัดการประชุมนโยบายการเงินในช่วงกลางเดือนมี.ค. โดยที่ประชุมจะประเมินความคืบหน้าของภารกิจในการต่อสู้กับเงินเฟ้อ และมีความเป็นไปได้ว่า คณะกรรมการเฟดจะส่งสัญญาณว่า จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเมื่อใด ที่มา: รอยเตอร์
เศรษฐกิจญี่ปุ่นถดถอย เยอรมนีแย่งตำแหน่งเบอร์ 3 โลก
เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเหนือความคาดหมาย หลังจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศอ่อนแอลง ยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนให้กับธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่มีแผนจะยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษในปีนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเรื่องที่รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า GDP ไตรมาส 4/2566 ของญี่ปุ่น หดตัวลง 0.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าอาจขยายตัว 1.4% หลังจากที่หดตัวลง 3.3% ในไตรมาส 3/2566 การที่ตัวเลข GDP หดตัวลงติดต่อกัน 2 ไตรมาสได้ถูกนิยามว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค และภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดไม่มั่นใจในสิ่งที่ BOJ คาดการณ์ไว้ว่าค่าจ้างที่ปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นปัจจัยหนุนการอุปโภคบริโภคของญี่ปุ่น และยังทำให้ตลาดไม่มั่นใจด้วยว่า BOJ จะสามารถยุติการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษได้หรือไม่ รายงานของรัฐบาลญี่ปุ่น ยังระบุด้วยว่า การอุปโภคบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้น ปรับตัวลง 0.2% สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าอาจเพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนการใช้จ่ายประเภททุน (Capex) ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของภาคเอกชนนั้น […]
ผลวิจัยชี้ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกพุ่ง 69% ในเดือนม.ค.
โร โมชัน (Rho Motion) บริษัทวิจัยตลาดของอังกฤษ เปิดเผยข้อมูลในวันนี้ (14 ก.พ.) ว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 69% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่ลดลง 26% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน เนื่องจากยอดขายในเยอรมนีและฝรั่งเศสลดลง เพราะรัฐตัดเงินอุดหนุนหรือกำหนดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้น ขณะที่ ยอดขายในจีนลดลงก่อนเทศกาลตรุษจีน ข้อมูล ระบุว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) แตะที่ระดับ 1.1 ล้านคันในเดือนม.ค. 2567 เพิ่มขึ้นจาก 660,000 คันในเดือนม.ค. 2566 นายชาร์ลส์ เลสเตอร์ ผู้จัดการฝ่ายข้อมูลของโร โมชัน เปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในเยอรมนีและฝรั่งเศสลดลงประมาณ 50% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. เนื่องจากเยอรมนีตัดเงินอุดหนุน และฝรั่งเศสออกกฎการให้เงินอุดหนุนที่เข้มงวดกว่าเดิม อย่างไรก็ดี มาตรการใหม่ของสหภาพยุโรป (EU) […]
ตลาดหุ้นอินเดียมาแรง MSCI เพิ่มน้ำหนักใน Global Standard Index สูงเป็นประวัติการณ์
MSCI ซึ่งเป็นผู้จัดทำดัชนีตลาดหุ้นระดับโลก ปรับเพิ่มน้ำหนักตลาดหุ้นอินเดียในดัชนี MSCI Global Standard Index (ตลาดหุ้นเกิดใหม่) เป็น 18.2% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังเสร็จสิ้นการทบทวนประจำเดือนก.พ. โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ หลังจากตลาดปิดทำการซื้อขายในวันที่ 29 ก.พ. สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า การปรับเพิ่มน้ำหนักของตลาดหุ้นอินเดียในครั้งนี้ คิดเป็นเกือบ 2 เท่า นับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 และทำให้ตลาดหุ้นอินเดียมีน้ำหนักในดัชนี MSCI Global Standard Index มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากจีน นักวิเคราะห์จากบริษัทนูวามา อัลเทอร์เนทีฟ แอนด์ ควอนทิเททีฟ รีเสิร์ช คาดการณ์ว่า เม็ดเงินจากนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนต่างชาติที่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นอินเดียอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้น้ำหนักของตลาดหุ้นอินเดียในดัชนี MSCI Global Standard Index พุ่งขึ้นทะลุระดับ 20% ภายในช่วงต้นปี 2567 ในรายงานทบทวนประจำเดือนก.พ.นั้น MSCI […]
IMF ชี้เศรษฐกิจตะวันออกกลางปีนี้ เหลือโต 2.9% จากความขัดแย้งภูมิภาค-ลดผลิตน้ำมัน
สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานวานนี้ (11 ก.พ.) ว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยว่า เศรษฐกิจของภูมิภาคตะวันออกกลางมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าคาดการณ์ สวนทางคาดการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง เนื่องจากการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันและสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา “แม้เศรษฐกิจโลกจะมีความผันผวน แต่ยังคงฟื้นตัวเหนือความคาดหมาย” นางคริสตาลินา จอร์เจียวา (Kristalina Georgieva) กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวในเวทีเสวนา Arab Fiscal Forum ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประชุม World Governments Summit ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเตือนว่า สถานการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อในฉนวนกาซา อาจส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจในภูมิภาค ทั้งนี้ ในรายงานเศรษฐกิจของภูมิภาคเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา IMF ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA) ในปีนี้ ลงมาอยู่ที่ 2.9% จากคาดการณ์ที่ระดับ 3.4% ในเดือนต.ค. 2566 ส่วนหนึ่งมาจากการลดปริมาณการผลิตน้ำมันในระยะสั้นและความขัดแย้งในฉนวนกาซา นางคริสตาลินา ยังระบุว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีชายแดนติดกับอิสราเอลและปาเลสไตน์ ซึ่งเห็นได้จากรายได้ในภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง รวมถึงต้นทุนการขนส่งสินค้าทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นจากการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในทะเลแดงโดยกลุ่มฮูตี […]