ฝรั่งเศสขาดดุลงบประมาณเกินเป้าในปี 2566 เหตุศก.โตอ่อนแอเกินคาด

ฝรั่งเศสขาดดุลงบประมาณเกินเป้าในปี 2566 เหตุศก.โตอ่อนแอเกินคาด

ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยในวันนี้ (26 มี.ค.) ว่า ฝรั่งเศสประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณภาครัฐเพิ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้วมากกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ ซึ่งสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลในการพยายามรักษาแผนลดการขาดดุลให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (INSEE) ระบุว่า งบประมาณภาครัฐประจำปี 2566 แสดงให้เห็นว่าการขาดดุลทางการคลังอยู่ที่ 5.5% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจ สูงขึ้นจากระดับ 4.8% ในปี 2565 และมากกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 4.9% อย่างมีนัยสำคัญ นายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฝรั่งเศส กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ส่งผลให้รายได้จากภาษีลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเตือนล่วงหน้าแล้วว่า การขาดดุลจะเป็นไปในทิศทางที่แย่กว่าที่คาดไว้ แต่ก็ยังคงเป็นข่าวร้ายอยู่ดี เพราะนี่หมายความว่า ฝรั่งเศสจะต้องหาทางประหยัดงบประมาณเพิ่มเติมในปีนี้ เพื่อให้สามารถรักษาเป้าหมายการขาดดุลที่ 4.1% ในปี 2567 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศแผนการตัดงบประมาณเพิ่มเติมอีก 1 หมื่นล้านยูโร (1.09 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) แล้วในปีนี้ และระบุว่า อาจจะต้องมีการออกกฎหมายในช่วงกลางปีเพื่อหาทางประหยัดงบประมาณเพิ่มเติม “ผมเรียกร้องให้เราทุกคนตื่นตัวและร่วมกันตัดสินใจในการใช้จ่ายภาครัฐทั้งหมด” นายเลอ แมร์ […]

นักวิเคราะห์ชี้ เจอโรม พาวเวล ส่งสัญญาณพร้อมหนุนตลาดแรงงาน แม้ส่งผลเงินเฟ้อยืดเยื้อสักระยะ

นักวิเคราะห์ชี้ เจอโรม พาวเวล ส่งสัญญาณพร้อมหนุนตลาดแรงงาน แม้ส่งผลเงินเฟ้อยืดเยื้อสักระยะ

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งสูงในปี 2565 ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ได้ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันไม่ให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างจนส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าพุ่งสูงมากเกินไป จนถึงปัจจุบัน พบว่า อัตราว่างงานยังคงเพิ่มขึ้น แต่เฟดก็ได้เริ่มส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อลดความเสี่ยงจากการปลดคนงานออกมากจนเกินไป แม้จะนำไปสู่การเกิดอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเล็กน้อยไปอีกสักระยะก็ตาม นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวในช่วงแถลงข่าวหลังการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันพุธที่แล้ว โดยประกาศว่า อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นเกิดคาดของสหรัฐฯ อาจกระตุ้นให้เฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย และย้ำถึงประเด็นนี้หลายครั้งในการตอบคำถามสื่อมวลชน ประธานเฟด กล่าวหลังการประชุมนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า “แม้เฟดจะต้องการรอให้แน่ใจว่า การต่อสู้กับเงินเฟ้อประสบความสำเร็จก่อนที่จะลดอัตราดอกเบี้ย แต่หากมีสัญญาณความอ่อนแอเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดในตลาดแรงงานก็อาจเป็นเหตุผลให้เฟดใช้มาตรการตอบสนองทางนโยบายได้เช่นกัน” นายเจอโรม กล่าวว่า เขายังไม่เห็นสัญญาณความเปราะบางใดๆ ในตลาดแรงงานขณะนี้ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนกลับลดมุมมองบวกลง โดยชี้ให้เห็นว่า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหลายรัฐ รวมไปถึงการลดจำนวนพนักงานชั่วคราวและชั่วโมงการทำงานลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี นายเจอโรมและคณะกรรมการ FOMC ยังคงเฝ้าจับตาตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งอาจอ่อนแอลงได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากในอดีตนั้น เมื่ออัตราการว่างงานเริ่มสูงขึ้น ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะบริษัทต่างๆ พากันประกาศปรับลดพนักงานตามๆ กัน ท่าทีของนายเจอโรมดูเหมือนจะพยายามเร่งกระบวนการลดอัตราดอกเบี้ยให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยยังคงยืนหยัดถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย […]

BOJ อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกภายในต.ค.ปีนี้ คาดเยนอ่อนยวบเป็นปัจจัยเร่ง

BOJ อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกภายในต.ค.ปีนี้ คาดเยนอ่อนยวบเป็นปัจจัยเร่ง

นักเศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนต.ค.ปีนี้ และอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ BOJ ดำเนินการดังกล่าว หลังจาก BOJ ได้ตัดสินใจครั้งสำคัญด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 มี.ค.) นักวิเคราะห์ 70% ของจำนวน 47 คนที่ได้รับการสำรวจโดยบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนต.ค. ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า นักเศรษฐศาสตร์ตระหนักถึงความเสี่ยงที่นายคาซูโอะ อุเอดะ และกรรมการคนอื่นๆ ของ BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ แม้ว่า BOJ ได้ส่งสัญญาณว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทั้งนี้ หลังจากการประชุมวันดังกล่าว เงินเยนอ่อนค่าลงกว่า 1% เนื่องจากนักลงทุนตีความถ้อยแถลงของนายอุเอดะว่า BOJ จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป และที่ประชุม BOJ […]

วิจัยชี้ประเทศส่วนใหญ่มีเด็กเกิดใหม่ต่ำเกินไป อาจเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน

วิจัยชี้ประเทศส่วนใหญ่มีเด็กเกิดใหม่ต่ำเกินไป อาจเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เดอะแลนเซต (The Lancet) เมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) เปิดเผยว่า อัตราการเจริญพันธุ์ในเกือบทุกประเทศนั้นจะต่ำเกินกว่าจะสามารถรักษาระดับจำนวนประชากรภายในช่วงสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้ นายสไตน์ เอมิล โวลล์เซ็ต นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (IHME) แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเมืองซีแอตเทิลระบุว่า แนวโน้มดังกล่าวจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำของอัตราการเกิดทั่วโลก โดยประเทศรายได้ต่ำ ซึ่งมีแนวโน้มเผชิญความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและทางการเมืองนั้น จะเผชิญภาวะ “เบบี้บูม” คือ มีเด็กเกิดใหม่จำนวนมาก ข้อมูลระบุว่า อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลก (จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยต่อผู้หญิง 1 คน) ลดลงจากประมาณเด็ก 5 คนในปี 2493 มาเป็น 2.2 คนในปี 2564 ในปี 2564 จำนวนประเทศและดินแดนต่าง ๆ ที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทนประชากรที่เด็ก 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คนนั้น มีจำนวนถึง 110 แห่ง คิดเป็น 54% ของทั้งโลก สำนักข่าวรอยเตอร์ […]

แบงก์ชาติอินโดนีเซียตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6% หวังพยุงค่าเงินรูเปียห์

แบงก์ชาติอินโดนีเซียตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6% หวังพยุงค่าเงินรูเปียห์

ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase rate) ระยะเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ระดับ 6% ในวันนี้ (20 มี.ค.) ตามการคาดการณ์ หลังค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียเผชิญแรงกดดันตลอดหลายวันที่ผ่านมา ในขณะที่ตลาดต่าง ๆ ตอบสนองต่อการทบทวนนโยบายการเงินในประเทศเศรษฐกิจสำคัญต่าง ๆ ทั้งนี้ มติตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 6% ของธนาคารกลางอินโดนีเซียนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 31 รายในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิม นายเพอร์รี วาร์จิโย ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย ระบุว่า การตัดสินใจครั้งล่าสุดนี้สอดคล้องกับความพยายามในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์และการควบคุมเงินเฟ้อ เงินรูเปียห์อ่อนค่าลงประมาณ 1% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเมื่อวันจันทร์เงินรูเปียห์อ่อนค่าครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนม.ค. ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะจัดประชุมนโยบายการเงิน แต่ค่าเงินรูเปียห์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปหลังธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซียสำหรับปี 2567 ที่กรอบ 4.7%-5.5% ที่มา: รอยเตอร์

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2550 พร้อมกับประกาศยกเลิกนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งถือเป็นการยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ดำเนินการมาเป็นเวลานานและเป็นประเทศสุดท้ายของโลก หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าค่าจ้างของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นในปีนี้ สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า คณะกรรมการ BOJ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1% นอกจากนี้ BOJ ได้ประกาศยุตินโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยที่ผ่านมา BOJ ได้ใช้นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวผ่านการซื้อและขายพันธบัตรดังกล่าว แถลงการณ์ของ BOJ ยังระบุด้วยว่า BOJ จะยุติการซื้อกองทุน ETF และ J-REITS ซึ่งเป็นกองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น และจะค่อยๆ ปรับลดการซื้อตราสารหนี้เอกชน โดยวางแผนว่าจะยุติการซื้อตราสารหนี้เอกชนภายในระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ดี BOJ จะยังคงเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลญี่ปุ่นในวงเงินเท่ากับในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า […]

ตัวเลขเศรษฐกิจ ‘จีน’ สดใสขึ้น ค้าปลีก-การผลิต-ลงทุน ดีขึ้นกว่าที่คาด

ตัวเลขเศรษฐกิจ ‘จีน’ สดใสขึ้น ค้าปลีก-การผลิต-ลงทุน ดีขึ้นกว่าที่คาด

จีนเผยข่าวดี ตัวเลขการผลิตอุตสาหกรรม-ค้าปลีก-ลงทุนสินทรัพย์ถาวร ในเดือนม.ค.-ก.พ. สูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ (18 มี.ค.) ว่า ยอดค้าปลีกในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. 2567 ปรับตัวขึ้น 5.5% ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.2% ขณะที่ยอดค้าปลีกทางออนไลน์พุ่งขึ้น 14.4% ในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ขณะเดียวกัน การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ปรับตัวขึ้น 7% ซึ่งแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5% ส่วนยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ปรับตัวขึ้น 4.2% ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.2% สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดนี้ถือเป็นหลักฐานล่าสุดที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลจีนประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในวันนี้ ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่พิสูจน์ว่า รัฐบาลจีนจะสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ประมาณ 5% ในปีนี้ได้หรือไม่ ## ยอดลงทุนอสังหาฯ ลดลงในอัตราชะลอตัว สำนักงานสถิติฯ ยังเปิดเผยข้อมูลยอดการลงทุนและยอดขายอสังหาริมทรัพย์เดือน ม.ค.-ก.พ. “ปรับตัวลงในอัตราที่ชะลอตัวลง” โดยได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลจีนพยายามยับยั้งภาวะขาลงเรื้อรังในภาคดังกล่าว การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนลดลง […]

ถึงคราว ‘เยอรมนี’ เผชิญวิกฤติอสังหาฯ Vonovia ประกาศขาดทุนครั้งใหญ่ 7.36 พันล้านดอลล์

ถึงคราว ‘เยอรมนี’ เผชิญวิกฤติอสังหาฯ Vonovia ประกาศขาดทุนครั้งใหญ่ 7.36 พันล้านดอลล์

วันที่ 15 มีนาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หุ้น Vonovia บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของเยอรมัน ลดลง 6% ในการซื้อขายวันที่ 15 มี.ค.2567 หลังรายงานการขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในปี 2566 ซึ่งเป็นสัญญาณล่าสุดของความตึงเครียดในภาคอสังหาริมทรัพย์ Vonovia กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เผชิญภาวะขาดทุน 6.76 พันล้านยูโร หรือราว 7.36 พันล้านดอลลาร์ นั้นมากกว่า 10 เท่าของการขาดทุน 669.4 ล้านยูโรในปี 2565 การขาดทุนเกิดขึ้นเมื่อ Vonovia ลดมูลค่าอพาร์ทเมนท์มากกว่า 500,000 ห้อง ลง 1.07 หมื่นล้านยูโร หรือ 11.4% ส่งผลให้มูลค่าพอร์ตโฟลิโอของบริษัทลดลงเหลือ 8.4 หมื่นล้านยูโร รอล์ฟ บุค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Vonovia กล่าวว่า “การล่มสลายของการประเมินมูลค่าถือเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่เราเคยเห็นมา” […]

ราคาน้ำมันโลกพุ่งเกือบ 3% รับสต็อกน้ำมันดิบลด-ยูเครนถล่มโรงกลั่นน้ำมันรัสเซีย

ราคาน้ำมันโลกพุ่งเกือบ 3% รับสต็อกน้ำมันดิบลด-ยูเครนถล่มโรงกลั่นน้ำมันรัสเซีย

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งเกือบ 3% ในวันพุธ (13 มี.ค.) สุงสุดในรอบ 4 เดือน  หลังสหรัฐฯ เปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินลดลงเกินคาด นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกอาจชะลอตัวลงหลังยูเครนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 2.16 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 79.72 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 2.11 ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 84.03 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย.ปีที่แล้ว สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในกลุ่มพลังงาน อยู่ที่ 2.9% สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2566 หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ […]

วงในเผย ‘หลี่ เฉียง’ จ่อไม่ประชุมกับซีอีโอต่างชาติในงาน CDF ปลายเดือนมี.ค.นี้

วงในเผย ‘หลี่ เฉียง’ จ่อไม่ประชุมกับซีอีโอต่างชาติในงาน CDF ปลายเดือนมี.ค.นี้

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานในวันนี้ (12 มี.ค.) โดยอ้างแหล่งข่าวว่า นายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ไม่มีความตั้งใจที่จะประชุมกับซีอีโอต่างชาติในงาน China Development Forum (CDF) ช่วงปลายเดือนมี.ค.นี้ งาน CDF จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยรัฐบาลจีนตั้งแต่ปี 2543 ณ บ้านพักรับรองของรัฐเตี้ยวหยูไถ (Diaoyutai State Guesthouse) โดยถือเป็นเวทีระดับสูงที่ซีอีโอระดับโลกและผู้กำหนดนโยบายจีนจะได้พบปะและหารือเกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศ ผู้เข้าร่วมขาประจำ ได้แก่ นายทิม คุก ซีอีโอแอปเปิ้ล และนายเรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งบริดจ์วอเตอร์ แอสโซซิเอทส์ องค์ประกอบสำคัญของงานในแต่ละปี คือ การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีจีนกับซีอีโอต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยนคำถามและมุมมอง โดยแหล่งข่าวกล่าวว่า แม้ว่านายหลี่ยังคงวางแผนที่จะเข้าร่วมงาน CDF ในวันที่ 24-25 มี.ค.นี้ แต่เขาจะไม่จัดการประชุมดังกล่าว แหล่งข่าวยังเสริมว่า แผนสำหรับงานฟอรั่มยังไม่เสร็จสมบูรณ์และอาจมีการเปลี่ยนแปลง การตัดสินใจที่จะไม่จัดการประชุมในงาน CDF เกิดขึ้นไม่นาน หลังจากที่จีนประกาศว่าจะยกเลิกการแถลงข่าวหลังการประชุมสภาของนายกรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในงานที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปฏิทินเศรษฐกิจและนโยบายของจีน […]