รมว.คลังญี่ปุ่น ออกคำเตือนครั้งใหม่ เตรียมดำเนินการขั้นเด็ดขาด หลังเงินเยนอ่อนค่าหนัก

รมว.คลังญี่ปุ่น ออกคำเตือนครั้งใหม่ เตรียมดำเนินการขั้นเด็ดขาด หลังเงินเยนอ่อนค่าหนัก

รมว.คลังญี่ปุ่น ออกคำเตือนครั้งใหม่ เตรียมดำเนินการขั้นเด็ดขาด หลัง “เงินเยน” อ่อนค่ามากสุดในรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยล่าสุดซื้อขายที่ 151.97 เยนต่อดอลลาร์ วันที่ 27 มีนาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า นายชุนนิจิ ซูซูกิ (Shunichi Suzuki) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น ออกคำเตือนที่รุนแรงที่สุดจนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับการอ่อนค่าของเงินเยน เนื่องจากค่าเงินเยนอ่อนค่ามากสุดในรอบ 34 ปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์ โดยระบุว่าทางการอาจดำเนินการขั้นเด็ดขาด รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่นใช้คำว่า “ขั้นตอนเด็ดขาด” ครั้งล่าสุดในฤดูใบไม้ร่วงปี 2565 เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซงตลาดครั้งสุดท้ายเพื่อหยุดยั้งการอ่อนค่าของเงินเยน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่นแสดงความเห็นเมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2567 ไม่นานหลังจากที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นจากข้อมูลสหรัฐที่แข็งแกร่ง ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่ามากสุดในรอบ 34 ปี และเข้าสู่โซนที่ทางการแทรกแซงตลาดในปี 2565 โดยเงินเยนซื้อขายที่ 151.97 เยนต่อดอลลาร์ในช่วงเอเชีย ลดลงประมาณ 0.2% และอ่อนค่ากว่า 151.94 เยนต่อดอลลาร์ […]

ฝรั่งเศสขาดดุลงบประมาณเกินเป้าในปี 2566 เหตุศก.โตอ่อนแอเกินคาด

ฝรั่งเศสขาดดุลงบประมาณเกินเป้าในปี 2566 เหตุศก.โตอ่อนแอเกินคาด

ข้อมูลล่าสุดเปิดเผยในวันนี้ (26 มี.ค.) ว่า ฝรั่งเศสประสบปัญหาขาดดุลงบประมาณภาครัฐเพิ่มขึ้นเมื่อปีที่แล้วมากกว่าที่รัฐบาลคาดการณ์ไว้ ซึ่งสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลในการพยายามรักษาแผนลดการขาดดุลให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้ สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส (INSEE) ระบุว่า งบประมาณภาครัฐประจำปี 2566 แสดงให้เห็นว่าการขาดดุลทางการคลังอยู่ที่ 5.5% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจ สูงขึ้นจากระดับ 4.8% ในปี 2565 และมากกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 4.9% อย่างมีนัยสำคัญ นายบรูโน เลอ แมร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฝรั่งเศส กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ส่งผลให้รายได้จากภาษีลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเตือนล่วงหน้าแล้วว่า การขาดดุลจะเป็นไปในทิศทางที่แย่กว่าที่คาดไว้ แต่ก็ยังคงเป็นข่าวร้ายอยู่ดี เพราะนี่หมายความว่า ฝรั่งเศสจะต้องหาทางประหยัดงบประมาณเพิ่มเติมในปีนี้ เพื่อให้สามารถรักษาเป้าหมายการขาดดุลที่ 4.1% ในปี 2567 รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศแผนการตัดงบประมาณเพิ่มเติมอีก 1 หมื่นล้านยูโร (1.09 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) แล้วในปีนี้ และระบุว่า อาจจะต้องมีการออกกฎหมายในช่วงกลางปีเพื่อหาทางประหยัดงบประมาณเพิ่มเติม “ผมเรียกร้องให้เราทุกคนตื่นตัวและร่วมกันตัดสินใจในการใช้จ่ายภาครัฐทั้งหมด” นายเลอ แมร์ […]

นักวิเคราะห์ชี้ เจอโรม พาวเวล ส่งสัญญาณพร้อมหนุนตลาดแรงงาน แม้ส่งผลเงินเฟ้อยืดเยื้อสักระยะ

นักวิเคราะห์ชี้ เจอโรม พาวเวล ส่งสัญญาณพร้อมหนุนตลาดแรงงาน แม้ส่งผลเงินเฟ้อยืดเยื้อสักระยะ

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งสูงในปี 2565 ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ได้ดำเนินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันไม่ให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างจนส่งผลกระทบให้ราคาสินค้าพุ่งสูงมากเกินไป จนถึงปัจจุบัน พบว่า อัตราว่างงานยังคงเพิ่มขึ้น แต่เฟดก็ได้เริ่มส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อลดความเสี่ยงจากการปลดคนงานออกมากจนเกินไป แม้จะนำไปสู่การเกิดอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเล็กน้อยไปอีกสักระยะก็ตาม นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด กล่าวในช่วงแถลงข่าวหลังการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) เมื่อวันพุธที่แล้ว โดยประกาศว่า อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นเกิดคาดของสหรัฐฯ อาจกระตุ้นให้เฟดพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย และย้ำถึงประเด็นนี้หลายครั้งในการตอบคำถามสื่อมวลชน ประธานเฟด กล่าวหลังการประชุมนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า “แม้เฟดจะต้องการรอให้แน่ใจว่า การต่อสู้กับเงินเฟ้อประสบความสำเร็จก่อนที่จะลดอัตราดอกเบี้ย แต่หากมีสัญญาณความอ่อนแอเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดในตลาดแรงงานก็อาจเป็นเหตุผลให้เฟดใช้มาตรการตอบสนองทางนโยบายได้เช่นกัน” นายเจอโรม กล่าวว่า เขายังไม่เห็นสัญญาณความเปราะบางใดๆ ในตลาดแรงงานขณะนี้ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางคนกลับลดมุมมองบวกลง โดยชี้ให้เห็นว่า อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในหลายรัฐ รวมไปถึงการลดจำนวนพนักงานชั่วคราวและชั่วโมงการทำงานลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี นายเจอโรมและคณะกรรมการ FOMC ยังคงเฝ้าจับตาตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ซึ่งอาจอ่อนแอลงได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากในอดีตนั้น เมื่ออัตราการว่างงานเริ่มสูงขึ้น ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง เพราะบริษัทต่างๆ พากันประกาศปรับลดพนักงานตามๆ กัน ท่าทีของนายเจอโรมดูเหมือนจะพยายามเร่งกระบวนการลดอัตราดอกเบี้ยให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยยังคงยืนหยัดถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย […]

BOJ อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกภายในต.ค.ปีนี้ คาดเยนอ่อนยวบเป็นปัจจัยเร่ง

BOJ อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกภายในต.ค.ปีนี้ คาดเยนอ่อนยวบเป็นปัจจัยเร่ง

นักเศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนต.ค.ปีนี้ และอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินเยนมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ BOJ ดำเนินการดังกล่าว หลังจาก BOJ ได้ตัดสินใจครั้งสำคัญด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 มี.ค.) นักวิเคราะห์ 70% ของจำนวน 47 คนที่ได้รับการสำรวจโดยบลูมเบิร์กคาดการณ์ว่า BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในเดือนต.ค. ผลสำรวจยังระบุด้วยว่า นักเศรษฐศาสตร์ตระหนักถึงความเสี่ยงที่นายคาซูโอะ อุเอดะ และกรรมการคนอื่นๆ ของ BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ แม้ว่า BOJ ได้ส่งสัญญาณว่าจะยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีในการประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ทั้งนี้ หลังจากการประชุมวันดังกล่าว เงินเยนอ่อนค่าลงกว่า 1% เนื่องจากนักลงทุนตีความถ้อยแถลงของนายอุเอดะว่า BOJ จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป และที่ประชุม BOJ […]

วิจัยชี้ประเทศส่วนใหญ่มีเด็กเกิดใหม่ต่ำเกินไป อาจเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน

วิจัยชี้ประเทศส่วนใหญ่มีเด็กเกิดใหม่ต่ำเกินไป อาจเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เดอะแลนเซต (The Lancet) เมื่อวานนี้ (20 มี.ค.) เปิดเผยว่า อัตราการเจริญพันธุ์ในเกือบทุกประเทศนั้นจะต่ำเกินกว่าจะสามารถรักษาระดับจำนวนประชากรภายในช่วงสิ้นคริสต์ศตวรรษนี้ นายสไตน์ เอมิล โวลล์เซ็ต นักวิจัยอาวุโสจากสถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (IHME) แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเมืองซีแอตเทิลระบุว่า แนวโน้มดังกล่าวจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำของอัตราการเกิดทั่วโลก โดยประเทศรายได้ต่ำ ซึ่งมีแนวโน้มเผชิญความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจและทางการเมืองนั้น จะเผชิญภาวะ “เบบี้บูม” คือ มีเด็กเกิดใหม่จำนวนมาก ข้อมูลระบุว่า อัตราการเจริญพันธุ์ทั่วโลก (จำนวนบุตรโดยเฉลี่ยต่อผู้หญิง 1 คน) ลดลงจากประมาณเด็ก 5 คนในปี 2493 มาเป็น 2.2 คนในปี 2564 ในปี 2564 จำนวนประเทศและดินแดนต่าง ๆ ที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทนประชากรที่เด็ก 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คนนั้น มีจำนวนถึง 110 แห่ง คิดเป็น 54% ของทั้งโลก สำนักข่าวรอยเตอร์ […]

แบงก์ชาติอินโดนีเซียตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6% หวังพยุงค่าเงินรูเปียห์

แบงก์ชาติอินโดนีเซียตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 6% หวังพยุงค่าเงินรูเปียห์

ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repurchase rate) ระยะเวลา 7 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไว้ที่ระดับ 6% ในวันนี้ (20 มี.ค.) ตามการคาดการณ์ หลังค่าเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียเผชิญแรงกดดันตลอดหลายวันที่ผ่านมา ในขณะที่ตลาดต่าง ๆ ตอบสนองต่อการทบทวนนโยบายการเงินในประเทศเศรษฐกิจสำคัญต่าง ๆ ทั้งนี้ มติตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 6% ของธนาคารกลางอินโดนีเซียนั้นสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 31 รายในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์ ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิม นายเพอร์รี วาร์จิโย ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย ระบุว่า การตัดสินใจครั้งล่าสุดนี้สอดคล้องกับความพยายามในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินรูเปียห์และการควบคุมเงินเฟ้อ เงินรูเปียห์อ่อนค่าลงประมาณ 1% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเมื่อวันจันทร์เงินรูเปียห์อ่อนค่าครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนม.ค. ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะจัดประชุมนโยบายการเงิน แต่ค่าเงินรูเปียห์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปหลังธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซียสำหรับปี 2567 ที่กรอบ 4.7%-5.5% ที่มา: รอยเตอร์

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 17 ปี

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันนี้ (19 มี.ค.) ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 2550 พร้อมกับประกาศยกเลิกนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC) ซึ่งถือเป็นการยุติการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบที่ดำเนินการมาเป็นเวลานานและเป็นประเทศสุดท้ายของโลก หลังจากมีสัญญาณบ่งชี้ว่าค่าจ้างของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นในปีนี้ สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า คณะกรรมการ BOJ มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 0 ถึง 0.1% จากระดับ -0.1% นอกจากนี้ BOJ ได้ประกาศยุตินโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยที่ผ่านมา BOJ ได้ใช้นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนเพื่อกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวผ่านการซื้อและขายพันธบัตรดังกล่าว แถลงการณ์ของ BOJ ยังระบุด้วยว่า BOJ จะยุติการซื้อกองทุน ETF และ J-REITS ซึ่งเป็นกองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่น และจะค่อยๆ ปรับลดการซื้อตราสารหนี้เอกชน โดยวางแผนว่าจะยุติการซื้อตราสารหนี้เอกชนภายในระยะเวลา 1 ปี อย่างไรก็ดี BOJ จะยังคงเข้าซื้อพันธบัตรของรัฐบาลญี่ปุ่นในวงเงินเท่ากับในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า […]

ตัวเลขเศรษฐกิจ ‘จีน’ สดใสขึ้น ค้าปลีก-การผลิต-ลงทุน ดีขึ้นกว่าที่คาด

ตัวเลขเศรษฐกิจ ‘จีน’ สดใสขึ้น ค้าปลีก-การผลิต-ลงทุน ดีขึ้นกว่าที่คาด

จีนเผยข่าวดี ตัวเลขการผลิตอุตสาหกรรม-ค้าปลีก-ลงทุนสินทรัพย์ถาวร ในเดือนม.ค.-ก.พ. สูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ (18 มี.ค.) ว่า ยอดค้าปลีกในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. 2567 ปรับตัวขึ้น 5.5% ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.2% ขณะที่ยอดค้าปลีกทางออนไลน์พุ่งขึ้น 14.4% ในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ขณะเดียวกัน การผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ปรับตัวขึ้น 7% ซึ่งแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5% ส่วนยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. ปรับตัวขึ้น 4.2% ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.2% สำนักข่าวซีเอ็นบีซี รายงานว่า ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดนี้ถือเป็นหลักฐานล่าสุดที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจจีนซึ่งใหญ่เป็นอันดับสองของโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากรัฐบาลจีนประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่มีการเปิดเผยในวันนี้ ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่พิสูจน์ว่า รัฐบาลจีนจะสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ประมาณ 5% ในปีนี้ได้หรือไม่ ## ยอดลงทุนอสังหาฯ ลดลงในอัตราชะลอตัว สำนักงานสถิติฯ ยังเปิดเผยข้อมูลยอดการลงทุนและยอดขายอสังหาริมทรัพย์เดือน ม.ค.-ก.พ. “ปรับตัวลงในอัตราที่ชะลอตัวลง” โดยได้แรงหนุนจากการที่รัฐบาลจีนพยายามยับยั้งภาวะขาลงเรื้อรังในภาคดังกล่าว การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีนลดลง […]

ถึงคราว ‘เยอรมนี’ เผชิญวิกฤติอสังหาฯ Vonovia ประกาศขาดทุนครั้งใหญ่ 7.36 พันล้านดอลล์

ถึงคราว ‘เยอรมนี’ เผชิญวิกฤติอสังหาฯ Vonovia ประกาศขาดทุนครั้งใหญ่ 7.36 พันล้านดอลล์

วันที่ 15 มีนาคม 2567 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า หุ้น Vonovia บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของเยอรมัน ลดลง 6% ในการซื้อขายวันที่ 15 มี.ค.2567 หลังรายงานการขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในปี 2566 ซึ่งเป็นสัญญาณล่าสุดของความตึงเครียดในภาคอสังหาริมทรัพย์ Vonovia กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เผชิญภาวะขาดทุน 6.76 พันล้านยูโร หรือราว 7.36 พันล้านดอลลาร์ นั้นมากกว่า 10 เท่าของการขาดทุน 669.4 ล้านยูโรในปี 2565 การขาดทุนเกิดขึ้นเมื่อ Vonovia ลดมูลค่าอพาร์ทเมนท์มากกว่า 500,000 ห้อง ลง 1.07 หมื่นล้านยูโร หรือ 11.4% ส่งผลให้มูลค่าพอร์ตโฟลิโอของบริษัทลดลงเหลือ 8.4 หมื่นล้านยูโร รอล์ฟ บุค ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Vonovia กล่าวว่า “การล่มสลายของการประเมินมูลค่าถือเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่เราเคยเห็นมา” […]

ราคาน้ำมันโลกพุ่งเกือบ 3% รับสต็อกน้ำมันดิบลด-ยูเครนถล่มโรงกลั่นน้ำมันรัสเซีย

ราคาน้ำมันโลกพุ่งเกือบ 3% รับสต็อกน้ำมันดิบลด-ยูเครนถล่มโรงกลั่นน้ำมันรัสเซีย

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งเกือบ 3% ในวันพุธ (13 มี.ค.) สุงสุดในรอบ 4 เดือน  หลังสหรัฐฯ เปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินลดลงเกินคาด นอกจากนี้ ราคาน้ำมันยังได้แรงหนุนจากคาดการณ์ที่ว่า อุปทานน้ำมันในตลาดโลกอาจชะลอตัวลงหลังยูเครนโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของรัสเซีย ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 2.16 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 79.72 ดอลลาร์/บาร์เรล สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ทะเลเหนือ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 2.11 ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 84.03 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย.ปีที่แล้ว สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นมากที่สุดในกลุ่มพลังงาน อยู่ที่ 2.9% สู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2566 หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ […]