กลุ่มนักลงทุนเรียกร้องแบงก์กำหนดเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่ยากขึ้น

กลุ่มนักลงทุนเรียกร้องแบงก์กำหนดเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่ยากขึ้น

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า กลุ่มนักลงทุนซึ่งบริหารสินทรัพย์รวมกัน 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ออกมาเรียกร้องให้ธนาคารต่างๆ ตั้งเป้าหมายการปล่อยมลภาวะที่เข้มงวดมากขึ้น โดยข้อเรียกร้องนี้เกิดขึ้นก่อนการประชุมผู้นำโลกที่มีเป้าหมายเพื่อเร่งความพยายามในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กลุ่มนักลงทุนนี้ ครอบคลุม นักลงทุนตราสารหนี้รายใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทจัดการกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษด้วย พวกเขาระบุว่า ต้องการให้ผู้ปล่อยกู้มีการกำหนดเรื่องการลดปล่อยก๊าซคาร์บอนในระดับที่สูงขึ้นในหนังสือสัญญากู้ยืม ขณะที่ ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกจำนวนหนึ่งออกมาระบุว่า พวกเขามีความทะเยอทะยานที่จะไปถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่หลายรายยังไม่เจาะจงว่าพวกเขามีแผนงานอย่างไรและยังคงให้เงินทุนกับกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างหนัก “ปัญหาที่เราเผชิญวันนี้ คือ ธนาคารจำนวนมากกำลังล้มเหลวในการพิจารณาอันตรายที่เกิดกับสภาพภูมิอากาศ เมื่อพวกเขาตัดสินใจให้เงินทุน และเงินจำนวนมากถูกใส่ไปในกิจกรรมที่ใช้ก๊าซคาร์บอน เราจึงมองว่ามีความจำเป็นต้องถอยห่างจากสิ่งที่ทำอยู่นี้” Natasha Landell-Mills หัวหน้าผู้ดูแล Sarasin & Partners กล่าว ทั้งนี้ สหรัฐฯ เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำด้านสภาพภูมิอากาศวันที่ 22-23 เม.ย. นี้ ซึ่งกลุ่มนักลงทุน ระบุว่า พวกเขาต้องการให้ธนาคารเร่งความพยายาม รวมถึงตั้งเป้าหมายให้เกิดการสร้างมลภาวะเป็นศูนย์ภายในกลางศตวรรษนี้ ขณะที่ คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนของธนาคารควรจะแน่ใจว่าการจ่ายเงินผันแปรจะขึ้นอยู่กับการบรรลุเป้าหมาย และความเสี่ยงด้านสภาพอากาศควรรวมอยู่ในหนังสือของผู้ปล่อยกู้ มีธนาคารจำนวนหนึ่งที่ระบุแล้วว่า พวกเขาวางแผนเพิ่มการลงทุนในพลังงานสีเขียว และกิจกรรมอื่นๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ แต่กลุ่มนักลงทุน […]

ญี่ปุ่นเล็งเพิ่มเป้าลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 40% ในปี 2030

ญี่ปุ่นเล็งเพิ่มเป้าลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อย 40% ในปี 2030

รายงานข่าวจากรอยเตอร์ส ระบุว่า ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะเพิ่มเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างน้อย 40% ในปี 2030 จากระดับปีงบประมาณ 2013 ที่ 26% นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ ของญี่ปุ่น ได้ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้การปล่อยคาร์บอนของญี่ปุ่นเป็นกลางภายในปี 2050 และรัฐบาลจะสรุปเป้าหมายของปี 2030 อีกครั้ง ในการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศผู้นำอุตสาหกรรมระดับโลก G7 ในเดือน มิ.ย. แหล่งข่าวใกล้ชิดได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเกียวโดว่า ซูงะ จะพบกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตันในวันที่ 16 เม.ย. นี้ ก่อนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ 40 ท่าน ผ่านช่องทางเสมือน เพื่อหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในวันที่ 22-23 เม.ย. นี้ รายงานข่าว ยังระบุว่า ไบเดนเรียกร้องให้มีการประชุมฝ่ายบริหารของเขา โดยคาดว่าจะมีการประกาศเป้าหมายที่ทะเยอทะยานในปี 2030 เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นไปตามเวลาที่มีการประชุม      

อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์สหรัฐฯ จะขยายตัวอีก 4 เท่าในปี 2030

อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์สหรัฐฯ จะขยายตัวอีก 4 เท่าในปี 2030

สมาคมอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ของสหรัฐฯ (SEIA) ร่วมกับ Wood Mackenize บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังในอุตสาหกรรมพลังงาน คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกจะขยายตัวต่อเนื่องไปจนถึงปี 2030 และคาดว่า ภายในสิ้นทศวรรษนี้ ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ของสหรัฐฯ จะขยายตัวแข็งแกร่งถึง 4 เท่าจากระดับปัจจุบัน ข้อมูลล่าสุดจาก SEIA และ Wood Mackenize ระบุว่า อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐฯ ขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมา โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่รัฐบาลออกนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผนวกกับความต้องการที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งปีหลัง แม้สหรัฐฯ เผชิญกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม ยอดการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ในสหรัฐฯ ช่วงปี  2020 ขยายตัว 43% มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่  19.2 กิกะวัตต์ และเฉพาะในไตรมาส 4 ปีที่แล้วเพียงไตรมาสเดียว ยอดการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมมากกว่า 8 กิกะวัตต์ ซึ่งถือเป็นตัวเลขรายไตรมาสที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดย รัฐแคลิฟอร์เนีย เท็กซัส และฟลอริดา เป็น 3 รัฐที่มีการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดในช่วงครึ่งหลังของปี […]

บริษัทยักษ์ใหญ่หนุนพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมเพื่อขจัดคาร์บอน

บริษัทยักษ์ใหญ่หนุนพัฒนาเทคโนโลยีวิศวกรรมเพื่อขจัดคาร์บอน

ซีเอ็นบีซี รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องต้องกันว่า การลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไม่เพียงพออีกต่อไป โดยตามรายงานเมื่อปี 2018 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบุว่า หากเราจำกัดภาวะโลกร้อนได้ 1.5 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงผลกระทบเชิงลบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้ โดยเราต้องการขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ 100 -1,000 กิกะตัน จากชั้นบรรยากาศ ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ แม้การลดก๊าซคาร์บอนจะทำได้โดยธรรมชาติจากต้นไม้ที่ปลูก หรือการปรับปรุงการจัดเก็บคาร์บอนในดินผ่านการทำเกษตรที่ยั่งยืน เช่น ปลูกพืชหมุนเวียน แต่บริษัทจำนวนหนึ่งกำลังทำงานกับทางเลือกวิศวกรรมสำหรับขจัดคาร์บอน กระบวนการนี้เรียกว่าการดักจับอากาศโดยตรง โดยดูดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศโดยตรงแล้วฝังไว้ใต้ดิน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ยังมีราคาแพงมาก จากข้อมูลสมุดปกขาวที่เผยแพร่โดยไมโครซอฟท์ปีนี้ พบว่า ต้นทุนของการดักจับอากาศโดยตรงคิดเป็น 50 เท่า ของต้นทุนต่อเมตริกตันสำหรับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติส่วนใหญ่ ทั้งนี้ บริษัทต่างๆ เช่น ไมโครซอฟท์ เชฟรอน ออกซิเดนทัล และผู้มีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยี เช่น อีลอน มัสก์ และบิลล์ เกตส์ ต่างก็ลงทุนในเทคโนโลยีขจัดคาร์บอน แต่ผู้ที่อยุ่ในอุตสาหกรรมเน้นย้ำว่า หากกำจัดคาร์บอนออกไปได้จริง […]

BlackRock เชื่อว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะมีอัตราเร่งในปี 2021

BlackRock เชื่อว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะมีอัตราเร่งในปี 2021

โดย…ทนง ขันทอง ผลสำรวจของ BlackRock พบว่า แม้ว่าโลกการลงทุนจะมีความท้าทายในเรื่องสุขภาพและเศรษฐกิจ แต่ความต้องการของนักลงทุนในการลงทุนด้านความยั่งยืนจะไม่ช้าลง แต่จะมีอัตราเร่งด้วยซ้ำ จากผลสำรวจ พบว่า นักลงทุนมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนเป็นเท่าตัวในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวของกับความยั่งยืนในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า และอีก 20% ตอบว่า การระบาดของไวรัสทำให้พวกเราเร่งที่จะจัดสรรเงินลงทุนในด้านความยั่งยืน ทั้งนี้ ผลสำรวจของ BlackRock ที่มีการเปิดเผยข้อมูลเมื่อช่วงต้นปีนี้ มีการออกแบบสำรวจความเห็นของนักลงทุน 425 คน ใน 27 ประเทศที่มีเม็ดเงินลงทุนภายใต้การบริหารรวมกัน 25 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผู้ตอบแบบสอบถามครอบคลุมถึงกองทุนต่างๆ ผู้จัดการกองทุน และผู้จัดการความมั่งคั่งในกรุงลอนดอน และ Canary Wharf. (https://www.cityam.com/blackrock-sustainable-investments-to-accelerate-in-2021-as-esg-focus-intensifies/) นักวิจัยของ BlackRock พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีแผนการที่จะเพิ่มการลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาลภายในปี 2025 ถึงเท่าตัวเลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุน หรือผู้จัดการกองทุนในอังกฤษและยุโรปที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นพิเศษ นาย Mark McCombe หัวหน้าฝ่ายดูแลลูกค้าของ BlackRock […]

B-SIP ลงทุนในนวัตกรรมและสร้างความยั่งยืนให้โลกไปพร้อมกัน

B-SIP ลงทุนในนวัตกรรมและสร้างความยั่งยืนให้โลกไปพร้อมกัน

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา, AFPTTM ปัจจุบันเทรนด์การลงทุนของโลกที่นักลงทุนให้ความสนใจ  แน่นอนว่าต้องมีเรื่องการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable Investment)    เพราะในรอบหลายปีที่ผ่านมา   หลายประเทศทั่วโลกได้เผชิญกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ  ภาวะการเปลี่ยนแปลงของอากาศ (Climate Change)   การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ   และมลภาวะทางอากาศ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทุกคนบนโลก  รวมถึงตัวของนักลงทุนเอง ซึ่งปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตด้วย   ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิตที่แย่ลง  สุขภาพไม่ดี  และภัยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้   นักลงทุนจึงให้ความสำคัญกับการลงทุนอย่างยั่งยืน โดยให้การสนับสนุนธุรกิจที่ไม่ใช่แค่ห่วงใยโลก  แต่เป็นธุรกิจที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดีขึ้นด้วยการลงมือทำจริงๆ  โดยแนวคิดนี้เป็นเทรนด์การลงทุนของนักลงทุนรุ่นใหม่ที่ต้องการ “ลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบต่อโลก” ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ  กระแสเงินสดที่ไหลเข้ากองทุนหุ้นกลุ่มยั่งยืนในสหรัฐที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง  แม้ว่าจะมีสถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ โดยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2563  เติบโตขึ้น 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 88%  เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกัน จึงอาจกล่าวได้ว่านักลงทุนทั่วโลกให้ความสำคัญและมีความต้องการลงทุนในหุ้นยั่งยืนมากขึ้น สิ่งที่นักลงทุนต้องทำคือ  การค้นหาหุ้นที่มีความยั่งยืน โดยความหมายของคำว่า “ยั่งยืน” ไม่ได้อยู่ที่การแสวงหาผลกำไรสูงสุด  ชนิดที่ว่าไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม […]

กองทุนความยั่งยืนในสายตาของไอเอ็มเอฟ

กองทุนความยั่งยืนในสายตาของไอเอ็มเอฟ

โดย…ทนง ขันทอง นักลงทุนทั่วไปมีความเห็นว่า การลงทุนในบริษัทที่ให้การสนับสนุนความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และบรรษัทภิบาลเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรจะทำ ส่วนทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)ได้ทำวิจัย และพบว่า การลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนให้ผลตอบแทนที่ดี หรือไม่แตกต่างจากกองทุนหุ้นทั่วๆ ไป รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF’s Global Financial Stability Report, October 2019) พบว่า ผลตอบแทนของกองทุนที่เน้นนโยบายความยั่งยืนสามารถเทียบเคียงกับกองทุนหุ้นทั่วไปได้ “เราไม่พบหลักฐานเฉพาะที่ว่า นักลงทุนที่เน้นความยั่งยืนจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่า หรือมากกว่านักลงทุนโดยทั่วไปสำหรับการลงทุนที่คล้ายกัน” นาย Evan Papageorgiou ผู้เขียนรายงาน และมีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่าย Monetary and Capital Markets Department ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ กล่าว รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ พบว่า นักลงทุนไม่ได้เสียโอกาสของการได้ผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในกองทุนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) การลงทุนในรูปแบบ ESG จะเน้นให้ความสำคัญกับบริษัทที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนด์เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ การเปิดโอกาสกว้างสำหรับพนักงานทุกคนโดยไม่คำนึงถึงชนชั้น วรรณะหรือผิวสี และการมีการทำระบบบัญชีที่โปร่งใส […]

กองทุน BKIND กับการร่วมสนับสนุนภารกิจเติมความรู้ ผ่านโครงการ “Saturn Light”

กองทุน BKIND กับการร่วมสนับสนุนภารกิจเติมความรู้ ผ่านโครงการ “Saturn Light”

โดย จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์ กองทุนรวม คนไทยใจดี (BKIND) เป็นกองทุนรวมที่มีการแบ่งเงินค่าจัดการกองทุน 40% ไปสนับสนุนโครงการดีๆ เพื่อสังคม ซึ่งกว่า 6 ปีที่กองทุนนี้จัดตั้งขึ้นมา สนับสนุนไปแล้ว 54 โครงการ รวมเป็นเงินเกือบ 42 ล้านบาท ภารกิจหนึ่งที่น่าสนใจ ที่กองทุน BKIND มีส่วนสนับสนุน ก็คือ ด้านการศึกษา อย่างเช่น การร่วมสนับสนุนเงินงบประมาณ 294,700 บาท ในช่วงเวลาดำเนินงานของโครงการ ระหว่างเดือนกันยายน 2562 – สิงหาคม 2563 ให้กับโครงการ Saturn Light อันเป็นโครงการที่ต่อยอดและขยายขอบเขตมาจากโครงการ Saturday School ซึ่งจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรให้กับเด็กนักเรียนที่ขาดโอกาสในพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากโครงการได้รับเงินสนับสนุนส่วนนี้ไป ก็คือ การขยายโครงการ Saturday School ไปยังต่างจังหวัด เช่น […]

เคล็ดลับจัดการเงินในครอบครัว

เคล็ดลับจัดการเงินในครอบครัว

โดย พริ้มพัชร จิรบวรพงศา AFPTTM กองทุนบัวหลวง การบริหารจัดการเงินในครอบครัว เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจและรอบคอบ เพราะถ้าหากละเลยหรือขาดความระมัดระวัง  จนทำให้การเงินของครอบครัวไม่มั่นคง  ก็อาจส่งผลกระทบกับคนที่เรารัก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน  การทำงาน  การเรียน รวมถึงความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจด้วย ด้วยเหตุนี้ การบริหารจัดการเงินในครอบครัว  จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องวางแผนและลงมือทำ “ร่วมกัน” อย่างมีวินัย  เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางการเงินร่วมกัน แต่เชื่อหรือไม่ว่า ปัญหาทางการเงินในครอบครัวส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการ  “ไม่ร่วมกัน”  ซึ่งสาเหตุของการไม่ร่วมมือกันนี้  ไม่ได้เกิดจากความชัง  แต่เกิดจากความรักและความเสียสละของคนที่ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้นำครอบครัว หรือ เสาหลักในการหารายได้” ที่ต้องการให้สมาชิกในครอบครัวได้กิน ได้ใช้  อย่างมีความสุขโดยที่ไม่ต้องกังวลใจ  นำไปสู่การใช้จ่ายที่ไม่ระมัดระวังของคนในครอบครัว  และถ้าหากโชคไม่ดีหรือเกิดเหตุไม่คาดคิดก็อาจทำให้การเงินของครอบครัวต้องประสบปัญหาได้ แนวทางป้องกัน หรือ จัดการเรื่องเงินในครอบครัวนั้น  เริ่มต้นที่การเปิดใจยอมรับว่า การพูดคุยเรื่องเงินกันในครอบครัวนั้นเป็นเรื่องปกติที่ต้องทำ และต้องพูดคุยร่วมกันทุกคน  ไม่จำกัดว่าเป็นผู้สูงอายุ เด็ก สามีหรือภรรยา เพราะทุกคนคือ “สมาชิก” ที่มีส่วนได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและลบ จากการจัดการเงินในครอบครัว ด้วยเหตุนี้  อยากนำเสนอ  4  แนวคิดในการจัดการเงินเพื่อความสุขในครอบครัว ซึ่งกุนซือในการจัดการเรื่องนี้  คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก “ตัวเรา” โดยแนวคิดแรกที่อยากให้เริ่มต้นทำก็คือ “การสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัววางแผนการเงินส่วนบุคคล”  ด้วยการกระตุ้นให้ทุกคนบริหารจัดการรายรับของตัวเองให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย  รู้จักสังเกตและควบคุมพฤติกรรมในการใช้จ่ายของตัวเองให้เหมาะสม  สามารถมีเงินใช้จ่ายเพียงพอ  มีเงินออม  และไม่มีหนี้สิน ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายมากกว่า […]

สิงคโปร์ชี้วิกฤติสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติ ดันนโยบายพัฒนาประเทศยั่งยืน

สิงคโปร์ชี้วิกฤติสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติ ดันนโยบายพัฒนาประเทศยั่งยืน

รัฐสภาสิงคโปร์ออกมายอมรับว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก โดยมีเป้าหมายเรียกร้องให้รัฐบาล ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเร่งดำเนินการในประเด็นนี้ ซึ่งข้อเสนอบางส่วนที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) อภิปรายไว้ ได้แก่ การติดตามการลดปริมาณการใช้พลังงาน รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างห่วงโซ่อุปทานอาหารที่ยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น และที่สำคัญคือการบริหารจัดการกับขยะ หลังจากการอภิปรายเมื่อวันจันทร์ที่ 1 ก.พ. 2021 รัฐสภาสิงคโปร์ได้อนุมัติการเคลื่อนไหวที่จะเร่งการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ โดยประกาศให้ปัญหานี้เป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก การเคลื่อนไหวดังกล่าวยังได้รับการสะท้อนการยอมรับว่า วิกฤติสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ ที่ต้องใช้ความพยายามร่วมกันในการบรรเทาและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง เพื่อรองรับความยั่งยืนในการพัฒนาของสิงคโปร์ ปัจจุบันยังคงอยู่ระหว่างการหารือนโยบายการดำเนินการด้านสภาพอากาศที่เข้มข้นมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในสิงคโปร์ หลังจากการประกาศชัดเจนก็จะทำให้ประเทศเป็นผู้นำในภูมิภาคอีกครั้งในการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เมื่อปีที่ผ่านมาสิงคโปร์ได้เปิดตัวแผนมูลค่า 1 แสนล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (7.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อปรับให้เข้ากับอนาคตที่ต้องเผชิญกับสภาพภูมิอากาศ และลงทุนเพิ่มเติมในภาคการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ทำให้สิงคโปร์กลายมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหาร ย้อนไปในปี 2019 สิงคโปร์ประกาศให้เป็น ‘year of zero waste’ หรือปีแห่งการปลอดขยะ โดยเปิดตัวแผนแม่บทในการกำจัดขยะที่ฝังกลบลดลง 30% ภายในปี 2030 ซึ่งแผนแม่บทนี้เป็นเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน