ขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถาม

ขอเชิญร่วมตอบแบบสอบถาม

กองทุนบัวหลวง ได้จัดทำแบบสอบถาม โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับการออกกองทุน RMF จึงขอเชิญชวนลูกค้าร่วมตอบแบบสอบถามได้ตามลิงค์นี้ https://www.bblam.co.th/market-survey/?channel=BF  

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (H75) AI) กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (UH) AI)

กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (เฮดจ์ 75) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (H75) AI) กองทุนเปิดบัวหลวงไฮยิลด์ (อันเฮดจ์) ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (B-HY (UH) AI)

สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ยูเอส ไฮยิลด์ เดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ตราสารหนี้ยูเอส ไฮยิลด์ ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ระดับ B ให้ผลตอบแทน +2.45% หลังจากที่เคยให้ผลตอบแทนเป็นลบในเดือนพ.ค. ผลตอบแทนรายเดือนกลับมาเป็นบวกในเดือน มิ.ย. เป็นผลมาจาก 1) ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แสดงออกต่อทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยในทำนอง Dovish แปลว่า เตรียมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 2) ความคาดหวังต่อการแก้ไขปัญหาระหว่างสหรัฐฯและจีนในประเด็นทางการค้า ด้านกระแสเงินไหลเข้า-ออก ตราสารหนี้ยูเอส ไฮยิลด์ได้รับกับกระแสเงินไหลเข้าในเดือน มิ.ย. +3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับว่าเป็นการไหลเข้าต่อจากช่วง 5 เดือนแรกที่มีเม็ดเงินไหลเข้าสุทธิรวมทั้งสิ้น +8.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ด้านตราสารหนี้ออกใหม่ พบว่า มูลค่าตราสารหนี้ออกใหม่เพิ่มสูงสุดในเดือนมิ.ย. มีจำนวน 49 ตราสาร คิดเป็นมูลค่า 28.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.ที่ 28.1 […]

Fund Comment กรกฎาคม 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

Fund Comment กรกฎาคม 2562 : มุมมองตลาดตราสารหนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะพันธบัตรระยะยาวอายุ 5 ปีขึ้นไปที่ลดลงประมาณ 18-50 bps. ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ ด้านปัจจัยในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรธปท. ระยะสั้น รวมถึงออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติลดการถือครองตราสารหนี้ระยะสั้นลง 42,721 ล้านบาท แต่มียอดถือครองตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มขึ้น 16,979 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติยังมองว่าตลาดตราสารหนี้ไทยเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย (Safe haven) ในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ นอกจากนี้ การที่ Fitch rating และ Moody’s ปรับแนวโน้มความน่าเชื่อถือของไทย (Outlook) เป็นเชิงบวก (Positive) จากมีเสถียรภาพ (Stable) ทำให้นักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อตราสารหนี้ไทยและมีแรงซื้อในตราสารหนี้ระยะยาว ด้านปัจจัยต่างประเทศ ธนาคารกลางหลักของโลกส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรปที่มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินในระยะต่อไป ธนาคารกลางญี่ปุ่น มีมติ 7 ต่อ 2 ให้คงมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน และธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติ 8 ต่อ […]

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,665.99 จุด ลดลง 18.72 จุด หรือ -1.11%

วันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,665.99 จุด ลดลง 18.72 จุด หรือ -1.11%

ดัชนีตลาดหุ้นไทย วันที่ 5 ส.ค. 2562 ปิดที่ 1,665.99 จุด ลดลง 18.72 จุด หรือ -1.11% ระหว่างวันดัชนีสูงสุดอยู่ที่ 1,681.36 จุด และต่ำสุดที่ 1,681.36 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 48,470.80 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 45.75 บาท ลดลง -0.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,504.07 ลบ. 2.AOT ปิดที่ 69.50 บาท ลดลง -1.25 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,484.61 ลบ. 3.CPALL ปิดที่ 85.50 บาท ลดลง […]

ดัชนีหุ้นไทย 2 ส.ค. ปิดตลาด 1,684.71 จุด ลดลง 15.04 จุด

ดัชนีหุ้นไทย 2 ส.ค. ปิดตลาด 1,684.71 จุด ลดลง 15.04 จุด

ดัชนีตลาดหุ้นไทย วันที่ 2 ส.ค. 2562 ปิดที่ 1,684.71 จุด ลดลง 15.04 จุด หรือ -0.88% ระหว่างวันดัชนีสูงสุดอยู่ที่ 1,687.15 จุด และต่ำสุดที่ 1,671.97 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 82,045.40 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.PTT ปิดที่ 46.00 บาท ลดลง -1.25 บาท (-2.65%) มูลค่าการซื้อขาย 5,069.76 ลบ. 2.AOT ปิดที่ 70.75 บาท ลดลง -1.00 บาท (-1.39%) มูลค่าการซื้อขาย 4,623.29 ลบ. 3.PTTGC ปิดที่ 57.75 บาท […]

BF Monthly Economic Review – ก.ค. 2562

BF Monthly Economic Review – ก.ค. 2562

BF Economic Research สรุปประเด็นเศรษฐกิจสำคัญเดือน ก.ค. 2562 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงจากประเด็นการกีดกันทางการค้าเป็นหลัก และแม้เราคาดว่าจีนกับสหรัฐฯ จะสามารถเจรจาหาข้อตกลงร่วมกันได้ในที่สุด แต่กระบวนการเจรจาอาจไม่ราบรื่นนัก ซึ่งการกลับมาเจรจากันอีกครั้งของสหรัฐฯ และจีนในครั้งนี้ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า หลังจากนี้ทั้งสองประเทศจะไม่มีความขัดแย้งระหว่างกันอีก รวมไปถึงว่าแม้จะมีข้อตกลงกันแล้วก็ตาม โดยสองมหาอำนาจทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างหันมาใช้นโยบายกีดกันทางการค้าที่ต่างออกไปจากนโยบายเดิมๆ อาทิ การขึ้นอัตราภาษีนำเข้า เป็นการใช้มาตรการกีดกันที่มีเป้าหมายเจาะจงเฉพาะบางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ยิ่งมีเสียงว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีน อยากให้ข้อขัดแย้งทางการค้าดังกล่าวจบลง ยิ่งทำให้ความผันผวนในระยะข้างหน้าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราสามารถมองนัยของความขัดแย้งทางการค้าต่อเศรษฐกิจและการลงทุนได้เป็นสองส่วนคือ 1) ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก 2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของธนาคารกลาง 1) ผลกระทบเศรษฐกิจจากความตึงเครียดด้านการค้า จนถึงปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้มีการใช้นโยบายกีดกันทางการค้าแล้วกับหลายประเทศทั่วโลก อาทิ จีน อินเดีย เม็กซิโก และเวียดนาม รวมไปถึงกับหลายประเภทสินค้า เช่น เหล็ก อลูมิเนียม และเครื่องซักผ้า เป็นต้น โดยในแต่ละประเด็นข้อพิพาททางการค้าล้วนส่งผลให้การค้าโลกชะลอตัว ที่ชัดเจนคือ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีนได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ […]

เคล็ดลับเลือกกองทุนหุ้นให้ตรงใจ

เคล็ดลับเลือกกองทุนหุ้นให้ตรงใจ

โดย…เสกสรร โตวิวัฒน์ CFP® ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทางการเงิน BF Knowledge Center การเลือกกองทุนหุ้น ควรให้ความสำคัญกับนโยบายการลงทุนและแนวทางที่ผู้จัดการกองทุนใช้คัดสรรและเลือกหุ้นลงทุน เพราะการลงทุนเป็นเรื่องความคาดหวังในอนาคต โดยกองทุนบัวหลวงจะมองไปข้างหน้า เพื่อแสวงหาโอกาสของผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ดูว่าปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าจะมีเมกะเทรนด์อะไรเกิดขึ้น มี theme อะไร และคัดสรรหาธุรกิจกิจการที่ได้ประโยชน์หรือรู้จักใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนที่เกิดขึ้นเหล่านั้น  แล้วเข้าไปลงทุนเพื่อหวังการเติบโตอย่างเป็นกอบเป็นกำในอนาคต ปัจจุบันมีกองทุนหุ้นเยอะแยะมากมาย เราจะเลือกยังไงดี  กองทุนหุ้นมีมากมายหลายแบบ เราเลือกได้หลายวิธี บางคนชอบแบบมีปันผล บางคนไม่อยากได้ปันผล อยากเก็บไว้ลงทุนให้งอกเงยมากกว่าเอาเงินออกมาระหว่างทาง อันนี้เลือกตามเป้าหมายของแต่ละคน แต่ถ้าจะเลือกตามนโยบายการลงทุน เรื่องนี้สำคัญและมีสิ่งที่ต้องพิจารณาเยอะ ต้องพิจารณาอะไรบ้าง อย่างแรก เราอยากเลือกแบบกองทุนดัชนี ให้ราคา NAV ขึ้นลงตามดัชนีไหม เช่น เชื่อดัชนีตลาดหุ้นไทยว่าจะไปได้ไกลๆ ไม่แน่ใจฝีมือผู้จัดการกองทุนเลือกหุ้นให้ แต่เชื่อดัชนีว่าจะไปได้แน่ๆ แบบนี้เหมาะกับกองทุนดัชนีต่างๆ ที่เรียกกว่า passive fund ​​​​​​​แต่ถ้าเชื่อว่า การมีผู้จัดการกองทุนช่วยดู ช่วยเลือกหุ้นน่าจะดีกว่าปล่อยให้ราคา NAV ไปอิงกับดัชนี ก็เลือก active fund ​​​​​​​ต่อมาดูที่นโยบายที่กองทุนเขียนไว้ […]

ตามติดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “รุกขกร” ภายใต้โครงการ สายไฟใจดี ของกองทุน ‘BKIND’

ตามติดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “รุกขกร” ภายใต้โครงการ สายไฟใจดี ของกองทุน ‘BKIND’

โครงการ สายไฟใจดี เป็นหนึ่งในโครงการที่ กองทุนรวม คนไทยใจดี (BKIND) เข้าไปสนับสนุน ซึ่งโครงการนี้ดำเนินการโดย บริษัท รักษ์ไม้ใหญ่ วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือที่หลายคนรู้จักกันในนาม Big Trees โดยในช่วงเดือน ก.พ. 2561 – ม.ค. 2562 BKIND สนับสนุนงบประมาณโครงการนี้ไปทั้งสิ้น 494,400 บาท โดยหนึ่งในกิจกรรมที่โครงการนี้ทำ และทีมงานกองทุนบัวหลวงได้ลงพื้นที่ไปร่วมสังเกตการณ์ คือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการตัดแต่งต้นไม้ (รุกขกรรมขั้นต้น) ในโอกาสนี้จึงได้มีการสัมภาษณ์ตัวแทนของบริษัท รักษ์ไม้ใหญ่ วิสาหกิจเพื่อสังคม รวมถึงวิทยากรที่มาให้ความรู้ และผู้เข้าร่วมอบรมด้วย เริ่มจาก คุณอรยา สูตะบุตร ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้บริหาร บริษัท รักษ์ไม้ใหญ่ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด หรือ Big Trees ผู้รับผิดชอบโครงการสายไฟใจดี กล่าวว่า สำหรับการดำเนินงานของกลุ่ม Big Trees และเครือข่าย […]

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจไทย

Economic Review ครึ่งปีหลัง 2019 – เศรษฐกิจไทย

BF Economic Research ภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาได้รับแรงส่งจากการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหนุนจากยอดขายรถยนต์ที่ทำ New High ทุกเดือน (ยอดขายรถยนต์ YTD อยู่ที่ 4.37 แสนคันทำลายสถิติยอดขายรถยนต์ในช่วงเดียวกันในรอบหลายปี) มีส่วนช่วยหนุน GDP ในไตรมาส 1/2019 (2.8% YoY vs prev 3.6% YoY) ค่อนข้างมาก ส่วนการบริโภครายสินค้าอื่นๆ นั้น ไม่มีรูปแบบการขยายตัวที่ชัดเจน ซ้ำยังเห็นการหดตัวของการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทนในบางเดือน เป็นการสะท้อนถึงการแตกแยกของการใช้จ่ายของคนไทย กล่าวคือกลุ่มคนรายได้สูงมีอำนาจการซื้อมากขึ้นแต่คนรายได้ต่ำกลับลดการบริโภค ด้านการลงทุนภายในประเทศนั้น เราพบการลงทุนในภาคเอกชนที่ชะลอลงและการลงทุนภาครัฐหดตัว แสดงให้เห็นว่านักลงทุนรอความชัดเจนด้านการเมือง ส่วนการส่งออกของประเทศไทย ตั้งแต่ปลายปี 2018 ถึงเดือน พ.ค. ได้หดตัวต่อเนื่องในเกือบทุกรายสินค้าสำคัญอันเป็นผลจากฐานสูงปีก่อนและผลจากสงครามการค้าส่งผลให้การส่งออกไปจีนหดตัวในหลายรายการ เช่น ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง, เคมีภัณฑ์, ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ยอดขายรถยนต์ไทยทำสถิติสูงสุดทุกเดือน (คัน) ทิศทางเศรษฐกิจปี 2019 ความเสี่ยงและแนวทางด้านนโยบาย เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าปีก่อนจากการส่งออกสินค้า […]

ดัชนีหุ้นไทย 17 มิ.ย. ปิดตลาด 1,667.23 จุด ลดลง 5.10 จุด

ดัชนีหุ้นไทย 17 มิ.ย. ปิดตลาด 1,667.23 จุด ลดลง 5.10 จุด

ดัชนีหุ้นไทยประจำวันที่ 17 มิ.ย. 2562 ปิดตลาดที่ 1,667.23 จุด ลดลง 5.10 จุด หรือ 0.30% โดยระหว่างวันดัชนีทำระดับสูงสุดที่ 1,678.20 จุด และทำระดับต่ำสุดที่ 1,667.15 จุดมูลค่าการซื้อขาย 49,424.72 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับได้แก่ 1.LH ปิดที่ 10.90 บาท ลดลง 0.40 บาท (-3.54%) มูลค่าการซื้อขาย 2,032.63 ลบ. 2.CPALL ปิดที่ 82.50 บาท ลดลง 0.50 บาท (-0.60%) มูลค่าการซื้อขาย 1,922.65 ลบ. 3.PTT ปิดที่ 46.50 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย […]