ซื้อ LTF แบบนี้ … ไม่มีคำว่า “แพง”
“ย้อนไปก่อนวันที่ 29 สิงหาคม … ก่อนที่หุ้นไทยจะทะลุ 1,600 จุด …” ผมมั่นใจว่านักลงทุนไทยเกือบทั้งหมด ไม่มีใครคิดมาก่อนว่าปีนี้ มันจะมีวันที่หุ้นไทยทะลุรวด พรวดไป 1,600 ได้ในพริบตา และผมเองก็ยังมั่นใจว่า “คนไทยผู้เสียภาษีเกือบทั้งหมด … ยังไม่ได้ซื้อ LTF เพื่อลดหย่อนภาษีกันเลย” (สะเทือนใจ…) แต่มันไปแล้ว … มันทะลุ 1,600 ไปแล้ว แถมเผลอๆ ต่อไปถึง 1,700 รึเปล่ายังไม่รู้ (ตอนละทุ 1,600 บางคนนี่แทบจะถอดเครื่องแบบกันเลยทีเดียว) แต่ก็นั่นล่ะฮะท่านผู้ชม ในเมื่อเราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้ว่าปลายปีนี้ หรือปีหน้า SET จะเป็นยังไง สิ่งหนึ่งที่รู้แน่นอนคือ “ตราบได้ที่ยังมีรายได้ ก็ยังต้องเสียภาษี” และ “ถ้าอยากลดหย่อนภาษี ก็ต้องซื้อ LTF” ฉะนั้นวันนี้เราจะมาตีแผ่ความลับ และกลยุทธ์ในการซื้อ LTF ยังไง ไม่มีคำว่า “แพง” “พฤติกรรมของคนลดหย่อนภาษี…” ผมได้ลองศึกษาข้อมูล และพฤติกรรมการลงทุนใน LTF เพื่อลดหย่อนภาษี โดยศึกษาข้อมูลการซื้อในช่วง […]
“บิ๊กตู่” แจงโรดแมป คาด พ.ย. ปีหน้าได้เลือกตั้ง-มิ.ย.61 จะประกาศวันเลือกตั้ง
เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2560 เวลา 13.40 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธานในการประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความชัดเจนไทม์ไลน์ของวันเลือกตั้งว่า เดือน มิ.ย.61 จะประกาศวันเลือกตั้ง และคาดเดือน พ.ย.61 จะสามารถจัดเลือกตั้งได้
ค่าเงินลีร่าของตุรกีตกกว่า 4%
ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ค่าเงินลีร่าของตุรกีตกหนักกว่า 4% หลังจากที่สถานกงสุลของตุรกีและของสหรัฐงดการให้บริการวีซ่าให้พลเมืองระหว่างกัน เงินลีร่าร่วงไปที่ 3.7694 ต่อดอลลาร์ในการเทรดในวันจันทร์ที่ผ่านมา เทียบกับระดับ 3.616 ในวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม ระดับต่ำสุดของค่าเงินลีร่าในปีนี้คือ 3.9407 ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ตุรกีขัดแย้งหนักกับสหรัฐฯหลังจากที่ทางการตุรกีจับกุม Metin Topuz ซึ่งเป็นชาวเติร์ก แต่ทำงานในสถานกงสุลสหรัฐฯในกรุงอิสตันบูล โดยมีการกล่าวหาว่า Topuz ทำงานให้ขบวนการของ Fethullah Gulen ซึ่งประธานาธิบดี Recep Tayyip Erdoğan กล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อการรัฐประหารเพื่อล้มอำนาจของเขาในปีที่แล้ว ขณะนี้ Gulen ลี้ภัยทางการเมืองอยู่ในรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา หลังจากที่มีการจับกุม Topuz ทางสหรัฐฯตอบโต้ด้วยการให้สถานทูต และสถานกงสุลของสหรัฐฯในตุรกี งดออกวีซ่าพำนักชั่วคราวให้ชาวตุรกีที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศสหรัฐฯ ตุรกีโต้ตอบอย่างทันควัน ด้วยการสั่งให้สถานกงสุล และสถานทูตตุรกีงดให้บริการวีซ่าแก่ชาวอเมริกันที่ประสงค์จะเดินทางเข้าตุรกี ตุรกีมีเงินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่ 4,750 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน ทำให้มีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินต่างประเทศเพื่ออุดช่องว่างนี้ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดทำให้ค่าเงินตุรกีอ่อนแอถูกโจมตีได้ เมื่อเกิดความไม่มั่นใจทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือการเงินของประเทศ ในขณะเดียวกัน […]
ถก “BREXIT” ถึงจุดวิกฤต
การเจรจาเพื่อนำอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (อียู) ระหว่าง David Davis ตัวแทนอังกฤษ และ Michel Barnier ตัวแทนอียู เริ่มต้นรอบที่ 5 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ที่กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม โดยจะเป็นการเจรจารอบสุดท้ายก่อนการประชุมสุดยอด 27 ผู้นำอียูในวันที่ 19 ตุลาคมนี้ ซึ่งผู้นำอียูจะลงมติว่า การหารือที่ผ่านมามีความคืบหน้าเพียงพอต่อการดำเนินกระบวนการต่อหรือไม่ Theresa May นายกรัฐมนตรีอังกฤษกล่าวว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอียูเป็นสำคัญ โดยหวังว่าอียูจะแสดงความเป็นผู้นำและท่าทีที่ยืดหยุ่นในเรื่องนี้ออกมา แต่ Jean-Claude Juncker ประธานกรรมาธิการยุโรปเตือนว่า การเจรจารอบที่ 5 ต้องบรรลุผลในระดับปาฏิหาริย์จึงจะทำให้มติอียูออกมาในทางบวกได้ ในขณะที่ Barnier ชี้ว่า ความคืบหน้าที่เพียงพอต่อการมีมติดังกล่าวไม่น่าจะเป็นไปได้ด้วยเหตุจากการเมืองภายในของอังกฤษเอง ซึ่งทำให้การเจรจา BREXIT ตกอยู่ในสภาพวิกฤตในขณะนี้ รายงานข่าวระบุว่า การเจรจาระหว่างอังกฤษกับอียูยังคงชะงักงันอยู่กับประเด็นหลัก 3 ข้อ คือ ประเด็นว่าด้วยเรื่อง จำนวนเงินที่อังกฤษ […]
ผู้บริหารอมตะชี้ “สัญญาณบวก” ญี่ปุ่นรับ EEC
คัดลอกบางส่วนจากรายงานพิเศษของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจที่ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารอมตะ วิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการ และ ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน หรือ AMATA เปิดเผยว่าหลังพบปะพูดคุยกับทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาในงานเจรจาจับคู่ธุรกิจ เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทุนญี่ปุ่นส่งสัญญาณในมุมมองบวกต่อประเทศไทยขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2545 การเอาจริงของภาครัฐที่ต้องการให้ทุนญี่ปุ่นกลับเข้ามาลงทุนนั้น สะท้อนมาจาก การเดินหน้าจริงจังของภาครัฐในโครงการ EEC การยกเว้นภาษีโดยเฉพาะภาษีบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน อีกทั้งการแสดงให้เห็นความต่อเนื่องด้วยแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยรัฐให้คำมั่นว่า ไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาต้องเดินตามแผนพัฒนาฯ แก้ไขไม่ได้ เพราะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา มีประเทศที่เป็นคู่แข่งเกิดขึ้นมาก เช่น เวียดนาม อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ ทำให้มองข้ามไทยไป โดยเหตุผลที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ ได้แก่ ปัญหาการเมือง ค่าแรงถูกกว่า ทั้งนี้ลูกค้าของบริษัทเองก็มักพูดว่าถ้าประเทศไทยยังเป็นแบบนี้ก็จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น แต่รัฐบาลคสช. สามารถควบคุมสถานการณ์ในประเทศได้ และดึงการลงทุนด้วยอัตราภาษี โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีกลุ่มธูรกิจ EEC หากเป็นนิติบุคคลยกเว้น 15% […]
“เงินเฟ้อ” ทำลายความมั่งคั่ง
ในขณะนี้เวเนซุเอลาเป็นประเทศที่ประสบกับปัญหาเงินเฟ้อกระจุยกระจายหนักที่สุด จนประธานาธิบดี Nicolas Maduro ประกาศขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำในวันแรงงานสากลถึง 60% ท่ามกลางภาวะวิกฤติเงินเฟ้อ 500% ปรากฎการณ์เงินเฟ้อของเวเนซุเอลาทำให้ประชาชนทั่วไปยากจนขึ้นทันที ทั้งนี้เนื่องจากเงินเฟ้อทำให้ค่าเงิน bolivares เสื่อมลง เมื่อค่าเงินเสื่อมลง อำนาจซื้อของประชาชนก็ลดลง ในขณะที่รายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้น แม้รัฐบาลจะประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมาหลายรอบแล้ว แต่อัตราค่าแรงที่สูงขึ้นยังวิ่งตามไม่ทันเงินเฟ้อ เงินเฟ้อมีสาเหตุมาจากการบริหารการเงินของรัฐบาลและธนาคารกลางที่ผิดพลาด โดยใช้จ่ายเกินตัว หรือไม่มีวินัยทางการเงินการคลัง เมื่อรัฐบาลไม่มีเงินพอจะใช้จ่าย ก็กู้หนี้จนเกินตัว เมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้ต้องพิมพ์เงินเพื่อจ่ายหนี้ ปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นสาเหตุหลักของเงินเฟ้อ ซิมบับเวเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบกับปัญหาเงินเฟ้อสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเงินโลก ไม่มีใครรู้ว่าเงินเฟ้อของซิมบับเวอยู่ในอัตราเท่าใด เพราะตัวเลขสูงมหาศาล แต่คาดการณ์ว่าในกลางเดือนพฤศจิกายนปี 2008 เงินเฟ้อซิมบับเวอยู่ที่ราว 79,600,000% เงินซิมบับเวกลายเป็นกระดาษไปเลย เนื่องจากรัฐบาลพิมพ์เงินกันอย่างหูดับตับไหม้ และในปี 2009 รัฐบาลซิมบับเวต้องหยุดพิมพ์เงินของประเทศ แล้วหันไปใช้เงินสกุลต่างชาติแทน ในปี 2015 รัฐบาลซิมบับเวเริ่มใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐแทนสกุลเงินของตัวเอง ซึ่งไม่หลงเหลือความน่าเชื่อถือใดๆ อีกต่อไป ในระหว่างปี 1921-1924 สาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic) หรือเยอรมนี ประสบกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงเหมือนกัน […]
Digital Economy Global Innovation
“ควอนตัมคอมพิวเตอร์” กำลังจะมา
ไอบีเอ็มเร่งพัฒนาและผลิตควอนตัมคอมพิวเตอร์ เพื่อออกขายภายใน 1 ปีนี้ บริษัทไอบีเอ็มประกาศว่าจะเร่งพัฒนา “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” เพื่อผลิตและนำออกจำหน่วยในท้องตลาด ในชื่อว่า IBM Q ในอีก 1 ปีข้างหน้า IBM Q จะทำงานคิดคำนวณด้วยพลังแบบควอนตัม ผ่านแพลตฟอร์มคลาวด์ของไอบีเอ็ม ซึ่งจะเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่จะเปิดให้บริการนี้ และถือเป็นก้าวย่างสำคัญของเทคโนโลยีสาขานี้อีกด้วย ควอนตัมคอมพิวเตอร์คือ คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลด้วยหลักการทางควอนตัมฟิสิกส์ ทฤษฎี Quantum Computing นั้นบอกว่า หากหน่วยเล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์พื้นฐานคือ บิท (bit) หน่วยเล็กที่สุดของ Quantum Computing ใช้ชื่อว่า คิวบิท (Qubit) สถานะของบิทนั้นอาจเป็นได้ไม่ 1 ก็ 0 เท่านั้น แต่สำหรับคิวบิทจะมีมิติที่เหนือกว่าบิท คือสามารถแสดงสถานะเป็น 1 หรือ 0 ได้ หรืออยู่ระหว่าง 1 กับ 0 ได้ทุกๆ […]
เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “พลังงานสะอาด”
ในยุคนี้ธุรกิจพลังงานกำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่าน พลังงานสะอาด (Green Energy) ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ เข้ามาทดแทนพลังงานแบบเก่าที่ผลิตด้วยพลังงานความร้อน จนกลายเป็นพลังงานกระแสหลักมากขึ้นทุกวัน รูปแบบและการบริโภคพลังงานในอนาคตอีกไม่ไกลย่อมจะต้องแตกต่างไปจากวันนี้อย่างแน่นอน ความเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฎชัดขึ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ซึ่งแต่ละปีจะมีเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมในปี 2015 ได้ขยายกำลังผลิตไปแล้วถึง 118 กิกะวัตต์ จากปีก่อนหน้าที่มีกำลังผลิตราว 94 กิกะวัตต์ แต่หากพิจารณาเงินลงทุนที่ใช้สร้างโรงไฟฟ้าทั้งสองประเภทกลับกลายเป็นตรงกันข้าม โดยในปี 2015 ใช้ไป 1.99 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเพียง 6% เท่านั้น สะท้อนถึงแนวโน้มต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำลง โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ลดลงจาก 300 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2010 เหลือเพียง 120 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2015 (ค่าเฉลี่ยทั่วโลก) นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ต้นทุนผลิตในบางประเทศต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก เช่นในอินเดียเมื่อปี 2016 มีโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ชนะประมูลรับสัมปทานจากรัฐ โดยเสนอราคาขายไฟเพียง 64 ดอลลาสหรัฐต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง (ประมาณยูนิตละ […]
หมู่บ้าน “เฮดจ์ฟันด์” ของจีน
“ยูฮวง ชานนาน” เป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในเมืองหางโจ หนึ่งในเมืองโบราณอันเก่าแก่และสวยงามที่สุดของจีน แต่หากพูดถึงด้านการเงินแล้ว หมู่บ้านนี้กลับไม่เล็กเลย รายงานพิเศษของบลูมเบิร์กระบุว่า ด้วยการสนับสนุนจากทางการจีน ยูฮวง ชานนานได้กลายเป็นแหล่งชุมชนของเฮดจ์ฟันด์ และผู้บริหารการเงินของจีน คล้ายๆ กับเมืองกรีนวิชในรัฐคอนเนตทิคัตของสหรัฐอเมริกา ที่ว่าเป็นเมืองเฮดจ์ฟันด์ของสหรัฐฯ ก็เพราะบรรยากาศความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย แต่มีคุณภาพ ในปี 2012 จีนแทบจะไม่มีเฮดจ์ฟันด์เลย แต่หลังจากเปิดเสรีทางการเงิน จำนวนเฮดจ์ฟันในจีนเมื่อปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และปริมาณกองทุนต่างๆ เพิ่มเป็น 3 เท่าตัว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจ ที่มีเฮดจ์ฟันด์ 1,000 กว่าแห่ง และกองทุนหุ้นที่มีขนาดรวมกัน 580,000 ล้านหยวน หรือ 84,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ได้เข้ามาจดทะเบียนที่หมู่บ้านยูฮวง ชานนาน ซึ่งผ่านการปรับเปลี่ยนแบรนด์ตัวเอง จนเรียกกันว่า “ยูฮวง ชานนาน ฟันด์ทาวน์” เนื่องจากมีการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้งลดภาษีถึง 30% […]
นานาทัศนะกับ Bitcoin
ในช่วงที่ผ่านมา มีการเก็งกำไร Bitcoin (บิทคอยท์) หรือ คริปโตเคอร์เรนซี่ (Crytpocurrency) กันอย่างคึกคัก ตอนนี้ 1 บิทคอยท์มีมูลค่าเท่ากับ 148,220 บาท เอาเข้าจริงแล้ว บิทคอยท์มีค่าหรือไร้ค่า? หรือบิทคอยท์จะมาแทนเงินตราที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ได้หรือไม่ แต่จีนสั่งแบนการเทรดบิทคอยท์ในประเทศ ส่วนญี่ปุ่นเปิดรับบิทคอยท์เต็มที่ มาฟังความเห็นของผู้บริหารชั้นนำของสหรัฐว่า พวกเขามีความเห็นเกี่ยวกับบิทคอยท์อย่างไร Lloyd Blankfein ซีอีโอของ Goldman Sachs: ยังคงคิดเรื่องบิทคอยท์อยู่ ยังไม่มีข้อสรุป ไม่ได้ยอมรับ หรือไม่ได้ปฏิเสธ ทราบกันดีว่ามีหลายคนมีข้อสงสัยเมื่อเงินกระดาษมาแทนทองคำ อย่างไรก็ตาม ทาง Goldman Sachs มีการวางแผนเพื่อเตรียมแพล็ทฟอร์มที่จะเทรดบิทคอยท์ หรือเงินคริปโตเคอร์เรนซี่อื่นๆ Jamie Dimon ซีอีโอของ JP Morgan Chase: บิทคอยท์ไม่ใช่เป็นของจริง มันเป็นการเก็งกำไรอย่างไร เราไม่จำเป็นต้องมีบิทคอยท์ในสหรัฐฯ การเก็งกำไรบิทคอย์เหมือนกับการเก็งกำไรดอกทิวลิปในเนเธอร์แลนด์ในศตวรรษที่17 ที่กลายเป็นฟองสบู่การเงิน แล้วก็แตก ท้ายที่สุดแล้ว บิทคอยท์จะระเบิดออกมา […]